Knowledge  


ความสำคัญของการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ 

The Importance of Effective Communication


           การสื่อสารและการรับฟังเป็นทักษะที่สำคัญอย่างยิ่ง  ในการทำงานใดๆ ก็ตาม ทักษะเหล่านี้ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น ส่งเสริมความเข้าใจ และช่วยให้แต่ละคนเข้าใจมุมมองของกันและกันได้ดีขึ้น ในการพัฒนาทักษะการสื่อสารและการสื่อสารที่ดี สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงคือความสามารถในการแก้ไขความขัดแย้งอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อใดก็ตามที่พบกับสถานการณ์ที่ยากลำบากหรือขัดแย้งกัน บุคคลนั้นควรพยายามหาทางออกเพื่อแก้ไขปัญหาแทนที่จะโต้เถียงกันอย่างรุนแรง ซึ่งอาจรวมถึงการค้นหาจุดร่วมระหว่างทั้งสองฝ่ายหรือการหาวิธีประนีประนอมร่วมกัน แทนที่จะใช้วิธีแบบเผชิญหน้าซึ่งอาจเพิ่มความตึงเครียดและเพิ่มจำนวนข้อพิพาทขึ้น 

           นอกจากนี้ การใช้ภาษาที่เป็นกลางและเป็นบวกยังสามารถช่วยให้แน่ใจว่าทุกคนจะได้รับการพิจารณาอย่างจริงจัง และประเด็นของความคิดเห็นจะไม่ได้รับการตีความในลักษณะใดรูปแบบหนึ่งเพียงอย่างเดียว ซึ่งสามารถช่วยลดความรู้สึกคับข้องใจได้ ท้ายที่สุด การมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในระหว่างการสนทนาเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาสภาพแวดล้อมที่เปิดกว้างและมีความเคารพต่อกัน ซึ่งสมาชิกคนอื่นๆ สามารถแสดงความคิดเห็นของตนได้อย่างอิสระโดยไม่รู้สึกถูกคุกคามหรือไม่เห็นด้วย 

            การรับรู้ของผู้อื่นเป็นสิ่งที่ทรงพลังมาก และสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่มีความหมายได้โดยการเรียนรู้จากประสบการณ์ของพวกเขาเอง ดังนั้น หากบุคคลนั้นมีโอกาสมากมายในการสร้างความสัมพันธ์และความใกล้ชิดกับผู้คนรอบตัว พวกเขาก็สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาสนใจและสิ่งต่างๆ ที่กำลังดำเนินอยู่ ซึ่งจะช่วยในการปรับปรุงการสื่อสารของตนเองในอนาคต

สาระความรู้ Knowlege :

PDPA คืออะไร ?


พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA, Personal Data Protection Act.)ประกาศใช้ ตั้งแต่ 27 พ.ค. 2562 และมีประกาศเลื่อนมาถึง 2 ปี จนกระทั่งล่าสุดจะมีผลบังคับใช้วันที่ 1 มิถุนายน 2565 นี้เป็นต้นไป

 

กฎหมายนี้มีประโยชน์กับใคร?

PDPA ช่วยคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนผู้เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล  หากถูกละเมิดสิทธิหรือถูกนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอมหรือเกิดความเสียหาย เดือดร้อนรำคาญ ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ท่านสามารถร้องเรียนต่อสำนักงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ภาครัฐได้


การลงโทษกรณีไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะเป็นอย่างไร ?

* บทลงโทษมีทั้งทางแพ่ง ทางอาญา และทางปกครอง ปรับตั้งแต่ 5แสนบาท ถึง 1-5 ล้านบาท ขึ้นกับความเสียหายที่เกิดขึ้น 


ใครเกี่ยวข้องกับกฎหมายนี้บ้าง ?

