บทที่ 6 เรื่อง แหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้

โลกของความเป็นจริงมีความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลาและไม่ มีวันสิ้นสุดหากเราถือว่าการเรียนรู้คือชีวิตและชีวิตคือการเรียนรู้ การด ารงชีวิตของ มนุษย์จึงต้องอาศัยการเรียนรู้เพื่อให้สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพการณ์ที่ เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น การเรียนรู้จึงเป็นครรลองของชีวิตที่เกิดได้ทุกแห่งทุกเวลา ต่อเนื่องยาวนานตลอดชีวิตตั้งแต่เกิดจนกระทั่งสิ้นชีวิต เริ่มจากครอบครัว ชุมชน ศูนย์การเรียน โรงเรียนสถาบันศาสนา แหล่งการเรียนรู้ต่างๆ กว้างไกล ครอบคลุม สถานการณ์ของสังคมไทยและสังคมโลก

หากเรายอมรับกันว่าการศึกษาคือเครื่องมือส าคัญในการพัฒนาทุกๆด้าน นั่นก็หมายความว่าการศึกษาเป็นทั้งหลักการ เป้าหมาย กระบวนการและวิธีการ ส าหรับพัฒนาคนหรือทรัพยากรมนุษย์ เพราะการพัฒนาทุกๆด้านดังที่กล่าวแล้ว เป็นการพัฒนาที่มีคนเป็นศูนย์กลาง และมีคนเป็นก าลังส าคัญของการขับเคลื่อน กลไกและระบบต่างๆให้เดินไปพร้อมกัน ดังนั้น หากเราสามารถพัฒนามนุษย์ได้ตาม ความคาดหวัง จะส่งผลถึงความส าเร็จในการพัฒนาสังคมทุกๆด้านพร้อมกัน

ความหมายของแหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้

แหล่งเรียนรู้ มีผู้ให้ความหมายของเครือข่ายการเรียนรู้ไว้ดังนี้

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ได้ให้ความหมายของแหล่งเรียนรู้ หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ และประสบการณ์ที่สนับสนุนให้ผู้เรียนใฝ่ เรียนรู้ แสวงหาความรู้ และเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตามอัธยาศัยอย่างกว้างขวางและ ต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ และเป็นบุคคลแห่งการ เรียนรู้

ดำริ บุญชูได้ให้ความหมายของแหล่งเรียนรู้ หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสาร ความรู้และประสบการณ์ทั้งหลายที่สามารถท าให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง จากการได้คิดเอง ปฏิบัติเองและสร้างความรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัยและต่อเนื่อง จนเกิดกระบวนการเรียนรู้และสุดท้ายก็จะเป็นบุคคลแห่งการเรียนร

สรุปได้ว่า แหล่งเรียนรู้เป็นแหล่งที่ให้ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ สามารถจัดกระบวนการ เรียนเรียนรู้เพื่อขยายประสบการณ์ของผู้เรียน และเชื่อมโยงสู่การใช้ในชีวิตประจา วันนักเรียนอาจเรียนรู้ร่วมกับเพื่อนตามกระบวนการเรียนการสอน หรือเรียนรู้ด้วย ตนเองตามความสนใจ

เครือข่ายการเรียนรู้ มีผู้ให้ความหมายของเครือข่ายการเรียนรู้ไว้ดังนี้

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติให้ความหมายว่า เครือข่ายการ เรียน รู้ หมายถึงการประสานแหล่งความรู้ และข้อมูลข่าวสารการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติ และการปฏิบัติงานอย่างสอดคล้องเชื่อมโยงกันทั้งระหว่าง หน่อยงานที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาในระบบ และระหว่างหน่อยงานอื่นๆ ทั้ง ภาครับและเอกชนในระดับต่างๆตลอดจนระบบการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ เพื่อ สร้าง แลกเปลี่ยนถ่ายทอดและกระจายความรู้ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนมี โอกาสได้เรียนรู้อย่างกว้างขวางและต่อเนื่องตลอดชีวิต ตามความต้องการของ บุคคลและชุมชน

เอกวิทย์ ณ กลาง ให้ความหมายว่า เครือข่ายการเรียนรู้ หมายถึงการที่ ชาวบ้านรวมตัวกันขบคิดปันหาของเขา รวมพลังแก้ปัญหา และหาผู้นำขึ้นมาจาก หมู่บ้านด้วยกันเอง แล้วรวมตัวกันเพื่อมีอ านาจต่อรอง มีการต่อสู้ทางความคิด มี การเรียนรู้จากภายนอก มีการไปมาหาสู่กัน เรียนรู้ดูงานด้วยกันจนกระทั่งเกิดเป็น กระบวนการแก้ปัญหาได้ การท าหากินดีขึ้น เศรษฐกิจแต่ละครอบครัวดีขึ้น

อนรักษ์ ปัญญานุวัฒน์ รหัน แตงจวง และสุกัญญา นิมานันท์ ให้ ความหมายว่า เครือข่ายการเรียนรู้ หมายถึง สภาพการเรียนรู้อย่างเป็นทางการ หรือไม่เป็นทางการ และระหว่างประเทศหรือทวีปตลอดจนการรับรู้ข่าวสาร ผ่านสื่อ การเรียนรู้ที่มีอยู่อย่างหลากหลาย ทั้งประเภทสื่อบุคคล และสื่อสารมวลชนประเภท ต่างๆเช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเสียงและภาพ เป็นต้น ที่จะเอื้อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีผลต่อ การด ารงชีวติ การเปลี่ยนแปลงสังคมและคุณภาพชีวิตของคน

