6 จุดเน้น สพป.ปทุมธานี เขต 1

จุดเน้นที่ 1 : การดำเนินงานความปลอดภัยในสถานศึกษา

จุดเน้นที่ 1 : การดำเนินงานความปลอดภัยในสถานศึกษา

    การพัฒนาระบบและกลไกในการดูแลความปลอดภัยให้แก่ผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาและสถานศึกษาจากภัยพิบัติและภัยคุกคามทุกรูปแบบ รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี สามารถปรับตัวต่อโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ ส่งเสริม คุ้มครอง ป้องกัน แก้ไขช่วยเหลือและเยียวยาด้านความปลอดภัยแก่นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา และมีข้อมูลสารสนเทศที่เป็นระบบ สามารถแก้ไขปัญหา และบริหารจัดการความเสี่ยงได้อย่างยั่งยืนด้วยการบริหารจัดการตามาตรการ 3 ป ได้แก่ ป้องกัน ปลูกฝังและปราบปราม โดยการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่าย

คู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยในสถานศึกษ.pdf
แผนการดำเนินงานความปลอดภัย โรงเรียนวัดบางกุฎีทอง.pdf
7 มาตรการเพื่อสถานศึกษาปลอดเครื่องดื่มแอล.pdf
แผนเสริมสร้างและแผนเผชิญเหตุเพื่อความปลอดภัยสถานศึกษา.pdf

จุดเน้นที่ 2 : การพัฒนาผู้เรียนสู่ฐานสมรรถนะด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบ Active Learning

จุดเน้นที่ 2 : การพัฒนาผู้เรียนสู่ฐานสมรรถนะด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบ Active Learning

  การจัดการเรียนรู้สู่ฐานสมรรถะตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ที่เหมาะสมกับความต้องการและบริบท ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียนมุ่งให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ เพื่อพัฒนากระบวนการคิดขั้นสูง และส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษาพัฒนาการเรียนรู้ และยกระดับผลสัมฤทธิ์การเรียนของผู้เรียนในทุกระดับชั้นวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย

จุดเน้นที่ 3 : การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารจัดการและการเรียนรู้

forms tech.mp4

จุดเน้นที่ 3 : การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารจัดการและการเรียนรู้

   การนำเทคโนโลยีดิจิทัล การจัดการฐานข้อมูล และการใช้ข้อมูลสารสนเทศในการบริหารและการจัดการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสถานศึกษา การจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศของนักเรียนเป็นรายบุคคล มีความสะดวกรวดเร็ว มีความน่าเชื่อถือในการนำข้อมูลไปใช้ปรับปรุงและไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารจัดการสถานศึกษารวมถึงการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะดิจิทัล และภาษาคอมพิวเตอร์มีทักษะพื้นฐานการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับช่วงวัยสามารถใช้เทคโนโลยีในการรับรู้และมีวิจารณญาณในการใช้สื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสม

จุดเน้นที่ 4 : การพัฒนาทักษะอาชีพ

แนวทางการเสริมทักษะและสร้างเสริมประสบกา.pdf

จุดเน้นที่ 4 : การพัฒนาทักษะอาชีพ

  การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่บูรณาการทักษะอาชีพและพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อเตรียมความพร้อมแก่ผู้เรียนให้มีความรู้ และมีทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพสร้างเสริมประสบการณ์อาชีพในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึง การปลูกฝังลักษณะนิสัยในการทำงาน การมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริตมีทักษะในการทำงาน รักงาน สู้งาน และทำงานจนสำเร็จมีความรู้พื้นฐานของการเป็นผู้ประกอบการที่ดี มีแรงบันดาลใจในการค้นพบอาชีพเพื่อพัฒนาไปสู่การประกอบอาชีพในอนาคตด้วยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง สถานประกอบการ แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น

จุดเน้นที่ 5 : การพัฒนาทักษะชีวิต

จุดเน้นที่ 5.pdf

จุดเน้นที่ 5 : การพัฒนาทักษะชีวิต

   การบูรณาการทักษะชีวิตในหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีการจัดการเรียนการ์สอนทักษะชีวิตบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หรือการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันจะนำไปสู่การมีทักษะชีวิตและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ภายใต้ความร่วมมือของภาคีเครือข่ายพัฒนาทักษะชีวิตแก่ผู้เรียน

00000883_0_20200811-095635.pdf
แนวทางบูรณาการทักษะชีวิต.pdf
aw_567ด้านทักษะชีวิต เล่มสี.pdf
21st Century Skills Education Teacher Manual.pdf
01 คู่มือการ์ตูนพัฒนาทักษะชีวิต.pdf
00000883_0_20200811-095828.pdf
032127cb%2Df8cb%2D4754%2D8a15%2Df3c236b1080d.pdf
คู่มือการสอนทักษะชีวิตเพื่อการป้องกันยาเสพติด_สำหรับครูสอน ม.ต้น.pdf

จุดเน้นที่ 6 : การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และทักษะในศตวรรษที่ 21

จุดเน้นที่ 6 : การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และทักษะในศตวรรษที่ 21

   การดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้เป็นพลเมืองดีมีคุณธรรม จริยธรรม ตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 และดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรม เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ มีทักษะการเรียนรู้ และทักษะที่จำเป็นของโลกในศตวรรษที่ 21 โดยมีภาคีเครือข่าย และการมีส่วนร่วม และมีผลการดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายของสถานศึกษา