เนื้อหาบทเรียน

สารเคมีในชีวิตประจําวัน 

เกณฑ์ การจําแนกสารเคมี

1. สารปรุงแต่งอาหาร 

2. เครื่องดื่ม

 3. สารทําความสะอาด 

4. สารกําจัดแมลง และสารกําจัดศัตรูพืช

 5. เครื่องสําอาง  


1. สารปรุงแต่งอาหาร 

1.1 ความหมายสารปรุงแต่งอาหาร 

    สารปรุงแต่ง อาหาร หมายถึง สารปรุงรสอาหารใช้ใส่ในอาหารเพื่อททำให้ อาหารมีรสดีขึ้น หรือ เพิ่มรสชาติต่างๆ เช่น - น้ำตาล ให้รสหวาน - เกลือ น้ำปลา ให้รสเค็ม - น้ำส้มสายชู น้ำมะนาว ซอสมะเขือเทศ ให้รสเปรี้ยว 

1.2 ประเภทของสารปรุงแต่งอาหาร แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 

1. ได้จากการสังเคราะห์เช่น น้ําส้มสายชูน้ําปลา ซีอิ๊ว ซอสมะเขือเทศ 

2. ได้จากธรรมชาติเช่น เกลือ น้ํามะนาว น้ํามะขามเปียก อัญชัน เป็นต้น 

2. เครื่องดื่ม 

    เครื่องดื่ม หมายถึง สิ่งที่มนุษย์จัดเตรียมสําหรับดื่ม และมักจะมี “น้ํา” เป็นองค์ประกอบหลัก บางประเภทได้คุณค่าทางโภชนาการ บางประเภทดื่มแล้วไปกระตุ้นระบบ ประสาท และบางประเภทดื่มเพื่อดับกระหาย แบ่งออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่ น้ําดื่มสะอาด น้ําผลไม้นม น้ําอัดลม เครื่องดื่มบํารุงกําลัง ชาและกาแฟ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 

ประเภทของเครื่องดื่ม 

1) น้ําดื่มสะอาด น้ําดื่มสะอาด เป็นเครื่องดื่มที่ไม่สิ่งอื่นเจือปน เป็นประโยชน์ต่อกระบวนการ ต่างๆ ในร่างกาย

 2) น้ําผลไม้ น้ําผลไม้เป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์มากอย่างหนึ่ง ควรเป็นน้ําผลไม้สด โดย ผู้ผลิตจะนําผลไม้ที่มีมากในฤดูกาลมาคั้นเอาเฉพาะน้ํา 

3) นม นมเป็นแหล่งสําคัญของแคลเซียมและโปรตีน ช่วยให้กระดูกเจริญเติบโตและ แข็งแรง 

4) น้ําอัดลม เป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ประกอบด้วย น้ํา, น้ําตาล, สาร ปรุงแต่งที่เรียกว่า หัวน้ําเชื้อ ซึ่งเป็นส่วนผสมของสารที่ให้กลิ่นและสี, และ กรดคาร์บอนิกซึ่งถูกอัดเข้าในภาชนะบรรจุ บางชนิดอาจมีส่วนผสมของน้ํา ผลไม้เล็กน้อย 

5) เครื่องดื่มชูกําลัง คือเครื่องดื่มที่ให้พลังงาน มีส่วนผสมของคาเฟอีน (Caffeine) เทารีน (Taurine) อินโนซิทอล (Inositol) และซูโครสหรือน้ําตาลทราย (Sucrose) เป็นต้น เหมาะกับกลุ่มคนที่มีความต้องการทํางานอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน 6) ชาและกาแฟ เป็นเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน มีผู้บริโภคเป็นจํานวนมาก และมีการทําไร่ผลิตชาและ เมล็ดกาแฟหลายแห่งด้วยกัน เป็นอุตสาหกรรมชั้นนําประเภทหนึ่ง 

7) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีเอทิลแอลกอฮอล์ผสมอยู่ ได้แก่สุรา แอลกอฮอล์มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง ผู้ ที่กินเหล้าในปริมาณไม่มาก จะรู้สึกผ่อนคลาย เนื่องจากแอลกอฮอล์ไปกดจิตใต้สํานึกที่ คอยควบคุมตนเองอยู่ แต่หากดื่มปริมาณมากขึ้นจะทําให้อาการเสียการทรงตัว พูดไม่ชัด หรือ หมดสติในที่สุด 


3. สารทําความสะอาด 

3.1 ความหมายของสารทําความสะอาด 

สารทําความสะอาด หมายถึง สารที่มีคุณสมบัติในการกําจัดความสกปรก ต่างๆ ตลอดจนฆ่าเชื้อโรค

 3.2 ประเภทของสารทําความสะอาด แบ่งตามการเกิด ได้ 2 ประเภท คือ 

1) ได้จากการสังเคราะห์เช่น น้ํายาล้างจาน สบู่ก้อน สบู่เหลว แชมพูสระผม ผงซักฟอก สารทําความสะอาดพื้นเป็นต้น 