สุวัฒน์ แก้วสังข์ทอง ให้ความหมายว่า เครือข่ายการเรียนรู้ หมายถึง การ จัดระบบและพัฒนาให้แหล่งความรู้ ซึ่งหมายถึง องค์กร สถานประกอบการ บุคคล ศูนย์ข่าวสารข้อมูล สถานที่ ภูมิปัญญา ท้องถิ่น ให้สามารถถ่ายโยง เกิดกระบวนการ เรียนรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน หรือให้ผู้สนใจ ได้ทั้งความรู้ ทักษะเกี่ยวกับ อาชีพ สังคม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี ศาสนา และศิลปวัฒนธรรมที่เป็นของดีดั่งเดิม และที่พัฒนาแล้ว ที่มีอยู่ในชุมชน อำเภอ จังหวัด

สรุป การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ และการ เรียนรู้ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การ และแหล่งความรู้ที่มีส่วนร่วมใน กระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จนเป็นระบบที่เชื่อมโยงกัน ส่งผลให้เกิดการ เผยแพร่และการประยุกต์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาชีพหรือทางสังคม

สรุปแนวความคิด

การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนต้องเป็นผู้จัดกระท าต่อสิ่งเร้าหรือสาระ การเรียนรู้ มิใช่เพียงรับสิ่งเร้าหรือสาระเข้ามาเท่านั้น ผู้เรียนต้องเป็นผู้สร้างความ มายของสิ่งเร้า หรือข้อความความรู้ ที่รับเข้ามาด้วยตนเอง กระบวนการสร้าง ความหมายของสิ่งเร้าที่รับเข้ามาที่เป็นประสบการณ์เฉพาะตน (Personal experience) ซึ่งมีความแตกต่างกันและมีกระบวนการคิดที่แตกต่างกัน ดังนั้น การ เรียนรู้ของบุคคลจึงเป็นกระบวนการที่แต่ละบุคคลต้องด าเนินการเอง เพราะ กระบวนการสร้างความหมายเป็นกระบวนการเฉพาะตน

หลักสำคัญของเครือข่ายการเรียนรู้

การเรียนรู้ตลอดชีวิตควรเริ่มจากการมีส่วนร่วมของบุคคล องค์กรและ ชุมชนในการตระหนักถึงปัญหาและการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการสร้างเสริมประสบการณ์การถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน จนทำให้เกิดการเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้สรุปหลักการสำคัญของ เครือข่ายไว้ดังนี้

1. การกระตุ้นความคิด ความใฝ่แสวงหาความรู้ จิตสำนึกในการพัฒนา ชุมชนท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมในการพัฒนา

2. การถ่ายทอด แลกเปลี่ยน การกระจายความรู้ทั้งในส่วนของวิทยากร สากลและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ

3. การแลกเปลี่ยนข่าวสารกับหน่วยงานต่างๆ ของทั้งในภาครัฐและเอกชน

4. การระดมและประสานการใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อการพัฒนาและลด ความซ้ำซ้อน สูญเปล่าให้มากที่สุด

การเรียนรู้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญเชิง ยุทธศาสตร์มากขึ้นสำหรับบุคคลและความ เจริญของชาติ ด้วยการเรียนรู้เป็นสื่อเชื่อมโยงกับข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้และ ทักษะซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ การเรียนรู้ที่ประสบ ความสำเร็จก็คือ การที่แต่ละบุคคลสามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือ ข้อมูลข่าวสารและ องค์ความรู้ที่เหมาะสม เพื่อแก้ปัญหา และแสวงหาโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่วนเครือข่ายการเรียนรู้ก็เป็นกระบวนการที่สำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้ตลอด ชีวิต เครือข่ายเป็นระบบการเชื่อมโยงระหว่างบุคคล หน่วยงาน องค์กร สถาบันเข้า ด้วยกัน ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ข้อมูลข่าวสาร ทรัพยากร ตลอดจนส่งเสริมการภารกิจให้มีผลส าเร็จและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

การพัฒนาการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนสมัยใหม่นั้นมีลักษณะอย่างไร

การเอามาใช้ในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพเหมาะสมอกับ ผู้เรียนสมัยใหม่ การระบุลักษณะ 8 ประการของผู้เรียนสมัยใหม่ไว้ดังนี้

1. มีอิสระที่จะเลือกสิ่งที่ตนพอใจ แสดงความเห็น และลักษณะเฉพาะของตน

2. ต้องการดัดแปลงสิ่งต่างๆ ให้ตรงตามความพอใจและความต้องการของตน (customization & personalization)

3. ตรวจสอบหาความจริงเบื้องหลัง (scrutiny)

4. เป็นตัวของตัวเองและสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เพื่อรวมตัวกันเป็นองค์กร เช่น ธุรกิจ รัฐบาล และสถาบันการศึกษา

5. ความสนุกสนานและการเล่นเป็นส่วนหนึ่งของงาน การเรียนรู้และชีวิตทาง สังคม

6. การร่วมมือ และความสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งของทุกกิจกรรม

7. ต้องการความเร็วในการสื่อสาร การหาข้อมูล และตอบคำถาม

8. สร้างนวัตกรรมต่อทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต

ผู้เรียนยุคใหม่เป็นคนยุคเจนเนอเรชัน (Generation Z) เป็นพวกที่ชอบใช้ อินเทอร์เนต หรือที่เรียกกันว่าเป็นชาวเน็ต ( netizen ) ซึ่งเป็นการศึกษาลักษณะ นิสัยเพื่อประโยชน์ทางการรวบรวมลักษณะของผู้เรียนไทยยุคใหม่ เอาไว้ใช้ในการ ออกแบบการเรียนรู้ ลักษณะอย่างหนึ่งของผู้เรียนไทยคือ เกือบครึ่งหนึ่งเป็นคนที่ ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ เพราะพ่อแม่ต้องออกไปท างานนอกหมู่บ้านเป็นเวลานานๆ ทิ้งลูก ไว้กับปู่ย่า หรือตายาย การสร้างสื่อที่เหมาะสมกับผู้เรียนต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญต่างๆและทุกองค์ประกอบเพื่อให้ครอบคลุมทุกเนื้อหาโดยมีหลักการหรือปัจจัย ส าคัญด้านการเรียนรู้ 5 ด้านคือ

