หน่วย 4 การจัดการผลผลิตทางการเกษตร
ตัวชี้วัด
•สร้างผลงานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ และมีทักษะการทำงานร่วมกัน (ง. ๑.๑ ม. ๔-๖/๒)
•มีทักษะการจัดการในการทำงาน (ง. ๑.๑ ม. ๔-๖/๓)
•มีทักษะกระบวนการแก้ปัญหาในการทำงาน (ง. ๑.๑ ม.๔-๖/๔)
•มีทักษะการแสวงหาความรู้เพื่อการดำรงชีวิต (ง. ๑.๑ ม.๔-๖/๕)
•มีคุณธรรมและลักษณะนิสัยในการทำงาน (ง. ๑.๑ ม.๔-๖/๖)
•ใช้พลังงาน ทรัพยากร ในการทำงานอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (ง. ๑.๑ ม.๔-๖/๗)
วิวัฒนาการทางด้านการเกษตร
การทำการเกษตรในอดีตจะเน้นการใช้พื้นที่และแรงงานสำหรับการผลิตจำนวนมาก โดยพึ่งพาธรรมชาติเป็นหลัก ขาดการจดบันทึกและการนำข้อมูลต่างๆ มาประมวลผลเพื่อวางแผนการผลิต เพื่อให้ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพและมีปริมาณมาก และหลีกเลี่ยงความเสียหายจากภัยพิบัติทางธรรมชาติหรือภาวะแห้งแล้ง ส่วนการทำการเกษตรในปัจจุบันต้องอาศัยความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ มาใช้ในการจัดการผลผลิตจนถึงการแปรรูปผลผลิต เพื่อเพิ่มมูลค่าให้สินค้าด้วยการยกระดับคุณภาพให้ด้มาตรฐานและปลอดภัยต่อผู้บริโภค ลดต้นทุนในการผลิตใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ประหยัดแรงงาน อันจะทำมาซึ่งการมีรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น
1.1 ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน
ระบบเกษตรกรรมที่เน้นวิถีชีวิต กระบวนการผลิต และการจัดการทุกรูปแบบ เพื่อให้เกิดความสมดุลทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ นำไปสู่การพึ่งพาตนเองได้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรรวมถึงผู้บริโภคให้ดีขึ้น โดยแบ่งเป็น 5 ประเภท ดังนี้
เกษตรธรรมชาติ
การทำการเกษตรที่ไม่รบกวนธรรมชาติหรือรบกวนน้อยที่สุด ไม่มีการไถพรวนดิน ไม่ใช้สารเคมี ไม่ใช้ปุุ๋ยเคมี และไม่จำกัดวัชพืช
จุดเด่น เป็นการฟื้นฟูความสมดุลของระบบนิเวศ ลดการพึ่งพาปัจจัยจากภายนอก ลดค่าใช้จ่าย และสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน
เกษตรอินทรีย์
การผลิตที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี สารส่งเสริมการเติบโตแบบสังเคราะห์ และสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช เน้นการปรับปรุงบำรุงดินเป็นหลัก
จุดเด่น เป็นการสร้างความปลอดภัยด้านอาหารให้แก่ผู้บริโภค เน้นการจัดที่ดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ ช่วยปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต
เกษตรทฤษฎีใหม่
การบริหารจัดการที่ดินทำกินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด เน้นการจัดการทรัพยากรน้ำในไร่นาให้เพียงพอ เพื่อผลิตพืชอาหาร
จุดเด่น เป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร ซึ่งเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐาน ของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับครัวเรือน
เกษตรผสมผสาน
การปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์หลากหลายชนิดในพื้นที่เดียวกัน กิจกรรมจะเกื้อกูลซึ่งกันและกัน สร้างสมดุลต่อสภาพแวดล้อม
จุดเด่น เป็นการจัดการเพื่อลดความเสี่ยงและความไม่แน่นอนของรายได้ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และลดการพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากภายนอก
วนเกษตร
การทำการเกษตรในพื้นที่ป่า เน้นให้มีไม้ยืนต้นและพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ เพื่อให้ใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างเกื้อกูล
จุดเด่น เป็นการอยู่ร่วมกันของป่าและการทำการเกษตร โดยเน้นการจัดการป่าไม้ให้ใช้ประโยชน์ร่วมกับเกษตรกรรมได้
1.2 ระบบการผลิตด้วยเกษตรสมัยใหม่เชิงอุตสาหกรรม
ระบบการผลิตที่ต้องอาศัยปัจจัยการผลิตภายนอกจำนวนมาก เพื่อผลิตผลผลิตทางการเกษตรในเชิงอุตสาหกรรม ทำให้ต้องนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิตทำให้เกิดเป็นเกษตรอัจฉริยะ โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ การสื่อสารผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต ระบบเซ็นเซอร์ตรวจวัดปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยีชีวภาพ ผสมผสานงานทางด้านวิศวกรรมร่วมกับการเกษตร เพื่อช่วยแก้ปัญหาการผลิตให้แก่เกษตรกร เช่น การให้น้ำ การให้ปุ๋ย การให้แสงเทียมแบบอัตโนมัติ ในอดีตเกษตรกรเป็นผู้เปิด-ปิด ระบบผ่านตู้ควบคุม แต่ปัจจุบันระบบพัฒนาในรูปแบบโปรแกรมประยุกต์ เพื่อติดตามสภาพแวดล้อม แปลงผลิต และสั่งงานผ่านระบบได้
มีการพัฒนาหุ่นยนต์และเครื่องทุ่นแรงมาใช้ในการทำงานที่เสี่ยงอันตราย หรือติดตามข้อมูลและการปฏิบัติงานในแปลงปลูกได้อย่างแม่นยำ นำข้อมูลต่างๆ มาประมวลผล เพื่อใช้ในการวางแผนการเพาะปลูก การผลิต การจัดการปัจจัยการผลิต การขนส่ง การแปรรูป และการตลาด นำมาสู่การเกษตรแม่นยำ ซึ่งก็คือ การใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการพื้นที่ในแปลงผลิตให้มีความเหมาะสม ช่วยลดค่าใช้จ่าย เนื่องจากสามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าและมีความใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด ก่อให้เกิดการผลิตแบบยั่งยืน
2. การเกษตรอินทรีย์
การเกษตรอินทรีย์เป็ฯการทำการเกษตรในรูปแบบหนึ่งที่เน้นความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจเป็นหลัก เป็นการทำการเกษตรที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ยากำจัดศัตรูพืชและวัชพืช แม้จะได้ผลผลิตต่ำ แต่ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพและมีความปลอดภัยเป็ฯที่ต้องการของผู้บริโภค
2.1 หลักการเกษตรอินทรีย์
หลักการเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด คือ หลักการที่ถูกกำหนดขึ้นโดยสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movements IFOAM) โดยมีหลักการเกษตรอินทรีย์ของสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ ประกอบด้วยหลักการสำคัญ ประการ ดังนี้
2.2 ขั้นตอนในการทำเกษตรอินทรีย์