2) ได้จากธรรมชาติเช่น น้ํามะกรูด มะขามเปียก เกลือ เป็นต้น 

แบ่งตามวัตถุประสงค์ในการใช้งานเป็นเกณฑ์แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ

      2.1 สารประเภททําความสะอาดร่างกาย ได้แก่สบู่แชมพูสระผม เป็นต้น

2.2 สารประเภททําความสะอาดเสื้อผ้า ได้แก่สารซักฟอกชนิดต่างๆ

 2.3 สารประเภททําความสะอาดภาชนะ ได้แก่ น้ํายาล้างจาน เป็นต้น

   2.4 สารประเภททําความสะอาดห้องน้ํา ได้แก่สารทําความสะอาด ห้องน้ําทั้งชนิดผงและชนิดเหลว 

สมบัติของสารทําความสะอาด 

   สารทําความสะอาด เช่น สบู่แชมพูสระผม สารล้างจาน สารทําความสะอาด ห้องน้ํา สารซักฟอก บางชนิดมีสมบัติเป็นกรด บางชนิดมีสมบัติเป็นเบสซึ่ง ทดสอบได้ด้วยกระดาษลิตมัส 

   สารทําความสะอาด ห้องน้ําและเครื่องสุขภัณฑ์บางชนิดมีสมบัติเป็นกรด สามารถกัดกร่อนหินปูนที่ยาไว้ระหว่างกระเบื้องปูพื้นหรือฝาห้องน้ําบริเวณ เครื่องสุขภัณฑ์ทําให้คราบสกปรกที่เกาะอยู่หลุดลอกออกมาด้วย ถ้าใช้สาร ชนิดนี้ไปนานๆ พื้นและฝาห้องน้ําจะสึกกร่อนไปด้วย และยังทําให้ผู้ใช้เกิด ความระคายเคืองของระบบทางเดินหายใจและผิวหนังอีกด้วย 


4. สารกําจัดแมลง และสารกําจัดศัตรูพืช 

4.1 ความหมายของสารกําจัดแมลงและสารกําจัดศัตรูพืช

 สารกําจัดแมลงและสารกําจัดศัตรูพืช หมายถึง สารเคมีที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้ ป้องกันการกําจัด และควบคุมแมลงต่างๆ ไม่ให้มารบกวน มีทั้งชนิดผง ชนิด เม็ด และชนิดน้ํา

 4.2 ประเภทของสารกําจัดแมลงและสารกําจัดศัตรู แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 

1. ได้จากการสังเคราะห์เช่น สารฆ่ายุง สารกําจัดแมลง เป็นต้น 

2. ได้จากธรรมชาติเช่น เปลือกมะนาว เปลือกมะกรูด เปลือกส้ม เป็นต้น 

5. เครื่องสําอาง 

5.1 ความหมายของเครื่องสําอาง 

เครื่องสําอาง หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทา ถูนวด โรย พ่น หยอด ใส่อบร่างกาย เพื่อใช้ทําความสะอาดเพื่อใหเก้ ิดความสดชื่น ความสวยงาม และเพิ่มความมั่นใจ 

5.2 ประเภทของเครื่องสําอาง แบ่งเป็น 5 ประเภท คือ 

1 ) สําหรับผม เช่น แชมพูครีมนวด เจลแต่งผม ฯลฯ 

2 ) สําหรับร่างกาย เช่น สบู่ครีม และโลชั่นทาผิว ยาทาเล็บ น้ํายาดับ กลิ่นตัว แป้งโรยตัว ฯลฯ 

3 ) สําหรับใบหน้า เช่น ครีม โฟมล้างหน้า แป้งผัดหน้า ลิปสติก ดินสอ เขียนคิ้วและดินสอเขียนขอบตา 

4 ) น้ําหอม

 5 ) เบ็ดเตล็ด เช่น ครีมโกนหนวด ผ้าอนามัย ยาสีฟัน ฯลฯ 

สารเคมีในเครื่องสําอางควรรู้จัก

1. Mineral Oil (Petrolatum) เป็นสารที่แยกจากการสกัดน้ํามันปิโตรเลียม มักถูกนํามาใช้ในเครื่องสําอาง จําพวกเบบี้ออย และเครื่องสําอางประเภทมอยเจอร์ไรเซอร์ทําหน้าที่ในการ เก็บรักษาความชุ่มชื้นให้กับผิว แต่เพราะเป็นโมเลกุลขนาดใหญ่จึงอาจเกิด การตกค้างที่ผิวหนัง เป็นสาเหตุของการเกิดสิวได้อาทิปัญหาสิวอุดตัน รูขุม ขนอุดตัน หรือผิวหนังอักเสบ เป็นต้น 