1. Authentic learning

2. Mental model building

3. Internal motivation

4. Multiple intelligence

5. Social learning

Authentic learning

การเรียนรู้ที่แท้จริงอยู่ในโลกจริงหรือชีวิตจริง การเรียนวิชาในห้องเรียน ยังไม่ใช่การเรียนรู้ที่แท้จริง ยังเป็นการเรียนแบบสมมติ ดังนั้น จึงต้องออกแบบการ เรียนรู้ให้ได้เรียนในสภาพที่ใกล้เคียงชีวิตจริงที่สุดกล่าวในเชิงทฤษฎีได้ว่า การเรียนรู้ ขึ้นอยู่กับบริบทหรือสภาพแวดล้อมในขณะเรียนรู้ ห้องเรียนไม่ใช่บริบทที่จะท าให้ เกิดการเรียนรู้ในมิติที่ลึกเพราะห้องเรียนไม่เหมือนสภาพในชีวิตจริง การสมมติ โจทย์ที่คล้ายจะเกิดในชีวิตจริงก็ได้ความสมจริงเพียงบางส่วนแต่หากไปเรียนใน สภาพจริงก็จะได้การเรียนรู้ในมิติที่ลึกและกว้างขวางกว่าสภาพสมมติการออกแบบ การเรียนรู้ให้เกิด“การเรียนรู้ที่แท้”(authentic learning) เป็นความท้าทาย ใน สภาพที่มีข้อจ ากัดด้านเวลาและทรัพยากรอื่นๆ รวมทั้งจากความเป็นจริงว่า เด็ก นักเรียนในเมืองกับในชนบทมีสภาพแวดล้อมและชีวิตจริงที่แตกต่างกันมาก

Mental Model Building

การเรียนรู้ในระดับสร้างกระบวนทัศน์อาจมองอีกมุมหนึ่งว่า เป็น authentic learning แนวหนึ่ง คือ การอบรมบ่มนิสัย หรือการปลูกฝังความเชื่อ หรือค่านิยมในถ้อยค าเดิมของเราแต่ในความหมายข้อนี้เป็นการเรียนรู้วิธีการน าเอา ประสบการณ์มาสั่งสมจนเกิดเป็นกระบวนทัศน์(หรือความเชื่อ ค่านิยม) และที่ ส าคัญกว่านั้นคือ สั่งสมประสบการณ์ใหม่ เอามาโต้แย้งความเชื่อหรือค่านิยมเดิมท า ให้ละจากความเชื่อเดิมหันมายึดถือความเชื่อหรือกระบวนทัศน์ใหม่นั่นคือ เป็นการ เรียนรู้ (how to learn, how to unlearn/ delearn,how to relean) ไปพร้อมๆ กัน ท าให้เป็นคนที่มีความคิดเชิงกระบวนทัศน์ชัดเจน และเกิดการเรียนรู้เชิง กระบวนทัศน์ใหม่ได้ แต่การจะมีทักษะหรือความสามารถขนาดนี้ จ าต้องมีความสามารถรับรู้ข้อมูลหลักฐานใหม่ๆและน ามาสังเคราะห์เป็นความรู้เชิงกระบวน ทัศน์ใหม่ได

Internal Motivation

การเรียนรู้ที่แท้จริงขับดันด้วยฉันทะ ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ภายในตัวคนไม่ใช่ขับ ดันด้วยอ านาจของครูหรือพ่อแม่เด็กที่เรียนเพราะไม่อยากขัดใจครูหรือพ่อแม่จะ เรียนได้ไม่ดีเท่าเด็กที่เรียนเพราะอยากเรียนเมื่อเด็กมีฉันทะและได้รับการส่งเสริมที่ ถูกต้องจากครู ท าให้เกิดการเรียนรู้ในมิติที่ลึกซึ้งและเชื่อมโยง

Multiple Intelligence

มนุษย์เรามีพหุปัญญา (Multiple Intelligence) และเด็กแต่ละคนมีความ ถนัดหรือปัญญาที่ติดตัวมาแต่ก าเนิดต่างกัน รวมทั้งสไตล์การเรียนรู้ก็ต่างกัน ดังนั้น จึงเป็นความท้าทายในการจัดการเรียนรู้โดยค านึงถึงความแตกต่างของเด็กแต่ละคน และจัดให้การเรียนรู้ส่วนหนึ่งเป็นการเรียนรู้เฉพาะตัว(personalized learning) เรื่องนี้มีการวิจัยและการออกแบบการเรียนรู้ได้มากมาย ดังตัวอย่าง Universal Design for Learningซึ่งก็คือ เครื่องมือสร้างความยืดหยุ่นหลากหลายในการ ออกแบบการเรียนรู้นั่นเอง

Social Learning

การเรียนรู้เป็นกิจกรรมทางสังคม หากยึดหลักการนี้ ก็จะสามารถออกแบบ กระบวนการทางสังคมเพื่อให้ศิษย์เรียนสนุก และเกิดนิสัยรักการเรียนเพราะการ เรียนจะไม่ใช่กิจกรรมส่วนบุคคลที่หงอยเหงาน่าเบื่อ อย่าติดทฤษฎีหรือเชื่อตาม หนังสือจนเกินไปจนไม่กล้าทดลองวิธีคิดใหม่ๆ แนวคิดแบบฝรั่ง เราอาจคิดหลักการ เรียนรู้ตามแบบของเราที่เหมาะสมต่อบริบทสังคมไทยขึ้นมาใช้เองก็ได้ท่านที่สนใจ

ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนกระบวนทัศน์ใหม่( New Paradigm) เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ ( Learner Center ) นั้น การจัดแหล่งเรียนรู้เพื่อการเรียน การสอนเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่จะท าให้ผู้เรียนบรรลุผลทางการเรียนซึ่งจะมีความ แตกต่างจากการเรียนรู้ในรูปแบบเดิม ( Traditional ) ที่ผู้เรียนจะได้รับ ประสบการณ์ทางการเรียนที่เพิ่มขึ้นจากที่ได้รับจากครูในชั้นเรียน โดยเรียนจากแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่หลากหลายทั้งภายในและนอกโรงเรียน ลักษณะของการจัด ประสบการณ์ดังกล่าวสามารถแสดงให้เห็นจากภาพ

