บทที่ 4 เรื่อง ทฤษฎีการเรียนรู้กับการพัฒนานวัตกรรม

ในการพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ นั้น จ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การสร้างสื่อ สอดคล้องกับหลักการและทฤษฎีโดยเฉพาะด้านสื่อการเรียนรู้ทฤษฎีทางการศึกษาจิตวิทยา การเรียนรู้และในลักษณะเฉพาะของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน จะมีหลักการหรือ ทฤษฎีที่นักการศึกษาได้ท าการวิจัยจนเป็นที่ยอมรับว่า ควรมีคุณลักษณะต่างๆตามที่ก าหนด จากการที่ผู้เขียนได้พบสื่อการเรียนรู้โดยเฉพาะสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน สื่อ มัลติมีเดียเพื่อการน าเสนอข้อมูลจ านวนมากตามสถานศึกษาต่างๆ พบว่าการพัฒนาสื่อไม่ได้ เป็นไปตามศาสตร์แห่งการพัฒนาสื่อการเรียนรู้อย่างแท้จริง ท าให้แนวทางในการสร้างผิดไป จากคุณลักษณะที่ควรจะเป็น ดังนั้น ก่อนที่ท่านจะพัฒนาตัวสื่อการเรียนรู้จ าเป็นอย่างยิ่งที่ จะต้องศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้เสียก่อน เพื่อส่งผลให้การสร้างสื่อเป็นไปอย่างมี คุณภาพและประสิทธิภาพ อีกทั้งกระบวนการสร้างจะเป็นไปอย่างถูกทิศทาง ไม่เสียเวลา ในการสร้างและแก้ไขมากจนเกินไป รายละเอียดมีดังนี้

ทฤษฏีเกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้

1. การสื่อสารการเรียนรู้การสื่อสาร หรือการสื่อความหมาย(Communication) หมายถึงการถ่ายทอดเรื่องราว การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแสดงออกของความคิดและ ความรู้สึก เพื่อการติดต่อสื่อสารข้อมูลซึ่งกันและกัน (กิดานันท์มลิทอง. 2548 :75) รูปแบบของการสื่อสารแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ

1.1 การสื่อสารทางเดียว(One-Way Communication) เป็นการส่งข่าว สารหรือการสื่อความหมายไปยังผู้รับแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยที่ผู้รับไม่สามารถตอบสนอง ทันที(Immediate Response) กับผู้ส่งแต่อาจจะมีผลป้อนกลับไปยังผู้ส่งในภายหลังได้ การสื่อสารในรูปแบบนี้จึงเป็นการที่ผู้ส่งและผู้รับไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันได้ทันที

1.2 การสื่อสารสองทาง (Two-Way Communication) เป็นการสื่อสาร หรือการสื่อความหมายที่ผู้รับมีโอกาสตอบสนองมายังผู้ส่งได้ในทันที โดยที่ผู้ส่งและผู้รับ อาจจะอยู่ต่อหน้ากันหรืออาจอยู่คนละสถานที่ก็ได้แต่ทั้งสองฝ่ายจะสามารถมีการเจรจาหรือ การโต้ตอบกันไปมาโดยที่ต่างฝ่ายต่างผลัดกันท าหน้าที่เป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในเวลาเดียวกัน ดังนั้น ในการที่จะเกิดการเรียนรู้ขึ้นได้นี้ มักจะพบว่าต้องอาศัยกระบวนการของการสื่อสาร ในรูปแบบของการสื่อสารทางเดียวและการสื่อสารสองทาง ในลักษณะของการให้สิ่งเร้า เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีการแปลความหมายของเนื้อหาบทเรียนนั้น และให้มีการตอบสนองเพื่อเกิด เป็นการเรียนรู้ขึ้น ลักษณะของสิ่งเร้าและการตอบสนองในการสื่อสารนี้หมายถึงการที่ผู้สอน ให้สิ่งเร้าหรือส่งแรงกระตุ้นไปยังผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนมีการตอบสนองออกมา โดยผู้สอนอาจ ใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ เป็นผู้ส่งเนื้อหาบทเรียน ส่วนการตอบสนอง ของผู้เรียนได้แก่ คำพูด การเขียน รวมถึงกระบวนการทั้งหมดทางด้านความคิด การเรียนรู้ การเรียนรู้ซึ่งอาศัยรูปแบบการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับการให้สิ่งเร้าหรือแรงกระตุ้น การแปล ความหมายและการตอบสนองนั้น มีดังนี้

(1) การเรียนรู้ในรูปแบบการสื่อสารทางเดียวเช่น การสอนแก่ผู้เรียนจ านวน มากในห้องเรียน ขนาดใหญ่ โดยการฉายวีดีทัศน์โทรทัศน์วงจรปิด หรือวิทยุและโทรทัศน์ การศึกษาแก่ผู้เรียนที่เรียนอยู่ที่บ้าน ซึ่งการเรียนการสอนในลักษณะเช่นนี้ ควรจะมีการ อธิบายความหมายของเนื้อหาบทเรียนให้ผู้เรียนเข้าใจก่อนการเรียน หรืออาจจะมีการ อภิปรายภายหลังจากการเรียน หรือดูเรื่องราวนั้นแล้วก็ได้เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและ แปลความหมายในสิ่งเร้านั้นอย่างถูกต้องตรงกัน จะได้มีการตอบสนองและเกิดการเรียนรู้ได้ ในท านองเดียวกัน

