บทนำ    ในการสร้างสิ่งของเครื่องใช้ขึ้นมาผู้สร้างต้องกำหนดสมบัติเบื้องต้นที่ต้องการ  เพื่อที่จะเลือกใช้วัสดุและเครื่องมือให้เหมาะสม เช่น มีความแข็งแรงทนรับน้ำหนักได้มีความยืดหยุ่นไม่แตกหักง่าย ดังนั้นการเลือกวัสดุ  เพื่อนำมาสร้างสิ่งของหรือชิ้นงานนั้นจะต้องตอบโจทย์กับชิ้นงานที่ต้องการสร้าง  ตัวอย่าง   เก้าอี้สำหรับผู้สูงอายุ ต้องเลือกวัสดุที่สามารถรองรับน้ำหนักได้ดี  มีความแข็งแรง   และมีความนุ่ม  เพื่อให้ผู้สูงอายุนั่งสบาย   ในขณะเดียวกันเครื่องมือที่นำมาสร้างต้องเหมาะสมในการยึดติดวัสดุ   เช่น   ใช้กาวในการติดวัสดุที่เป็นผ้ากับพลาสติก  คือ   วัสดุแต่ละประเภทมีสมบัติที่แตกต่างกันจึงทำให้มีความเหมาะสมในการนำมาใช้งานที่แตกต่างกันด้วยวัสดุหรือเครื่องมือที่ใช้สร้างหรือประกอบชิ้นส่วนของชิ้นงานต้องเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับประเภทงานและวัสดุด้วย

วัสดุมีอยู่หลายประเภททั้งจากธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้นหรือที่เรียกว่า “วัสดุสังเคราะห์” วัสดุบางประเภทอาจนำมาใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องมีการแปรรูปหรือมีการแปรรูปให้เหมาะสมต่อการนำไปใช้งานโดยกระบวนการในการแปรรูปจะแตกต่างกันตามความเหมาะสมของสมบัติวัสดุและความต้องการในการใช้งานในอดีตวัสดุประเภทต่างๆยังมีไม่มากมนุษย์จึงใช้วัสดุที่มาจากธรรมชาติ เช่น ดิน หิน ทราย เขาสัตว์  หนังสัตว์   ใบไม้   นำมาสร้างเป็นสิ่งของเครื่องใช้  ต่อมาได้มีการนำวัสดุธรรมชาติมาพัฒนา  เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น  เช่น  โลหะ   ไม้เซรามิค คอมโพสิต   วัสดุสมัยใหม่

 วัสดุทางธรรมชาติ  : โดยการใช้ดินเหนี่ยวมาผสมน้ำปั้นเป็นอิฐเพื่อสร้างที่อยู่อาศัย
ที่มา : บ้านดิน โครงการเพาะพันธุ์ปัญญา โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์

วัสดุสมัยใหม่  อิฐมวลเบาทีพีไอ
ที่มา : https://www.tpipolene.co.th/th/news/annoucement/120-tpi-block-5

วัสดุธรรมชาติ  และ วัสดุสังเคราะห์   มีสมบัติเฉพาะตัวที่แตกต่างกันไปดังนั้นต้องเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมต่อการใช้งานสมบัติของวัสดุมีหลายด้าน   ในบทนี้จะยกตัวอย่างสมบัติของวัสดุ   ด้านความยืดหยุ่น  ความแข็งแรงและนำความร้อน  

สภาพยืดหยุ่น(elasticity)

             เป็นสมบัติของวัสดุที่เปลี่ยนแปลงรูปร่างได้เมื่อมีแรงกระทำและจะกลับคืนสู่รูปร่างเดิมเมื่อหยุดออกแรงกระทำต่อวัสดุนั้นตัวอย่างวัสดุที่มีสภาพยืดหยุ่นเป็นยางสปริงสายเคเบิลมีการนำสายเคเบิลมาเป็นส่วนประกอบของโครงสร้างสะพานเนื่องจากสะพานต้องการโครงสร้างที่ยืดหยุ่นและรับแรงดีได้ดี


ความแข็งแรง (strength)

     คือความสามารถในการรับน้ำหนัก หรือแรงกดทับ  โดยวัสดุนั้นจะยังคงสภาพได้ไม่แตกหัก  วัสดุที่รับน้ำหนักได้มากจะมีความแข็งแรงมากกว่าวัสดุที่รับน้ำหนักน้อย  สมบัติความแข็งแรงของวัสดุ  สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย  เช่น การสร้างสะพาน  โครงสร้างที่เป็นทานจะต้องมีสมบัติในการรับน้ำหนักและแรงกดได้มาก


การนำความร้อน  (heat conduction)

     วัสดุที่มีสมบัติเป็นตัวนำความร้อน คือ วัสดุที่ความร้อนผ่านได้ดี เช่น เหล็ก อะลูมิเนียม  ทองเหลือง  

วัสดุที่ฉนวนความร้อน คือ วัสดุที่นำความร้อนได้ไม่ดี เช่น ไม้ พลาสติก ผ้า
          ควรเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกับการใช้งาน ตัวอย่าง เช่น กระทะหรือหม้อหุงต้ม  ตัวกระทะหรือตัวหม้อหุงต้มต้องการให้ความร้อนผ่านไปยังอาหาร ส่วนมากทำด้วยสเตนเลส  หรืออะลูมิเนียม แต่ที่จับหรือหูหิ้วไม่ต้งอการให้ความร้อนผ่าน  จึงทำด้วยพลาสติก เนื่องจากเป็นฉนวนความร้อน

เมื่อทราบว่าวัสดุมีหลายประเภท วัสดุแต่ละประเภทมีสมบัติและการใช้งานอย่างไร  สามารถศึกษาได้จากตัวอย่างดังต่อไปนี้

📯1. โลหะ (metal)            

เป็นวัสดุที่ได้จากการถลุงสินแร่ต่าง ๆ ได้แก่ เหล็ก  ทองแดง  อลูมิเนียม  นิเกิล  ดีบุก  สังกะสี   ทองคำตะกั่ว  โลหะที่ได้จากการถลุงสิ่นแร่ ลักษณะ : เนื้อค่อนข้างบริสุทธิ์  มีความแข็งแรง  ไม่เพียงพอที่จะนำมาใช้ในด้านอุตสาหกรรมโดยตรงส่วนมากจะต้องนำไปผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณสมบัติก่อนการใช้งานซึ่งโลหะ
สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่  โลหะประเภทเหล็กและโลหะประเภทที่ไม่ใช่เหล็ก       

           1.1  โลหะประเภทเหล็ก (ferrous metal)
                 เป็นโลหะที่มีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบหลัก  เช่น  เหล็กหล่อ  เหล็กเหนียว  เหล็กกล้า  นิยมใช้กันมากที่สุดในวงการอุตสาหกรรม  เนื่องจากมีความแข็งแรงสามารถปรับปรุงคุณภาพและเปลี่ยนแปลงรูปร่างและรูปทรงได้หลายวิธีเช่น  การหล่อ   การกลึง  การอัดรีด   ขึ้นรูป
ตัวอย่างประเภทของเหล็กในงานช่าง 

           1.2  โลหะประเภทไม่ใช่เหล็ก (non-ferrous metal)
                เป็นโลหะที่ไม่มีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบ  ดังนั้นโลหะประเภทนี้จะไม่เกิดสนิม  เช่น ดีบุก  อะลูมิเนียม  สังกะสี ตะกั่ว ทองแดง ทองดำ เงิน  ทองคำขาว  แมกนีเซียม  พลวง  ซึ่งโลหะแต่ละประเภทมีสมบัติเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน  จึงเหมาะสมกับการใช้งานเฉพาะด้านที่แตกต่างกัน เช่น แมกซีเนียมใช้กับวัสดุทนความร้อน นิกเกิลใช้งานกับอุตสาหกรรม  ที่ต้องการการกัดกร่อนจากสารเคมี  อะลูมิเนียมใช้กับงานที่ต้องการน้ำหนักเบา
ตัวอย่างโลหะประเภทไม่ใช่เหล้กที่ใช้ในชีวิตประจำวัน 

🧱2. ไม้ (wood)
            ไม้ เป็นวัสดุพื้นฐานที่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย  เนื่องจากไม้ธรรมชาติมีความสวยงาม 

           2.1 ไม้สังเคราะห์พลาสติก (wood plastic composite)
            2.1.1 ไฟเบอร์บอร์ดควาหมาแน่ปานกลาง  ( Medium Density Fiberboard) มีกระบวนการผลิตจากการอัดเศษไม้เช่นเดียวกันกับไม้ปาติเกิล หลังจากได้แผ่นไม้จะปิดผิวไม้ด้วยแผ่นลามิเนตหรือกระดาษพลาสติก ซึ่งจะทำให้มีเนื้อสัมผัสที่ละเอียดและเรียบมากกว่า  ไม้ปาติเกิล

         2.1.2 ไม้อัด (particle board) คือไม้ที่ผลิตโดยวิธีการนำไม้จริงมาปลอกเปลือกนอกออกตัดไม้ให้เป็นแผ่นบาง จากนั้นจึงนำแผ่นไม้ที่ได้มาอัดให้เป็นแผ่นเดียวกันกลายเป็น ไม้อัด

              2.1.3 ไม้สังเคราะห์ไฟเบอร์ซีเมนต์ (wood Fiber composite) ไ เป็นไม้เทียมที่มีส่วนผสมของ ปูน,ทราย,ผงไม้ และนำมาผ่านกระบวนการอัดขึ้นรูป ในรูปแบบต่างๆซึ่งแตกต่างกันตามลักษณะการใช้งาน เช่น ไม้พื้น,ไม้ระแนง,ไม้เอนกประสงค์,ไม้บัว ไม้สังเคราะห์ไฟเบอร์ซีเมนต์เรา สามารถหาซื้อได้ตามร้านวัสดุก่อสร้างทั่วไป ยี่ห้อที่พบได้ตามท้องตลาดเช่น ไม้คอนวูด,ไม้เฌอร่า,ไม้ตราช้าง