เปรียบเทียบรูปแบบการสอนแบบเก่า –แบบใหม่

ภาพที่ 29 ลักษณะของการจัดประสบการณ ์

ลักษณะเด่นและความสำคัญของการใช้แหล่งเรียนรู้

การใช้แหล่งเรียนรู้มีความสำคัญในกระบวนการจัดการเรียนรู้สำหรับ ผู้เรียน เพราะเรียนสามารถเรียนรู้จากสภาพจริง การจัดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ จะเกี่ยวข้องกับบุคคล สถานที่ ธรรมชาติ หน่วยงานองค์กร สถานประกอบการ ชุมชน และสิ่งแวดล้อมอื่นๆซึ่งผู้เรียน ผู้สอน สามารถศึกษาค้นคว้าหาความรู้หรือ เรื่องที่สนใจศึกษาได้จากแหล่งเรียนรู้ทั้งที่เป็นธรรมชาติ และที่มนุษย์สร้างขึ้น ชุมชนและธรรมชาติเป็นขุมทรัพย์มหาศาลที่เราสามารถค้นพบความรู้ได้ไม่รู้จบทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง

ลักษณะเด่นของการจัดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้มีดังนี้

1. ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง ค้นคว้าหาความรู้ได้ด้วยตนเอง

2. ผู้เรียนได้ฝึกการทำงานเป็นกลุ่มร่วมคิดร่วมทำร่วมแก้ปัญหาต่างๆซึ่งจะ ช่วยให้เกิดการเรียนรู้และทักษะกระบวนการต่างๆ

3. ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการสังเกต การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การตีความหมายและการสรุปความคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ

4. ผู้เรียนได้ประเมินผลการทำงานได้ด้วยตนเอง

5. ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้และเผยแพร่ความรู้ได้

6. ผู้สอนเป็นที่ปรึกษา ให้ความรู้ ให้คำแนะนำให้การสนับสนุนแนวคิดการใช้เทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้

ปัจจุบัน ทั่วโลกให้ความส าคัญกับการลงทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร(Information and Communication Technology : ICT) เพื่อใช้เป็น เครื่องมือในการพัฒนาประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษาจนเกิดความ แตกต่างระหว่างประเทศที่มีความพร้อมทาง ICT กับประเทศที่ขาดแคลนที่เรียกว่า Digital Divideในขณะเดียวกันประเทศทั่วโลกต่างมุ่งสร้างสังคมใหม่ให้เป็นสังคมที่ ใช้ความรู้เป็นฐาน(Knowledge Based Society) จนเกิดความแตกต่างระหว่าง สังคมที่สมบูรณ์ด้วยความรู้กับสังคมที่ด้อยความรู้ ที่เรียกว่า Knowledge Divideใน ยุคของการปฏิรูปการศึกษาต่างก็เร่งพัฒนาการศึกษาให้การศึกษาไปพัฒนาคุณภาพ ของคนเพื่อให้คนไปช่วยพัฒนาประเทศเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) จึงเป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพสูงในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการศึกษา เช่นช่วยน าการศึกษาให้เข้าถึงประชาชน (Access) ส่งเสริมการเรียนรู้ต่อเนื่องนอก ระบบโรงเรียน และการเรียนรู้ตามอัธยาศัยช่วยจัดท าข้อมูลสารสนเทศเพื่อการ บริหารและจัดการช่วยเพิ่มความรวดเร็วและแม่นย าในการจัดท าข้อมูล และการ วิเคราะห์ข้อมูลการเก็บรักษา และการเรียกใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ในงานจัดการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเรียนการสอนแต่การให้ความสนใจ กับการใช้เทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้ของผู้เรียนก็อาจหลงทางได้ถ้าผู้บริหาร สถานศึกษายึดถือการมีเทคโนโลยีเป็นจุดหมายปลายทาง ของการศึกษา แทนที่จะยึดถือผลการเรียนรู้เป็นจุดหมายปรากฏการณ์ของการหลงทางจะพบเห็น ในการประชาสัมพันธ์ถึงความพร้อมทางระบบคอมพิวเตอร์การมีเครือข่ายโยงเข้า Internet สะดวกผู้เรียนเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีและมีโอกาสใช้ได้เต็มที่แต่ในบาง สถานศึกษาผู้เรียนอาจใช้เทคโนโลยีไม่คุ้มค่าขาดเป้าหมายในการเรียนรู้สาระส าคัญ ตามหลักสูตรวิชาต่าง ๆและขาดโอกาสในการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนากระบวนการ ทางปัญญาอย่างแท้จริง

คุณค่าของเทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้

1.การใช้เทคโนโลยีพัฒนากระบวนการทางปัญญากระบวนการทางปัญญา (Intellectual Skills) คือ กระบวนการที่มีองค์ประกอบสำคัญคือ

(1) การรับรู้สิ่งเร้า (Stimulus)

(2) การจำแนกสิ่งเร้าจัดกลุ่มเป็นความคิดรวบยอด(Concept)

(3) การเชื่อมโยงความคิดรวบยอดเป็นกฎเกณฑ์ หลักการ (Rule) ด้วยวิธีอุปนัย(Inductive)

(4) การนำกฎเกณฑ์หลักการไปประยุกต์ใช้ด้วยวิธีนิรนัย (Deductive)

(5) การสรุปเป็นองค์ความรู้ใหม่ ๆ (Generalization)