การผลิตผลผลิตจากการทำเกษตรอินทรีย์ จะทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและปราศจากการปนเปื้อนของสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกายของมนุษย์ ข้อควรคำนึงในกาารทำการเกษตรอินทรีย์ ดังนี้
2.3 ตัวอย่างขั้นตอนการทำแปลงเกษตรอินทรีย์
เกษตรอินทรีย์เป็นงานเกษตรที่ทุกครอบครัวสามารถปฏิบัติร่วมกันได้ โดยใช้พื้นที่ว่างในครัวเรือน หรือพื้นที่ทำการเกษตรเดิมอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
3. การปลูกพืชไร้ดิน
การปลูกพืชไร้ดินหรือการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน เป็นวิทยาการทางการเกษตร เพื่อแก้ปัญหาในการเพาะปลูก พืชจะสามารถเจริญเติบโตได้โดยได้รับสารอาหารจากสารละลายที่เตรียมไว้ สามารถทำได้ในทุกพื้นที่แม้จะไม่มีดินสำหรับเพาะปลูก หรือมีดินอยู่แต่ไม่สามารถเพาะปลูกได้
3.1 ระบบการปลูกพืชไร้ดิน
ปัจจุบันระบบการปลูกพืชไร้ดินมีหลายระบบ โดยได้รับการพัฒนาจากระบบหลักตามลักษณะ การให้สารอาหารแก่ต้นพืชบริเวณรอบรากพืช ระบบการปลูกพืชไร้ดินที่สำคัญมี 3 ระบบ ดังนี้
3.2 การปลูกในสารละลายธาตุอาหารพืช (Hydroponics)
ระบบที่แนะนำสำหรับผู้เริ่มต้นการปลูก คือ ระบบน้ำตื้น (Nutrient Film Technique : NFT) รากพืชจะสัมผัสกับสารอาหารที่ไหลอย่างช่าๆ เป็นแผ่นฟิล์มบางๆ หนาประมาณ 1-3 มิลลิเมตร และสามารถนำสารละลายธาตุอาหารกลับมาใช้หมุนเวียนได้ โดยมีอุปกรณ์สำคัญ ดังนี้
วางสำหรับปลูกพืช มีขนาดความยาว ประมาณ 1.5 เมตร ตั้งอยู่บนโต๊ะสำหรับปลูกพืชที่มีการปรับระดับความลาดเอียงให้มีความเหมาะสม
กล่องสำหรับใส่สารละลายธาตุอาหารพร้อมปั้มน้ำ
สารละลายธาตุอหาร สาร A และสาร B
ถ้วยปลูกผัก
3.3 ขั้นตอนการปลูกพืชไร้ดิน
การปลูกพืชไร้ดินเป็นการทำการเกษตรที่นิยมนำมาใช้สำหรับการผลิตพืชอาหารที่มีอายุสั้น เช่น ผักสลัด มะเขือเทศ เนื่องจากประหยัดพื้นที่ สามารถใช้พื้นที่เล็กๆ ภายในครัวเรือนทำการเกษตรได้
3.4 การปลูกพืชร่วมกับการเลี้ยงปลา (Aquaponics)
ระบบการปลูกพืชร่วมกับการเลี้ยงปลา หรือที่เรียกว่า "Aquaponics" เป็นการนำแนวคิดต่อยอดจากการเพาะปลูกพืชในสารละลายธาตุอาหารแต่ปรับเปลี่ยนมาใช้น้ำที่เลี้ยงปลาเป็นแหล่งน้ำและธาตุอาหารแก่พืช เนื่องจากการเลี้ยงปลาในบ่อซีเมนต์มีการให้อาหารปลา และปลาจะขับของเสียออกมาทุกสัปดาห์ จึงต้องมีการถ่ายเทน้ำทิ้งและเติมน้ำลงไปใหม่ประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด จึงใช้น้ำทิ้งดังกล่าวเพาะปลูกพืช แต่ต้องเลือกพืชที่ไม่ต้องการธาตุอาหารสูงมากนัก เช่น ผักบุ้ง เนื่องจากน้ำที่ได้จากระบบเลี้ยงปลามีค่า pH ค่อนข้างเป็นกลาง-ด่างอ่อน ทำให้ไม่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืช ค่า pH ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชอยู่ที่ 6.0-7.0 (กรดอ่อน-กลาง) เป็นค่าที่มีธาตุอาหารต่างๆ สามาระละลายออกมาและพืชนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ แต่หากปรับค่า pH ให้เหมาะสมกับการผลิตพืช จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของปลา ดังนั้น จึงควรศึกษาพืชที่เหมาะสมกับระบบ หรือพัฒนาระบบและดัดแปลงให้เหมาะสมกับการเลี้ยงปลาร่วมกับการผลิตพืช
สิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ อัตราส่วนระหว่งปริมาตรน้ำที่ใช้เลี้ยงปลา นอกจากเป็นตัวกำหนดสัดส่วนจำนวนปลาที่เลี้ยงและอาหารที่ให้แล้ว ยังเป็นปริมาตรน้ำที่ใช้สำหรับการปลูกพืช ซึ่งส่วนใหญ่จะเลือกใช้พืชผักสวนครัวเป็นหลัก
4. การผลิตพืชในโรงเรือน
การผลิตพืชในโรงเรือนมีหัวใจสำคัญ คือ การรักษาความสะอาดภายในโรงเรียนเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อโรค เนื่องจากโรงเรือนมีลักษณะเปิด จึงเป็นแหล่งสะสมของโรคได้ง่าย ควรควบคุมปริมาณคนเข้า-ออก เพื่อป้องกันพาหะการเกิดโรค และล้างภาชนะปลูกในแต่ละรอบการผลิตพืช
4.1 การผลิตพืชในโรงเรือน
การผลิตพืชในโรงเรือนจะป้องกันความเสียหายจากน้ำฝนและน้ำค้างได้ ในช่วงระหว่างวัน อุณหภูมิอากาศค่อนข้างสูง ทำให้อุณหภูมิในโรงเรือนสูงกว่าภายนอกมาก ควรเลือกรูปทรงของโรงเรือนให้เหมาะกับการใช้งาน โดยโรงเรือนมีรูปแบบต่างๆ ดังนี้
โรงเรือนกระจก แสงส่องผ่านได้ดี ทนทานต่อรังสียูวี มีน้ำหนักมาก ไม่ทนต่อแรงกระแทก มีอุณหภูมิสูงเนื่องจากแสงผ่านได้ถึง 90% จึงเหมาะกับสภาพเขตหนาว
โรงเรือนฟอลิคาร์บอเนต มีลักษณะแข็งและโค้งงอได้ แสงผ่านได้ 70-80% ใช้งานได้ 7-10ปี มีราคาสูง จึงไม่นิยมใช้สำหรับโรงเรือนผลิตพืช นิยมใช้เป็นวัสดุโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์
โรงเรือนระบบปิดแบบอีแวป ใช้ระบบการระเหยน้ำ โดยใช้น้ำหล่อผ่านแผงรังผึ้ง (Cooling pad) และใช้พัดลมเป่าและดูดไอน้ำ ส่งไอเย็นทั่วทั้งโรงเรือนทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดีและมีคุณภาพ แต่มีข้อเสีย คือ มีต้นทุนการผลิตและค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสูง เหมาะสำหรับการผลิตพืชที่มีมูลค่าสูง
โรงเรือนอัจฉริยะ มีการติดตั้งเครื่องมือวัดความแม่นยำที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของพืช เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ความเข้มแสง ค่าความชื้นในวัสดุปลูก นำข้อมูลต่างๆ แสดงผ่านแอปพลิเคชัน และปรับระบบต่างๆ ได้ อัตโนมัติ โดยสามารถตั้งโปรแกรมการทำงานสำหรับการผลิตพืช เช่น ระบบการให้ปุ๋ยผ่านระบบน้ำอัตโนมัติ สามารถกำหนดไว้ว่าปริมาณเท่าใดหรือกี่รอบต่อวัน หากอุณหภูมิในโรงเรือนสูงเกินค่าที่ตั้งไว้ ระบบจะสั่งการให้ลดอุณหภูมิ เช่น การทำงานของระบบการระเหย (Evaporation) การใช้สเปรย์พ่นหมอกหรือพัดลมระบายอากาศ
4.2 โรงงานผลิตพืช (Plant factory)
การปลูกพืชในระบบปิด (Closed Plant Production System) การปลูกพืชในโรงงานผลิตพืช หรือ Plant factory ด้วยการใช้แสงเทียมหรือการใช้หลอดไฟ LED (Light emitting dioses) ในประเทศญี่ปุ่นได้ถูกพัฒนาเพื่อใช้ในการผลิตผักสลัดในเชิงพาณิชย์มาเป็นระยะเวลายาวนาน สำหรับโรงงานผลิตพืช หรือ Plant factory นี้ สามารถปลูกสร้างที่ใดก็ได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาธรรมชาติ เช่น สภาพภูมิอากาศ ความสมบูรณ์ของดิน และแสง เป็นต้น ซึ่งพืชที่ผลิตภายในระบบ Plant factory