PDPA ครอบคลุมทุกองค์กรที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย รวมถึงหน่วยงานในต่างประเทศที่ขายสินค้าบริการให้กับคนไทย 


ผู้ที่มีบทบาท 3 คนสำคัญได้แก่

* เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

* ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

* ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล


* เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) คือบุคคลที่ข้อมูลระบุถึง ควรรู้สิทธิ ใช้สิทธิท่านตามกฎหมาย ในการรับแจ้ง ขอเข้าถึง สำเนา โอนข้อมูล ลบทำลาย แก้ไข จำกัดการใช้ และระงับ คัดค้านได้  หน่วยงานจึงจัดอบรมให้เกิดความตระหนักในสิทธิเสรีภาพของทุกคน และขอความร่วมมือพนักงานช่วยป้องกันข้อมูลรั่วไหล


* ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller)คือ บุคคลหรือนิติบุคคลที่มีอำนาจตัดสินใจในการเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูล ต้องทำบันทึกการขอความยินยอม (Consent) หากเกิดกรณีข้อมูลรั่วไหลต้องแจ้งเจ้าของข้อมูลและสนง.จนท.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลภายใน 72 ช.ม. ต้องดำเนินการชดเช ยเยียวยาเจ้าของข้อมูลหากเกิดการละเมิด เป็นต้น


* ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor)

คือบุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการตามคำสั่งในนามของผู้ควบคุมข้อมูล ในการเก็บ ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล  


ดังนั้นเพื่อป้องกันความเสี่ยงค่าปรับจากความไม่รู้หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจนเกิดเหตุละเมิดหรือร้องเรียนขึ้น จึงควรศึกษาข้อมูลเพื่อประโยชน์การรักษาปกป้องตามสิทธิหน้าที่ของท่าน กฎหมายมีทั้งหมด 96 มาตรา หัวข้อสำคัญที่ต้องรู้และทำความเข้าใจ มีราว 10 มาตราสำหรับผู้บริหารหัวหน้างาน 


ขอทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ติดต่อ : jrsynergy@gmail.com

0863225948 

0853174259

บจก.เจอาร์ ซินเนอร์จี้บริการให้คำปรึกษาฝึกอบรม PDPA 

พัฒนาระบบบริหารคุณภาพ ระบบความมั่นคงปลอดภัย เทคโนโลยีสารสนเทศ



ข้อมูลส่วนบุคคลคืออะไร ?

* คำว่าข้อมูลส่วนบุคคล คืออะไร? 

คือ " ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ " ได้แก่ ชื่อและนามสกุล ที่อยู่  หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล เลขบัตรประชาชน เพศ รูปภาพ วิดีโอ ลายนิ้วมือ ข้อมูลพฤติกรรมต่างๆ และข้อมูลใดๆก็ตามที่ทำให้เข้าใจว่าหมายถึงบุคคลใด 


* ข้อมูลอ่อนไหว Sensitive Data คืออะไร? 

คือ ข้อมูลได้แก่ เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ  


* พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA) กฎหมายฉบับนี้ให้ความสำคัญกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนคนไทย จึงมีบทลงโทษหากมีการละเมิดข้อมูลอ่อนไหว เช่น นำไปเก็บ ใช้ หรือเปิดเผยโดยไม่ได้รับความยินยอมและน่าจะทำให้ผู้อื่นเกิดความเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง หรืออับอาย  ต้องระวางโทษอาญา  จำคุก 6 เดือน ปรับตั้งแต่ 5 แสน หรือโทษทางปกครองปรับสูงถึง 5 ล้านบาท 

หน่วยงานองค์กรต่างๆจึงควรระมัดระวังในประเด็นนี้

(อ้างอิง พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาตรา 79 - 90)



ขอทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ติดต่อ : jrsynergy@gmail.com

0863225948 

0853174259

บจก.เจอาร์ ซินเนอร์จี้ บริการให้คำปรึกษาฝึกอบรม PDPA 

พัฒนาระบบบริหารคุณภาพ ระบบความมั่นคงปลอดภัย เทคโนโลยีสารสนเทศ



 FQA 10 คำถามยอดฮิตข้อมูลส่วนบุคคล 

 ถาม 1 : บริษัทใดควรเตรียมทำระบบตามประกาศพรบ.PDPA บ้าง? 

 ตอบ :  ทุกบริษัทที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นบริษัทของคนไทยหรือต่างชาติก็ตาม 


 ถาม 2 : หน่วยงานใดในองค์กรควรดูแลรับผิดชอบกฎหมายนี้  ควรเป็นฝ่ายบุคคลหรือไม่ ?