ระบบคอมพิวเตอร์มีสมรรถนะสูงที่จะช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีความฉลาดใน กระบวนการทางปัญญานี้โดยครูอาจจัดข้อมูลในเรื่องต่าง ๆ ในวิชาที่สอนให้ผู้เรียน ฝึกรับรู้ แสวงหาข้อมูลน ามาวิเคราะห์ก าหนดเป็นความคิดรวบยอดและใช้ คอมพิวเตอร์ช่วยแสดงแผนผังความคิดรวบยอด(Concept Map) โยงเป็นกฎเกณฑ์ หลักการ ซึ่งผู้สอนสามารถจัดสถานการณ์ให้ผู้เรียนฝึกการน ากฎเกณฑ์ หลักการไป ประยุกต์ จนสรุปเป็นองค์ความรู้อย่างมีเหตุผลบันทึกสะสมไว้เป็นคลังความรู้ของ ผู้เรียนต่อไป

2.การใช้เทคโนโลยีพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาการเรียนรู้ที่เน้น ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุดนั้นสามารถออกแบบแผนการเรียน การสอนให้ผู้เรียนมีโอกาสทำโครงงานแสวงหาความรู้ตามหลักสูตรหาความรู้ใน เรื่องที่ผู้เรียนสนใจ หรือเพื่อแก้ปัญหา (Problem-Based Learning) การเรียนรู้ ลักษณะนี้จะเริ่มต้นด้วยการกำหนดประเด็นเรื่อง (Theme) ตามมาด้วยการ วางแผนกำหนดข้อมูลหรือสาระที่ต้องการ ผู้สออาจจัดบุญชีแสดงแหล่งข้อมูล (Sources) ทั้งจากเอกสารสิ่งพิมพ์ และจาก Electronic Sources เช่นชื่อของ Web ต่าง ๆ ให้ผู้เรียนแสวงหาข้อมูล วิเคราะห์สังเคราะห์ เป็นค าตอบสร้างเป็นองค์ ความรู้ต่าง ๆโดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือช่วยและครูช่วยกำกับผลการเรียนรู้ให้ เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพที่ต้องการทั้งนี้ครูจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยชี้แนะ ทิศทางของการแสวงหาความรู้หรือแนะนำผู้เรียนให้พัฒนาความรู้ความสามารถ เพิ่มขึ้นให้สอดคล้องกับมาตรฐานคุณภาพผลการเรียนรู้

การเรียนรู้ดิจิทัล

คือการผนวกกันของทักษะความรู้และความเข้าใจที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้ เพื่อที่จะมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่และมีความปลอดภัยในโลกยุคดิจิทัลมากขึ้น ทักษะ ความรู้และความเข้าใจนี้เป็นกุญแจสำคัญที่ควรเป็นองค์ประกอบของหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา และควรจะผนึกผสาน อยู่ในการเรียนการสอนของทุกรายวิชาทุกระดับชั้น

การเรียนรู้ดิจิทัลมีความสำคัญ อย่างไร

เทคโนโลยีให้โอกาสในการมีส่วนร่วมในชนิดใหม่ของการเรียนรู้ชุมชน สังคม และกิจกรรมการทำงานทุกคนจะต้องมีความรู้ดิจิทัลเพื่อใช้ประโยชน์สูงสุด จากโอกาสเหล่านี้ หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าในขณะที่เยาวชนคนหนุ่มสาว รู้สึก มั่นใจเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีนีไม่ได้เป็นสิ่งบ่งบอกถึงสมรรถนะหรือความสามารถ ที่แท้จริง ในด้านทักษะการคิดวิจารณญาณ เช่น ความตระหนักถึงกลยุทธ์ทาง การค้าหรืออคติจากสื่อต่างๆตลอดจนความปลอดภัยในการใช้งาน

นอกจากนี้การเรียนรู้ดิจิทัลจะมีผลส าคัญต่อสังคมโดยรวม ต่อความเสมอ ภาคในการเข้าถึงข้อมูลการบริการและการจ้างงาน การเข้ากลุ่มทางสังคม และ โอกาสในการเรียนรู้เพิ่มเติม ตลอดจนอาจส่งผลกระทบต่อการขยายโอกาสทาง ธุรกิจ

การพัฒนาการเรียนรู้ดิจิทัลเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติ ของความรู้ความเข้าใจครูทุกคนสามารถน าเสนอมุมมองที่แตกต่างกันในเรื่องวิธีการ ที่เทคโนโลยีสามารถเพิ่มคุณค่าในการเรียนของผู้เรียนนอกจากนี้ยังช่วยให้ออนไลน์ อย่างปลอดภัยหากผู้เรียนมีความสามารถในการตัดสินใจที่เหมาะสมและมีข้อมูล เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีที่จะส่งผลกระทบต่อการศึกษาตลอดชีวิต รวมถึงชีวิตการ ท างานในอนาคต

การเรียนแบบดิจิทัล

‘การรู้’ (Literacy)ในแง่ดั้งเดิมหมายถึงความสามารถอ่านและเขียนใน ภาษาที่ใช้ร่วมกันของวัฒนธรรม ส่วนการรู้ดิจิทัล หมายถึงการอ่านและการเขียน ข้อความดิจิทัล เช่น สามารถ ‘อ่าน’ เว็บไซต์โดยผ่านการเชื่อมโยงหลายมิติ และ ‘การเขียน’ โดยการอัปโหลดภาพถ่ายดิจิทัลเพื่อเว็บไซต์เครือข่ายสังคมทักษะการ ท างานที่จ าเป็นในการด าเนินการและการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีและสื่อ นอกจากนี้ยังหมายถึงความรู้เกี่ยวกับความส าคัญของเทคโนโลยีและสื่อที่มีผลกระทบ แต่ที่ ส าคัญกว่านั้น คือความสามารถที่จะวิเคราะห์และประเมินความรู้ที่มีอยู่ในเว็บไซต ์

