ชั่วโมงที่ 9-10

การตั้งสมมติฐาน

สมมติฐาน (Hypothesis) หมายถึง ความเชื่อของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือ ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรืออาจกล่าวได้ว่า สมมติฐานเป็นสิ่งที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลคาดว่าจะเกิดขึ้นโดยที่ความเชื่อหรือสิ่งที่คาดนั้นจะเป็นจริงหรือไม่ก็ได้

สรุป คือ สิ่งที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคล คาดว่าจะเกิดขึ้นโดยที่ความเชื่อหรือสิ่งที่คาดนั้นจะเป็นจริงหรือไม่ก็ได้

การคาดคะเน หรือทำนายคำตอบอย่างไรให้มีเหตุผลโดยอาศัย

- แนวคิดหลักการ

- ประสบการณ์

- ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

ตัวอย่างการตั้งสมมติฐาน

- แม่ค้าขายลูกชิ้นปลาระเบิด เปิดใหม่ มียอดขายต่อเดือนโดยเฉลี่ย เดือนละ 5,000 บาท แม่ค้าคาดว่าถ้าทำแบบนี้ไปอีกหนึ่งปีจะมีเงินเก็บ 60,000 บาท

- เจ้าของร้านค้าปลีกคาดว่าจะมีกำไรสุทธิจากการขายสินค้าต่อปีไม่ต่ำกว่า 500,000 บาท

- หัวหน้าพรรคการเมือง A …..คาดว่าการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในคราวหน้า พรรคอื่นๆจะได้ที่นั่งในสภาต่ำกว่า 50% ของทั้งหมด

- คาดว่ารายได้เฉลี่ยต่อเดือนของประชากรในจังหวัดพิษณุโลกเท่ากับ 15,000 บาท

1. ความแตกต่างของสมมติฐานกับการพยากรณ์

การตั้งสมมติฐาน คือ การทำนายผลล่วงหน้าโดยไม่ทราบ ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องระหว่างข้อมูล

การพยากรณ์ คือ การทำนายผลล่วงหน้าโดยการทราบความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการทำนายล่วงหน้า


2. หลักการตั้งสมมุติฐาน

1) สมมติฐานต้องเป็นข้อความที่บอกความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปรต้น กับ ตัวแปรตาม

2) ในสถานการณ์หนึ่ง ๆ อาจตั้งหนึ่งสมมติฐานหรือหลายสมมติฐานก็ได้ สมมติฐานที่ตั้งขึ้นอาจจะถูกหรือผิดก็ได้ ดังนั้นจำเป็นต้องมีการทดลองเพื่อตรวจสอบว่า สมมติฐานที่ตั้งขึ้นนั้นเป็นที่ยอมรับหรือไม่ซึ่งจะทราบภายหลังจากการทดลองหาคำตอบแล้ว

ตัวอย่างการตั้งสมมติฐาน

คำถาม : อะไรมีผลต่อความเร็วรถ (ความเร็วรถขึ้นอยู่กับปัจจัยอะไรบ้าง)

สมมติว่า นักเรียนเลือกขนาดของยางรถยนต์ เป็นตัวแปรที่ต้องการทดสอบ ก็อาจตั้งสมมติฐานได้ว่า

การตั้งสมมติฐาน : เมื่อขนาดของยางรถยนต์ใหญ่ขึ้น ความเร็วของรถยนต์จะลดลง

(ตัวแปรต้น : ขนาดของยางรถยนต์) (ตัวแปรตาม : ความเร็วของรถยนต์)


3. การตั้งสมมติฐานที่ดี ควรมีลักษณะดังนี้

1) เป็นสมมติฐานที่เข้าใจง่าย มักนิยมใช้วลี “ถ้า…ดังนั้น”

2) เป็นสมมติฐานที่แนะลู่ทางที่จะตรวจสอบได้

3) เป็นสมมติฐานที่ตรวจได้โดยการทดลอง

4) เป็นสมมติฐานที่สอดคล้องและอยู่ในขอบเขตข้อเท็จจริงที่ได้จากการสังเกตและสัมพันธ์กับปัญหาที่ตั้งไว้ สมมติฐานที่เคยยอมรับอาจล้มเลิกได้ถ้ามีข้อมูลจากการทดลองใหม่ๆ มาลบล้าง แต่ก็มีบางสมมติฐานที่ไม่มีข้อมูลจากการทดลองมาคัดค้านทาให้สมมติฐานเหล่านั้นเป็นที่ ยอมรับว่าถูกต้อง เช่น สมมติฐานของเมนเดลเกี่ยวกับหน่วยกรรมพันธุ์ ซึ่งเปลี่ยนกฎการแยกตัวของยีน หรือสมมติฐานของอโวกาโดรซึ่งเปลี่ยนเป็นกฎของอโวกาโดร

5) ใช้ภาษาที่ง่ายๆ มีความหมายชัดเจน

4. ตัวอย่างการตั้งสมมติฐาน

1) ข้อสงสัย/ข้อสังเกต/ปัญหา : “ความเร็วรถขึ้นอยู่กับปัจจัยอะไรบ้าง”

ประเด็นปัญหา : “ขนาดของยางรถยนต์มีผลต่อความเร็วของรถยนต์หรือไม่”

สมมติฐาน : “เมื่อขนาดของยางรถยนต์ใหญ่ขึ้น ความเร็วของรถยนต์จะลดลง”

2) ข้อสงสัย/ข้อสังเกต/ปัญหา : “นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/6 ชอบอ่านหนังสือประเภทใด”

ประเด็นปัญหา : “ศึกษาพฤติกรรมการเลือกอ่านหนังสือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ...”

สมมติฐาน : “ถ้านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ……. มีนิสัยชอบเพ้อฝัน ดังนั้นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่…..ชอบอ่านหนังสือนวนิยาย”

3) ข้อสงสัย/ข้อสังเกต/ปัญหา : “ทำไมหญ้าบริเวณใต้ต้นไม้จึงไม่งอกงามเท่าหญ้าที่อยู่กลางแจ้ง”

ประเด็นปัญหา : “แสงแดดมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเจริญงอกงามของต้นหญ้าหรือไม่”

สมมติฐาน : “ถ้าแสงแดดมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเจริญงอกงามของต้นหญ้า ดังนั้น ต้นหญ้าบริเวณที่ไม่ได้รับแสงแดดจะไม่งอกงามหรือตายไป” หรือ “ถ้าแสงแดดมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเจริญงอกงามของต้นหญ้า ดังนั้น ต้นหญ้าบริเวณที่ได้รับแสงแดดจะเจริญงอกงาม”

หมายเหตุ (การวิจัยเชิงสำรวจไม่ต้องตั้งสมมติฐานก็ได้)


5. ประเภทของสมมติฐาน

สมมติฐานมี 2 ประเภท คือ สมมติฐานทางการวิจัย( Research hypothesis) และ สมมติฐานทางสถิติ ( Statistical hypothesis)

5.1 สมมุติฐานทางการวิจัย.... (Research Hypothesis)

เป็นสมมติฐานที่เขียนอยู่ในรูปของ ข้อความ ที่ ใช้ภาษา เป็นสื่อในการอธิบายความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษาเทคนิคการเขียนอยู่ 2 แบบ

- สมมติฐานแบบมีทิศทาง (Directional hypothesis)

- สมมติฐานแบบไม่มีทิศทาง (Nondirectionnal hypothesis)

5.1.1 สมมติฐานแบบมีทิศทาง (Directional hypothesis)

เป็นสมมติฐานที่เขียนโดยสามารถระบุได้แน่นอน ถึงทิศทางของความสัมพันธ์ของตัวแปรว่าสัมพันธ์ในทางใด (บวกหรือลบ) ก็สามารถระบุได้ถึงทิศทางของความแตกต่าง เช่น “ดีกว่า” หรือ “สูงกว่า” หรือ “ต่ำกว่า” หรือ “น้อยกว่า” ในสมมติฐานนั้นๆ หรือระบุทิศทางของความสัมพันธ์ โดยมีคำว่า “ทางบวก” หรือ “ทางลบ” ในสมมติฐานนั้นๆ เช่น

- ครูประจำการมีความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์มากกว่าครูฝึกสอน

- นักเรียนในกรุงเทพฯจะมีทัศนะคติทางวิทยาศาสตร์ดีกว่านักเรียนในชนบท

- ครูอาจารย์เพศชายมีความวิตกกังวลในการทำงานน้อยกว่าครูอาจารย์เพศหญิง

- ผู้สูบบุหรี่เป็นโรคมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่

- ค่าแรงในการทำงานมีผลทำให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น

- นักเรียนในกรุงเทพฯจะมีทัศนะคติทางวิทยาศาสตร์ดีกว่านักเรียนในชนบท

- ผู้บริหารเพศชายมีประสิทธิภาพในการบริหารงานมากกว่าผู้บริหารเพศหญิง

5.1.2 สมมติฐานแบบไม่มีทิศทาง (Nondirectional hypothesis)

เป็นสมมติฐานที่เขียนโดยไม่ได้ระบุทิศทางของความสัมพันธ์ของตัวแปร หรือทิศทางของความแตกต่างเพียงระบุว่าตัวแปร 2 ตัวนั้นมีความสัมพันธ์หรือถ้าเป็นการเปรียบเทียบก็ ระบุเพียงว่าสองกลุ่มนั้นมีคุณลักษณะแตกต่างกันเท่านั้น เช่น “มีอิทธิพลต่อ” “ส่งผลต่อ” “มีความสัมพันธ์กับ” “แปรผันกับ”

- สภาพแวดล้อมทางกายภาพ มีความสัมพันธ์ กับ ประสิทธิผลในการทำงาน

- ความต้องการใช้เครื่องไฟฟ้าของบุคคลในชุมชนชนบทและชุมชนเมืองแตกต่างกัน

- ในอดีต และปัจจุบันผู้ชายมีความสนใจในเพศเดียวกันแตกต่างกัน

- ผู้สูบบุหรี่มีความสัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งปอด

- ค่าแรงในการทำงานมีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน

- ค่าแรงในการทำงานมีอิทธิพลกับประสิทธิภาพในการทำงาน

- นักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูด้วยวิธีการที่แตกต่างกันจะมีวินัยในตนเองต่างกัน


6. ประโยชน์ของสมมติฐาน

1. ทำหน้าที่เหมือนทิศทาง และแนวทางในการวิจัย

2. สมมติฐานต้องตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้อย่างครบถ้วน

3. สามารถทดสอบและวัดได้ด้วยข้อมูลและวิธีการทางสถิติ


ใบงานที่ 7.pdf

ให้ทำใบงานที่ 7 เรื่องการตั้งคำถามและสมมติฐาน

จากประเด็นปัญหาที่นักเรียนได้จากการฝึกปฏิบัติการตั้งคำถามทั้ง 5 ด้าน ให้นักเรียนตั้งคำถามและสมมติฐาน ตามแต่ละด้านที่นักเรียนเคยทำใบงานที่ 1 -5