(2) การเรียนรู้ในรูปแบบการสื่อสารสองทาง อาจท าได้โดยการใช้อุปกรณ์ ประเภทเครื่องช่วยสอน เช่น การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือการใช้เครื่องช่วยสอน เนื้อหาจะถูกส่งจากเครื่องไปยังผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนท าการตอบสนองโดยส่งค าตอบหรือ ข้อมูลกลับไปยังเครื่องอีกครั้งหนึ่ง การเรียนการสอนในลักษณะนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น ความฉับพลันของการให้ค าตอบจากโปรแกรมบทเรียนที่วางไว้เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ ผู้เรียน เป็นการท าให้ง่ายต่อการเรียนรู้และท าให้การถ่ายทอดความรู้บรรลุผลด้วยดีเป็นต้น ถึงแม้ว่า การเรียนรู้ในรูปแบบการสื่อสารสองทางนี้ จะมีประสิทธิภาพดีต่อการเรียนรู้ มากกว่าการสื่อสารทางเดียวก็ตาม แต่บางครั้งแล้วในลักษณะของการศึกษาบางอย่างมีความ จ าเป็นต้องใช้การเรียนการสอนในรูปแบบการสื่อสารทางเดียว เพื่อการให้ความรู้แก่ผู้เรียน ทั้งนี้เพราะจ านวนผู้เรียนอาจจะมีมากและมีอุปกรณ์ช่วยสอน ไม่เพียงพอ เป็นต้น

สื่อนับว่าเป็นสิ่งที่มีบทบาทอย่างมากในการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นตัวกลาง ที่ช่วยให้การสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนด าเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ท าให้ผู้เรียน มีความเข้าใจเนื้อหาบทเรียนได้ตรงกับที่ผู้สอนต้องการ การใช้สื่อการสอนนั้น ผู้สอน จ าเป็นต้องศึกษาถึงลักษณะเฉพาะและคุณสมบัติของสื่อแต่ละชนิด เพื่อเลือกใช้สื่อให้ตรง กับวัตถุประสงค์การเรียนและการสอน สามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนด าเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ความหมายของสื่อการเรียนรู้คำว่า "สื่อ" (Media) เป็นค าที่มาจากภาษา ละตินว่า "medium" แปลว่า "ระหว่าง" หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่บรรจุข้อมูลเพื่อให้ผู้ส่งและ ผู้รับสามารถสื่อสารกันได้ตรงตามวัตถุประสงค์ เมื่อมีการน าสื่อมาใช้ในกระบวนการเรียน การสอนก็เรียกสื่อนั้นว่า "สื่อการเรียนการสอน" (Instruction Media) หมายถึงสื่อชนิดใดก็ ตามที่บรรจุเนื้อหาหรือสาระการเรียนรู้ซึ่งผู้สอนและผู้เรียนใช้เป็นเครื่องมือส าหรับการ เรียนรู้เนื้อหาหรือสาระนั้นๆ ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่าการเรียนรู้ไม่ได้ จ ากัดอยู่ เฉพาะในห้องเรียนหรือในโรงเรียน ผู้สอนและผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากสื่อต่างๆ อย่างหลากหลาย สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ สื่อที่น ามาใช้เพื่อการเรียนรู้ตาม หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงเรียกว่า"สื่อการเรียนรู้" ซึ่งหมายถึงทุกสิ่ง ทุกอย่างที่มีอยู่ รอบตัวไม่ว่าจะเป็นวัสดุของจริง บุคคลสถานที่ เหตุการณ์หรือความคิดก็ตาม ถือเป็นสื่อ การเรียนรู้ทั้งสิ้น ขึ้นอยู่กับว่าเราเรียนรู้จากสิ่งนั้นๆ หรือน าสิ่งนั้นๆ เข้ามาสู่การเรียนรู้ของ เราหรือไม่ สื่อการสอน (Instructional Media) หมายถึง สื่อชนิดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นเทป บันทึกเสียง สไลด์วิทยุ โทรทัศน์วีดีทัศน์แผนภูมิภาพนิ่ง ฯลฯ ซึ่งบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับ การเรียนการสอน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางส าหรับผู้สอนส่งไปถึงผู้เรียน ท าให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ผู้สอนวางไว้ได้เป็นอย่างดี

3. ประเภทของสื่อการเรียนรู้สื่อการเรียนรู้สามารถจ าแนกออกตามลักษณะได้ เป็น 3 ประเภท คือ

3.1 สื่อสิ่งพิมพ์หมายถึง หนังสือและเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่แสดงหรือเรียบ เรียงสาระความรู้ต่างๆ โดยใช้ตัวหนังสือที่เป็นตัวเขียน หรือตัวพิมพ์ เป็นสื่อในการแสดง ความหมาย สื่อสิ่งพิมพ์มีหลายชนิด ได้แก่ เอกสาร หนังสือเรียน หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร บันทึกรายงาน ฯลฯ

3.2 สื่อเทคโนโลยี หมายถึง สื่อการเรียนรู้ที่ผลิตขึ้นใช้ควบคู่กับเครื่องมือ โสตทัศนวัสดุหรือเครื่องมือที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ๆเช่น แถบบันทึกภาพพร้อมเสียง(วีดีทัศน์) แถบบันทึกเสียง ภาพนิ่ง สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน นอกจากนี้ สื่อเทคโนโลยียังหมายรวมถึง กระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการน าเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ใน กระบวนการเรียนรู้เช่น การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น

3.3 สื่ออื่นๆ นอกเหนือจากสื่อ 2 ประเภทที่กล่าวไปแล้วยังมีสื่ออื่นๆ ที่ส่งเสริม การเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งมีความส าคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อเทคโนโลยีสื่อที่