จะเป็นพืชที่มีความปลอดภัยสูง ปราศจากยาฆ่าแมลง และมีปริมาณผลผลิตที่คงที่ โรงงานผลิตพืช หรือ Plant factory เป็นการปลูกพืชภายในอาคารที่ถูกสร้างและออกแบบมาเฉพาะ โดยทั่วไปประกอบไปด้วย 6 หลักการพื้นฐาน ได้แก่ ตัวโครงสร้างผนังอาคารที่มีฉนวนกันความร้อนป้องกันการไหลผ่านของอากาศทั้งภายในและภายนอก, รางปลูกผักที่ติดตั้งระบบน้ำ hydroponic และหลอดไฟ LED หรือหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ เรียงเป็นชั้น จำนวน 4 ถึง 20 ชั้น, ระบบทำความเย็นพร้อมระบบระบายอากาศ, ระบบจ่ายคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 supply unit), ระบบจ่ายสารอาหาร (Nutrient solution unit) และปั้มน้ำ และชุดควบคุมสภาวะแวดล้อมในอาคารปลูก สำหรับพนักงานที่จะเข้าไปปฏิบัติงานในโรงงานผลิตพืชนั้น ต้องทำความสะอาดร่างกายโดยการอาบน้ำหรือเปลี่ยนชุดเป็นเสื้อผ้าที่สะอาด
ข้อดีของ Plant factory
พืชที่ผ่านการผลิตจากโรงงานผลิตพืชหรือ Plant factory นั้นจะเป็นพืชที่มีคุณภาพสูง ปราศจากยาฆ่าแมลง และผลิตได้ทั้งปี สามารถนำไปปรุงอาหารได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านการล้างน้ำอีก และสามารถยืดอายุหลังการเก็บเกี่ยว (Shelf life) ได้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับพืชที่ปลูกในโรงเรือน (Green house) เพราะมีปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ที่ติดมากับพืชในปริมาณที่น้อยกว่ามาก
5. การเก็บเกี่ยวผลผลิตพืช
หมายถึงการกระทำที่ผู้ปลูกพืชนำเอาส่วนของผลผลิตพืชออกไปจากต้นพืชหรือพื้นที่ที่ปลูกนั้น โดยส่วนที่นำออกไปนั้นมีลักษณะเป็นไปตามความต้องการของผู้ปลูกหรือผู้บริโภค การเก็บเกี่ยวผลผลิตพืชให้มีคุณภาพผู้ปลูกพืชจะต้องมีความรู้และเข้าใจถึงธรรมชาติของผลผลิตของพืชแต่ละอย่างแต่ละชนิด อายุของผลผลิต ลักษณะรูปร่าง สีสันและขนาดของผลผลิต สภาพดินฟ้าอากาศ และเครื่องมือที่ใช้เพื่อการเก็บเกี่ยว
5.1 หลักการเก็บเกี่ยวผลผลิตพืช
1. ชนิดของพืช พืชแต่ละชนิด แลจะแก่หรือสุกไม่พร้อมกัน ต้องพิจารณาว่าจะเก็บอย่างไร
2. อายุของพืช มีอายุการเก็บเกี่ยวที่แตกต่างกัน จึงต้องศึกษาอายุการเก็บเกี่ยวคำนวณระยะเวลา เพื่อเตรียมการเก็บเกี่ยวและจัดจำหน่าย
3. รูปร่าง สีสัน ขนาด ของพืช เมื่อเติบโตจะมีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ผู้ปลูกจึงต้องอาศัยความชำนาญในการสังเกต
4. สภาพดินฟ้าอากาศ ไม่เก็บเกี่ยวขณะฝนตก และหลังฝนตก เพราะจะเปียกชื้น เน่าเสียได้ง่าย ไม่เก็บเกี่ยวขณะอากาศร้อนจัด เพราะจะทำให้เหี่ยวเฉา ไม่ได้คุณภาพ สภาพอากาศ สภาพอากาศมีความจำเป็นต่อการเก็บเกี่ยวพืชผล ต้องเก็บพืชผลให้เหมาะสมกับอุณหภูมิของอากาศในระยะเวลาการแก่ของพืช เช่น ไม่เก็บผักยามเที่ยง เพราะอากาศร้อนจัด พืชผักจะเหี่ยวเฉา
5. เครื่องมือเก็บเกี่ยว ผลผลิตจะมีคุณภาพดี เสียหายน้อย ต้องรู้จักเลือกใช้เครื่องมือเก็บเกี่ยวที่ถูกต้องและเหมาะสมกับพืชแต่ละชนิด
6. ระยะทางจากแหล่งปลูกไปสู่ตลาด ต้องคำนึงถึงระยะทางจากแหล่งเก็บ และนไผลผลิตสู่ตลาดว่าระยะเวลากว่าจะถึงจลาดพืชผลจะเสียหายหรือไม่อย่างไร