 ตอบ :  ทุกแผนกควรร่วมรับผิดชอบในฐานะที่องค์กรเป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ไม่เฉพาะฝ่ายบุคคล เพราะมีหลาย

            หน่วยงานที่มีการเก็บ การใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอยู่ เช่น ฝ่ายการตลาด ส่งอีเมลปช.ให้กับลูกค้าซึ่ง

            ไม่ทราบที่มาที่ไป ไม่เคยขอความยินยอมมาก่อน  ฝ่ายจัดซื้อ เก็บข้อมูลผู้ขาย พ่อค้าแม่ค้าจำนวนมาก ฝ่าย 

            

ถาม 3 : การร้องเรียนอาจจะเกิดขึ้นได้ในกรณีใดบ้าง?

ตอบ :   การร้องเรียนอาจจะเกิดขึ้นเมื่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเกิดความเดือดร้อนรำคาญ เกิดความเสียหายจากข้อมูลรั่ว

           ไหล เกิดความอับอาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง เป็นต้น 


ถาม 4 : เมื่อมีคนนอกสอบถามข้อมูลกับฝ่ายบุคคล โดยอ้างว่าพนักงานได้ทำเรื่องขอกู้เงินไว้ ต้องการทราบสถานะ

            พนักงานของเราว่ายังทำงานอยู่ที่บริษัทนี้หรือไม่ ?  ฝ่ายบุคคลต้องทำอย่างไรต่อไป

ตอบ :  เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลต้องสอบถามคนนอก พิสูจน์ตัวตนและลงบันทึกไว้ จากนั้นจึงขออนุญาตพนักงานของเราว่ามี

           บุคคลภายนอกสอบถามมา เคยติดต่อขอกู้เงินที่ธนาคารนั้นหรือไม่  และยินยอมให้แจ้งข้อมูลกับเขาหรือไม่  แล้ว

           ลงบันทึกไว้    

    

ถาม 5 : บริษัทต้องควบคุมระวังการรั่วไหลของข้อมูลระหว่างบริษัทหรือไม่ ?

ตอบ :   พรบ.นี้เกี่ยวข้องกับ "ข้อมูลส่วนบุคคล" ไม่ใช่ข้อมูลของบริษัท  อย่างไรก็ตามในการทำงานของบริษัทต่อบริษัท

            หากมีสัญญาซึ่งระบุการระวังรักษาความลับข้อมูลอยู่แล้ว ก็คงใช้สัญญานั้นต่อไป ถือว่ากฏหมายแพ่งพาณิชย์มี

            ความสำคัญเหนือกว่า ส่วนพรบ.นี้เป็นเพียงกฏหมายเสริม 


ถาม 6 : เจ้าหน้าที่ของรัฐมาติดต่อกับฝ่ายบุคคล โดยอ้างถึงความผิดของพนักงานของเรา ฝ่ายบุคคลจะทำอย่างไร?      

ตอบ :   ตามมาตรา 4 ของพรบ.นี้ เจ้าหน้าที่รัฐบางหน่วยงานได้รับการยกเว้นไม่บังคับ เช่น เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงของ

           รัฐ ความมั่นคงทางการคลัง การรักษาความปลอดภัยของประชาชน การป้องกันปราบปรามการฟอกเงิน 

           นิติวิทยาศาสตร์ การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์  สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา ศาล กรมบังคับคดี  

           เป็นต้น   แต่เมื่อมีบุคคลภายนอกซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่รัฐมาติดต่อ ฝ่ายบุคคลต้องสอบถามพิสูจน์ตัวตน และขอ

           หนังสือที่กล่าวอ้างความผิดนั้นมาแสดงก่อน จึงแจ้งพนักงานของเราให้ทราบ และหากไม่มีเอกสารก็ไม่อาจให้

           ข้อมูลได้

ถาม 7: ข้อมูลอ่อนไหว Sensitive Data คืออะไร? ถ้าไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะถูกปรับอย่างไร ?