1. บุคคล หมายถึง บุคคลที่มีความรู้ความสามารถความเชี่ยวชาญในสาขา ต่างๆซึ่งสามารถถ่ายทอดสาระความรู้แนวคิดและประสบการณ์ไปสู่บุคคลอื่น เช่น บุคลากร ในท้องถิ่น แพทย์ต ารวจ นักธุรกิจเป็นต้น

2. ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึงสิ่งมีอยู่ตามธรรมชาติและ สภาพแวดล้อมตัวผู้เรียน เช่น พืชผักผลไม้ปรากฏการณ์ห้องปฏิบัติการเป็นต้น

3. กิจกรรม / กระบวนการ หมายถึง กิจกรรม หรือกระบวนการที่ผู้สอน และผู้เรียนก าหนดขึ้นเพื่อสร้างเสริม ประสบการณ์การเรียนรู้ ใช้ในการฝึกทักษะซึ่งต้องใช้ กระบวนการคิด การปฏิบัติการเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้ของผู้เรียน เช่น บทบาทสมมติการสาธิตการจัดนิทรรศการการท าโครงงาน เกม เพลงเป็นต้น

4. วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ หมายถึง วัสดุที่ประดิษฐ์ขึ้นใช้เพื่อ ประกอบการเรียนรู้เช่น หุ่นจ าลอง แผนภูมิแผนที่ตารางสถิติรวมถึงสื่อประเภทเครื่องมือ และอุปกรณ์ที่จ าเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานต่างๆ เช่น อุปกรณ์ทดลองวิทยาศาสตร์ เครื่องมือช่าง เป็นต้น

ทฤษฎีการเรียนรู้และจิตวิทยาการเรียนรู้

ก่อนอื่น เราควรจะทราบถึงว่า การเรียนรู้คือ ในที่นี้ การเรียนรู้หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากเดิมไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร และ พฤติกรรมใหม่นี้เป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึกฝน มิใช่เป็นผลจากการตอบสนอง ตามธรรมชาติหรือสัญชาตญาณ หรือวุฒิภาวะ หรือพิษยาต่างๆ หรืออุบัติเหตุ หรือความ บังเอิญ พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจะต้องเปลี่ยนไปอย่างค่อนข้างถาวร จึงจะถือว่าเกิดการ เรียนรู้ขึ้น หากเป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้

ทฤษฎีการเรียนรู้(Theoryleaning)

การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเดิมเป็นพฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้าง ถาวร อันเป็นผลมาจากประสบการณ์การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอาจมี 3 ด้าน เมื่อบุคคล เกิดการเรียนรู้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้ (Bloom, 1959)

1. การเปลี่ยนแปลงทางด้านความรู้ ความเข้าใจและความคิด (Cognitive Domain) หมายถึงการเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระใหม่ก็จะท าให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้มากขึ้น เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสมอง

2. การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ ความรู้สึก ทัศนคติ ค่านิยม (Affective Domain) หมายถึง เมื่อบุคคลได้เรียนรู้สิ่งใหม่ก็ท าให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกทางด้านจิตใจ ความเชื่อ ความสนใจ

3. ความเปลี่ยนแปลงทางด้านความช านาญ (Psychomotor Domain) หมายถึงการที่บุคคลได้เกิดการเรียนรู้ทั้งในด้านความคิด ความเข้าใจและเกิดความรู้สึกนึก คิด ค่านิยม ความสมใจด้วยแล้วได้น าเอาสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปฏิบัติ จึงท าให้เกิดความช านาญ มากขึ้น เช่น การใช้มือเป็นต้น

ทฤษฎีการเรียนรู้

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Learning Theory : Behaviorism) ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญ 3 แนวคิด (ทิศนา แขมมณี. 2548 : 50)ดังต่อไปนี้

1. ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์(Thorndike’s Connectionism Theory)

2. ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory)

3. ทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์(SkinnerBehavior Theory)

1. ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์(Thorndike’s Connectionism Theory)

1.1 หลักการเรียนรู้

กล่าวถึงการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus - S) กับการตอบสนอง (Response - R) โดยมีหลักเบื้องต้นว่า “การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่ง เร้ากับการตอบสนอง โดยที่การตอบสนองมักจะออกมาเป็นรูปแบบต่าง ๆ หลาย รูปแบบ จนกว่าจะพบรูปแบบที่ดี หรือเหมาะสมที่สุด เราเรียกการตอบสนองเช่นนี้ ว่าการลองถูกลองผิด (Trial and error) นั่นคือการเลือกตอบสนองของผู้เรียนรู้จะ กระท าด้วยตนเองไม่มีผู้ใดมาก าหนดหรือชี้ช่องทางในการปฏิบัติให้และเมื่อเกิดการ เรียนรู้ขึ้นแล้ว การตอบสนองหลายรูปแบบจะหายไปเหลือเพียงการตอบสนอง รูปแบบเดียวที่เหมาะสมที่สุด และพยายามท าให้การตอบสนองเช่นนั้นเชื่อมโยงกับ สิ่งเร้าที่ต้องการให้เรียนรู้ต่อไปเรื่อย ๆ

1.2 กฎการเรียนรู้

1.2.1 กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) การเรียนรู้จะ เกิดขึ้นได้ดี ถ้าผู้เรียนมีความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ

1.2.2 กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) การฝึกหัดหรือ กระท าบ่อย ๆ ด้วยความเข้าใจจะท าให้การเรียนรู้นั้นคงทนถาวร ถ้าไม่ได้กระท าซ้ า บ่อย ๆ การเรียนรู้นั้นจะไม่คงทนถาวร และในที่สุดอาจลืมได้