ข้อดี  : 

1. หาง่าย ราคาถูก มีขายตามท้องตลาด
2. สามารถทำสี และเลือกสีให้เหมือนไม้จริงได้
3. สามารถตัดแต่ง เจาะสกรูได้เหมือนไม้จริง
4. หมดปัญหาเรื่องปลวก แมลง และเชื้อรา ที่มากวนใจบ้าน
5. ทนต่อความร้อน ทนความชื้น ไม่บวมน้ำ รับได้ทั้งแรงกดและแรงกระแทกได้สูง

ข้อเสีย: 

1. แตกหักง่าย ถึงแม้จะแข็งแต่ตัวพื้นไฟเบอร์ซีเมนต์จะเปราะ
2. ค่อนข้างมีน้ำหนัก เพราะมีส่วนผสมของปูน และทราย
3. ถึงแม้พื้นไม้สังเคราะห์ไฟเบอร์ซีเมนต์ จะทำสีเลียนแบบได้เหมือนไม้จริง แต่ต้องอาศัยคนฝีมือในการทาสีให้เหมือน ไม่อย่างนั้นงานจะออกมาเละเทะ (สีโปร่งแสงโชว์ลายไม้)
4. เมื่อเหยียบหรือสัมผัสแล้ว อาจจะรู้สึกร้อนง่าย เพราะทำจากซีเมนต์
5. ทำสีมีโอกาสลอกได้ง่าย  ถ้าเป็นโดนขูดขีด ก็จะเป็นรอยที่เห็นเป็นเนื้อปูนสีขาว  ขัดแก้ไขไม่ได้อย่างง่ายดาย เหมือนไม้จริง 

🧱3. เซรามิก (ceramic )
            เซรามิคเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัตถุดิบในธรรมชาติเช่น  ดิน  หิน  ทรายและแร่ธาตุต่างๆ  นำมาผสมกันหลังจากนั้นจึงนำไปเผา   เพื่อเปลี่ยนเนื้อวัตถุให้แข็งแรงและคงรูป ตัวอย่าง   วัสดุเซรามิคในที่นี้   คือ  แก้ว Glass ซึ่งเป็นวัสดุที่มีความโปร่งแสงความแข็งแกร่งและความมันแวววาว  มีองค์ประกอบหลัก  คือสารประกอบซิลิคอน  ซึ่งผ่านกระบวนการผลิตที่อุณหภูมิสูง   โดยเมื่อแก้วผ่านกระบวนการปรับปรุงสมบัติและขึ้นรูป  เป็นแผนจะเรียกว่า  กระจก   การผลิตกระจกเพื่อตอบสนองความต้องการในการใช้งานของมนุษย์ 

ตัวอย่าง  เซรามิกประเภทกระจก  

กระจก.pdf

🧱4.วัสดุผสม (composite)
            วัสดุผสมเป็นวัสดุที่มีการผสมวัสดุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปเข้าด้วยกัน   โดยวัสดุที่ผสมเข้าด้วยกันจะต้องไม่ละลายซึ่งกันและกัน   ซึ่งวัสดุที่มีปริมาณมากกว่าจะเรียกว่าเป็นวัสดุหลัก Matrix และวัสดุอีกชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดที่กระจายหรือแทรกตัวอยู่ในเนื้อวัสดุหลักเรียกว่าวัสดุเสริมแรง reinforcement material วัสดุเสริมแรงที่นำมาผสมนั้น  จะช่วยปรับปรุงสมบัติเชิงกลของวัสดุหลักให้ดีขึ้น   โดยวัสดุเสริมแรงอาจมีลักษณะเป็นก้อน  เช่นเกล็ดหรืออนุภาคก็ได้  วัสดุคอมโพสิต  สามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท ได้แก่ วัสดุเชิงประกอบพอลิเมอร์  วัสดุเชิงประกอบโลหะ  วัสดุเชิงประกอบเซรามิก 

วัสดุผสม.pdf

🎯.วัสดุสมัยใหม่ (Modern  material)
            วัสดุสมัยใหม่ถูกผลิตโดยสังเคราะห์ขึ้นด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง  ซึ่งเป็นการพัฒนาสมบัติของวัสดุให้ดีขึ้นสามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย  เช่น  วัสดุนาโนนาโน (nanomaterial) วัสดุชีวภาพ (Biomateral)  ตัวเก็บประจุยิ่งยวด (Ultracapaitor)  เนื้อหานี้ขอนำเสนอรายละเอียดเฉพาะเรื่อง   วัสดุนาโน ดังนี้ 

วัสดุสมัยใหม่.pdf

VDO  วัสดุนาโน
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=Dzk0Qs6uLL8