การเรียนการสอนและการเรียนรู้ไม่สามารถตีกรอบอยู่ในกิจกรรมที่ใช้ กระดาษและปากกาเท่านั้นซึ่งหมายความว่าผู้เรียนและครูผู้สอนจ าเป็นต้องรู้สึกได้ ว่าเทคโนโลยีสามารถน ามาใช้ในทุกวิชาและเข้าใจว่าเทคโนโลยีดังกล่าวส่งผล กระทบต่อสิ่งที่รู้ในเรื่องต่างๆเทคโนโลยีก าลังเปลี่ยนแปลงวิธีการที่เราศึกษาค้นคว้า เช่น ภูมิศาสตร์ภาษาอังกฤษ และวิทยาศาสตร์ ระบบจีพีเอส เรื่องเล่าออนไลน์ แบบจ าลองทางฟิสิกส์ และการใช้ทัศนภาพ โปรแกรมการท าแผนที่อาจส่งผล กระทบต่อการเรียนภูมิศาสตร์การศึกษาวิทยาศาสตร์อาจรับรู้วิธีการโต้ตอบด้วย ภาพ

การรู้ดิจิทัลในรายวิชาต่างๆไม่จ าเป็นต้องน ามาซึ่งการเปลี่ยนแปลงการสอน อย่างสิ้นเชิงทักษะต่างๆที่เป็นส่วนหนึ่งของการเป็นความรู้แบบดิจิทัลโดยเฉพาะ อย่างยิ่งการตั้งค าถามที่ส าคัญทักษะของการศึกษาที่มีประสิทธิภาพและการ วิเคราะห์ความผูกพันของผู้เรียนกับเนื้อหาวิชาจะยังคงช่วยให้ครูหาวิธีการ สร้างสรรค์ที่มีประสิทธิภาพและมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร

การรู้ดิจิทัลมีความหมายมากกว่าทักษะด้านเทคโนโลยีอย่างง่ายความ เข้าใจรวมถึงทักษะที่ซับซ้อนมากขึ้นขององค์ประกอบและการวิเคราะห์ ความสามารถในการสร้างความหลากหลายของเนื้อหาที่มีการใช้เครื่องมือดิจิทัล ต่างๆทักษะและความรู้ที่จะใช้ความหลากหลายของการใช้งานซอฟต์แวร์สื่อดิจิทัล และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เช่นคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือและเทคโนโลยี อินเทอร์เน็ต ความสามารถในการเข้าใจสื่อดิจิทัลเนื้อหาการใช้งานและความรู้ความสามารถใน การสร้างด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

การรู้ใช้รู้เข้าใจรู้สร้างสรรค์เป็นคำที่แสดงลักษณะความรู้สามารถดิจิทัล ใช้(Use)

แสดงถึงความคล่องแคล่วทางเทคนิคที่จำเป็นในการใช้กับคอมพิวเตอร์และ อินเทอร์เน็ตชุดรูปแบบพื้นฐานสำหรับการพัฒนาทักษะทางเทคนิคที่จำเป็นรวมถึง ความสามารถในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เช่นโปรแกรมประมวลผลคำเว็บเบราเซอร์E-mail และการสื่อสารอื่นๆเครื่องมือค้นหาและฐานข้อมูลออนไลน์เข้าใจ

(Understand)

คือความสามารถที่จะเข้าใจบริบทที่เกี่ยวข้องและประเมินสื่อดิจิทัล ตระหนักถึงความส าคัญของการประเมินผลที่ส าคัญในการทำความเข้าใจดิจิทัล เนื้อหาของสื่อและการประยุกต์ใช้สามารถสะท้อนให้เห็นถึงรูปร่างการเพิ่มหรือ จัดการกับความรู้สึกความเชื่อของเราและความรู้สึกเกี่ยวกับโลกรอบตัวเราความ เข้าใจความส าคัญของสื่อดิจิทัลที่ช่วยให้บุคคลเก็บเกี่ยวผลประโยชน์และลดความ เสี่ยงการมีส่วนร่วมในสังคมเต็มรูปแบบดิจิทัลทักษะชุดนี้ยังรวมถึงการพัฒนาทักษะ การจัดการสารสนเทศและการแข็งค่าของสิทธิคนและความรับผิดชอบในการไปถึง ทรัพย์สินทางปัญญาในเศรษฐกิจความรู้ชาวแคนาดาจ าเป็นต้องรู้วิธีการหา ประเมินผลและมีประสิทธิภาพใช้ข้อมูลเพื่อการสื่อสารการท างานร่วมกันและ แก้ปัญหาในชีวิตส่วนตัวและเป็นมืออาชีพของพวกเขา

สร้างสรรค์ (Create)

ความสามารถในการสร้างเนื้อหาและมีประสิทธิภาพการติดต่อสื่อสารโดย ใช้ความหลากหลายของสื่อดิจิทัลเป็นเครื่องมือการสร้างสื่อดิจิทัลมีความหมาย มากกว่าความสามารถในการใช้โปรแกรมประมวลผลหรือเขียนอีเมล์รวมถึง ความสามารถในการปรับการสื่อสารกับสถานการณ์และผู้รับสารการสร้างและ ติดต่อสื่อสารโดยใช้สื่อผสมเช่นภาพวีดิโอและเสียงประกอบอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความรับผิดชอบประกอบกับเนื้อหาเว็บไซต์ที่ผู้เรียนสร้างเช่นบล็อกและเวที สนทนาวีดิโอและภาพถ่ายร่วมกันเล่นเกมทางสังคมและรูปแบบอื่นๆของสื่อสังคม แนวคิดนี้ยังตระหนักถึงสิ่งที่เป็นความรู้ในโลกดิจิทัลที่ไม่เพียงแต่สร้างความชำนาญ ทางด้านเทคโนโลยีเท่านั้นแต่ยังค านึงถึงจริยธรรมการปฏิบัติทางสังคมและการ สะท้อนสิ่งที่ฝังอยู่ในการเรียนรู้การใช้เวลาว่างและการใช้ชีวิตประจำวัน