1.2.3 กฎแห่งการใช้ (Law of Use and Disuse) การเรียนรู้เกิด จากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ความมั่งคงของการเรียนรู้จะ เกิดขึ้น หากได้มีการน าไปใช้บ่อย ๆ หากไม่มีการน าไปใช้อาจมีการลืมเกิดขึ้นได้

1.2.4 กฎแห่งผลที่พึงพอใจ (Law of Effect) เมื่อบุคคลได้รับผลที่ พึงพอใจย่อมอยากจะเรียนรู้ต่อไป แต่ถ้าได้รับผลที่ไม่พึงพอใจ จะไม่อยากเรียนรู้ ดังนั้นการได้รับผลที่พึงพอใจ จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้

1.3 การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน

1.3.1 การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลองผิดลองถูกด้วยตนเองบาง จะ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในการแก้ไขปัญหา โดยสามารถจดจ าผลจาก การเรียนรู้ได้ดี รวมทั้งเกิดความภาคภูมิใจในการท าสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง

1.3.2 การส ารวจความพร้อมหรือการสร้างความพร้อมทางการ เรียนให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งจ าเป็นที่ต้องด าเนินการก่อนการเรียนเสมอ

1.3.3 หากต้องการให้ผู้เรียนเกิดทักษะในเรื่องใดแล้ว ต้องให้ ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ อย่างถ่องแท้ และให้ผู้เรียนฝึกฝน อย่างต่อเนื่องและสม่ าเสมอ

1.3.4 เมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้ว ควรให้ผู้เรียนฝึกน าการเรียนรู้ นั้นไปใช้

1.3.5 การให้ผู้เรียนได้รับผลที่น่าพึงพอใจ จะช่วยให้การเรียนการ สอนประสบความสำเร็จ

2. ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classic Conditioning Theory)

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้น ผู้ริเริ่มตั้งทฤษฎีนี้ เป็นคนแรก คือ พาฟลอฟ (Pavlov) ต่อมาภายหลังวัตสัน (Watson) ได้น าเอา แนวคิดของพาฟลอฟไปดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

2.1 หลักการเรียนรู้ พาฟลอฟเชื่อว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการวางเงื่อนไข (Conditioning) คือ การตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนั้น ๆ ต้องมีเงื่อนไขหรือ มีการสร้างสถานการณ์ให้เกิดขึ้น เช่น สุนัขได้ยินเสียงกระดิ่งแล้วน้ าลายไหล เป็นต้น โดยเสียงกระดิ่งคือสิ่งเร้าที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข ซึ่งเรียกว่า “สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned stimulus) และปฏิบัติกิริยาการเกิดน้ าลาย ไหลของสุนัข เรียกว่า “การตอบสนองที่ถูกวางเงื่อนไข (Conditioned response) ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข

2.2 กฎการเรียนรู้

1.2.1 กฎการลบพฤติกรรม (Law of Extinction) การตอบสนองที่เคย ปรากฏจะไม่ปรากฏถ้าน าสิ่งเร้านั้นออก

1.2.2 กฎการคืนสภาพเดิม (Law of Spontaneous recovery) หลังจาก ที่ลบพฤติกรรมนั้นไปแล้วจะไม่เกิดพฤติกรรมที่วางเงื่อนไขนั้นอีกแต่ระยะหนึ่งหรือบางครั้ง ก็อาจเกิดพฤติกรรมนั้นได้อีก

1.2.3 กฎการสรุปความเหมือน (Law of Generalization) ถ้ามีสิ่งเร้าอื่น ที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับสิ่งเร้าที่มีการวางเงื่อนไขอินทรีย์จะตอบสนองเหมือสิ่งเร้าที่วาง เงื่อนไขนั้น

1.2.4 กฎการจ าแนกความแตกต่าง (Law of Discrimination) เป็นลักษณะ ที่ผู้เรียนสามารถแยกแยะสิ่งที่แตกต่างกันได้เช่น งูเห่ามีพิษ งูสิงห์ไม่มีพิษ

2.3 การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน

2.3.1ในแง่ของความแตกต่างระหว่างบุคคล

2.3.2การวางเงื่อนไข เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทางด้านอารมณ์

2.3.3 การลบพฤติกรรมที่วางเงื่อนไข

2.3.4การสรุปความเหมือนและการแยกความแตกต่าง

3. ทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์(SkinnerBehavior Theory)

3.1 หลักการเรียนรู้

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขด้วยการกระท า (Operant Conditioning Theory) เกิดขึ้นโดยมีแนวความคิด ของสกินเนอร์(D.F. Skinner) ในสมัยของสกิน เนอร์ ปี 1950 สหรัฐอเมริกาได้เกิดวิกฤติการการขาดแคลนครูที่มีประสิทธิภาพเขา จึงได้คิดเครื่องมือช่วยสอนขึ้นมาเพื่อปรับปรุงให้ระบบการศึกษามีประสิทธิภาพ เครื่องมือที่คิดขึ้นมาส าเร็จเรียกว่าบทเรียนส าเร็จรูป หรือการสอนแบบโปรแกรม (Program Instruction or Program Learning) และเครื่องมือช่วยในการสอน (Teaching Machine) เป็นที่นิยมแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน

หลักการเรียนรู้ทฤษฎี สกินเนอร์ (Skinner) กับทฤษฏีการวางเงื่อนไข แบบการกระท า (Operant Conditioning) โดยจากแนวความคิดที่ว่าความสัมพันธ์ ระหว่างพฤติกรรมกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งก่อให้เกิดพฤติกรรม และผลของการ กระท าของพฤติกรรมนั้นโดยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมนั้น ทฤษฏีนี้เน้นการกระท า ของผู้ที่เรียนรู้มากกว่าสิ่งที่ผู้สอนกำหนดขึ้น

