แผนจัดการเรียนรู้

แผนการจัดการเรียนรู้โรงเรียนสามัคคีวิทยา

รหัสวิชา  ว14101   ชื่อวิชา  วิทยาศาสตร์พื้นฐาน   กลุ่มสาระการเรียนรู้  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หน่วยการเรียนรู้ที่เรื่อง ระบบสุริยะของเรา  ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4  ภาคเรียนที่ปีการศึกษา 2566

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1๒                   เรื่อง ระบบสุริยะ                 เวลา ๒ ชั่วโมง

ครูผู้สอน นางสาวธวัลรัตน์  ศรีสุขสันต์คีรี                                สอนวันที่............................................ 

1. มาตรฐานการเรียน

มาตรฐาน ว ๓.๑  เข้าใจองค์ประกอบ ลักษณะ กระบวนการเกิด และวิวัฒนาการของเอกภพ กาแล็กซีดาวฤกษ์และระบบสุริยะ รวมทั้งปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะ ที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิต และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศ 2. ตัวชี้วัด

ป.๔/3 สร้างแบบจำลอง แสดงองค์ประกอบ ของระบบสุริยะ และอธิบาย เปรียบเทียบคาบ การโคจรของ ดาวเคราะห์ต่าง ๆ จากแบบจำลอง

3. สาระสำคัญ

ระบบสุริยะเป็นระบบที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวบริวารโคจรอยู่โดยรอบ คือ ดาวเคราะห์ แปดดวง คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน นอกจากนี้ ระบบสุริยะยังมีดวงจันทร์ที่เป็นดาวบริวารของดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง อุกกาบาต และวัตถุขนาดเล็กอื่นๆ ซึ่งดาวพุธ คือ ดาวเคราะห์ที่มีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์สั้นที่สุดและ   ดาวเนปจูนคือดาวที่มีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ยาวที่สุด

4. จุดประสงค์การเรียนรู้

1 บอกชื่อดาวเคราะห์ต่างๆในระบบสุริยะได้ (K1)

2 อธิบายเปรียบเทียบคาบการโคจรของดาวเคราะห์ต่างๆ จากแบบจำลองได้ (K2)

3 สร้างแบบจำลองแสดงองค์ประกอบของระบบสุริยะได้ (P)

4 ยกตัวอย่างประโยชน์การใช้ความรู้เรื่ององค์ประกอบของระบบสุริยะต่อการดำรงชีวิตประจำวันได้ (A)

5.สาระการเรียนรู้

       5.1 ความรู้ (K)

                  ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ และมีบริวารโคจรอยู่โดยรอบ ซึ่งดาวเคราะห์แต่ละดวงจะมีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์แตกต่างกัน  

5.2 กระบวนการ/สมรรถนะ (P)

             1. ความสามารถในการสังเกต

2. ความสามารถในการคิด

3. ความสามารถในการสร้างแบบจำลอง

4. ความสามารถในการตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป

       5.3 คุณลักษณะอันพึงประสงค์/ค่านิยม (A)             

1. ใฝ่เรียนรู้  

2. มุ่งมั่นในการทำงาน


6. กิจกรรมการเรียนรู้ (เวลา ๑๒๐ นาที)

       ขั้นที่ 1 ขั้นระบุคำถาม (Learning to Question) (เวลา ๑๕ นาที)

1.      ครูให้นักเรียนร่วมตอบคำถามเพื่อทบทวนความรู้เดิมชั่วโมงที่แล้วว่า บริวารต่างๆ ของดวงอาทิตย์จะโคจรรอบดวงอาทิตย์ประกอบด้วยอะไรบ้าง

๒. ผู้แทนนักเรียนจำนวน ๒ คน ออกมาหน้าชั้นเรียน แล้วร่วมกันตอบคำถามกระตุ้นความคิด

       ๒.1  ครูเชิญชวนนักเรียนเล่นเกมส์เศรษฐีระบบสุริยะ

       ๒.2  ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกลุ่มละ ๔ คน ตามความสมัครใจ

