ลายพื้นฐานการแทงหยวก

ลายพื้นฐานการแทงหยวก

๑ ลายฟันหนึ่ง (ลายฟันปลา) แทงหยวกด้วยมีดฉลุที่คมทั้งสองด้านและปลายแหลมคมในลักษณะขึ้นลง ๆ ในลักษณะซิกแซก แทงหยวกเดินหน้าและถอยหลัง แนวตรงในระยะห่างที่เท่า ๆ กัน โดยใช้แนวเส้น หยวกกล้วยเป็นแนวหลัก ใช้เป็นลายประกอบได้เยอะ

๒ ลายฟันสาม มีรูปแบบมาจากลายตาอ้อย ใช้ประกอบลายในพิธีของสามัญชนจนถึงขุนนางชั้นผู้ใหญ่ รวมไปถึงพระบรมวงศานุวงศ์ด้วย

๓ ลายกลีบบัว ลายแทงหยวกด้วยมีดฉลุที่คมทั้งสองด้านและปลายแหลมคมในลักษณะขึ้นลง ๆ ใน ลักษณะซิกแซกแต่มีลักษณะลายที่ใหญ่โค้ง แทงหยวกเดินหน้าและถอยหลัง แนวตรงในระยะห่างที่เท่า ๆ กัน โดยใช้แนวเส้นหยวกกล้วยเป็นแนวหลัก

๔ ลายน่องสิงห์เป็นลายที่ลอกเลียนแบบจากน่องสิงห์ในงานปูนปั้นต่าง ๆ ที่พบเห็นได้ทั่วไป ซึ่ง สิงห์เป็นสัตว์ป่าหิมพานต์

๕ ลายหน้ากระดานแนวนอน ใช้ประกอบส่วนคาน ฐานชั้นล่าง และชั้นประกอบฉัตร ลวดลาย พัฒนาจากลายเครือเถาที่น ามาผูกกันและเลื้อยออกไปทั้งสองด้าน ช่างแทงหยวกจะต้องแทงให้เท่ากันทั้ง ด้านซ้ายและขวา

บ้านนาบัว ตำบลนาบัว อำเภอนครไทย ลวดลาย มี๗ ลาย ได้แก่ ๑. ลายฟันปลา ๒. ลายฟันสาม ๓. ลายหางสิงห์ ๔. ลายตัวพญานาค ๕. ลายหัวพญานาค ๖. ลายเถาวัลย์ ๗. ลายดอกไม้