เนื้อหาบทเรียน

Passive VOICE

Passive Voice คือ โครงสร้างของประโยคที่เน้นประธานเป็นผู้ถูกกระทำ ไม่ใช่ประธานเป็นผู้กระทำ แค่คำนิยามของมันก็งงแล้ว ถ้างั้นเราจะมาเรียนรู้ “ความหมาย หลักการใช้ โครงสร้าง และตัวอย่างประโยคให้เคลียร์ๆกันไปเลยดีกว่า

Passive Voice คืออะไร

ก่อนตอบคำถามว่า passive voice คืออะไรนั้น เราต้องทำความเข้าใจโครงสร้าง หรือองค์ประกอบของประโยคกันก่อนนะครับ ถ้าเราเรียนในห้องเรียนคุณครูก็จะบอกว่า โครงสร้างประโยคประกอบไปด้วย 3 ส่วนดังนี้

ประธาน กริยา กรรรม

  • ประธาน คือ ผู้กระทำ
  • กริยา คือ การกระทำ
  • กรรม คือ ผู้ถูกกระทำ

ตัวอย่างประโยค เช่น ฉัน กิน ข้าว / I eat rice.

  • ฉัน/ I คือ ประธาน เพราะคือผู้กระทำ
  • กิน/ eat คือ กริยา เพราะคือการกระทำ
  • ข้าว/ rice คือ กรรม เพราะคือผู้ถูกกระทำ

ประโยคด้านบนนี้ ภาษาไทยไทยเรียกว่า “ประโยคเน้นประธาน” โดยการเอาผู้กระทำขึ้นต้นประโยค คือ เน้นว่า “ใคร ทำอะไร” ภาษาอังกฤษเรียกว่า Active Voice (แอ็คทิฝ ว็อยซ)

ที่นี้ถ้าเราสลับตำแหน่งกันระหว่าง ประธานกับกรรม เอากรรมมาไว้ต้นประโยคแทน

ประโยคที่ได้ก็จะเป็น ข้าว ถูกกิน โดย ฉัน / Rice is eaten by me

  • Rice / ข้าว เป็น ประธาน
  • is eaten/ ถูกกิน เป็น กริยา
  • by me / โดยฉัน เป็น ภาคขยาย (บางครั้งไม่ต้องมีก็ได้ เดี๋ยวค่อยดูตัวอย่างด้านล่าง)

ประโยคด้านบนนี้ ภาษาไทยไทยเรียกว่า “ประโยคเน้นกรรม” โดยการเอาผู้ถูกกระถูกทำขึ้นต้นประโยค คือ เน้นว่า “ใคร ถูกทำ” ภาษาอังกฤษเรียกว่า Passive Voice (แพ็ซซิฝ ว็อยซ)

สรุปได้ว่า

  • Passive Voice คือประโยคที่เน้นกรรม เน้นว่าใครถูกทำ
  • Active Voice คือประโยคที่เน้นประธาน เน้นว่าใครทำอะไร

ถ้าใครยังไม่เคยเรียนเรื่อง Active Passive voice มาก่อนจะงงๆ ว่า “eat แปลว่า กิน แต่ is eaten แปลว่า ถูกกิน” เอ๊ะมันยังไง ขอเฉลยคำถามนี้ในหัวข้อ “โครงสร้าง passive voice” นะครับ


หลักการใช้ passive voice

หลักการใช้ คือ ใช้เน้นผู้ถูกกระทำ หรือเน้นกรรมของประโยค ทำให้ประโยคโฟกัสไปที่ผู้ถูกกระทำ เช่น

  • 3 men robbed the ABC bank yesterday.
  • 3 หนุ่ม ปล้น ธนาคารเอบีซี เมื่อวานนี้ จะเห็นว่าประโยคนี้เน้น ผู้กระทำ (คนที่ไหนหนอมาปล้น )

เปรียบเทียบกับ

  • The ABC bank was robbed yesterday.
  • ธนาคาร เอบีซี ถูก ปล้น เมื่อวานนี้ จะเห็นว่าประโยคนี้เน้น ผู้ถูกกระทำ (ห๊า… ธนาคารนี้ถูกปล้นอีกแล้ว )

อย่างที่บอกแล้วว่าเป็นการเน้น ผู้ถูกกระทำ ดังนั้นใครเป็นคนทำไม่ต้องพูดถึงก็ได้ เพราะรู้ๆกันโดยนัย ดังตัวอย่างด้านบน

  • 3 men were arested this morning.
  • 3 หนุ่ม ถูกจับ เมื่อเช้านี้ (ใครจับอ่ะ รู้มั๊ย… รู้..ตำรวจไง ไม่ต้องบอกก็ได้)
  • Jenny was hit because she didn’t do the housework.
  • เจนนี่ ถูกตี เพราะ หล่อน ไม่ ทำ งานบ้าน (ใครตี ..ไม่พ่อ ก็แม่นี่แหละ น่าจะเป็นแม่…แต่ใครก็ช่างเหอะ ไม่สน สนแต่ว่าเจนนี่โดนตีแล้วกัน)
  • Jenny was hit because she didn’t do her homework.
  • เจนนี่ ถูกตี เพราะ หล่อน ไม่ ทำ การบ้าน (ใครตีอ่ะ…อันนี้ไม่บอกก็น่าจะรู้เน๊าะ…)

เอาอีกสักสองตัวอย่างนะครับ อันนี้ก็ไม่เน้นว่าใครเป็นคนทำ ดังนั้นไม่ต้องบอกก็ได้ว่าใครทำ

  • These luxury cars were imported from Europe.
  • รถยนต์ หรู เหล่านี้ ถูก นำเข้ามา จาก ยุโรป (ใครนำเข้าไม่บอก อยากบอกให้รู้แค่ว่านำเข้ามาจากยุโรป)
  • Everest was climbed for the first time in 1953.
  • เขา เอเวอเร็สต์ ถูก ปีน ครั้งแรก ใน ปี 1953 (ใครปีนไม่เน้น เน้นว่าทำสำเร็จตอนไหน)

สรุปได้ว่า

  • หลักการใช้ คือ ใช้เน้นผู้ถูกกระทำ ไม่เน้นผู้กระทำนั่นเอง

คำสันธาน และ ตัวเชื่อในภาษาอังกฤษ

conjunction คือ คําสันธานนั่นแหละครับ หรือจะเรียกว่าคำเชื่อมก็ได้ คำสันธาน คือคำที่เชื่อมคำ ประโยค วลี หรือประโยคย่อยเข้าด้วยกัน เพื่อให้สละสลวยมากยิ่งขึ้น ถ้าไม่มีคำสันธานมาเชื่อมประโยคเข้าด้วยกัน มันก็จะคล้ายเด็กๆหัดพูดหรือหัดเขียนนั่นแหล่ะ

conjunction คืออะไร

ก็เกริ่นนำพอสังเขปแล้วว่า Conjunction คือ คำสันธาน ซึ่งเป็นคำที่ทำหน้าที่เชื่อมคำ วลี ประโยคเข้าด้วยกัน เพื่อให้ประโยคดูสละสลวย และดูเป็นเหมือนผู้ที่มีการศึกษามากยิ่งขึ้น

ประโยคที่ไม่มีคำสันธาน

ฉันชอบแมว แม่ของฉันก็ชอบแมว น้องชายของฉันชอบลิง

  • I like cats. My mom likes cats. My brother likes monkeys.

ประโยคที่มีคำสันธาน

ฉันชอบแมว และแม่ของฉันก็ชอบแมว แต่น้องชายของฉันชอบลิง

  • I like cats, and my mom likes cats, but my brother likes monkeys.

จะเห็นได้ว่า การเขียนโดยใช้คำสันธานเชื่อมประโยคเข้าด้วยกันนั้น จะทำให้งานเขียน ดูดี มีศิลปะขึ้นมาทันตาเห็นเลยใช่ไหมครับ

conjunction มีอะไรบ้าง

ถ้าถามว่า conjuction มีอะไรบ้าง อันนี้ก็ต้องขอตอบว่า โอ๊ะ….ตอบได้ไม่หมดหรอก และไม่ได้สนใจจะไปคุ้ยหาขนาดนั้นดอก ตอนนี้ขอนำเสนอตัวอย่างพอเป็นน้ำจิ้มแล้วกันนะ… อยากอ่านฉบับเต็มๆ คลิกลิงค์ติดตามอ่านต่อเอาเอง…

คลิกอ่านฉบับเต็ม ⇒ คำเชื่อม Conjuctions

Conjuction แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆคือ

1. Coordinating conjunctions

เชื่อมประโยคที่มีน้ำหนักเท่ากัน เข้าด้วยกัน And, but, or etc…

  • I like dogs and I like cats.
  • ฉันชอบหมา และฉันชอบแมว
  • I like dogs but I don’t like cats.
  • ฉันชอบหมา แต่ฉันไม่ชอบแมว
  • I don’t like dogs or cats.
  • ฉันไม่ชอบหมา หรือแมวเลย

2. Subordinating Conjunctions

เชื่อมประโยครองกับประโยคหลัก เข้าด้วยกัน เช่น after, because, before etc…

  • I work hard because I want money.
  • ฉันทำงานหนัก เพราะฉันต้องการเงิน
  • I play golf before I go home.
  • ฉันเล่นกอล์ฟก่อนฉันกลับบ้าน
  • I clean my hand after eating.
  • ฉันล้างมือหลังจากกินอาหาร

3. Correlative Conjunctions

มาเป็นแพ็คคู่ เช่น as…as แปลว่า ….เท่ากับ….. both…and แปลว่า ทั้ง…..และ….. etc…

  • I am as tall as you.
  • ฉันสูงเท่ากับคุณ
  • She is both tall and slim.
  • หล่อนทั้งสูงทั้งเพรียว

คลิกอ่านฉบับเต็ม ⇒ คำเชื่อม Conjuctions

ฉบับเต็มรับรองได้ศึกษาจนจุใจแน่นอนครับ จัดคำศัพท์มาชุดใหญ่ให้ได้ศึกษากัน

ตัวเชื่อมในภาษาอังกฤษ

คําเชื่อม ภาษาอังกฤษ มันก็คล้ายกับคำเชื่อมของไทยนั่นแหละ เป็นคำเชื่อมประโยคต่างๆเข้าด้วยกัน เพื่อให้ประโยคดูสลับซับซ้อนมากขึ้น ชื่อเรียกของมันก็คือ conjunction แปลว่า “คำสันธาน” หรือ Linking Words (คำเชื่อม)

◊ conjunction คืออะไร นำมาใช้ยังไง

ลองดูประโยคที่ไม่มีคำเชื่อนะครับ ว่าหน้าตาจะออกมาเป็นอย่างไรถ้าไม่มีคำเชื่อมประโยคเข้าด้วยกัน

  • ผมชอบแมว
  • ผมชอบหมา
  • ผมไม่ชอบลิง

ประโยคที่ได้มันเป็นอย่างที่เห็นนะครับ เหมือนเด็กอนุบาลศูนย์เขียนเรียงความเลย ทีนี้ลองเอาคำเชื่อมมาใช้เชื่อมประโยคเข้าด้วยกันดูนะครับ

  • ผมชอบแมวและหมา แต่ผมไม่ชอบลิง

เป็นอย่างไรบ้างครับ จะเห็นว่าคําเชื่อมจะช่วยให้ประโยคเดี่ยว รวมตัวกันได้เป็นประโยคยาวๆ และดูดึขึ้นมาทันที

◊ คำเชื่อมประโยคมีอะไรบ้าง

conjunction สามารถแบ่งได้ 3 ประเภทด้วยกันคือ

  1. Coordinating conjunctions
  2. Subordinating Conjunctions
  3. Correlative Conjunctions

♦ หลักการใช้ Coordinating conjunctions

คำเชื่อมชนิดนี้ จะเป็นการเชื่อมประโยคที่มีน้ำหนักเท่ากัน เข้าด้วยกัน คำเชื่อมมีอยู่ด้วยกันดังนี้คือ FAN BOYS = for, and, nor, but, or, yet, so

ตัวอย่างประโยค

  • For – แปลว่า เพราะว่า
  • They chat on Facebook or Line, for it’s easy. พวกเขาแชททางเฟสบุ๊ค หรือไม่ก็ไลน์ เพราะว่ามันง่าย
  • And – แปลว่า และ เชื่อมประโยคไปในแนวเดียวกัน
  • They chat on Facebook, and they chat on Line. พวกเขาแชททางเฟสบุ๊ค และพวกเขาแชททางไลน์
  • Nor – แปลว่า ไม่ทั้งสอง
  • They chat on Facebook, nor they chat on Line. พวกเขาไม่แชททั้งทางเฟสบุ๊ค ไม่แชททั้งทางไลน์
  • But – แปลว่า แต่
  • They chat on Facebook, but they don’t chat on Line. พวกเขาแชททางเฟสบุ๊ค แต่พวกเขาไม่แชททางไลน์
  • Or – แปลว่า หรือ
  • They chat on Facebook, or they chat on Line. พวกเขาแชททางเฟสบุ๊ค หรือไม่ก็พวกเขาแชททางไลน์
  • Yet – แปลว่า แต่
  • They chat on Facebook, yet they don’t chat on Line. พวกเขาแชททางเฟสบุ๊ค แต่พวกเขาไม่แชททางไลน์
  • So – แปลว่า ดังนั้น
  • They chat on Facebook, so they don’t chat on Line. พวกเขาแชททางเฟสบุ๊ค ดังนั้นพวกเขาไม่แชททางไลน์

