คำถามที่พบบ่อย FAQ

แนวทางการปฏิบัติงานสำหรับคำถามที่พบบ่อย (FAQ) เกี่ยวกับงานรับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์

๑. ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดขอนแก่น ตั้งอยู่ที่ไหน

ตอบ ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดขอนแก่น ตั้งอยู่ที่ ชั้น ๑ ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น (หลังใหม่)

๒. ช่องทางการติดต่อ ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดขอนแก่น

ตอบ ติดต่อด้วยตนเองที่ ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดขอนแก่น ตั้งอยู่ที่ ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น

ชั้น ๑ (หลังใหม่) หมายเลขโทรศัพท์ ๐-๔๓๒๓-๔๓๘๔ สายด่วน ๑๕๖๗ และ ช่องทางไปรษณีย์จ่าหน้าซอง
เรียน ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น หรือ ผู้อำนวยการศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดขอนแก่น

จัดส่งมายัง ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดขอนแก่น ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ชั้น ๑ (หลังใหม่) ถนนศูนย์ราชการ ตำบลในเมืองอำเภอเมืองขอนแก่น ๔๐๐๐๐

๓. หากมีภูมิลำเนาอยู่ต่างอำเภอจะร้องเรียนร้องทุกข์ได้ที่ไหน

ตอบ ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ ตั้งอยู่ที่ว่าการอำเภอทุกอำเภอในเขตจังหวัดขอนแก่น

๔. สคบ. จังหวัดขอนแก่น ตั้งอยู่ที่ไหน สามารถติดต่อได้อย่างไร

ตอบ ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดขอนแก่น ตั้งอยู่ที่ ชั้น ๑ ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น (หลังใหม่) หมายเลขโทรศัพท์ ๐-๔๓๒๓-๔๓๘๔ สายด่วน ๑๕๖๗

๕. ระยะเวลาดำเนินการในเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ใช้เวลากี่วัน

ตอบ ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดขอนแก่น จะดำเนินการแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบข้อเท็จจริง ภายในระยะเวลา ๑๕ วัน หากพ้นกำหนด จะดำเนินการแจ้งเตือน ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ จำนวน ๑๕ วัน, ครั้งที่ ๒ จำนวน ๗ วัน และครั้งที่ ๓ จำนวน ๕ วัน

๖. ในกรณีร้องเรียนขอความช่วยเหลือในการเจราไกล่เกลี่ยหนี้นอกระบบสามารถร้องเรียนได้ที่ไหนอย่างไร

ตอบ ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ ตั้งอยู่ที่ที่ว่าการอำเภอทุกอำเภอในเขตจังหวัดขอนแก่นมีอำนาจหน้าที่ในการเชิญคู่กรณีมาเจรจาไกล่เกลี่ยทำสัญญาประนีประนอมในทางแพ่ง

๗. หากถูกข่มขู่คุกคามเกี่ยวกับหนี้นอกระบบจะดำเนินการอย่างไร

ตอบ สามารถแจ้งความเพื่อดำเนินคดีกับเจ้าหนี้ได้ ณ สถานีตำรวจตามท้องที่ที่เกิดเหตุ หรือร้องเรียนขอความช่วยเหลือมายังศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดขอนแก่น

๘. กรณีเป็นหนี้นอกระบบ โดยนำเอกสารสิทธิ์ทางที่ดินไปจดทะเบียนจำนองหรือขายฝากไว้กับนายทุน มีหน่วยงานไหนที่ให้ความ ช่วยเหลือได้บ้าง

ตอบ สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ ณ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดขอนแก่น ขอความช่วยเหลือจากกองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน (อชก.)

(๑) วงเงินกู้รายละไม่เกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท ให้ยื่นที่สำนักงานเกษตรอำเภอตามภูมิลําเนาของผู้ขอกู้ เพื่อนําเสนอที่ ประชุม อชก. ส่วนอําเภอพิจารณาอนุมัติเงินกู้

(๒) วงเงินกู้รายละเกินกว่า ๓๐๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท ให้ส่งสํานักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดตามภูมิลําเนาของผู้ขอกู้ เพื่อนําเสนอที่ประชุม ส่วนจังหวัดพิจารณาอนุมัติเงินกู้

(๓) วงเงินกู้รายละเกินกว่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท ของผู้ขอกู้ทั่วประเทศให้ส่งให้สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สป.กษ.) เพื่อนําเสนอที่ประชุม อชก. สวนกลาง พิจารณาอนุมัติเงินกู้

๙. ในกรณีการขอออกเอกสารสิทธิ์ทางที่ดิน ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่สามารถร้องเรียนได้ที่ไหน

ตอบ สามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ได้ที่สำนักงานที่ดินจังหวัดขอนแก่น หรือร้องเรียนร้องทุกข์มายังศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดขอนแก่น