A คือสภาพแวดล้อม

S คือสิ่งเร้า

R คือการตอบสนอง

C คือผลกรรมที่มีผลต่อพฤติกรรมที่เกอดขึ้นโดยที่

C+ เป็นผลกรรมที่ผู้กระทำพึงพอใจ

C- เป็นผลกรรมที่ผู้กระทำไม่พึงพอใจ

จะเห็นได้ว่า ในสภาพแวดล้อมมีสิ่งเร้าที่ทำให้ผู้กระท าแสดงพฤติกรรมออกมา ซึ่งพฤติกรรมนั้น จะมีผลกรรมตามมาและผลกรรมนั้นทำให้อาจจะเพิ่มขึ้น หรือระดับคงที่หรือลดลง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าถ้าเป็นผลกรรมพึงพอใจหรือไม่พึงพอใจ

3.2 กฎแห่งการเรียนรู้คือ กฎการเสริมแรง ซึ่งมีอยู่ 2 เรื่อง คือ

3.2.1 ตารางก าหนดการเสริมแรง (Schedule of Reinforcement) เป็นการใช้กฎเกณฑ์บางอย่างเช่น เวลาพฤติกรรม เป็นตัวก าหนดในการเสริมแรง

3.2.2 อัตราการตอบสนอง (Response Rate) เป็นการตอบสนองที่ เกิดขึ้นจากการเสริมแรงต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นมากน้อยและนานคงทนถาวรเท่าใด ย่อม แล้วแต่ตารางก าหนดการเสริมแรงนั้น ๆ เช่นตารางก าหนดการเสริมแรงบางอย่าง ท าให้มีอัตราการตอบสนองมากและบางอย่างมีอัตราการตอบสนองน้อยเป็นต้น

3.3 การนำไปใช้ในการเรียนการสอน

1. การใช้กฎการเรียนรู้ กฎที่ 1 คือกฎการเสริมแรงทันทีทันใดมักใช้ เมื่อต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว เช่นทึกครั้งที่ผู้เรียนตอบค าถามถูก ครูจะรีบเสริมแรงทันที อาจเป็นค าชม เครื่องหมายรูปดาว เป็นต้น ซึ่งเหมาะในการ ใช้กับเด็กเล็ก เช่น ชั้นอนุบาล ประถม ส่วนกฎที่ 2 คือกฎการเสริมแรงเป็นครั้งเป็น คราวมักใช้เมื่อต้องการให้ผู้เรียนรู้เกิดการเรียนรู้นานต่อไปเรื่อย ๆ แล้วแต่จะ เหมาะสมของผู้เรียน และโอกาสที่จะใช้ซึ่งเหมาะสมส าหรับเด็กโต เป็นต้น

2. บทเรียนสำเร็จรูป (Programmed Learning) บทเรียนส าเร็จเริ่มขึ้น เมื่อปี ค.ศ. 1954 จากแนวความคิดของสกินเนอร์ จากทฤษฎีการวางเงื่อนไขใน ห้องเรียน ผู้เรียนแต่ละคนได้รับการเสริมแรงน้อยและยังห่างจากเวลาที่แสดงพฤติกรรม เป็นเวลานานเกินไปจนขาดประสิทธิภาพเพื่อแก้ไขปัญหานี้เขาจึงเสนอ บทเรียนส าเร็จรูป โดยมีจุดประสงค์ว่าผู้เรียนจะได้รับการเสริมแรงทันทีที่แสดง พฤติกรรมที่ถูกต้องบทเรียนจะแบ่งเนื้อหาเป็นหน่วยและข้อย่อย ๆ มี 2 ลักษณะ คือ

- การจัดเรียงบทเรียนเป็นเส้นตรง (Linear Programming) ล าดับ ขั้นของบทเรียนจากง่ายไปยาก โดยเริ่มจากหน่วยแรกไปเรื่อยตามล าดับโดยถือว่าการเรียนขั้นแรกเป็นพื้นฐานของ ขั้นตอนต่อไปและมีค าถามในลักษณะเติมค าในช่องว่างให้ผู้เรียนตอบ มีค าเฉลยไว้ ก่อนเมื่อตอบแล้วจึงเปิดดู เหมาะส าหรับวิชาที่เรียงตามล าดับขั้นตอน

- บทเรียนที่มีเป็นตอน (Branching Programming) เป็นบทเรียนที่ ผู้เรียนมีโอกาสทีได้รับค าอธิบายเพิ่มเติมในกรณีที่ตอบค าถาไม่ถูก ส่วนวิธีเรียนก็ เรียงจากง่ายไปยากแต่ลักษณะค าถามจะเป็นแบบเลือกตอบ (Multiple Choice) เมื่อผู้เรียนตอบค าถามหมดแล้วจึงพลิกไปดูค าเฉลย

- การปรับพฤติกรรม (Behavior Modification) คือการปรุงแต่ง พฤติกรรมให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการซึ่งมี 3 ลักษณะคือ

1. การเพิ่มพฤติกรรมหรือคงพฤติกรรมเดิมที่เหมาะสมไว้

2. การสร้างเสริมพฤติกรรมใหม่

3 การลดพฤติกรรม

4. การสอนวิธีการพูด หรือที่เรียกว่าพฤติกรรมทางวาจา (Verbal Behavior) สกินเนอร์ได้ผลิตเครื่องบันทึกเสียงขึ้นในปี ค.ศ. 1963 เพื่อใช้ ฟังเสียง การอ่านการพูดซึ่งเป็นประโยชน์มากในวงการด้านภาษา เข้ากล่าวว่า ภาษาพูดเกิดขึ้นจากการเรียนรู้เมื่อได้รับการเสริมแรง

