กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

การแข่งขันการเขียนเรียงความ

คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน

    1. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1 - 3)
    2. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4 - 6)

ประเภทและจำนวน ผู้เข้าแข่งขัน

    1. แข่งขันประเภทเดี่ยว
    2. จำนวนผู้เข้าแข่งขัน
      • ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1 - 3) จำนวน 1 รูป
      • ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4 - 6) จำนวน 1 รูป

วิธีดำเนินการ

    1. ส่งรายชื่อผู้เข้าแข่งขัน ตามวัน เวลาที่กำหนด
    2. ขอบข่ายเนื้อหาในการเขียนเรียงความ
      • ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 1 หัวข้อ จับฉลากในวันแข่งขัน
      • ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 1 หัวข้อ จับฉลากในวันแข่งขัน
    3. ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ความยาวไม่น้อยกว่า 1 หน้า แต่ไม่เกิน 2 หน้า กระดาษ A4 (ตัวบรรจงครึ่งบรรทัด เว้นบรรทัด)
    4. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ความยาวไม่น้อยกว่า 2 หน้ากระดาษ A4 (ตัวบรรจงครึ่งบรรทัด เว้นบรรทัด)
    5. ให้ตัวแทนผู้เข้าแข่งขันจับสลากหัวข้อเขียนเรียงความในวันแข่งขัน
    6. ผู้แข่งขันจัดส่งผลงานของตนหลังเขียนเสร็จในเวลาที่กำหนด
    7. ใช้เวลาในการแข่งขัน 1 ชั่วโมง 30 นาที

เกณฑ์การให้คะแนน 100 คะแนน

    1. ถูกต้องตามรูปแบบการเขียนเรียงความ(คำนำ เนื้อเรื่อง สรุป) 15 คะแนน
    2. ความเป็นเอกภาพ 10 คะแนน
    3. เนื้อหาตรงกับชื่อเรื่องและน่าสนใจ 15 คะแนน
    4. มีสัมพันธภาพ 10 คะแนน
    5. อักขรวิธี(ถูกต้อง) 10 คะแนน
    6. สำนวนภาษา(เป็นภาษาเขียน) 10 คะแนน
    7. การเว้นวรรคตอน(2 หน้าขึ้นไป เว้นบรรทัด) 10 คะแนน
    8. ความสะอาดเรียบร้อย (เขียนตัวบรรจง) 10 คะแนน
    9. ความยาวของเนื้อเรื่อง/ เนื้อหา 10 คะแนน

การแข่งขันคัดลายมือภาษาไทย

คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน

    1. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ม.1 - 3
    2. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ม.4 - 6

ประเภทและจำนวน ผู้เข้าแข่งขัน

    1. แข่งขันประเภทเดี่ยว
    2. จำนวนผู้เข้าแข่งขัน
      • ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1 - 3) จำนวน 1 รูป
      • ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4 - 6) จำนวน 1 รูป

วิธีดำเนินการ

    1. ส่งรายชื่อผู้เข้าแข่งขัน ตามวัน เวลาที่กำหนด
    2. เนื้อหา ตามที่ฝ่ายจัดการแข่งขันกำหนดให้
    3. ใช้ปากกาลูกลื่น คัดตัวบรรจงเต็มบรรทัด รูปแบบตัวอักษร ตัวกลม หัวกลม เว้นบรรทัด 1 บรรทัด ตามรูปแบบกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ กระดาษ A4 20 บรรทัด
    4. ใช้เวลาในการแข่งขัน 1 ชั่วโมง 30 นาที โดยแข่งขันเพียงรอบเดียวแล้วตัดสิน ผลการตัดสินตามเกณฑ์การประเมินของคณะกรรมการถือเป็นข้อยุติ

เกณฑ์การให้คะแนน 100 คะแนน

    1. ตัวเต็มบรรทัด โดยสมบูรณ์ ตัวตรงมีขนาดสม่ำเสมอ 30 คะแนน
    2. วางสระ วรรณยุกต์ การเว้นวรรคตอน(ช่องไฟ) 20 คะแนน
    3. คัดลอกข้อความถูกต้องตลอดข้อความ 20 คะแนน
    4. สะอาด ไม่มีรอยขูด ขีด ฆ่า และรอยลบ 20 คะแนน
    5. เวลา (เสร็จตามเวลาที่กำหนด) 10 คะแนน