ภาพที่ 30 โลโก้แหล่งเรียนรู้เทคโนโลยีทางการศึกษาในประเทศไทย

UniNet เครือข่ายเฉพาะกิจ

UniNet เครือข่ายเพื่อการศึกษาวิจัย เป็นเครือข่ายเฉพาะกิจสำหรับ สนับสนุนสถาบันการศึกษา ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนและการวิจัย เชื่อม ต่อไปยังสถาบันการศึกษาทั่วโลก

เครือข่าย อาทิ www, YouTube, Facebook,Bit Torrent download ภาพยนต์เพลงหรือรูปภาพ เป็นต้น ท าให้เมื่อมีความจ าเป็นต้องใช้งานเครือข่าย อินเทอร์เน็ตเพื่อสนับสนุน กิจกรรมการเรียนการสอนและการวิจัยจะต้องไปแย่ง ช่องทางกับ ผู้อื่น เมื่อเป็นเช่นนี้งานวิจัยที่ต้องใช้ Bandwidth สูง เช่น ระบบส าหรับ ประชุมและจัดการเรียนการสอนทางไกล การใช้งานฐานข้อมูลเพื่อ การสืบค้นและ การใช้ทรัพยากรทางการศึกษาที่ให้บริการอยู่บนเครือข่ายอินเทอร์ เน็ตเกิดความ ล่าช้าและคุณภาพไม่ดี สุดท้ายก็จะไม่สามารถท างานวิจัยหรือการจัดการการศึกษา ที่ต้องการได้ ดังนั้นการมีเครือข่ายเฉพาะกิจ หรือกล่าวคือ"เครือข่ายเพื่อการ ศึกษาวิจัยโดยเฉพาะ" จึงเป็นช่องทางส าคัญที่จะช่วยให้คณาจารย์ นักวิจัย นิสิต นักศึกษาสามารถใช้เครือข่าย UniNet เพื่อด าเนินกิจกรรมเพื่อการศึกษาวิจัยได้โดย ไม่มี Traffic แบบอื่นมาเจือปน

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกได้มีการจัดตั้งและสร้างเครือข่าย เพื่อการ ศึกษาวิจัยโดยเฉพาะอยู่ทุกประเทศ โดยเครือข่ายประเภทนี้เรียกชื่อกันในนามของ REN:Research and Education Network ซึ่งประเทศไทย UniNet ได้ตั้งกลุ่มใน นาม ThaiREN ขึ้นเพื่อใช้เรียกขานและประสานงานความร่วมมือกับหน่วยงานการ ศึกษาวิจัยทั้ง ในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงด าเนินการเชื่อมต่อเข้ากับ เครือข่าย Internet2 ซึ่งเชื่อมโยงมหาวิทยาลัยชั้นน าในสหรัฐอเมริกา , เครือข่าย TEIN4 ซึ่งเชื่อมโยงสถาบันการศึกษาในทวีปเอเชียและยุโรป และเครือข่าย JGN2Plus ซึ่งเชื่อมโยงสถาบันการศึกษาในประเทศญี่ปุ่น จากการรวมกลุ่มต่างๆ ดังกล่าวนี้เอง ท าให้เกิด Community ทางด้านการศึกษาวิจัย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

ภาพที่ 31 เว็บไซต์สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สสวท.

เป็นองค์กรหลักของประเทศที่พัฒนาให้นักเรียนมีความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทัดเทียมนานาชาติ พันธกิจและภารกิจ ตามกฎหมายตามพระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี พ.ศ. 2551 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 ได้ก าหนดวัตถุประสงค์ ของสถาบันไว้ดังนี้

1. ส่งเสริม ประสาน และจัดให้มีการศึกษาค้นคว้า วิจัย และพัฒนา หลักสูตร วิธีการเรียนรู้ วิธีสอนและการประเมินผลการเรียนการสอน เกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้น พื้นฐานเป็นหลัก

2. ส่งเสริมประสาน และจัดให้มีการพัฒนาบุคลากร การฝึกอบรมครู อาจารย์ นักเรียน นิสิตและนักศึกษา เกี่ยวกับการเรียนการสอนและการค้นคว้าวิจัย ทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี

3. ส่งเสริม ประสาน และจัดให้มีการค้นคว้า วิจัย ปรับปรุง และจัดทำแบบเรียน แบบฝึกหัด เอกสารทางวิชาการและสื่อการเรียนการสอนทุกประเภท ตลอดทั้งประดิษฐ์อุปกรณ์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี

4. ส่งเสริมการพัฒนาระบบประกันคุณภาพและการประเมินมาตรฐาน การศึกษา ทางด้านวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีในสถานศึกษา

5. พัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดทั้งการส่งเสริมการผลิตครู อาจารย์ ที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี

6. ให้คำปรึกษาแนะนำแก่กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่อ อย่างอื่น หน่วยงานอื่นของรัฐ หรือหน่วยงาน

eDLTV

คือ โครงการจัดทำเนื้อหาระบบ e-Learning ของการศึกษาทางไกล ผ่านดาวเทียม เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550

ภาพที่ 32 เว็บไซต์โครงการจัดทำเนื้อหาระบบ e-Learning e-DLTV

โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชด าริสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีคือโครงการในพระราชด าริของสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการน าเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาผู้ด้อยโอกาส อาทิ นักเรียนในชนบทที่ห่างไกล คนพิการ ผู้ต้องขัง และเด็กป่วยในโรงพยาบาล เป็นต้น การด าเนินการ “โครงการจัดท าเนื้อหา ระบบ e-Learning ของการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาส มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐” ก็นับเป็น โครงการหนึ่งที่ต้องการให้ “โอกาส” แก่ ผู้ด้อยโอกาส คือนักเรียนในชนบท โดย ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ซึ่งเป็น องค์กรน าในการจัดการเรียนการสอนทางไกลโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่าน ดาวเทียมและเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยการรวบรวมเนื้อหาการสอนที่ออกอากาศ ทางสถานีวิทยุและโทรทัศน์การศึกษาทาง ไกลผ่านดาวเทียมจากโรงเรียนวังไกล กังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มาลงบนระบบ e-Learning

