ขั้นตอนการแทงหยวก

ขั้นตอนการแทงหยวก

ขั้นตอนในการแทงหยวก จะต้องเลือกใช้กล้วยตานีที่ยังไม่ออกผล โดยต้องตัดหยวกกล้วยให้มีขนาดประมาน 30-40 เซนติเมตร โดยตัดหัวท้ายออก เสร็จแล้วก็นำไปยึดกับโครง และต้องต้องลากกาบที่ไม่สวยออกไป แล้วจึงเริ่มการแทงหยวก อุปกรณ์ก็ต้องมีมีดปลายแหลม มีกระดาษสีที่ใช้รองด้านในให้เกิดความสวยงามมากขึ้น

โดยลายที่นำมาแกะ ก็จะมีทั้งลาย ลายฟันสาม ลายฟันปลา ลายหงส์คาบเครือ ลายเครือเถาวัลย์และ ลายน่องสิงห์ แต่ละลายก็มีความยากง่ายแตกต่างกันไป พอแกะเสร็จ เขาก็จะนำไปใช้ในการประดับตกแต่ง แล ให้มีความสวยงาม การแทงหยวกนั้นถือเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างรายได้ให้คนในชุมชน โดยใช้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น นำสิ่งที่หาได้ เช่นต้นกล้วยตานี มาแกะสลัก เป็นลวดลายให้เกิดความสวยงาม นำไปใช้ในการบุญ งานศพ ประเพณีต่างๆ โดยใช้ความสร้างสรรค์เฉพาะตัวของผู้แกะสลัก และถือเป็นของดีในชุมชนที่หาดูได้ยากมาก การสืบทอดศิลปะนี้ ยังช่วยอนุรักษ์วัฒนธรรมและ ภูมิปัญญาท้องถิ่นไปถึงคนรุ่นหลังได้มาเรียนรู้

กระบวนการขั้นตอนในการแทงหยวก โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น ๕ ขั้นตอน ดังนี้

๑ การเตรียมหยวกกล้วย หลังจากทำพิธีไหว้ครูเรียบร้อยแล้ว ทำการตัดท่อนต้นกล้วยตาม ความยาวที่ต้องการลอกกาบออกเป็นชั้น ๆ โดยระวังมิให้กาบกล้วยแตกหรือช้ำจากนั้นทำการคัดแยกกาบที่มีความยาวและสีใกล้เคียงกันไว้เป็นกลุ่ม ๆ

๒ การแทงหยวก นำกาบกล้วยที่ได้คัดแยกไว้มาทำการแทงฉลุเป็นลวดลายต่าง ๆ โดยใช้ปลายคมมีดแทงเข้าไปในเนื้อหยวกกล้วย ซึ่งส่วนมากช่างจะนำกาบมาซ้อนกัน ๒-๓ ชั้น แล้วแทงเป็นลายพื้นฐานอย่างลายฟันหนึ่ง (ฟันปลา) ลายฟันสาม ลายฟันห้า เพื่อความรวดเร็ว แต่จะไม่นิยมใช้วิธีนี้ในการแทง ลายหน้ากระดาน ลายเสา หรือลายประยุกต์อื่น ๆ

๓ การประกอบเป็นลายชุด เมื่อได้หยวกที่มีการแทงฉลุลวดลายต่าง ๆ แล้ว ช่างจะนำกระดาษอังกฤษสีแวววาวไปชุบน้ำแล้วนำมาติดกับหยวกอีกชั้น ใช้มือลูบให้กระดาษแนบติดสนิทกับความโค้งของหยวก จากนั้นนำหยวกอีกชั้นที่แทงลวดลายเว้นพื้นหลังเรียบร้อยแล้วมาวางประกอบ โดยกดให้หยวกทั้ง ๒ ชิ้นเข้ากันได้สนิท เมื่อได้กำหนดลวดลายที่จะนำมาเข้าชุดกันแล้ว จึงเลือกลายมาจัดวางให้ เหลื่อมกัน หากวางได้รูปแบบแล้วจึงจะใช้ตอกแทงเข้าไปในเนื้อหยวก จากด้านหนึ่งทะลุออกไปอีกด้านหนึ่ง ซึ่งขณะแทงตอกต้องใช้มือจับหยวกกล้วยทั้งหมดให้แน่น ไม่ให้ขยับเขยื้อน จากนั้นยก ชุดลายคว่ำเพื่อใช้ปลายตอกสอดรัดกลับมาด้านหลัง มัดชิ้นลายให้ครบทุกส่วนตามความยาวของชุดลาย เมื่อครบทุกส่วนเรียบร้อยแล้วให้มัดเส้นตอกโดยการหมุนบิดเส้นตอกให้แน่นทั้งสองด้าน จากนั้นจึงตัด ส่วนเกินของปลายหยวกที่วางซ้อนกันออก เพื่อให้เรียบร้อยและสะดวกต่อการน าไปติดตั้ง แล้วทำการ แกะพื้นหลังของลวดลายออก จะปรากฏสีสันของกระดาษอังกฤษที่ชัดเจนและสวยงาม พร้อมที่จะนำไป ประดับตามส่วนประกอบต่าง ๆ

