ศิลปะ

การแทงหยวก

E-LEARNING

วิชาศิลปะ (ลวดลายงานแทงหยวกกล้วย )

คำอธิบายรายวิชา

สาระทัศนศิลป์

ศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียน ให้เรียนรู้ด้วยตัวเองตามความสนใจ ทักษะความถนัดความสามรถของผู้เรียนได้อย่างจริงมีระบบและขั้นตอน การปลูกฝังลักษณะที่ดี การเรียนรู้ในการทำงาน สร้างแบบและนำเสนอผลงานศิลปะ จากจินตนาการความคิดสร้างสรรค์การสังเกตทางศิลปะ ให้รับรู้เห็นคุณค่า ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ศิลปะไทยศิลปะท้องถิ่นอธิบายความหมายของทัศนศิลป์ ทัศนธาตุ องค์ประกอบดนตรี องค์ประกอบนาฏศิลป์ สำรวจ ทดลอง ทักษะในการใช้เทคนิควิธีการใหม่ๆ ให้เกิดความต้องการของตนเอง ศึกษาสังเกตรวบรวมข้อมูล และวิวัฒนาการงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่น การถ่ายทอดชีวิต ความประทับใจ อธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจ เช่น ในประวัติศาสตร์หรือเหตุการณ์ในปัจจุบันที่ได้รับอิทธิพลจากงานศิลปะ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ กลุ่มสาระอื่นๆและธรรมชาติแวดล้อม มรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสากลมาประยุกต์ เพื่อให้เกิดความคิดความเข้าใจ สามารถสื่อสารถึงสิ่งที่เรียนรู้ ความสามารถในการตัดสินใจ สร้างสรรค์งานศิลปะให้มีคุณค่า การนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ความมั่นใจในการแสดงออก มีความสุขกับการทำงาน และยอมรับความคิดความสามารถของผู้อื่น ตระหนัก ชื่นชม รับรู้ เห็นคุณค่าของธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ศิลปะไทย ศิลปะท้องถิ่น อย่างเหมาะสม

"ศิลปะ" การแทงหยวก เป็นวิชาความรู้ที่ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่อดีต โดยใช้วัสดุที่หาง่ายคือต้นกล้วย มาสร้างงานฝีมือซึ่งมักใช้ในงาน ตกแต่งประดับประดา เมรุเผาศพ งานบวช งานกฐิน และงาน ตกแต่งอื่นๆ สืบทอดกันมาหลายร้อยปี