๓. ครูแนะนำเกมส์เศรษฐีระบบสุริยะพร้อมทั้งอธิการกติกาการเล่นเกมส์

4.ครูแจกอุปกรณ์สำหรับเล่นเกมส์เศรษฐีระบบสุริยะ

ขั้นที่ 2 ขั้นแสวงหาสาระสนเทศ (Leaning to Search) (เวลา ๓๐ นาที)

                  1. ครูให้เวลานักเรียนแต่ละกลุ่มได้ศึกษาวิธีการเล่นเกมส์เศรษฐีระบบสุริยะด้วยตนเองจากคู่มือ

                  2. นักเรียนแต่ละกลุ่มปฏิบัติกิจกรรมโดยมีครูเป็นผู้สังเกตุการณ์และให้คำแนะนำ

       ขั้นที่ 3 ขั้นสร้างความรู้ (Leaning to Construct) (เวลา ๓0 นาที)

                  1.ให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม แสดงตัวอย่างของตัวผู้เล่นที่ทำจากดินน้ำมันซึ่งแทนดาวที่แตกต่างกัน

                  ๒.หลังจบเกมส์ให้นักเรียนออกแบบแผนภาพผังความคิดเรื่องระบบสุริยะ พร้อมทั้งตกแต่งให้สวยงาม

       ขั้นที่ 4 ขั้นสื่อสาร (Leaning to Communicate) (เวลา ๒๕ นาที)

1. ผู้แทนนักเรียนแต่ละกลุ่มออกมาพูดนำเสนอแผนภาพผังความคิดเรื่องระบบสุริยะหน้าชั้นเรียน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เพื่อน ๆ ร่วมกันตรวจสอบและแก้ไขให้ถูกต้อง

2. นักเรียนตรวจสอบหรือประเมินขั้นตอนต่าง ๆ ที่เรียนมาในวันนี้มีจุดเด่น จุดบกพร่องอะไรบ้าง

มีความสงสัย ความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องใด

ขั้นที่ 5 ขั้นตอบแทนสังคม (Leaning to Service) (เวลา ๒0 นาที)

       นำแผนภาพผังความคิดเรื่องระบบสุริยะ พร้อมทั้งตกแต่งให้สวยงาม จัดทำป้ายนิเทศหน้าห้องเรียน ให้นักเรียนคัดเลือกผลงานดีเด่นเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือเฟซบุ๊ก (facebook)

7. สื่อ/นวัตกรรมการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้

7.1 สื่อการเรียนรู้

     1) หนังสือเรียนชุดแม่บทมาตรฐาน วิทยาศาสตร์ ป.4  หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ดวงจันทร์และระบบสุริยะ

     2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาการคิดวิเคราะห์ เกมส์เศรษฐีระบบสุริยะ

     3) กระดาษบรู๊ฟ       กลุ่มละ ๑ แผ่น

     4.) สีไม้                           1 กล่อง

     5) บัตรคำถามท้าทาย         ๘ ใบ

     6) บัตรเสี่ยงดวง                ๘ ใบ

     7) ลูกเต๋า                        1 ลูก

     8) ปากกา                       ๑ ด้าม

  10) ใบบันทึกคะแนน

7.2 แหล่งการเรียนรู้

     1) ห้องสมุด

     2) อินเทอร์เน็ต  

 

8. การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้

1. ประเมินความรู้ โดยบอกชื่อดาวเคราะห์ต่างๆในระบบสุริยะได้ (K) ด้วยแบบทดสอบ

2. ประเมินการปฏิบัติการทำกิจกรรมการทดลอง (P) ด้วยแบบประเมิน

3. ประเมินชิ้นงาน แผนภาพความคิด ระบบสุริยะได้ (P) ด้วยแบบประเมิน

4. ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน (A) ด้วยแบบประเมิน

 


บทเรียนออนไลน์ e-learning ประกอบการเรียนการสอน