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive theory)

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม หรือกลุ่มความรู้ความเข้าใจ หรือบางครั้งอาจ เรียกว่ากลุ่มพุทธินิยม เป็นกลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด นัก คิดกลุ่มนี้ เชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิด จากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่ง เร้าเพียงเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็น กระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย และความสัมพันธ์ ของข้อมูล และการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระท าและการแก้ปัญหาต่างๆ การเรียนรู้เป็น กระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความ เข้าใจให้แก่ตนเองทฤษฎีกลุ่มนี้ เกิดขึ้นจากแนวคิดของชอมสกี้ (Chomsky) ที่ไม่เห็น ด้วยกับสกินเนอร์ (Skinner) บิดา ของทฤษฎีพฤติกรรมนิยม ในการมองพฤติกรรมมนุษย์มนุษย์ไว้ว่า เป็น เสมือนการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ชอมสกี้เชื่อว่า พฤติกรรมมนุษย์นั้นเป็นเรื่องของภายใน จิตใจ มนุษย์ไม่ใช่ผ้าขาวที่เมื่อใส่สีอะไรลงไปก็จะกลายเป็นสีนั้น มนุษย์มีความนึกคิด มี อารมณ์จิตใจและความรู้สึกภายในที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นการออกแบบการเรียนการสอน ก็ควรที่จะค านึงถึงความแตกต่างภายในของมนุษย์ด้วยประกอบด้วยทฤษฎีที่ส าคัญ คือ

1. ทฤษฏีการเรียนรู้ของกลุ่ม เกสตัลท์ ( Gestalt)

2. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา บรุเนอร์(Bruner)

3. ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (A Theory of Meaningful Verbal Learnning) ออซูเบล (Ausubel)

1. ทฤษฏีการเรียนรู้ของกลุ่ม เกสตัลท์ ( Gestalt)

คำว่า“Gestalt” หมายถึง ส่วนรวมทั้งหมดหรือโครงสร้างทั้งหมด ซึ้งเป็นค าที่มา จาก ภาษาเยอรมัน ทฤษฏีการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์ เป็นแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่ม เกสตัลท์ เกิดขึ้นในระยะใกล้เคียงกับพฤติกรรมนิยม ผู้น ากลุ่มได้แก่ แมกซ์เวอร์ไธเมอร์ และ ผู้ร่วมกลุ่ม2 คน เคอร์ท คอฟพ์กา และวอล์ฟแกง โคเลอร์ เป็นชาวเยอรมัน

1.1 หลักการเรียนรู้ กลุ่มเกสตัลท์กล่าวว่า การเรียนรู้ที่เห็นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อยนั้นจะต้องเกิด จากประสบการณ์เดิม และการเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้น 2 ลักษณะคือ

1. การรับรู้(perception)หมายถึงการแปลความหมายหรือการตีความต่อ สิ่งเร้าของอวัยวะ รับสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งห้าส่วนได้แก่ หู จมูก ลิ้น และผิวหนังโดย การตีความนี้มักอาศัยประสบการณ์เดิม

การเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์ได้สรุปเป็นกฎการเรียนรู้ของ ทั้งกลุ่มออกเป็น 4 กฎ เรียกว่ากฎการจัดระเบียบเข้าด้วยกัน (The Laws of Organization) ดังนี้

1. กฎแห่งความแน่นอนหรือชัดเจน (Law of Pragnanz)

2. กฎแห่งความคล้ายคลึง (Law of Similarity)

3. กฎแห่งความใกล้ชิด (Law of Proximity)

4. กฎแห่งการสิ้นสุด / กฎแห่งความสมบูรณ์ (Law of Closure)

1. กฎแห่งความแน่นอนหรือชัดเจน (Law Pragnanz )การเรียนรู้ที่ดีต้อง มีความชัดเจนและแน่นอน เพราะผู้เรียนมีประสบการณ์เดิมแตกต่างกัน เมื่อต้องการให้ มนุษย์เกิดการรับรู้ ในสิ่งเดียวกัน ต้องก าหนดองค์ประกอบขึ้น 2 ส่วน คือ

- ภาพหรือข้อมูลที่ต้องการให้การ สนใจ เพื่อเกิดการเรียนรู้ใน ขณะนั้น (Figure)

-ส่วนประกอบหรือพื้นฐานของการับรู้ (Backgrond or Groud)

2.กฎแห่งความคล้ายคลึง (The law of Similarity) เป็นการวางหลักการ รับรู้ในสิ่งที่คล้ายคลึงกันเพื่อจะได้รู้ว่าสามารถจัดเข้ากลุ่มเดียวกัน

3.กฎแห่งความใกล้ชิด (The law of Proximity) เป็นการกล่างถึงว่าถ้าสิ่ง ใดหรือสถานการณ์ใดที่มีความใกล้ชิดกัน ผู้เรียนมีแนวโน้มที่จะรับรู้สิ่งนั้นไว้แบบเดียวกัน

4. กฎแห่งการสิ้นสุด/ กฎแห่งความสมบูรณ์ (Law of Closure) สิ่งเร้าที่ขาดหายไปผู้เรียนสามารถรับรู้ให้เป็นภาพสมบูรณ์ได้โดยอาศัยประสบการณ์เดิม