5.2 หลักการปฏิบัติหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตพืช
ผักและผลไม้เป็นผลิตผลที่ค่อนข้างบอบบางเน่าเสียได้ง่ายผักและผลไม้ที่เก็บเกี่ยวมาแล้วก็ยังมีชีวิตอยู่ มีการหายใจ มีการคายน้ำเช่นเดียวกับเมื่อยังไม่ได้เก็บเกี่ยว จึงมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา เช่น การเปลี่ยนสี การอ่อนนุ่ม การเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล ก่อให้เกิดการสูญเสียทั้งตัวผลิตผลเอง คุณค่าทางอาหาร คุณค่าทางด้านรสชาติในการรับประทาน รวมทั้งการสูญเสียเงินทุนที่ใช้จ่ายไปเป็นค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ย ค่าแรงงาน ค่าเก็บเกี่ยว ค่าขนส่งและการตลาด
5.3 ระยะเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวผลผลิตพืช
พืชแต่ละชนิดมีอายุในการเก็บเกี่ยวที่แตกต่างกัน บางชนิดมีอายุการเก็บเกี่ยวที่แน่นอน เช่น พืชผัก ไม้ดอก พืชไร่ ซึ่งเป็นพืชที่มีวงจรชีวิตสั้น อายุการเก็บเกี่ยวน้อย ผู้ปลูกจะต้องคำนึงถึงระยะเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยว ระยะเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวผลผลิตพืชแบ่งเป็น 3 ระยะ
เก็บเกี่ยวขณะยังอ่อน
เก็บเกี่ยวเมื่อแก่เต็มที่
เก็บเกี่ยวเมื่อสุก
5.4 ขั้นตอนปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตพืช
ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวเรียบร้อยแล้ว การทำให้ผลผลิตนั้นมีคุณภาพก่อนเข้าสู่ตลาดหรือถึงมือผู้บริโภคได้อย่างมั่นใจ ผู้ปลูกควรปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัด
6. การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
การนำผลผลิตทางการเกษตรมาแปรรูปจะช่วยป้องกันการล้นตลาดของผลิตผลสด ซึ่งช่วยยกระดับราคาผลิตผล ไม่ให้ตกต่ำ การเพิ่มมูลค่าของผลิตผลทางการเกษตรมาแปรรูปเป็นอาหารระดับอุตสาหกรรม ที่สามารถรับวัตถุ ดิบเพื่อผลิตเป็นอาหารจำนวนมากได้ การผลิตอาหารให้ได้มาตรฐานเพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภค การส่งเสริม ให้ผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารให้เป็นที่ยอมรับ และสามารถขยายตลาดการค้าออกไปสู่ต่างประเทศ จะช่วยเพิ่มพูน รายได้ให้แก่ประเทศได้เป็นอย่างดี
6.1 หลักการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
6.2 แนวทางการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
ผลผลิตที่ได้จากการแปรรูปมีหลายชนิด ซึ่งผลผลิตที่ได้เกิดจากกระบวนการผลิตที่แตกต่งกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บรักษาผลผลิตไว้ได้นานและไม่ทำให้ผลผลิตเสื่อมคุณภาพ
6.3 ตัวอย่างการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
วิธีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรมีหลายวิธี อาจะเป็นอาหารคาวหรืออาหารหวานก็ได้ โดยการเลือกวิธีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรควรเลือกวิธีให้เหมาะสมกับผลผลิตที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบหลัก