ระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

โรงเรียนบ้านฝั่งแดง (พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์)

ระบบและกลไกการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา

IQA AWARD 2564

โรงเรียนบ้านฝั่งแดง (พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1

ระบบและกลไกการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา

IQA AWARD 2561

โรงเรียนบ้านฝั่งแดง (พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1

องค์ประกอบที่ 1 การกำหนดเป้าหมายมาตรฐานคุณภาพ

คำอธิบาย : สถานศึกษากำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา ที่กระทรวงศึกษำธิการประกำศ เป้าประสงค์ของหน่วยงานต้นสังกัด ปรัชญาการจัดการศึกษา วัตถุประสงค์การจัดตั้ง สถานศึกษา และบริบทของสถานศึกษา โดยระบุองค์ประกอบ ประเด็นการพิจารณา และเกณฑ์การตัดสินคุณภำพ พร้อมทั้งกำหนดเป้าประสงค์ด้านคุณภาพการจัดการศึกษาในระยะ 3 - 5 ปี และกำหนดเป้าหมำยรายปีที่ใช้สถานศึกษา เป็นฐำน โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย 


องค์ประกอบที่ 2 การขับเคลื่อนคุณภาพสู่มาตรฐาน 

คำอธิบาย : สถานศึกษาสื่อสาร สร้างความตระหนัก และนำผู้ที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้ โดยร่วมกันออกแบบระบบการบริหารจัดกํารคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา จัดทำแผนพัฒนําการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีเพื่อรองรับการพัฒนาตามมาตรฐาน และบรรลุตามเป้าประสงค์ รวมทั้งครอบคลุมกํารจัดสรรทรัพยํากรเพื่อสนับสนุนพัฒนาคุณภาพ จัดทำปฏิทินการขับเคลื่อนคุณภาพในรอบปีที่ชัดเจนเพื่อนำแผนปฏิบัติการประจำปีสู่การปฏิบัติ และนิเทศ กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และให้ความช่วยเหลือเพื่อปรับปรุงและพัฒนาโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้ง รายงานความก้าวหน้าและผลการดำเนินของงานเป็นระยะ


องค์ประกอบที่ 3 การประเมินความสำเร็จตามมาตรฐาน 

คำอธิบาย :สถานศึกษาสร้างระบบและกลไกในการประเมินคุณภาพภายในที่ใช้สถานศึกษาเป็นฐาน และประเมินตนเองเป็นระยะๆ โดยใช้เครื่องมือและวิธีการที่หลากหลายสอดคล้องตามบริบทของสถานศึกษา และกฎกระทรวงที่กําหนดไว้ เพื่อให้ได้สารสนเทศและผลการประเมินตนเองที่ตรงตามสภาพจริงและเชื่อถือได้และนำสารสนเทศจากการประเมิน วิธีการปฏิบัติที่ดี และการศึกษาแนวคิดเพิ่มเติม มาใช้ปรับปรุงพัฒนาระบบงานอย่างต่อเนื่อง และสื่อสํารแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยการมีส่วนร่วมของผู้ทรงคุณวุฒิ บุคลากรทุกฝ่าย และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย


องค์ประกอบที่ 4 การนำการเปลี่ยนแปลงสู่สถานศึกษาและการสร้างคุณค่าแก่วงวิชาการ 

คำอธิบาย : สถานศึกษามีระบบประกันคุณภาพภายในที่เกิดประสิทธิผล ก่อให้เกิดการพัฒนํา ด้านคุณภาพผู้เรียน ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ และด้านกระบวนการบริหารและการจัดการมีผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาที่สะท้อนการพัฒนาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 3 ปี รวมทั้งสถานศึกษาสามารถสร้างนวัตกรรมต้นแบบที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสถานศึกษาอื่น ต่อวงวิชาการ หรือต่อสังคมอย่างเป็นรูปธรรม


องค์ประกอบที่ 5 การเกิดวัฒนธรรมคุณภาพที่สะท้อนการพัฒนาที่ยั่งยืน 

คำอธิบาย : ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักในคุณค่าของระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาแสดงภาวะผู้นําและเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมขับเคลื่อนคุณภาพสถานศึกษา โดยจัดโครงสร้าง กำหนดบทบาทหน้าที่ ผู้รับผิดชอบ จัดทําคู่มือและแนวปฏิบัติตามระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในอนาคต สร้างเครือข่ายร่วมพัฒนาคุณภาพการศึกษา พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อให้มีสารสนเทศที่ถูกต้อง ครบถ้วน ครอบคลุมเป็นปัจจุบัน และเพียงพอต่อการตัดสินใจ ส่งเสริมให้ครูพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านกระบวนการ PLC และสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมายและสถานกํารณ์ที่เปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการประกันคุณภาพทั้งระดับห้องเรียนและระดับสถานศึกษา เพื่อสะท้อนการเกิดวัฒนธรรมคุณภาพอย่างต่อเนื่องทั้งในส่วนของคณะครูและองค์กรในภาพรวม