๑๐. ในกรณีขอความช่วยเหลือให้จัดสรรที่ดินทำกินสามารถดำเนินการได้อย่างไร

ตอบ ในการยื่นเรื่องเป็นผู้ไร้ซึ่งที่ดินทำกินต้องยื่นขอด้วยตนเอง เพื่อเจ้าหน้าที่จะสอบถามข้อมูล และตรวจสอบคุณสมบัติ สามารถยื่นเรื่องได้ตลอด ไม่มีการกำหนดระยะเวลา สามารถยื่นเรื่องโดยตรงที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดขอนแก่น

๑๑. แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.๑) คืออะไร

ตอบ ใบแจ้งการครอบครองที่ดินเป็นหลักฐานว่าผู้ครอบครองเป็นผู้แจ้งว่า ตนครอบครอง ที่ดิน แปลงใดอยู่ (แต่ปัจจุบันไม่มีการแจ้ง ส.ค.๑ อีกแล้ว) ส.ค.๑ ไม่ใช่หนังสือแสดงสิทธิที่ดินเพราะไม่ใช่หลักฐานที่ทางราชการออกให้เพียงแต่เป็นการแจ้งการครอบครองที่ดินของราษฎรเท่านั้น

๑๒. หากมีใบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.๑) สามารถนำมาออกเป็นโฉนดที่ดินได้หรือไม่ อย่างไร

ตอบ ตามกฎหมาย ที่ดินที่มีใบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.๑) มีสิทธินำมาขอออกโฉนด ที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ น.ส.๓ ก. หรือ น.ส.๓ ข) ได้สองกรณี ดังนี้

กรณีที่ ๑ นำมาเป็นหลักฐานในการขอออกโฉนดที่ดินตามโครงการ เดินสำรวจออกโฉนดที่ดินทั่วประเทศ กรณีนี้ทางราชการจะขอออกให้เป็นท้องที่ โดยมีการประกาศให้ทราบก่อนล่วงหน้า

กรณีที่ ๒ นำมาเป็นหลักฐานในการขอออกโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓, น.ส.๓ ก.หรือ น.ส. ๓ ข.) เฉพาะราย โดยเจ้าของที่ดินมีความประสงค์จะขอออกโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์สามารถยื่นคำขอได้ ณ สำนักงานที่ดินที่ที่ดินตั้งอยู่เฉพาะการขอออกโฉนดที่ดินนี้ จะออกได้ในพื้นที่ที่ได้สร้างระวางแผนสำหรับออกโฉนดที่ดินไว้แล้วนั้น

๑๓. ใบจอง (น.ส.๒) คืออะไร

ตอบ ใบจอง (น.ส.๒) คือ หนังสือที่ราชการออกให้เพื่อเป็นการแสดงความยินยอมให้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินเป็นการชั่วคราว ซึ่งใบจองนี้จะออกให้แก่ราษฎรที่ทางราชการได้จัดสรรที่ดินให้ทำกินตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งทางราชการการจะมีประกาศเปิดโอกาสให้จับจองเป็นคราว ๆ ในแต่ละท้องที่และผู้ต้องการจับจอง

๑๔. ผู้มีใบจอง (น.ส.๒) สามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้าง

ตอบ ผู้มีใบจองจะต้องเริ่มทำประโยชน์ในที่ดินให้แล้วเสร็จภายใน ๖ เดือน ต้องทำประโยชน์ในที่ดินให้แล้วเสร็จภายใน ๓ ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับใบจองและจะต้องทำประโยชน์ให้ได้อย่างน้อย ร้อยละ ๗๕ ของที่ดินที่จัดให้ ที่ดินที่มีใบจองนี้จะโอนให้แก่บุคคลอื่นไม่ได้ เว้นแต่จะตกทอดเป็นมรดก เมื่อทำประโยชน์ตามเงื่อนไขดังกล่าวแล้ว ก็มีสิทธ์นำใบจองนั้นมาขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ น.ส. ๓ ก.หรือ น.ส.๓ ข) หรือโฉนดที่ดิน แต่หนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือโฉนดที่ดินนั้น จะต้องตกอยู่ในบังคับห้ามโอนตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด

๑๕. หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓, น.ส.๓ ก. และ น.ส.๓ ข.) หมายความว่าอย่างไร

ตอบ น.ส.๓ คือ หนังสือรับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าได้ทำประโยชน์ที่ดินแล้ว ออกให้แก่ผู้ครอบครองที่ดินทั่ว ๆ ไป ในพื้นที่ ที่ไม่มีระวาง มีลักษณะเป็นแผนที่รูปลอยไม่มีการกำหนดตำแหน่งที่แน่นอน หรือออกในพื้นที่ที่ไม่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศ ซึ่งรัฐมนตรียังไม่ได้ประกาศยกเลิกอำนาจหน้าที่ในกาปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดินของหัวหน้าเขต นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ (นายอำเภอท้องที่เป็นผู้ออก)

น.ส.๓ ก. คือ หนังสือรับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ออกในท้องที่ที่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศ โดยมีการกำหนดตำแหน่งที่ดินในระวางรูปถ่ายทางอากาศ (นายอำเภอท้องที่เป็นผู้ออก)