ตอบ :  ข้อมูลอ่อนไหว หรือข้อมูลพิเศษ เป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล 

          คือ ข้อมูลได้แก่ เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติ 

          อาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ  ซึ่งข้อมูลเหล่านี้

          ต้องได้รับความยินยอมของเจ้าของข้อมูลจึงจะเก็บ ใช้ หรือเปิดเผยได้  หากเก็บใช้เปิดเผยโดยไม่ขอความ

          ยินยอม จะต้องระวางโทษทางอาญาหรือทางปกครอง จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับตั้งแต่ ห้าแสนถึง ห้าล้านบาท


ถาม 8 : ข้อมูลอ่อนไหว ทำไมจึงปรับแรง สูงถึง ห้าล้านบาท

ตอบ :  กฎหมายของไทย ยึดถึอแบบอย่างจากกฎหมาย GDPR ของยุโรป สำหรับประเทศไทย คณะกรรมการผู้

           เชี่ยวชาญของสำนักงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจะพิจารณาลงโทษการปรับ  หนักหรือเบาเป็นไปตามระดับของ

           ความเสียหายที่เกิดขึ้น  ขนาดกิจการ  และพฤติกรรมต่างๆ เป็นต้น

           อย่างไรก็ตามในต่างประเทศมีบริษัทที่เคยละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล และถูกปรับสูงกว่ามาก ในระดับหลายร้อย 

           หลายพันล้านบาท ซึ่งเป็นหน่วยงานขนาดใหญ่ มีข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมากจากทั่วโลก   


ถาม 9: เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล DPO ควรมีกี่คน?  ควรเป็นใครในองค์กร?

ตอบ :  แต่งตั้งเพียงคนเดียวก็เพียงพอ DPO เป็นผู้บริหารระดับสูง  อาจแต่งตั้งจากพนักงานหรือว่าจ้างบุคคลภายนอก

           ก็ได้  บริษัทในเครือเดียวกัน สามารถใช้ DPO บุคคลเดียวกันได้ 


ถาม 10: ถ้าจะหลีกเลี่ยงค่าปรับ 1ล้านบาท หน่วยงานต้องทำอย่างไรบ้าง? ให้ทันการภายในก่อน 1 มิ.ย.2565 นี้         

ตอบ :  ควรศึกษาสาระในพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล  http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/069/T_0052.PDF                  

           1.  สร้างความตระหนัก ฝึกอบรมภายในให้พนักงานทราบสิทธิของตน   

           2. ประกาศแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและคณะทำงาน

           3. จัดทำประกาศนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 

           4. จัดทำบันทึกขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Consent) 

              5. จัดทำดำเนินการและลงบันทึกเมื่อมีเจ้าของข้อมูลขอใช้สิทธิส่วนบุคคล 

           6. ยกระดับมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล

           รวมถึงควรศึกษา 10 ขั้นตอนแนะนำแผนดำเนินการพัฒนา PDPA อย่างต่อเนื่อง 


หมายเหตุ :

           ท่านสามารถเข้ารับฟังสัมมนาแบบออนไลน์ผ่าน Zoom 2 ช.ม.ได้ฟรี  โดยวิทยากร PDPA ตามกำหนด จากบจก.เจอาร์ ซินเนอร์จี้

         ติดตามที่หน้า       Public Training / Training/ Seminar Schedule

              https://sites.google.com/d/1FcJgQcjrw4bU4Ru1yBDJZ1ftDg0rEUne/p/1tSxsyfcq-cWm5ILh8TiN0zZrft22uAoz/edit      


ขอทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ติดต่อ : jrsynergy@gmail.com

0863225948 

0853174259

บจก.เจอาร์ ซินเนอร์จี้ บริการให้คำปรึกษาฝึกอบรม PDPA 

พัฒนาระบบบริหารคุณภาพ ระบบความมั่นคงปลอดภัย เทคโนโลยีสารสนเทศ


เลิกตำน้ำพริกละลายแม่น้ำเสียที

สำรวจความจำเป็นในการฝึกอบรมอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ?


      หนึ่งในหัวข้อที่เป็นประเด็นในการพัฒนาองค์กร ที่หลายหน่วยงานระดับสากลมักจะมองข้ามความสำคัญของการพัฒนาบุคคลากร ทั้งนี้ บางหน่วยงานทำระบบมาตรฐานสากล และเมื่อถึงเวลาวางแผนการฝึกอบรมประจำปี  ก็จะมีเพียงหัวหน้าแผนกบุคคลนั่งเทียนเขียนหลักสูตรต่างๆด้วยตนเอง เพื่อให้ทันเวลาใช้งานและอนุมัติแต่ละปี  ถ้าดีกว่านั้นหัวหน้าแผนกบุคคลจะส่งแบบสำรวจให้หัวหน้าทุกหน่วยงานกรอกข้อมูลในแบบสำรวจมา  แต่ก็มักจะพบว่า...ส่วนใหญ่ส่งกระดาษเปล่ากลับคืนมา  


