การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี

บทนำ  

     เทคโนโลยีรอบตัวเรามีการเปลี่ยนแหลงอยู่ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับสาเหตุหรือปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ความก้าวหน้าของศาสตร์ต่าง ๆ โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์  ปัญหา หรือ ความตอ้งการโดยทั่วไปเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงได้และเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ลองพิจารณาว่าเมื่อมนุษย์พบกับปัญหาต่างๆในชีวิตประจำวัน หรือมีความต้องการสิ่งของหรือวิธีการบางอย่างเพื่ออำนวยความสะดวกหรือช่วยในการดำรงชีวิตมนุษย์จะสร้างหรือพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆขึ้นมา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เทคโนโลยีสมัยใหม่ส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือหรือวิธีการที่ช่วยในการอำนวยความสะดวกต่อมนุษย์และช่วยลดปัญหาต่างๆในการดำเนินชีวิต เช่น การใช้อินเตอร์เน็ตเชื่อมต่อและการติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว 

โดยทั่วไปเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงได้และเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ลองพิจารณาว่าเมื่อมนุษย์พบกับปัญหาต่างๆในชีวิตประจำวัน หรือมีความต้องการสิ่งของหรือวิธีการบางอย่างเพื่ออำนวยความสะดวกหรือช่วยในการดำรงชีวิต มนุษย์จะสร้างหรือพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆขึ้นมา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เทคโนโลยีสมัยใหม่ส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือหรือวิธีการที่ช่วยในการอำนวยความสะดวกต่อมนุษย์และช่วยลดปัญหาต่างๆในการดำเนินชีวิต เช่น การใช้อินเตอร์เน็ตเชื่อมต่อและการติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว 

ภาพ : การใช้ระบบอินเทอร์เน็ตใช้ในการสื่อสาร

 นอกจากนี้ เทคโนโลยียังเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีปัจจัยด้านต่างๆที่เกื้อหนุน เช่น องค์ความรู้และความก้าวหน้าของศาสตร์ต่างๆ โดยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ตัวอย่างเช่น การอาศัยความรู้ด้านนาโนเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้งานด้านการผลิตเส้นใยนาโน และนำเส้นใยมาใช้ทอผ้าเพื่อทำเครื่องนุ่มห่ม รวมทั้งการพัฒนาเส้นใยนาโนเพื่อให้มีสมบัติต่างๆตามที่ต้องการ เช่น ป้องกันการเปียกชื้น ลดรอยยับ ช่วยยับยั้งแบคทีเรียและช่วยลดการเกิดกลิ่น 

  ผลกระทบของเทคโนโลยี

    การดําเนินชีวิตของมนุษยในยุคปัจจุบัน มีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงอยูกับความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีซึ่งเทคโนโลยีเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้มั่นคงและเติบโตอย่างต่อเนื่องนําไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิต อย่างไรก็ตามมนุษย์จําเป็นต้องเตรียมรับมือกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ การพัฒนา และการสร้างเทคโนโลยี ซึ่งมีทั้งด้านบวกและด้านลบ ด้วย  ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้
                          

  ตัวอย่าง
การวิเคราะห์ผลกระทบของเทคโนโลยี

โครงการแกล้งดิน

การแกล้งดิน คือ กระบวนการเร่งปฏิกิริยาเคมีในดินซึ่งมีศักย์หรือความพร้อมจะเป็นดินเปรี้ยว ให้เปรี้ยวรุนแรงมีกรดจัด จากนั้นจึงปรับปรุงโดยการเติมปูนขาวหรือเติมด่าง ร่วมกับการใช้ระบบชลประทานน้ำมาเจือจางดินเปี้ยวจนสามารถเพราะปลูกได้ จึงนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ดินเปรี้ยว เช่น พื้นที่ป่าพรุในจังหวัดนราธิวาส และพื้นที่ดินเปรี้ยวในจังหวัดนครนายก เป็นต้น โดยการเร่งปฏิกิริยาเคมีของดินที่มีแร่กำมะถัน หรือสารประกอบไพไรต์ (Pyrite) โดยทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกัน เมื่อดินแห้งสัมผัสกับอากาศ ทำให้แร่กำมะถันกลายเป็นออกไซด์ของเหล็กและซัลเฟต เมื่อทำให้ดินเปียกซัลเฟตผสมกับน้ำกลายเป็นกรดอีกครั้ง เมื่อดินถูกแกล้งสลับไปมาจนกลายเป็นดินที่เปรี้ยวรุนแรงหรือเป็นกรดจัด จากนั้นจึงปรับปรุงดินโดยเติมฝุ่นปูนซึ่งเป็นด่าง ร่วมกับการใช้ระบบชลประทานควบคุมระดับน้ำใต้ดินและนำน้ำมาเจือจางดินเปรี้ยวจนสามารถเพาะปลูกได้อีกครั้ง