♦ หลักการใช้ Subordinating Conjunctions

คำเชื่อมชนิดนี้ จะเป็นการเชื่อมประโยครองกับประโยคหลัก เข้าด้วยกัน ประโยครองคือประโยคที่สื่อความหมายไม่สมบูรณ์ คำเชื่อมที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่

after (หลังจาก), although (แม้ว่า), as (เพราะว่า), as far as (เท่าที่), as if (ราวกับว่า), as long as (ตราบใดที่), as soon as (ทันทีที่), as though (ราวกับว่า), because (เพราะว่า), before (ก่อน) , even if, even though (แม้ว่า), if (ถ้า), in order that (เพื่อว่า), since (เพราะว่า), so that (เพื่อว่า), than (กว่า), though (แม้ว่า), unless (เว้นเสียแต่ว่า), until (จนกระทั่ง), when (เมื่อ), whenever(เมื่อใดก็ตาม), where (ที่ซึ่ง), whereas (ขณะที่), wherever (ที่ใดก็ตาม) which (ที่) who (ผู้ที่) และ while (ในขณะที่).

อย่างที่บอกไปแล้วว่าตัวเชื่อมนี้จะเป็นการเชื่อมประโยครองกับประโยคหลักเข้าด้วยกัน ดังนั้นให้สังเกตุดีๆ ถ้าเป็นประโยครองจะตามหลังด้วยคำเชื่อมดังกล่าว ในขณะที่ประโยคหลักไม่ต้องใช้คำเหล่านี้

ตัวอย่างประโยค

  • I can do everything for you because I love you.
  • ฉันทำให้เธอได้ทุกอย่าง เพราะว่าฉันรักเธอ
  • He will go homes after he finishes his work.
  • เขาจะกลับบ้าน หลังจากเขาทำงานเสร็จ
  • We take a bath before we eat breakfast.
  • พวกเราอาบน้ำก่อนพวกเรากินข้าวเช้า
  • We will eat dinner as soon as dad gets home.
  • พวกเราจะกินข้าว ทันทีที่พ่อมาถึง
  • I will love you as long as you love me.
  • ฉันจะรักคุณ ตราบใดที่คุณรักฉัน
  • He is running as if a lion is chasing him.
  • เขาวิ่งราวกับว่า มีสิงโตกำลังไล่ล่าเขาอยู่
  • She drinks water when she is thirsty only.
  • หล่อนกินน้ำเมื่อหล่อนกระหายเท่านั้น
  • This is the house where we were born.
  • นี่คือบ้าน ที่ซึ่งเราถือกำเนิด

♦ หลักการใช้ Correlative Conjunctions

คำเชื่อมชนิดนี้คล้ายๆกับ Coordinating conjunctions ซึ่งเป็นการเชื่อมประโยคที่มีน้ำหนักเท่าๆกัน แต่คำเชื่อมนี้จะมาเป็นแพ็คคู่ คำเชื่อมชนิดนี้ได้แก่

  • as…as แปลว่า ….เท่ากับ…..
  • both…and แปลว่า ทั้ง…..และ…..
  • either…or แปล่า ไม่….ก็…
  • neither…nor แปลว่า ไม่ทั้ง…….ไม่ทั้ง…….
  • just as…so แปลว่า …..เหมือนกับที่…..
  • not only…but (also) แปลว่า ไม่เพียงแค่…..แต่ยัง….(อีกด้วย)
  • no sooner…than ยังไม่ทันที่……ก็…..
  • rather…than …….ดีกว่า….
  • whether…or แปลว่า ว่า…..หรือ….
  • the…the แปลว่า ยิ่ง…..ยิ่ง….

ตัวอย่างประโยค

  • She is as tall as me.
  • หล่อนสูงเท่ากับฉัน
  • She is both beautiful and nice.
  • หล่อนทั้งสวยและนิสัยดี
  • Either John or Jane must go home now.
  • ไม่จอห์ก็เจนต้องกลับบ้านเดี๋ยวนี้
  • He is not only kind but also clever.
  • เขาไม่เพียงแค่ใจดี แต่ยังฉลาดอีกด้วย
  • The more you give, the more you get.
  • ยิ่งคุณให้ คุณยิ่งได้

การเรียนรู้คําเชื่อมภาษาอังกฤษ เป็นการเรียนเพื่อเน้นไปที่การเขียน มากกว่านะครับ เพราะภาษาพูดคงไม่ได้ใช้คำศัพท์สละสลวยกันสักเท่าไหร่ แต่มีคำเชื่อมง่ายๆบางตัวที่เรารู้จักแล้วก็มีใช่ไหมครับ