๔ การประดับ เมื่อมีการประกอบหยวกเป็นลายชุดต่าง ๆ แล้วจึงน ามาติดตั้งเข้ากับโครง หรือฐานที่ใช้ในงานพิธีโดยใช้ตะปูเป็นวัสดุในการตอกยึดชุดหยวกกล้วยให้ติดอยู่กับฐาน

๕ การตกแต่งด้วยเครื่องสด เช่น พุ่มดอกไม้ หรือดอกไม้ที่ร้อยเป็นม่านรัก และการ แกะสลักผักผลไม้ ที่เรียกว่า “การแทงหยวกประกอบเครื่องสด”

เทคนิควิธีการที่สำคัญในการแทงหยวก การแทงหยวกเป็นงานที่ต้องอาศัยความช านาญและสมาธิอย่างสูง ช่างแทงหยวกต้องเป็นช่าง ที่มีฝีมือ เพราะจะไม่มีการวาดลวดลายหรือร่างภาพลงบนหยวกก่อน ช่างจึงจ าเป็นต้องจดจ าแบบแผน ของลายที่จะฉลุลงไปบนหยวกได้อย่างแม่นย า สิ่งที่ควรค านึงถึงอีกอย่างหนึ่งคือ วิธีการจับมีด การลงมีด นั้นจะต้องให้มีดตั้งฉากกับหน้าตัดของหยวก

วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการแทงหยวก

การสร้างสรรค์ศิลปะการแทงหยวกโดยมากจะใช้วัสดุและอุปกรณ์ที่หาได้ง่าย มีใช้ตาม พื้นบ้านทั่วไป ได้แก่

๑ หยวกกล้วย ที่ได้ทำการลอกกาบ คัดแยกขนาดของกาบกล้วย และเช็ดผิวทำความ สะอาดเรียบร้อยแล้ว

๒ กระดาษสี ใช้สำหรับประกอบงานแทงหยวก เพื่อเน้นลวดลายที่ได้ฉลุลงบนหยวกให้มี สีสันสวยสดงดงาม ซึ่งนิยมใช้กระดาษอังกฤษสีมันวาวคล้ายกระดาษตะกั่ว

ที่มีคุณสมบัติสำคัญคือ เมื่อถูก น้ำแล้วไม่ ยับย่น สีไม่ลอก เนื่องจากเมื่อแทงหยวกเสร็จแล้วต้องมีการพ่นน้ำอยู่เสมอ

๓ มีดแทงหยวก เป็นมีดปลายแหลมที่มีคมทั้งสองด้าน เพื่อให้สามารถแทงลวดลายใน ลักษณะเดินหน้าถอยหลังได้อย่างสะดวก ทำมาจากเหล็กลานนาฬิกา หรือใบเลื่อยโลหะ นำมาเจียรและ ลับให้คม ใบมีดมีขนาดความกว้างประมาณ ๕ มิลลิเมตร มีความยาวประมาณ ๓-๓ นิ้วครึ่ง หรือแตกต่าง กันไปตามความต้องการและความถนัดของช่างแต่ละคน

๔ หินลับมีด ใช้ส าหรับลับมีดแทงหยวก เนื่องจากเมื่อมีการใช้งานนาน ๆ จะท าให้มีดแทง หยวกนั้นหมดคม ระหว่างใช้งานจึงต้องหมั่นลับมีดให้คมอยู่เสมอ เมื่อมีดมีความคมก็จะท าให้ลวดลายบน หยวกมีความคมชัดสวยงาม

.๕ ตอก ใช้ส าหรับประกอบหยวกเข้าเป็นลายชุด โดยใช้ตอกรัดตรึงหยวกที่แทงแล้วแต่ละชิ้น ให้เป็นส่วนเดียวกัน ตอกที่ใช้ส าหรับงานศิลปะการแทงหยวกนิยมท าจากไม้ไผ่ โดยมีความกว้างประมาณ ๑-๑.๕ เซนติเมตร และยาวประมาณ ๖๐ เซนติเมตร ซึ่งปลายตอกทั้งสองข้างจะมีความเรียวแหลมและคม

.๖ ไม้เสียบ ใช้ส าหรับปักยึด หรือช่วยเสริมความแข็งแรงจากการประกอบหยวกด้วยตอกอีก ที

๗ มีดบาง หรือมีดท าครัว ใช้ส าหรับตกแต่งกาบกล้วย หรือตัดหยวกกล้วยให้ได้ขนาดตามที่ ต้องการ โดยเฉพาะเมื่อน าลายมาประกอบเป็นลายชุด และในช่วงที่ต้องตัดต่อเพื่อน าลายชุดไปประดับ ตกแต่งสถานที่ต่าง ๆ