eDLTV คืออะไร

“eDLTV” คือ “โครงการจัดท าเนื้อหา ระบบ e-Learning ของการศึกษา ทางไกลผ่านดาวเทียม เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระ ชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐” เป็นโครงการความร่วมมือของ มูลนิธิ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตาม พระราชด าริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยการน าเนื้อหา ของการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ที่ออกอากาศทางสถานีวิทยุและ โทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนวังไกลกังวล จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ มาลงบนระบบ e-Learning เพื่อใช้เผยแพร่แก่โรงเรียนในโครงการ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของ โรงเรียนในชนบท (ทสรช.) ที่ส่วนใหญ่อยู่ ในชนบทห่างไกล ขาดแคลนครู ได้ใช้ประโยชน์ในการสอน สอนเสริม หรือให้ นักเรียนได้ใช้ทบทวนบทเรียนภายในโรงเรียนแบบ Off-line และเผยแพร่แบบ Online ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ให้แก่ครู นักเรียน และผู้สนใจทั่วไปได้ใช้ประโยชน์ในการ เรียนการสอน หรือศึกษาเพิ่มเติม

DLTV

คือ โครงการการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล ผ่านดาวเทียม

ภาพที่ 33 เว็บไซต์โครงการจัดทำเนื้อหาระบบ DLIT

ความเป็นมาและความสำคัญ สืบเนื่องจากข้อสั่งการของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เกี่ยวกับ เรื่องที่ต้องเร่งรัดดำเนินการในประเด็นด้านการศึกษาเรื่องการขาดแคลนครูใน โรงเรียนพื้นที่ห่างไกลรวมทั้งการ

เพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็ก จึงได้พิจารณาให้มีการศึกษาและขยาย ผลโครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมไปยังพื้นที่อื่นๆโดยก าหนดให้ใช้ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ในโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศ จ านวน 15,369 โรงเรียน นอกเหนือจากที่ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุพรรณบุรี เขต 1 ที่ด าเนินการมาอย่างต่อเนื่องและได้ผล

การดำเนินการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในโรงเรียนขนาดเล็กทั่ว ประเทศ จะบรรลุวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพได้นั้น มีความจ าเป็นต้องมีการ พัฒนาการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมย่างต่อเนื่องและยั่งยืน มีการขับเคลื่อนไปสู่ การปฏิบัติทั้งในระดับส านักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ระดับ ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาและระดับโรงเรียน

วัตถุประสงค์

1. เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาส เฉลิมพระชนมพรรษาวันที่ 5 ธันวาคม 2557

2. เพื่อช่วยแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กที่ประสบปัญหาการมีครูไม่ ครบชั้น ครูสอนไม่ตรงสาขาวิชาเอก

3. เพื่อขยายผลโครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมไปยังพื้นที่ อื่นๆ ให้มีผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว

DLIT คือเครื่องมือที่มีเนื้อหาและเทคโนโลยีสำหรับการพัฒนาคุณภาพ การศึกษาอย่างครบวงจร ตั้งแต่การวางแผน การจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนการ สอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาฯ การจัดการเรียนการสอนเพิ่มเติม การสอบ ที่มีประสิทธิภาพ และการพัฒนาวิชาชีพอย่างยั่งยืน

ในด้านเนื้อหา DLIT มีเนื้อหาที่ตอบสนองความต้องการและการใช้งานในชีวิต ของครูและนักเรียนทุกคน

ในด้านเทคโนโลยี DLIT มีเทคโนโลยียุคใหม่ที่ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูจัดการ เรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันสมัย

DLIT เป็นสื่อที่เปิดส าหรับทุกคน (Open Resources) ครู นักเรียน บุคลากร ทางการศึกษาผู้ปกครองและประชาชนทั่วไป เข้าถึง DLITได้ทุกที่ ทุกเวลาและบน เครื่องมือทุกชนิด ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ ทุกคนสามารถ เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และน าไปใช้ประกอบการสอนนักเรียนได้ ยกเว้นคลังข้อสอบที่ อนุญาตเฉพาะกลุ่ม และเทคโนโลยีบางประเภทที่สนับสนุนเฉพาะบุคลากรทาง การศึกษา

DLIT มีเป้าหมายเพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาดีขึ้น นักเรียนมีคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 ครูมีเครื่องมือที่ท าให้เกิดการพัฒนา วิชาชีพอย่างต่อเนื่อง และการศึกษาไทยก้าวไปข้างหน้าอย่างแท้จริง DLIT มี 5 รูปแบบ

1. DLIT Classroom ห้องเรียน DLIT การถ่ายทอดการจัดการเรียนรู้ หัวข้อเรื่องที่ยาก จากครูต้นแบบของโรงเรียนชั้นน าไปยังห้องเรียนปลายทาง เพื่อ ช่วยครูในห้องเรียนปลายทาง โดยเฉพาะกรณีที่ครูปลายทางไม่ใช่ครูตรงกลุ่มสาระ การเรียนรู้ หรือครูประสบปัญหาการสอนหัวข้อเรื่องที่ยากมาโดยตลอด

2. DLIT Resources คลังสื่อประกอบการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

3. DLIT Digital Library ห้องสมุดดิจิทัล เพื่อครู นักเรียน ผู้ปกครอง และผู้สนใจทั่วไป มีเนื้อหาถูกต้อง ตอบสนองความต้องการและความสนใจเรียนรู้

4. DLIT PLC (Professional Learning Community) การพัฒนา วิชาชีพครู เครื่องมือในการสร้างและพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู พร้อมพื้นที่แห่งการแบ่งปันและเรียนรู้หรือ Share and Learn

5. DLIT Assessment คลังข้อสอบ ที่รวบรวมข้อสอบมากมาย ตั้งแต่ ประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6