จังหวัดขอนแก่น

ผู้ดูแลระบบ: สำนักงานจังหวัดขอนแก่น

นโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี หมายถึง การประกาศเจตนารมณ์ขององค์การที่จะดำเนินการและกำหนดนโยบายตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยให้ผู้บริหารจะต้องวางนโยบายเกี่ยวกับรัฐ สังคม และสิ่งแวดล้อม ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้ง กำหนดแนวทางการปฏิบัติและมาตรการหรือโครงการเพื่อให้บรรลุตามนโยบายขององค์การ

หนังสือแจ้งเวียน/ประชาสัมพันธ์

  • หนังสือจังหวัดขอนแก่น ที่ ขก 0017.5/ว 252 ลงวันที่ 6 ธันวาคม 2564 เรื่อง การรายงานมาตรการกระทบการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์จังหวัดขอนแก่น ประจำปี 2565 [หนังสือ] [สิ่งที่ส่งมาด้วย]

  • หนังสือจังหวัดขอนแก่น ที่ ขก 0017.5/ว22458 ลงวันที่ 6 กันยายน 2564 เรื่อง การรายงานมาตรการผลกระทบการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์จังหวัดขอนแก่น ประจำปี 2564 [หนังสือ] [สิ่งที่ส่งมาด้วย]

  • หนังสือจังหวัดขอนแก่น ที่ ขก 0017.5/ว 1537 ลงวันที่ 15 มกราคม 2564 เรื่อง การรายงานมาตรการผลกระทบการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์จังหวัดขอนแก่น ประจำปี 2564 [หนังสือ] [สิ่งที่ส่งมาด้วย]

  • หนังสือจังหวัดขอนแก่น ที่ ขก 0017.5/ว 3251 ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563 เรื่อง การดำเนินการตามนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี จังหวัดขอนแก่น ปี 2563 [หนังสือ]

นโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี จังหวัดขอนแก่น

เพื่อแสดงความมุ่งมั่นต่อการบริหารราชการตามแนวธรรมาภิบาล จังหวัดขอนแก่นได้จัดทำนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดีขึ้น โดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล เป็นพื้นฐานในการกำหนดนโยบายหลัก 4 ด้าน และแนวทางปฏิบัติภายใต้กรอบนโยบายหลัก ประกอบด้วย นโยบายด้านรัฐ สังคมและสิ่งแวดล้อม นโยบายด้านผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นโยบายด้านองค์การ นโยบายด้านผู้ปฏิบัติงาน

นโยบายด้านรัฐ สังคม และสิ่งแวดล้อม

นโยบายหลัก 1

  • บูรณาการการทำงานร่วมกับเครือข่ายเตรียมความพร้อมรองรับผลกระทบเชิงลบต่อสังคม เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของจังหวัดในการเป็นเมืองน่าอยู่

แนวทางปฏิบัติ

  • สร้างกลไกในการบูรณาการและถ่ายทอดให้ทุกภาคส่วนรับทราบด้วยช่องทางการสื่อสารที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย รวดเร็ว ประหยัด

  • ใช้เทคโนโลยีและดิจิทัลที่ทันสมัยเพื่อติดตามตัวชี้วัดและผลการดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว

  • ส่งเสริมให้ส่วนราชการได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบร่วมกัน ดูแลแก้ไข เพื่อสร้างความเข้มแข็งขององค์การ ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างสรรค์สังคมที่ดีและมีความสุข

  • ส่งเสริมให้มีการจัดทำแนวทางและมาตรการเพื่อให้ส่วนราชการได้ตระหนักและเอาใจใส่ถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม

นโยบายหลัก 2

  • การปกป้องผลประโยชน์ของประเทศและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

แนวทางปฏิบัติ

  • กำหนดมาตรการปกป้องผลประโยชน์ของประเทศและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

  • ส่งเสริมให้หน่วยงานมุ่งเน้นการทำงานโดยคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศ

นโยบายด้านผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

นโยบายหลัก 1

  • มุ่งเน้นพัฒนานวัตกรรมการให้บริการที่มีคุณภาพ ตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

แนวทางปฏิบัติ

  • ส่งเสริมการนำระบบเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ

  • เสริมสร้างองค์ความรู้ในการสร้างนวัตกรรมการให้บริการให้แก่บุคลากร

นโยบายหลัก 2

  • ส่งเสริม สนับสนุน การเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบราชการ

แนวทางปฏิบัติ

  • กำหนดมาตรการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ

  • สำรวจความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกจากผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA)

นโยบายด้านองค์การ

นโยบายหลัก 1

  • สร้างกลไกกำกับดูแลองค์การในระดับหน่วยงาน และระดับจังหวัด

แนวทางปฏิบัติ

  • ให้คณะกรรมการจริยธรรมประจำหน่วยงานเป็นกลไกขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม สร้างความโปร่งใส ในระดับหน่วยงาน ควบคู่ไปกับการขับเคลื่อนการดำเนินงานระดับจังหวัด

  • จัดตั้งศูนย์จริยธรรมประจำหน่วยงาน

  • กำหนดมาตรการความรับผิดชอบด้านการเงิน และการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ

นโยบายหลัก 2

  • มุ่งเน้นการเป็นองค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย

แนวทางปฏิบัติ

  • มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและใช้หลักธรรมาภิบาลเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนงานขององค์การ

  • ส่งเสริมให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

  • นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการพัฒนาให้องค์กรมีความทันสมัยและยกระดับระบบบริการภาครัฐ

นโยบายด้านผู้ปฏิบัติงาน

นโยบายหลัก

  • พัฒนาบุคลากรให้ปฏิบัติภารกิจที่รับผิดชอบในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถปฏิบัติงานเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต มีทักษะ และสามารถปฏิบัติงานได้หลากหลาย

แนวทางปฏิบัติ

  • การพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการทำงานในบริบทการเป็นดิจิทัล

  • ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งจากภายในหน่วยงานและภายนอกหน่วยงาน ถ่ายทอดนโยบายและทิศทางขององค์การสู่ระดับบุคคลอย่างชัดเจน

  • ให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการวางแผนการพัฒนา และกำหนดเส้นทางความก้าวหน้าของตน

  • ปลูกฝังค่านิยมในการทำงาน สร้างกลไกจูงใจกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือ เกิดการทำงานเป็นทีมและมีประสิทธิภาพสูง

  • การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร การจัดการความรู้ และนวัตกรรม