การแข่งขันแต่งกลอนสด

คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน

    1. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1 - 3)
    2. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4 - 6)

ประเภทและจำนวน ผู้เข้าแข่งขัน

    1. แข่งขันประเภทเดี่ยว
    2. จำนวนผู้เข้าแข่งขัน
      • ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1 - 3) จำนวน 1 รูป
      • ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4 - 6) จำนวน 1 รูป

วิธีดำเนินการ

    1. ส่งรายชื่อผู้เข้าแข่งขัน ตามวัน เวลาที่กำหนด
    2. กรรมการกำหนดหัวข้อที่จะใช้ในการแข่งขัน จำวน 2 หัวข้อ
    3. ให้นักเรียนเลือกผู้แทน 1 รูป จับฉลากหัวข้อ แล้วนำหัวข้อที่จับฉลากได้ไปแต่งบทร้อยกรอง
      • ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1 - 3) แต่งกลอนสด (กลอนแปด) จำนวน 4 บท
      • ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4 - 6) แต่งกลอนสด (กลอนแปด) จำนวน 6 บท
      • ใช้เวลาในการแต่งคำประพันธ์ 1 ชั่วโมง 30 นาที

เกณฑ์การให้คะแนน 100 คะแนน

บทร้อยกรองที่ผิดฉันทลักษณ์ ต่อไปนี้ กรรมการจะไม่นำไปตรวจให้คะแนน

      • ไม่มีสัมผัสระหว่างวรรค
      • ไม่มีสัมผัสระหว่างบท
      • ใช้สระเสียงสั้น สัมผัสกับสระเสียงยาวเป็นสัมผัสบังคับ (เช่น ใช้ “ใจ” สัมผัส กับ “กาย”)
      • กรณีแต่งฉันท์ วางคำ ครุ ลหุ ไม่ถูกตำแหน่ง
      • เขียนไม่ครบตามที่กำหนด

บทร้อยกรองที่ไม่ผิดฉันทลักษณ์ กรรมการจะนำไปตรวจให้คะแนน โดยมีหลักเกณฑ์ การให้คะแนน ดังนี้

    1. ฉันทลักษณ์และอักขรวิธี คะแนนเต็ม 20 คะแนน/
      • เขียนตัวสะกดการันต์ผิด หักคำละ 1 คะแนน
      • มีสัมผัสซ้ำ หักคะแนนตำแหน่งละ 2 คะแนน
      • มีสัมผัสเลื่อน หักคะแนนตำแหน่งละ 2 คะแนน
    2. ความคิดและเนื้อหา คะแนนเต็ม 40 คะแนน
      • ตรงประเด็น หมายความว่า นักเรียนจะต้องใช้หัวข้อที่กำหนดเป็นแกนเรื่อง
      • เสนอแนวคิดสร้างสรรค์ หมายความว่า เนื้อหาที่นักเรียนเสนอนั้นให้แง่คิดที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน เช่น แง่คิดในการดำรงชีวิต การเข้าใจสังคม การปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
      • เสนอแนวคิดแปลกใหม่ หมายถึง แนวความคิดที่เสนอในเนื้อหาไม่ค่อยมีใครกล่าวถึง เป็นแนวความคิดที่มีเหตุผลและอยู่ในขอบเขตของหัวข้อ
    3. กวีไวหาร คะแนนเต็ม 40 คะแนน
      • เลือกใช้คำเหมาะแก่เนื้อหาและบริบท
      • เล่นสัมผัสอักษร เล่นคำ ไพเราะ สละสลวยและราบรื่น ช่วยให้คำประพันธ์ไพเราะยิ่งขึ้น
      • ใช้โวหารต่าง ๆ ส่งเสริมเนื้อหาให้มีความหมายลึกซึ้งกินใจ เช่น กล่าวเปรียบเทียบใช้บุคลาธิษฐาน เป็นต้น


การแข่งขันท่องบทอาขยานทำนองเสนาะ

คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน

    1. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1 - 3)
    2. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4 - 6)

