ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมา

การแทงหยวก หรือการแกะสลักหยวกให้มีลวดลายต่างๆ นั้น ถือเป็นหนึ่งในศิลปะช่างสิบหมู่ ที่เป็นสิ่งที่หาดูได้ยากมากแล้วในปัจจุบัน มีต้นกำเนิดมาจากคนมอญ การแทงหยวกนั้น จะต้องใช้ต้นตานีสวน ที่คัดมาอย่างดี เพราะ เนื้อผิวจะสวย เวลาจะแกะ จะเกิดความสวยงาม ใครจะรู้ว่าในพื้นที่ บ้านหัวร้อง ต.นครไทย อ.นครไทย จ.พิษณุโลก นั้น ยังมีศิลปะ ของดีในชุมชนแบบนี้อยู่ และสืบทอดเป็นของดีในชุมชนจากรุ่นสู่รุ่นมานานกว่า 100 ปีแล้ว

สืบทอดฝีมือและเอกลักษณ์งานแทงหยวกกล้วย ประกอบแลแห่นาคของชาวนครไทยมาตั้งแต่ปี 2517 เพราะอยากจะสืบสานงานแทงหยวกประดับแลแห่นาค ที่เป็นประเพณีหนึ่งเดียวในประเทศหรือในโลกนี้ก็ว่าได้ และยินดีที่สอนให้เด็ก ๆ ได้ทำเป็นเพื่อหารายได้เสริมให้กับครอบครัว ให้คนรุ่นหลังได้สืบสานอนุรักษ์ไว้ เพราะไม่อยากให้ศิลปะอันดีงามของไทยสูญหายไป จนได้ไปเป็นวิทยากรสอนการแทงหยวกกล้วยให้แก่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ อีกมาก เด็กนักเรียนจะเรียกว่า อาจารย์เดียร์ปราชญ์ชาวบ้าน

อำเภอนครไทย

แทงหยวกเพื่อตกแต่งแลที่ใช้แห่นาค ในสมัยก่อนเมื่อมีงานแห่นาค ช่างแทงหยวกจะมารวมตัวกันช่วยแทงหยวกตกแต่งแลโดยไม่คิดค่าจ้าง มีการคิดลายใหม่ขึ้นมาเพิ่มบ้างแต่ ยังคงลายเดิมไว้ ในปัจจุบันการแทงหยวกได้กลายมาเป็นอาชีพเสริมหลังจากการทำนา เมื่อถึงเดือน ๔ เดือน ๕ เป็นช่วงเดือนบวชพระจึงมีคนมาจ้างทำและให้เงินเป็นค่าตอบแทนในการทำในปัจจุบันการแทงหยวกเป็นการสืบทอดกันมาจากรุ่นสูรุ่น โดยจะมีการครอบครูให้แก่ลูกหลานผู้สืบทอด โดยช่างแทงหยวกที่บ้านหัวร้อง ตำบลนครไทย คือ นายประทุม จอดดวงจันทร์ นายแจว ทรัพย์อยู่ และนายสิทธิศักดิ์ วิเชียรสวรรค์ ได้รับการถ่ายทอดมาจาก นายคัด จอดดวงจันทร ปราชญชาวบาน ดานการแทงหยวกของอำเภอนครไทย นอกจากนี้ยังพบชางแทงหยวกที่ตำบลนาบัว อำเภอนครไทย ที่ได้สืบ ทอดจากบรรพบุรุษ คือ นายบุญลือ สีดารักษ์ และนายสำราญ หมื่นพันธ์ ลวดลายการแทงหยวกประกอบแลแห่นาคจะทำลวดลายที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา คือลายธรรมจักร ลายนาค ลายดอกบัว และยังมีลายอื่นๆ อีก เช่น ลายดอกพิกุล ลายดอกจันทร์ ลายหนวดเสือ และลายเถาวัลย์ ปัจจุบันการแทงหยวกไม่มีการกำหนดลาย แล้วแต่ช้างจะเป็นผู้คิดประดิษฐ์ขึ้นตามจินตนาการของตนเอง จึงเกิดความแตกต่างกันของลาย ในขณะที่ส่วนประกอบอื่น ๆ จะมีลวดลายเหมือนกัน คือ ลายฟันปลา ลายฟันสาม ลายน่องสิงห์ และลายเถาวัลย์ เป็นต้น