น.ส.๓ ข. คือ หนังสือรับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ออกในท้องที่ที่ไม่มีระวางรูปถ่าย ทางอากาศ (เจ้าพนักงานที่ดินเป็นผู้ออก)

๑๖. ใบไต่สวน (น.ส.๕) คืออะไร

ตอบ หนังสือแสดงการสอบสวนเพื่อออกโฉนดที่ดิน เป็นหนังสือแสดงให้ทราบว่า ได้มีการสอบสวน สิทธิในที่ดินแล้ว สามารถจด

ทะเบียนที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินได้ ใบไต่สวนไม่ใช่หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ แต่สามารถจดทะเบียนโอนให้กันได้ ที่ดินมีใบ

ไต่สวน และมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์แสดงว่า ที่ดินนั้น นายอำเภอได้รับรองการทำประโยชน์แล้ว เมื่อจดทะเบียนโอนจะ

ต้องจดทะเบียนในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ก่อน แล้วจึงมาจดแจ้งทีหลังใบไต่สวน แต่ถ้าใบไต่สวนมีแบบแจ้งการครองครอง

ที่ดิน (ส.ค.๑) หรือไม่มีหลักฐานที่ดินใด ๆ และเป็นที่ดินที่นายอำเภอไม่รับรองการทำประโยชน์ จะจดทะเบียนโอนกันไม่ได้ เว้นแต่

เป็นการจดทะเบียนโอนมรดก

๑๗. โฉนดที่ดิน คืออะไร

ตอบ หนังสือสำคัญการแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งออกให้ตามประมวลกฎหมายที่ดินปัจจุบันนอกจากนี้ยังไม่รวมถึงโฉนดแผนที่

โฉนดตราจอง และตราจองที่ว่าได้ทำประโยชน์แล้ว ซึ่งออกให้ตามกฎหมายฉบับเดิม แต่ก็ถือว่า มีกรรมสิทธ์เช่นกันผู้เป็นเจ้าของ

ที่ดิน ถือว่ามีกรรมสิทธ์ในที่ดินนั้นอย่างสมบูรณ์ เช่น มีสิทธ์ใช้ประโยชน์จากที่ดิน มีสิทธ์จำหน่ายมีสิทธ์ขัดขวางไม่ให้ผู้ใดเข้ามา

เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินโดยมิชอบโดยกฎหมาย

๑๘. ที่สาธารณะประโยชน์ คืออะไร

ตอบ ที่ดินที่ทางราชการได้จัดให้ หรือสงวนไว้เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ตามสภาพแห่งพื้นที่นั้น หรือที่ดินที่ประชาชน

ได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันมาก่อน ไม่ว่าปัจจุบันจะยังใช้อยู่หรือยกเลิกใช้แล้วก็ตาม เช่น ที่ทำเลเลี้ยงสัตว์ ป่าช้าฝังและเผาศพ ห้วย

หนอง ชายตลิ่ง ทางหลวง ทะเลสาบเป็นต้น ตามกกหมายถือว่า เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ผู้ใดจะ

เข้ายึดถือ ครอบครองเพื่อเป็นประโยชน์แต่เฉพาะตนนั้นไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาต จากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามที่ระเบียบและ

กฎหมายกำหนดไว้ หากฝ่าฝืนจะมีความผิดและได้รับโทษตามประมวลกฎหมายที่ดินหรือกำหมายอื่นที่กำหนดไว้โยเฉพาะพนักงาน

เจ้าหน้าที่จะอนุญาตให้บุคคลได้ใช้ประโยชน์ในที่สาธารณะเพื่อประโยชน์แห่งตนได้ ก็เฉพาะกรณีที่มีระเบียบและกฎหมายกำหนดไว้

เฉพาะเท่านั้น

๑๙. ความรู้เกี่ยวกับสิทธิผู้บริโภค มีอะไรบ้าง

ตอบ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ้งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๑ บัญญัติสิทธิของผู้บริโภคได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ๕ ประการ ดังนี้

๑. สิทธิที่จะได้รับข่าวสารทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ
๒. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ

๓. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ

๔. สินค้าที่ได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา

๕. สิทธิ์ที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย

๒๐. การทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์รถจักยานยนต์ ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายหรือไม่

ตอบ ได้รับความคุ้มครองตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์ และรถจักยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. ๕๕๔๓

๒๑. ในการทำสัญญาเช่าซื้อผู้เช่าซื้อขาดส่งค่างวดกี่งวดถึงจะถูกยึดรถ

ตอบ ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อรายงวด ๓ งวด ติด ๆ กัน และให้ผู้ให้เช่าซื้อมีหนังสือบอกกล่าวให้ผู้เช่าซื้อชำระเงินรายงวดที่ค้างชำระนั้น ภายในระยะเวลาอย่างน้อย ๓๐ วัน นับแต่ผู้วันที่ผู้เช่าซื้อได้รับหนังสือ และผู้เช่าซื้อละเลยไม่ปฏิบัติตาม