      วิธีการสมัยใหม่ที่เราจะแนะนำต่อไปนี้ เป็นวิธีที่หน่วยงานระดับมาตรฐานสากลใช้ปฏิบัติและได้ผลเป็นอย่างดียิ่ง

คือ การสำรวจนั้นควรทำดังต่อไปนี้


1. สอบถามนโยบายผู้บริหาร   ควรหาเวลาเข้าพบ สอบถามผู้บริหารถึงนโยบาย ทิศทางพัฒนาองค์กรตามความต้องการของผู้บริหาร จะได้รับฟังความคิด กลยุทธ์การพัฒนาองค์กรจากท่านซึ่งมีความรู้ประสบการณ์ และเข้าใจถึงบริบทของธุรกิจ ความต้องการลูกค้าและตลาด  ความต้องการของผู้ขาย เป็นต้น  ทั้งนี้เมื่อมีการวิเคราะห์บริบทองค์กร จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรคแล้ว ควรสรุปความต้องการปรับปรุงจุดอ่อน หรือพัฒนาความรู้ตามนโยบาย ตามโครงการที่กำหนดในแผนกลยุทธ์ธุรกิจ


2. สำรวจปัญหาจากหัวหน้าทุกหน่วยงาน  คนทำงานย่อมเข้าใจปัญหาอุปสรรคของตน  โดยใช้แบบสำรวจเบื้องต้นสอบถามถึงปัญหาและสาเหตุที่เป็นจุดอ่อนของหน่วยงาน    ซึ่งจะนำไปสู่การสรุปหัวข้อที่ต้องการปรับปรุงได้ง่ายขึ้น  ระบุถึงระดับที่เกี่ยวข้อง  จากนั้นจึงรวบรวมข้อมูลกลับมา สรุปภาพรวมเพื่อนำเสนอเป็นแผนฝึกอบรมประจำปี ไปยังฝ่ายบริหาร


3. สำรวจความสนใจพัฒนาความรู้ของหัวหน้าแต่ละหน่วยงาน  ถ้ามีหลักสูตรเป้าหมายที่สนใจและเป็นประโยชน์ต่องานที่รับผิดชอบ สามารถกรอกชื่อหลักสูตรลงในส่วนท้ายของแบบฟอร์มนี้   อาจแนะนำสถาบันที่ฝึกอบรมภายนอก และค่าสัมมนา ถ้ามีข้อมูลควรแนบโบร์ชัวร์ให้ฝ่ายบุคคลทราบ

   

4. ฝ่ายบุคคลแนะนำหลักสูตรเป็นแนวทาง ให้สืบค้นหัวข้อฝึกอบรมจากสถาบันต่างๆ  เลือกหัวข้อนำเสนอไว้เป็นไอเดีย เพียงแค่เลือกหัวข้อที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงาน ใส่หมายเหตุ ฝึกอบรมในสถานที่หรือนอกสถานที่ หรือ  แนะนำให้หน่วยงานอื่นใดควรรับการฝึกอบรม  เป็นต้น


       การพัฒนาความรู้ในสมัยใหม่ อาจไม่จำเป็นต้องฝึกอบรมเสมอไป ในบางกรณีการสร้างกิจกรรมจะช่วยเสริมสร้าง จิตสำนึกของพนักงานได้ เช่น ถ้าฝึกอบรม 5ส. โดยไม่มีกิจกรรมปฏิบัติร่วมกัน ก็ยากที่จะเห็นการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และหากขาดเจ้าภาพดูแลโครงการที่เหมาะสม

      การพัฒนานั้นก็จะไม่เดินหน้าอย่างต่อเนื่องนั่นเอง   นอกจากนั้นการศึกษาดูงานเป็นเรื่องที่น่าสนใจ หากได้เห็นด้วยตนเอง และได้พูดคุยกับผู้ที่ประสบความสำเร็จในการปฏิบัติงาน จะเป็นการเรียนรู้ที่มีพลังดึงดูดความสนใจอย่างมาก สามารถสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานได้ดีทีเดียว


    อ.อัญนิฏฐ์ จิรเมธธนกิจ

    กรรมการผู้จัดการ

    วิทยากรที่ปรึกษาระบบบริหารคุณภาพและการเพิ่มผลผลิต