2. การหยั่งเห็น (Insight) หมายถึงการเรียนรู้ด้วยตัวเองโดยจะเกิดแนวความคิดใน การเรียนรู้หรือการแก้ปัญหาขึ้นอย่างฉับพลันทันทีทันใด (เกิดความคิดแวบขึ้นมาในสมอง ทันที) มองเห็นแนวทางการแก้ปัญหาตั้งแต่จุดเริมต้นเป็นขั้นตอนจนถึงจุดสุดท้ายที่สามารถ จะแก้ปัญหาได้

กลุ่มนี้มีแนวคิดว่า การเรียนรู้เกิดได้จากการจัดสิ่งเร้าต่าง ๆ มารวมกันเริ่มต้น ด้วยการ รับรู้โดยส่วนรวมก่อนแล้ว จึงจะสามารถวิเคราะห์เรื่องการเรียนรู้ส่วนย่อยทีละส่วน ต่อไป

ในปัจจุบันได้มีผู้นำวิธีการเรียนรู้ของกลุ่ม เกสตัลท์มาใช้อย่างกว้างขวาง โดยเชื่อ ว่าเมื่อผู้เรียนได้ เรียนรู้โดยหลักของเกสตัลท์แล้ว ผู้เรียนจะมีสติปัญญา และความคิด สร้างสรรค์ และมีความรวดเร็วในการเรียนรู้ เพิ่มมากขึ้น

1.2 การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

1.2.1 ครูควรสร้างบรรยากาศการเรียนที่เป็นกันเอง และมีอิสระที่จะให้ ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ทั้งที่ถูกและผิด เพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของ ข้อมูล และเกิดการหยั่งเห็น

1.2.2 เปิดโอกาสให้มีการอภิปรายในชั้นเรียน โดยใช้แนวทางต่อไปนี้

- เน้นความแตกต่าง

-กระตุ้นให้มีการเดาและหาเหตุผล

-กระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม

-กระตุ้นให้ใช้ความคิดอย่างรอบคอบ

-กำหนดขอบเขตไม่ให้อภิปรายออกนอกประเด็น

1.2.3 การกำหนดบทเรียนควรมีโครงสร้างที่มีระบบเป็นขั้นตอน เนื้อหามี ความสอดคล้องต่อเนื่องกัน

1.2.4 คำนึงถึงเจตคติและความรู้สึกของผู้เรียน พยายามจัดกิจกรรมที่ กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ ผู้เรียนนำไปใช้ประโยชน์ได้ และควร จัดโอกาสให้ผู้เรียนรู้สึกประสบความสำเร็จด้วย

1.2.5 บุคลิกภาพของครูและความสามารถในการถ่ายทอด จะเป็นสิ่งจูงใจ ให้ผู้เรียนมีความศรัทธาและครูจะสามารถเข้าไปอยู่ใน Life space ของผู้เรียนได้

2. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา บรุเนอร์(Bruner)

บรุนเนอร์ (Bruner) เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทาง สติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์ บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและ การเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง (discovery learning) แนวคิดที่ส าคัญ ๆ ของ บรุนเนอร์ มีดังนี้ (Brunner,1963:1-54)

2.1 ทฤษฎีการเรียนรู้

1. การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์ และสอดคล้องกับพัฒนาการ ทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก

2. การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของ ผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิด ประสิทธิภาพ

3. การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถ ช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้

4. แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยส าคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลส าเร็จในการ เรียนรู้

5. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3ขั้นใหญ่ ๆ คือ

5.1 ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ(Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้ จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การ เรียนรู้เกิดจากการกระท า

5.2 ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้าง มโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้

5.3 ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้น การเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้

6. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือ สามารถจัดประเภทของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม

7. การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery learning)

2.1 การนำทฤษฎีการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้

2.1.1 กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ ดีมีความหมายส าหรับผู้เรียน

2.1.2 การวิเคราะห์และจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสม เป็นสิ่งที่จ าเป็นที่ต้องท าก่อนการสอน

2.1.3 การจัดหลักสูตรแบบเกลียว (Spiral Curriculum) ช่วยให้สามารถ สอนเนื้อหาหรือความคิดรวบยอดเดียวกันแก่ผู้เรียนทุกวัยได้ โดยต้องจัดเนื้อหาความคิดรวบ ยอดและวิธีสอนให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน

2.1.4 ในการเรียนการสอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระให้มาก เพื่อช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน

2.1.5 การสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เป็นสิ่งจ าเป็นในการ จัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียน

2.1.6 การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการทาง สติปัญญาของผู้เรียน จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี

2.1.7 การสอนความคิดรวบยอดให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็น การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้ได้ดี

3. ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (A Theory of Meaningful Verbal Learnning) ออซูเบล (Ausubel)

ออซูเบล เป็นนักจิตวิทยาแนวปัญญานิยมที่แตกต่างจากเพียเจต์และบรู เนอร์ เพราะออซูเบลไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างทฤษฎีที่อธิบายการเรียนรู้ได้ทุกชนิด

ทฤษฎีของออซูเบลเป็นทฤษฎีที่หาหลักการอธิบายการเรียนรู้ที่เรียกว่า "Meaningful Verbal Learning" เท่านั้น โดยเฉพาะการเชื่อมโยงความรู้ที่ปรากฎ ในหนังสือที่โรงเรียนใช้กับความรู้เดิมที่อยู่ในสมองของผู้เรียนในโครงสร้างสติปัญญา (Cognitive Structure) หรือการสอนโดยวิธีการให้ข้อมูลข่าวสาร ด้วยถ้อยค า ทฤษฎีของออซูเบล เน้นความส าคัญของการเรียนรู้อย่างมีความเข้าใจและมี ความหมาย การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้เรียนรวมหรือเชื่อมโยง(Subsumme) สิ่งที่เรียนรู้ใหมหรือข้อมูลใหม่ ซึ่งอาจจะเป็นความคิดรวบยอด(Concept) หรือ ความรู้ที่ได้รับใหม่ในโครงสร้างสติปัญญากับความรู้เดิมที่อยู่ในสมองของผู้เรียนอยู่ แล้ว ทฤษฎีของออซูเบลบางครั้งเรียกว่า "Subsumption Theory" การเรียนรู้ อย่างมีความหมาย นั่นคือ ผู้เรียนได้เชื่อมโยง(Subsumme) สิ่งที่จะต้องเรียนรู้ใหม่ หรือข้อมูลใหม่ กับความรู้เดิมที่มีมาก่อนที่มีในโครงสร้างในสติปัญญาของผู้เรียน มาแล้ว

ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ออซูเบล ได้แบ่งการเรียนรู้ออกเป็น 4 ประเภทดังต่อไปนี้

1. การเรียนรู้โดยการรับอย่างมีความหมาย

2. การเรียนรู้โดยการรับแบบท่องจ าโดยไม่คิดหรือแบบนกแก้ว นกขุนทอง

3. การเรียนรู้โดยการค้นพบอย่างมีความหมาย

4. การเรียนรู้โดยการค้นพบแบบท่องจ าโดยไม่คิด หรือแบบนกแก้ว นกขุนทองออซูเบลให้ความหมายการเรียนรู้อย่างมีความหมาย( Mearningful learning) ว่า เป็นการเรียนที่ผู้เรียนได้รับมาจากการที่ผู้สอน อธิบายสิ่งที่จะต้อง เรียนรู้ให้ทราบและผู้เรียนรับฟังด้วยความเข้าใจ โดยผู้เรียนเห็นความสัมพันธ์ของสิ่ง ที่เรียนรู้กับโครงสร้างพุทธิปัญญาที่ได้เก็บไว้ในความทรงจ า และจะสามารถน ามาใช้ ในอนาคต ออซูเบลได้ชี้ให้เห็นว่าทฤษฎีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะอธิบายเกี่ยวกับ พุทธิปัญญา

ตัวแปรที่มีความส าคัญในการเรียนรู้ โดยการรับอย่างมีความหมาย ออซูเบลได้บ่งว่า การเรียนรู้อย่างมีความหมายขึ้นอยู่กับตัวแปร 3 อย่าง ดังต่อไปนี้

1. สิ่ง (Materials) ที่จะต้องเรียนรู้จะต้องมีความหมาย ซึ่งหมายความว่า จะต้องเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กับสิ่งที่เคยเรียนรู้และเก็บไว้ในโครงสร้างพุทธิปัญญา

2. ผู้เรียนจะต้องมีประสบการณ์และมีความคิดที่จะเชื่อมโยงหรือจัดกลุ่ม สิ่งที่เรียนรู้ใหม่ให้สัมพันธ์กับความรู้หรือสิ่งที่เรียนรู้เก่า

3. ความตั้งใจของผู้เรียนและการที่ผู้เรียนมีความรู้ คิดที่จะเชื่อมโยงสิ่งที่ เรียนรู้ใหม่ให้มีความสัมพันธ์กับโครงสร้างพุทธิปัญญา ที่อยู่ในความทรงจ าแล้ว

นอกจากตัวแปรทั้ง 3 อย่างดังกล่าว ออซูเบลกล่าวว่า การสอนจะต้อง ค านึงถึงวัยของนักเรียนด้วย เพราะถ้าหากนักเรียนไม่พร้อมที่จะรับหรือรับโดยไม่ เข้าใจ ก็อาจจะต้องใช้การท่องจ าแบบนกแก้วนกขุนทอง

ประเภทของการเรียนรู้โดยการรับอย่างมีความหมาย

ออซูเบลได้แบ่งการเรียนรู้อย่างมีความหมายออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. Subordinate learning เป็นการเรียนรู้โดยการรับอย่างมีความหมาย โดยมีวิธีการ 2 ประเภท คือ

1.1 Deriveration Subsumption เป็นการเชื่อมโยงสิ่งที่จะต้อง เรียนรู้ใหม่กับหลักการหรือกฎเกณฑ์ที่เคยเรียนมาแล้ว โดยการได้รับข้อมูลมาเพิ่ม เช่น มีคนบอก แล้วสามารถดูดซึมเข้าไปในโครงสร้างทางสติปัญญาที่มีอยู่แล้วอย่าง มีความหมาย โดยไม่ต้องท่องจ า

1.2 Correlative subsumption เป็นการเรียนรู้ที่มีความหมาย เกิดจากการขยายความ หรือปรับโครงสร้างทางสติปัญญาที่มีมาก่อนให้สัมพันธ์กับ สิ่งที่จะเรียนรู้ใหม่

2. Superordinate learning เป็นการเรียนรู้โดยการอนุมาน โดยการ จัดกลุ่มสิ่งที่เรียนใหม่เข้ากับความคิดรวบยอดที่กว้างและครอบคลุมความคิดยอด ของสิ่งที่เรียนใหม่ เช่น สุนัข แมว หมู เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

3. Combinatorial learning เป็นการเรียนรู้หลักการ กฎเกณฑ์ต่างๆเชิง ผสม ในวิชาคณิตศาสตร์ หรือ วิทยาศาสตร์ โดยการใช้เหตุผล หรือการสังเกต เช่น การเรียนรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างน้ าหนักกับระยะทางในการที่ท าให้เกิด ความสมดุล