ประเภทและจำนวน ผู้เข้าแข่งขัน

    1. แข่งขันประเภทเดี่ยว
    2. จำนวนผู้เข้าแข่งขัน
      • ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1 - 3) จำนวน 1 รูป
      • ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4 - 6) จำนวน 1 รูป

วิธีดำเนินการ

    1. ส่งรายชื่อผู้เข้าแข่งขัน ตามวัน เวลาที่กำหนด
    2. กรรมการกำหนดหัวข้อที่จะใช้ในการแข่งขัน
      • เนื้อหาบทอาขยานที่นำมาใช้แข่งขันท่องอาขยานทำนองเสนาะ ประกอบด้วยบทอาขยานบทหลัก และบทอาขยานบทเลือกของแต่ละชั้นปี จากหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย บทอาขยาน ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ และให้ผู้เข้าแข่งขันท่องอาขยานทำนองเสนาะ จำนวน 2 ครั้ง
      • คณะกรรมการเตรียมบทอาขยานบทหลักและบทอาขยานบทเลือกของแต่ละชั้นปี จำแนกเป็น บทอาขยานบทหลัก 5 บท และบทอาขยานบทเลือกผู้เข้าแข่งขันเตรียมมาคนละ 1 บท โดยมีวิธีการดังนี้
        • ให้ตัวแทนกรรมการจับฉลากบทอาขยานบทหลักก่อนเพื่อให้ผู้เข้าแข่งขันใช้เป็น บทท่อง บังคับ แต่ละรูป/คน
        • ผู้เข้าแข่งขันทุกรูป/คน ท่องบทอาขยานหลักที่กรรมการจับฉลากไว้แล้ว 1 บท ตามข้อ 1 โดยให้ดูบทที่จับฉลากได้
        • ผู้เข้าแข่งขันท่องบทเลือกที่เตรียมมา 1 บท โดยไม่ดูบท
        • นักเรียนที่เข้าแข่งขันต้องแนะนำตัวเองต่อคณะกรรมการ
    3. เวลาในการท่องบทอาขยานทำนองเสนาะขึ้นอยู่กับเนื้อหาบทอาขยาน

เกณฑ์การให้คะแนน (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) ดังนี้

      • ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ของบทร้อยกรอง คะแนนเต็ม 30 คะแนน
      • ถูกต้องตามอักขรวิธี เช่น การอ่านคำ, การออกเสียงคำควบกล้ำ ร, ล ฯลฯ (ออกเสียงผิด 1 ครั้ง หัก 2 คะแนน) คะแนนเต็ม 30 คะแนน
      • น้ำเสียง เช่น ความไพเราะ ความหนักเบาและความชัดเจน ฯลฯ คะแนนเต็ม 30 คะแนน
      • ให้อารมณ์ความรู้สึกที่สอดคล้องกับเนื้อหาของบทอาขยาน คะแนนเต็ม 5 คะแนน
      • บุคลิกภาพมั่นใจ คะแนนเต็ม 5 คะแนน


การแข่งขันตอบปัญหาวิชาภาษาไทย

คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน

    1. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1 - 3)
    2. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4 - 6)

ประเภทและจำนวน ผู้เข้าแข่งขัน

    1. แข่งขันประเภทเดี่ยว
    2. จำนวนผู้เข้าแข่งขัน
      • ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1 - 3) จำนวน 1 รูป
      • ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4 - 6) จำนวน 1 รูป

วิธีดำเนินการ และเกณฑ์ให้คะแนน 100 คะแนน

    1. ส่งรายชื่อผู้เข้าแข่งขัน ตามวัน เวลาที่กำหนด
    2. ใช้แบบทดสอบ จำนวน 50 ข้อ 100 คะแนน
    3. ใช้เวลาในการแข่งขัน 1 ชั่วโมง
    4. ผู้แข่งขันที่ได้คะแนนสูงสุด ถือว่าเป็นผู้ชนะเลิศ
    5. ผู้แข่งขันที่ได้คะแนนเท่ากัน ให้กรรมการดูคะแนน 10 ข้อแรก ว่าใครได้คะแนนมากกว่าเป็นผู้ชนะ แต่หากคะแนนเท่ากันอีกให้ดูคะแนน 10 ข้อต่อมา ดูทีละ 10 ข้อจนกว่า มีผู้ได้คะแนนมากกว่าเป็นผู้ชนะ