เนื้อหาบทเรียน

Teaching Speaking

Many language learners regard speaking ability as the measure of knowing a language. These learners define fluency as the ability to converse with others, much more than the ability to read, write, or comprehend oral language. They regard speaking as the most important skill they can acquire, and they assess their progress in terms of their accomplishments in spoken communication.

Language learners need to recognize that speaking involves three areas of knowledge:

  • Mechanics (pronunciation, grammar, and vocabulary): Using the right words in the right order with the correct pronunciation
  • Functions (transaction and interaction): Knowing when clarity of message is essential (transaction/information exchange) and when precise understanding is not required (interaction/relationship building)
  • Social and cultural rules and norms (turn-taking, rate of speech, length of pauses between speakers, relative roles of participants): Understanding how to take into account who is speaking to whom, in what circumstances, about what, and for what reason.

In the communicative model of language teaching, instructors help their students develop this body of knowledge by providing authentic practice that prepares students for real-life communication situations. They help their students develop the ability to produce grammatically correct, logically connected sentences that are appropriate to specific contexts, and to do so using acceptable (that is, comprehensible) pronunciation.

ttp://www.nclrc.org/essentials/speaking/spindex.htm

การสอนทักษะการพูด

จุดมุ่งหมายของการพูด คือ การสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วยการพูดอย่างถูกต้องและคล่องแคล่ว การสอนทักษะการพูดภาษาอังกฤษในเบื้องต้น มุ่งเน้นความถูกต้องของการใช้ภาษา ในเรื่องของเสียง คำศัพท์ ไวยากรณ์ กระสวนประโยค ดังนั้น กิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนระดับต้นได้ฝึกทักษะการพูด จึงเน้นกิจกรรมที่ผู้เรียนต้องฝึกปฏิบัติตามแบบ หรือ ตามโครงสร้างประโยคที่กำหนดให้พูดเป็นส่วนใหญ่ สำหรับผู้เรียนระดับสูง กิจกรรมฝึกทักษะการพูด จึงจะเน้นที่ความคล่องแคล่วของการใช้ภาษา และจะเป็นการพูดแบบอิสระมากขึ้น

เทคนิควิธีปฎิบัติ กิจกรรมการฝึกทักษะการพูด มี 3 รูปแบบ คือ


1. การฝึกพูดระดับกลไก (Mechanical Drills) เป็นการฝึกตามตัวแบบที่กำหนดให้ในหลายลักษณะ เช่น

- พูดเปลี่ยนคำศัพท์ในประโยค (Multiple Substitution Drill)

- พูดตั้งคำถามจากสถานการณ์ในประโยคบอกเล่า (Transformation Drill)

-พูดถามตอบตามรูปแบบของประโยคที่กำหนดให้ (Yes/No Question-Answer Drill)

-พูดสร้างประโยคต่อเติมจากประโยคที่กำหนดให้ (Sentence Building)

-พูดเรียงประโยคจากบทสนทนา (Ordering dialogues)

-พูดทายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในบทสนทนา (Predicting dialogue)

-พูดให้เพื่อนเขียนตามคำบอก (Split Dictation)ฯลฯ


2. การฝึกพูดอย่างมีความหมาย ( Meaningful Drills) เป็นการฝึกตามตัวแบบที่เน้นความหมายมากขึ้น มีหลายลักษณะ เช่น - พูดสร้างประโยคเปรียบเทียบโดยใช้รูปภาพ

- พูดสร้างประโยคจากภาพที่กำหนดให้

-พูดเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ ในห้องเรียน ฯลฯ


3. การฝึกพูดเพื่อการสื่อสาร (Communicative Drills) เป็นการฝึกเพื่อมุ่งเน้นการสื่อสาร เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสร้างคำตอบตามจินตนาการ เช่น -พูดประโยคตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ( Situation)

-พูดตามสถานการณ์ที่กำหนดให้ ( Imaginary Situation)

-พูดบรรยายภาพหรือสถานการณ์แล้วให้เพื่อนวาดภาพตามที่พูด ( Describe andDraw) ฯลฯ

SUMMARY


ดังนั้นในการสอนทักษะต่างๆไม่เฉพาะเเต่การสอนพูดเท่านั้น ครูผู้สอนควรมีความรู้และความชำนาญในเรื่องของเนื้อหา ศัพท์ เสียง เเละโครงสร้างทางไวยากรณ์ที่ถูกต้องเเละเเม่นยำ จึงจะสามารถจัดการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการพูดให้แก่ผู้เรียนได้อย่างสอดคล้องกับระดับและศักยภาพของผู้เรียนเเละเกิดประสิทธิภาพอย่างแท้จริง

