ชั่วโมงที่ 27-28

การสรุปองค์ความรู้จากหนังสือ

เทคนิคการอ่านให้จำได้ไม่ลืม

1. “แสกน” หาเป้าหมายของการอ่าน – เปิดดูผ่านๆ ทั้งเล่มก่อนแล้วค่อยลงมืออ่านแบบจริงจัง เพื่อให้เข้าใจภาพรวมของหนังสือ กำหนดเป้าหมายในการอ่าน และตัดสินใจว่า หนังสือเล่มนี้ เราควรจะอ่านอย่างคร่าวๆ หรืออ่านอย่างละเอียด

2. “เปิดข้าม” ไปอ่านเนื้อหาส่วนที่อยากรู้ก่อน – เปิดสารบัญและดูว่าเรื่องไหนที่คุณต้องการ การข้ามไปอ่านจะช่วยให้คุณเข้าใจ “สาระ” ของเรื่องที่อยากรู้ได้เร็วที่สุด ในทางกลับกัน ถ้าคุณเริ่มอ่านตั้งแต่หน้าแรก กว่าจะเจอเนื้อหาที่คุณอยากอ่าน ก็ส่งผลให้แรงจูงใจในการอ่านหนังสือรวมถึงประสิทธิภาพในการจำลดลง

3. อ่านหนังสือที่รู้สึกว่ายาก – สมองของคนเราจะถูกกระตุ้นให้ทำงานมากที่สุดตอนที่ต้อง “แก้ปัญหาที่รู้สึกว่ายาก” ซึ่งเราสามารถท้าทายให้ตัวเองได้ด้วยการกำหนดความยากของเนื้อหาและระดับความเร็วในการอ่าน จุดที่ต้องระวังก็คือ ถ้ากำหนดให้ง่ายหรือยากเกินไป สารสื่อประสาทที่ทำให้เรามีสมาธิและการจดจำได้ดีที่ชื่อว่า ‘โดปามีน’ จะไม่หลั่งออกมา

4. การอ่านอย่างมีความสุขจะช่วยให้จำได้ไม่ลืม – หากเคยอ่านเรื่องราวที่ประทับใจละก็ ต่อให้ผ่านมาแล้วหลายสิบปี ก็ยังจำได้ไม่ลืม

5. “ตีเหล็กตอนกำลังร้อน” ด้วยการอ่านหนังสือที่มีเนื้อหาตื่นเต้นเร้าใจให้จบในรวดเดียว – รีบอ่านหนังสือที่เราอยากอ่านให้เร็วที่สุด เพราะเมื่อพบกับสิ่งที่คิดว่าน่าสนุก เราจะรู้สึกตื่นเต้นจบส่งผลให้โดปามีนหลั่งออกมา ซึ่งจะทำให้เราจำเนื้อหาได้ดีขึ้น

6. ถ้ามีโอกาส ลองไปพบนักเขียน – การไปพบนักเขียน ไปฟังสัมมนา หรือฟังคำบรรยายของเค้าจะทำให้เข้าใจเนื้อหาหนังสือได้ดีขึ้น เพราะการได้ฟังสิ่งที่เขาพูดและได้เห็นสีหน้าท่าทางจะทำให้คุณรู้ว่าทำไมนักเขียนจึงเขียนเล่มนั้นขึ้นมา และมีอะไรซ่อนอยู่ในตัวอักษรเหล่านั้นบ้าง ทำให้คุณรู้สึกสนุกและตื่นเต้นกับการอ่านมากยิ่งขึ้น กระตุ้นให้โดปามีนหลั่งออกมา คุณจึงมีสมาธิและสามารถจำเนื้อหาได้ไม่ลืม


เคล็ดลับเจอหนังสือที่ตอบโจทย์

เลือก “หนังสือที่เราอยากอ่าน” แทนที่จะเลือก “หนังสือขายดี” พยายามเลือกหนังสือที่ตอบโจทย์กับตัวเองเพราะจะทำให้เรามีพัฒนาการได้ดี ซึ่งเริ่มได้จากการเลือกหนังสือที่เหมาะสมกับความรู้ของตัวเองตอนนี้ ต้องรู้ว่าเรามีความรู้ในเรื่องที่จะอ่านมากน้อยแค่ไหน มีความรู้แค่พื้นฐาน ยังรู้น้อยหรือปานกลางหรือระดับสูง ถ้ายังรู้น้อย ไม่มีพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่าน ให้เริ่มจากการอ่านหนังสือระดับเบื้องต้นก่อน อย่าคิดว่าเราสามารถทำความเข้าใจในเรื่องยากๆ ได้โดยที่ยังไม่มีความรู้พื้นฐาน (คนส่วนใหญ่คิดแบบนี้) เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการอ่านไม่รู้เรื่องรวมถึงการเสียทั้งเงินและเวลาไปอย่างเปล่าประโยชน์

เราอ่านหนังสือเพื่อพัฒนาตนเอง ดังนั้นจึงควรอ่านให้ทั้งรู้กว้างและรู้ลึก เน้นเสริมจุดเด่นของเรา มากกว่าการลบจุดด้อย ซึ่งจะทำให้พัฒนาได้รวดเร็วกว่า และต้องเปิดรับข้อมูลความรู้อย่างสมดุล อย่ารับแต่ข้อมูลจากอินเตอร์เนทมากไป แต่ขาดความรู้จากหนังสือ

วิธีเลือกหนังสืออีกวิธีหนึ่งคือการพึ่งคนอื่น ใช้คำแนะนำจากบุคคลรอบข้าง บนฟีดเฟซบุ้ค เพจที่เราติดตาม บุคคลที่เราชื่อชอบเขียนหรือแนะนำให้อ่าน รวมถึงระบบแนะนำหนังสือ(รีวิว) เพื่อที่จะเจอหนังสือที่ตอบโจทย์กับเราได้เร็วขึ้นโดยที่เราไม่ต้องไปตามหาเองทั้งหมดโดยไม่รู้ว่าจะเริ่มจากตรงไหน และหากเราเจอที่เราชอบ ลองเปิดอ่านหน้าบรรณานุกรมดู เพราะถ้าคุณอ่านหนังสือเล่มไหนแล้วชอบ ก็มีโอกาสที่คุณจะชอบหนังสือที่อยู่ในหน้าบรรณานุกรมของหนังสือเล่มนั้นด้วย


ใบงานที่ 16.pdf

ให้นักเรียนสังเคราะห์ข้อมูล สรุปองค์ความรู้ ข้อมูลที่ตัวเองสนใจในการแสวงหาความรู้ในหน่วย 2 โดย ใบงานที่ 16 เรื่องการสรุปองค์ความรู้จากหนังสือ