ศิลปะ

การแทงหยวก

ศิลปะการแทงหยวก ศิลปะการแทงหยวก เป็นหนึ่งในงานช่าง ๑๐ หมู่ ประเภทงานสลักของอ่อน เป็นงานฝีมือที่สร้างสรรค์โดยช่างผู้ชำนาญ ใช้วัสดุธรรมชาติที่หาง่ายผลงานมีระยะเวลาในการคงอยู่ในระยะสั้นๆ ไม่คงทนถาวรตามลักษณะของวัสดุ โดยเป็นการนำหยวกกล้วยมาฉลุลวดลายประดับตกแต่งในงานต่างๆ ทั้งงานมงคลและงานอวมงคล ได้แก่ งานบวช งานโกนจุก งานกฐิน ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานพิธีทางศาสนา ทำบุษบกแห่พระวันออกพรรษา และงานศพ เป็นต้น

การแทงหยวกกล้วย

หยวก คือ ลำต้นกล้วยที่ลอกออกมาเป็นกาบหรือแกนอ่อนของลำต้นกล้วย มีสีขาว งานเเทงหยวกมักใช้หยวกหรือกาบกล้วยตานี เพราะมีสีขาวดีและไม่สู้ที่ จะเปลี่ยนสีเร็วนัก

งานแทงหยวก คือ การนำเอากาบกล้วยมาทำให้เป็นลวดลายต่างๆโดยวิธีแทงด้วยมีดเเทงหยวกใช้สำหรับการประดับตกเเต่งที่เป็นงานชั่วคราว ตัวอย่างเช่น การประดับเบญจารดน้ำ ประดับร้านม้าเผาศพ ประดับจิตรการธารการเเกะสลัก หยวกกล้วยนั้นจะทำใน พิธีโกนจุกงานศพ

การแทงหยวก เป็นวิชาความรู้ที่ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่อดีต โดยใช้วัสดุที่หาง่ายคือต้นกล้วย มาสร้างงานฝีมือซึ่งมักใช้ในงาน ตกแต่งประดับประดา เมรุเผาศพ งานบวช งานกฐิน และงาน ตกแต่งอื่นๆ สืบทอดกันมาหลายร้อยปี

กระบวนการแทงหยวก ต้องเริ่มจากการไหว้ครู เพื่อรำลึกถึงครูอาจารย์ มีธูป 3 ดอก เทียนขี้ผึ้ง 1 เล่ม ดอกไม้ 3 สี สุรา 1 ขวด ผ้าขาวม้า 1 ผืน เงินค่าครู 142 บาท

อุปกรณ์ ประกอบด้วย มีดสำหรับแทงหยวก โดยการตีดิบ ไม่ต้องเอาไปเผาไฟ ตอกใช้สำหรับประกอบเข้าเป็นส่วนต่างๆ

วัสดุที่ใช้ คือ ต้นกล้วยตานี เพราะไม่แตกง่าย ปัจจุบันต้นกล้วยตานีหายาก และมีขนาดไม่เหมาะสมสำหรับใช้งาน จึงนิยมใช้ต้นกล้วยน้ำว้าแทน โดยต้องเป็นต้นกล้วยน้ำว้าสาว คือต้นกล้วยที่ยังไม่มีเครือ หรือยังไม่ออกหวีกล้วย ต้นกล้วยจะอ่อนแทงลวดลายได้ง่าย กระดาษสี ใช้สำหรับรองรับลวดลายต้นกล้วยให้ปรากฏชัดเจน

ขั้นตอนการแทงหยวกกล้วย

ขั้นตอนแรกจะต้องเลือกต้นกล้วยตานีหรือต้นกล้วยน้ำว้าต้นสาวๆ คือ ต้นกล้วยที่ยังไม่ออกผล ถ้าออกปลี ออกลูกแล้วจะใช้ไม่ได้เพราะกาบกล้วยจะกรอบเปราะหักง่าย แต่ถ้าเป็นต้นกล้วยที่ยังสาวๆ ไม่มีลูกกาบกล้วยจะอ่อนเหนียวไม่หักง่าย ต้องเลือกต้นใหญ่พอสมควร ร้านม้าเผาศพทั่วไปจะใช้ประมาณ 10 ต้น ต่อร้านม้า 1 ครั้ง

เมื่อได้ต้นกล้วยมา ก็จะลอกกาบกล้วยออกเป็นกาบๆ จนถึงแกนของลำต้นให้เหลือประมาณ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5-3 นิ้ว เอาไว้ทำฐานล่างเมื่อลอกกาบกล้วยออกมาแล้วก็ต้องคัดขนาด คือกาบใหญ่ๆ รอบนอกก็เอาไว้สำหรับแทงลาย ต่าง ๆ ส่วนกาบเล็ก ๆ ก็ใช้ทำอกกลาง

ประเภทลวดลายในการทำหยวกดูแล้วไม่ยากเพราะมีไม่กี่ชนิด คือ ฟันปลา ฟันสาม ฟันห้า ฟันบัว แข้งสิงค์ เเละลาบอก ซึ่งจะทำเป็นลายกนกต่าง ๆ ตามความถนัดเเละเน้นที่ความสวยงาม เเต่ถ้าทดลองทำจริงๆ เเล้วยากพอสมควร เมื่อทำลายต่างๆ ได้เพียงพอตามความต้องการเเล้วถึงขั้นตอนการประกอบหยวก เพื่อทำเป็นเสาล่าง พรึง เสาบน รัดเกล้าเเละฐานล่าง โดยใช้ตอกผิวไม้ไผ่เย็บให้ติดกันเเล้วติดเเต่งมุมให้เรียบร้อยเป็นอันเสร็จ