เทคนิคการสอนทักษะการพูดภาษาอังกฤษ (Speaking Skill)

การสอนภาษาทุกภาษามีธรรมชาติของการเรียนรู้เช่นเดียวกัน คือ เริ่มจากการฟัง และการพูด แล้วจึงไปสู่การอ่านและการเขียน ตามลำดับ

จุดมุ่งหมายของการพูด คือ การสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วยการพูดอย่างถูกต้องและคล่องแคล่ว การสอนทักษะการพูดภาษาอังกฤษในเบื้องต้น มุ่งเน้นความถูกต้องของการใช้ภาษา ( Accuracy) ในเรื่องของเสียง คำศัพท์ ( Vocabulary) ไวยากรณ์ ( Grammar)ประโยค (Patterns) ดังนั้น กิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนระดับต้นได้ฝึกทักษะการพูด จึงเน้นกิจกรรมที่ผู้เรียนต้องฝึกปฏิบัติตามแบบ หรือ ตามโครงสร้างประโยคที่กำหนดให้พูดเป็นส่วนใหญ่ สำหรับผู้เรียนระดับสูง กิจกรรมฝึกทักษะการพูด จึงจะเน้นที่ความคล่องแคล่วของการใช้ภาษา ( Fluency) และจะเป็นการพูดแบบอิสระมากขึ้น


ในทุกๆวัน บ่อยครั้งที่เราอ่านภาษาของเราได้อย่างรวดเร็วมาก นั่นเป็นเพราะว่าเราเข้าใจสัญลักษณ์และข้อความเป็นอย่างดี และยังมีอีกหลายเคล็ดลับที่จะช่วยให้คุณเข้าใจข้อความได้อย่างรวดเร็ว ส่วนอะไรคือเคล็ดลับของภาษาอังกฤษน่ะหรอ เรามาหาคำตอบกัน

รูปแบบของการอ่าน

การอ่านมีหลายวิธีที่แตกต่างกัน ที่เราใช้ในภาษาของเราเองโดยไม่รู้ตัว

  • การอ่านแบบข้าม (Skimming) – ใช้เมื่อคุณต้องการจะเข้าใจเรื่องคร่าวๆเกี่ยวกับสิ่งที่คุณอ่านอย่างรวดเร็ว โดยการอ่านเพียงบางส่วนและไม่ลงรายละเอียด วิธีนี้คุณมักจะใช้กับการอ่านข่าวออนไลน์ที่คุณต้องการเข้าใจเนื้อหาทั่วไปของเรื่อง
  • การอ่านแบบคร่าว (Scanning) – ใช้เมื่อคุณต้องการหารายละเอียดเฉพาะเช่น คำศัพท์,ชื่อ, สถานที่ วิธีนี้คุณมักจะใช้ก็ต่อเมื่อคุณต้องการหาสินค้าบางอย่างในรายการสินค้าหรือเวลาคุณกำลังหาชื่อหรือสถานที่
  • การอ่านโดยละเอียด – ใช้เมื่อคุณอ่านหนังสืออย่างไม่รีบร้อน โดยจะอ่านทุกตัวอักษร คุณอาจจะทำเช่นนี้เมื่อคุณ อ่านคำแนะนำเกี่ยวกับการประกอบสิ่งของบางอย่างหรือสูตรการทำอาหาร

ดังนั้นในครั้งต่อไปเมื่อคุณอ่านภาษาอังกฤษ ให้ลองคิดดูว่าวิธีไหนจะช่วยให้คุณประหยัดเวลาและเข้าใจมากขึ้น

ชื่อเรื่องและหัวเรื่องย่อย

ก่อนที่จะอ่านบทความ คุณต้องมั่นใจว่าสิ่งแรกที่คุณอ่านคือชื่อเรื่องและชื่อเรื่องย่อย เพราะชื่อเรื่องเปรียบเหมือนกับป้ายบอกทางบนถนนที่จะทำให้คุณรู้ถึงสถานที่สำคัญและรู้ว่าควรไปที่ไหน เพียงแค่อ่านชื่อเรื่อง คุณก็สามารถที่จะทราบถึงแนวคิดของบทความว่าเกี่ยวกับอะไรและคาดเดาได้ว่าคุณจะได้เจออะไรในบทความ

บรรทัดแรกของแต่ละย่อหน้า

ถ้าคุณต้องอ่านบทความยาวๆ การอ่านบรรทัดแรกของแต่ละย่อหน้า สามารถช่วยคุณได้เยอะเลย บรรทัดแรกของแต่ละย่อหน้ามักจะนำเสนอใจความสำคัญของย่อหน้านั้น ซึ่งจะช่วยทำให้คุณเข้าใจว่าผู้เขียนต้องการจะสื่อถึงอะไร นี่ถือว่าเป็นทักษะที่มีประโยชน์ และสามารถนำไปใช้ใด้จริงในตอนที่คุณทำข้อสอบหรือมีเวลาไม่มากพอที่จะอ่านข้อความทั้งหมด

การพยายามใช้พจนานุกรมให้น้อยที่สุด

บางทีคุณอาจจะมัวหลงไปกับการหาความหมายของคําศัพท์ใหม่ๆที่คุณไม่เข้าใจในพจนานุกรม แต่การทำแบบนั้นเป็นเรื่องที่เสียเวลามากๆและมักจะไม่ช่วยให้คุณเข้าใจข้อความอย่างแท้จริง คุณต้องพยายามยอมรับมันว่ามีหลายคำที่คุณไม่รู้ แต่คุณก็ยังเข้าใจความหมายคร่าวๆของมันได้ คุณสามารถใช้พจนานุกรมเพื่อที่จะหาคำศัพท์ 2-3 คำ ที่คุณพบซ้ำๆหรือที่คุณไม่เข้าใจมันจริงๆ เมื่อคุณต้องการจะหาคำศัพท์พวกนี้ ก็ลองหาโดยใช้พจนานุกรมภาษาอังกฤษอย่างเดียว การเรียนรู้ความหมายของศัพท์ผ่านคำอธิบายที่เป็นภาษาอังกฤษนั้นจะช่วยให้คุณจำมันได้ดีขึ้นกว่าเดิม

ใส่ใจใน Keyword

ในทุกประโยคจะมี Keyword 2-3 คำ ส่วนที่เหลือจะแทบไม่สำคัญเลย การหัดแยกแยะ keyword เหล่านี้สามารถช่วยให้คุณอ่านและเข้าใจบทความได้เร็วขึ้น ซึ่งทักษะนี้ต้องอาศัยการฝึกฝน และถือว่าเป็นนิสัยการเรียนรู้ที่ดี โดยส่วนใหญ่ keyword มักจะเป็น Noun, Verb, Adjective และ Adverb ส่วน Article และ Preposition มักจะเป็นคำศัพท์ที่มีความสำคัญน้อยกว่าในแง่ของการให้ความหมาย คุณสามารถสังเกตสิ่งเหล่านี้ ได้เร็วมากขึ้นเมื่อคุณฟัง เพราะว่าผู้พูดจะเน้นย้ำเสียงตรงคำที่สำคัญที่สุดในประโยค ยกตัวอย่างเช่น ประโยคข้างใต้นี้ที่จะเน้นย้ำเสียงตรงคำที่ขีดเส้นใต้

“The speaker will put a stress on the most important words.

การฝึกฝน

จะเห็นได้ชัดว่าวิธีที่สุดที่จะอ่านได้เร็วขึ้นนี่คือการฝึกอ่าน แต่อย่างไรก็ตามคุณก็ควรฝึกในระดับที่เหมาะสมกับตัวคุณด้วย ที่สถาบันภาษา Wall Street English ข้อดีของเราก็คือคุณจะได้เรียนกับหนังสือเรียนที่เหมาะสมกับระดับภาษาของคุณ และมันก็เป็นเรื่องที่ท้าทายในระดับนึง แต่ยังไงก็ตามคุณก็จะสามารถเข้าใจมันได้อยู่ดี หนังสือเรียนที่เราใช้มักจะมีโครงสร้างไวยากรณ์และคำศัพท์เหมือนกับที่คุณเรียนมา รวมถึงการแนะนำคำศัพท์ใหม่ๆ และการทบทวนในสิ่งที่เรียนมาก่อนหน้านี้ วิธีการเรียนการสอนของเราจะพยายามไม่ให้คุณต้องหาศัพท์ที่คุณไม่รู้ มากจนเกินไป จนทำให้การอ่านของคุณเป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่าผิดหวัง

นักเรียนของสถาบันภาษา Wall Street English สามารถลองหัดอ่านบทความที่มีอยู่บนบอร์ดกิจกรรมที่เราเรียกว่า “Practice Area” ซึ่งมันเป็นบทความที่สั้นๆพอสมควร และเราจะมีแบบทดสอบความเข้าใจในตอนท้ายอีกด้วย