จังหวัดขอนแก่น

การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ จังหวัดขอนแก่น

Public Sector Management Quality Award: PMQA

การจัดการกระบวนการ จังหวัดขอนแก่น

แผนพัฒนาจังหวัดขอนแก่น พ.ศ. 2561 – 2565

เป้าหมายการพัฒนาจังหวัดขอนแก่น

“มหานครน่าอยู่ มุ่งสู่เมืองนวัตกรรม ศูนย์กลางเชื่อมโยงอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง”

พันธกิจ

  1. พัฒนาให้เป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน สำหรับคนทุกกลุ่มในสังคม

  2. พัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันเพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของตลาดและเชื่อมโยงกับอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

  3. ส่งเสริมการพัฒนาด้านนวัตกรรม และเทคโนโลยี สู่การเป็น Smart City และ MICE City

ตัวชี้วัดความสำเร็จตามเป้าหมายการพัฒนาจังหวัด

  • อัตราการขยายตัวมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3

  • ระดับความสุขมวลรวมของประชาชนจังหวัดขอนแก่น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

ตำแหน่งการพัฒนา (Positioning)

  • เมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน (Smart City)

  • ศูนย์กลางคมนาคมขนส่งโลจิสติกและระบบราง

  • เมืองแห่งการประชุมสัมมนา (MICE City)

  • เมืองหัตถกรรมโลกแห่งผ้ามัดหมี่

  • ศูนย์กลางการศึกษา

  • ศูนย์กลางการบริการทางการแพทย์

  • เมืองอุตสาหกรรมสีเขียว

ประเด็นการพัฒนา

  • ประเด็นที่ 1 การยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน และเชื่อมโยงโอกาสจากประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

  • ประเด็นที่ 2 การพัฒนาคุณภาพคนและสังคม

  • ประเด็นที่ 3 การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

  • ประเด็นที่ 4 การเสริมสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

  • ประเด็นที่ 5 การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้าน การเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City)และเมืองแห่งการประชุมสัมมนา (Meetings, Incentive Travel, Conventions, Exhibitions : MICE City)

กระบวนการที่สร้างคุณค่าตามพันธกิจจังหวัดขอนแก่น

1. พันธกิจพัฒนาให้เป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน สำหรับคนทุกกลุ่มในสังคม

(ผู้รับบริการ : ผู้รับการรักษาพยาบาล, ผู้สูงอายุ, ผู้ด้อยโอกาส, ผู้ใช้แรงงาน, ประชาชนในพื้นที่)

    • กระบวนการพัฒนาด้านการแพทย์ สาธารณสุขและการให้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วย

    • กระบวนการพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิต

    • กระบวนการบริหารจัดการขอนแก่นน่าอยู่มุ่งสู่เมืองต้นแบบ เมืองสิ่งแวดล้อมที่ดี

2. พันธกิจพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันเพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของตลาดและเชื่อมโยงกับอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

(ผู้รับบริการ : เกษตรกร/กลุ่มอาชีพ, ผู้ประกอบการ)

    • กระบวนการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญ

    • กระบวนการส่งเสริมและพัฒนาสินค้า OTOP และ SMEs

    • กระบวนการพัฒนาด้านการค้าและการลงทุน

3. พันธกิจส่งเสริมการพัฒนาด้านนวัตกรรม และเทคโนโลยีสู่การเป็น Smart City และ MICE City

(ผู้รับบริการ: นักท่องเที่ยว, ผู้ประกอบการ, ประชาชนในพื้นที่)

    • กระบวนการส่งเสริมการท่องเที่ยว

    • กระบวนการพัฒนาระบบขนส่งและโลจิสติกส์