1.2 ระบบทางเทคโนโลยี     

ระบบทางเทคโนโลยี (Technological System)เป็นระบบที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาอำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์ซึ่งสามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันเช่น  ระบบการคมนาคมขนส่ง  ระบบการงานบริการ   ระบบการผลิตในอุตสาหกรรม 

ตัวอย่าง ระบบงานบริหาร เช่น ระบบจ่ายยาในโรงพยาบาล

ระบบการจ่ายยาในโรงพยาบาลเป็นตัวอย่างของระบบงานบริการชนิดหนึ่งที่ต้องมีการจัดระบบการบริการ  โดยมีแผนภาพแสดงลำดับขั้นตอนการรับบริการเพื่อให้ผู้ใช้บริการเข้าใจลำดับขั้นตอนก่อนการรับบริการ ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกและมีความรวดเร็วในการบริการอีกด้วย

ตัวอย่าง ระบบการคมนาคมขนส่ง เช่น ระบบรถไฟฟ้า

ระบบรถไฟฟ้าเป็นระบบการคมนาคมขนส่งรูปแบบหนึ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางของผู้คน ซึ่งการบริการจะต้องอาศัยองค์ประกอบหลายส่วนในทำงานทั้งในด้านการจัดขยวนรถ รางรถ การจำหน่วยตั๋ว องค์ประกอบต่างๆ ดังที่กล่าวมาต้องอาศัยการทำงานสัมพันธ์กัน เพื่อให้การบริการของระบบรถไฟฟ้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

VDO : ระบบการซื้อบัตรให้บริการขึ้นรถไฟฟ้า BTS
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=MqhIJ9NTobA

VDO :.............................................................
https://www.youtube.com/watch?v=OZyrrXJ5dok

ระบบทางเทคโนโลยี
หมายถึง กลุ่มของส่วนต่าง ๆ ตั้งแต่สองส่วนขึ้นไปประกอบเข้าด้วยกันและทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์โดยในการทำงานของระบบเทคโนโลยีจะประกอบไปด้วย ตัวป้อน (input) กระบวนการ(process) และผลผลิต(output) ที่สัมพันธ์กัน นอกจากนี้ ระบบทางเทคโนโลยีอาจมีข้อมูลย้อนกลับ(feedback) เพื่อใช้ปรับปรุงการทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ซึ่งสามารถเขียนเป็นแผนภาพแสดงการทำงานของระบบเทคโนโลยี ได้ดังรูป

ภาพ : ระบบทางเทคโนโลยี

ตัวป้อน (input)คือ

สิ่งที่ป้อนเข้าสู่ระบบซึ่งอาจมีมากกว่า 1 อย่าง 

กระบวนการ (process)คือ

กิจกรรมหรือการดำเนินการที่เกิดขึ้นในระบบ เพื่อทำให้เกิดผลผลิตตามวัตถุประสงค์ 

ผลผลิต (output)คือ

ผลที่ได้จากการทำงานร่วมกันของตัวป้อน และกระบวนการของระบบ ผลผลิตยังรวมถึงสิ่งที่เป็นผลพลอยได้จากระบบซึ่งอาจเป็นสิ่งที่เราต้องการหรือไม่ก็ได้ 

ข้อมูลย้อนกลับ (feedback)คือ

ข้อมูลที่ใช้ในการควบคุมหรือป้อนกลับให้ระบบทำงานได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ซึ่งอาจมีได้ในบางระบบ 

เทคโนโลยีที่เราพบเห็นกันทั่วไป เช่น หม้อหุ้งข้าวไฟฟ้า มีส่วนประกอบหลัก ๆ ได้แก่ ตัวเครื่องแผ่นความร้อน  ขวดลวดสปริง แม่เหล็ก สวิตซ์  รวมเข้าด้วยกันเป็นระบบ ซึ่งส่วนประกอบต่าง ๆ เหล่านี้มีหน้าที่ต่างกันไป และทำงานสัมพันธ์กันเพื่อให้หม้อหุงข้าวสามารถใช้งานได้ตามต้องการ

ภาพ : โครงสร้างหม้อหุงข้าวไฟฟ้า  ที่มา : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี .2561.8

จากระบบทางเทคโนโลยีของหม้อหุงข้าวไฟฟ้า สามารถสรุปเป็นเป็นภาพดังนี้

ภาพ : ระบบทางเทคโนโลยีหม้อหุงข้าวไฟฟ้า

หม้อหุงข้าวไฟฟ้าให้ความร้อนในการหุงข้าวโดยอาศัยแผ่นความร้อนที่ก้นหม้อซึ่งทำจากอะลูมิเนียมแผนความรู้นี้มีขดลวดไฟฟ้าอยู่ภายในซึ่งควบคุมโดยระบบเปิดปิดอัตโนมัติ  ซึ่งอยู่บริเวรตรงกลางของแผ่นความร้อนมีรูกลมที่มีส่วนประกอบหลัก คือขดลวดสปริง  แม่เหล็กถาวร  และแม่เหล็กเฟอร์โรที่มีสภาพความเป็นแม่เหล็กลดลงเมื่ออุณหมูมิสูงขึ้น

ภาพ : โครงสร้างระบบควบคุมไฟฟ้าของหม้อหุงข้าว
ที่มา : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี .2561.19) 

หลักการทำงานของหม้อหุงข้าว

ภาพ : หลัการทำงานของหม้อหุงข้าว  
ที่มา : https://www.eppo.go.th/images/Infromation_service/Publication/Publication/Pubication_1/7.pdf