2. Propylene Glycol สารตัวนี้เป็นสารเคมีที่ใช้เพื่อป้องกันการจับตัวเป็นของแข็ง ซึ่งใน ภาคอุตสาหกรรมถูกนําไปใช้ในการทําละลาย อาทิสีและพลาสติก และถูก นํามาใช้กับเครื่องสําอางในกลุ่มมอยเจอร์ไรเซอร์ทําหน้าที่เก็บรักษาความชุ่ม ชื้นในเครื่องสําอาง ซึ่งหากใช้ในปริมาณน้อยจะไม่เป็นอันตราย แต่ถ้าผิวแพ้ อาจเกิดการระคายเคืองได้และถ้าสะสมในปริมาณมาก อาจมีผลต่อระบบ ประสาทส่วนกลาง และมีแนวโน้มเป็นสารตั้งต้นให้เกิดโรคมะเร็ง 

3. Triethanolamine (TEA) สารเคมีชนิดนี้พบมากในเครื่องสําอางจําพวกบอดี้โลชั่น แชมพูโฟมโกน หนวด และครีมบํารุงรอบดวงตา กับหน้าที่ในการปรับค่า pH ไม่ให้เป็นกรดด่าง มากเกินไป ซึ่งหากร่างกายได้รับในปริมาณน้อยก็ไม่เกิดอันตราย แต่หาก สะสมในปริมาณมาก อาจทําให้ผิวเกิดการระคายเคืองได้อย่างไรก็ดีหญิง ตั้งครรภ์ควรเลี่ยง เพราะเป็นสารเคมีที่มีผลต่อทารกในครรภ์ในช่วงพัฒนาการ ทางสมอง 

4. IPM (Isopropyl Myristate) เป็นสารเคมีที่ใช้กันมากในวงการเครื่องสําอาง กับคุณสมบัติในการเคลือบผิว เพื่อเก็บรักษาความชุ่มชื้น อย่างไรก็ดีจากการทดลองในสัตว์พบว่า สารเคมี ชนิดนี้ทําให้เกิดการอุดตันที่รูขุมขน ซึ่งอาจทําให้ผิวระคายเคือง และทําให้ เกิดปัญหาผิวหนังได 

5. Polyethylene สารเคมีชนิดนี้พบมากในเครื่องสําอางจําพวกสครับ เนื่องจากเป็นพลาสติกที่ ลื่นมัน ยืดหยุ่นได้ดีจึงใช้เป็นเม็ดสครับผิวได้แต่เนื่องจากเป็นสารเคมีจําพวก พลาสติก จึงถูกนําไปใช้เป็นส่วนผสมในของใช้ต่าง ๆ เช่น ขวดใส่สารเคมีขวด ใส่น้ํา บรรจุภัณฑ์ฉนวนไฟฟ้า หรือแม้แต่เก้าอี้ซึ่งแม้จะไม่สามารถซมผึ ่านสู่ ผิวหนังได้แต่ก็อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองผิว และไม่เป็นมิตรกับร่างกาย 

6. Imidazolidinyl and Diazoliddinyl Urea สารกันเสียชนิดนี้ถูกนํามาใช้ทั่วไปในกลุ่มเครื่องสําอาง กับหน้าที่ในการกําจัด แบคทีเรีย หรือจุลชีพต่าง ๆ แต่ด้วยการสลายตัวที่ทําให้เกิดสารฟอมาลดีไฮด์ (Formaldehyde) จึงทําให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง และระบบหายใจ ได้ซึ่งพิษสะสมอาจทําให้การทํางานของเซลล์ร่างกายผิดปกติอันเป็นสาเหตุ หนึ่งของการเกิดมะเร็ง 

7. Paraben คือสารกันเสียที่นิยมใช้อย่างมากในกลุ่มเครื่องสําอางจําพวกผิวหนังและเส้น ผม รวมถึงผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่น หรือโรลออน เพราะมีประสิทธิภาพในการ ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย แต่เนื่องจากเป็นสารเคมีที่พบใน ผลิตภัณฑ์หลากหลายประเภทที่ง่ายต่อการสะสมใน ร่างกาย หลายองค์กรจึง รณรงค์ให้เลี่ยงการใช้พาราเบนที่พบว่าเสี่ยงต่อการระคายเคือง ผิว อาจ ขัดขวางการทํางานของต่อมไร้ท่อ และอาจเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง โดยเฉพาะ มะเร็งเต้านม 

8. SLES (Sodium Laureth Sulfate) คือ สารเคมีที่นิยมเติมลงในเครื่องสําอางจําพวกแชมพูหรือเจลอาบน้ําเพื่อทํา ให้เกิดฟองและลดแรงตึงผิว สามารถพบได้ในแชมพูเกือบทุกประเภท ด้วย ผู้บริโภครู้สึกว่าสามารถกําจัดไขมันออกจากผิว และผมอย่างหมดจด แต่ แท้จริงแล้ว สารลดแรงตึงชนิดนี้มีส่วนเสียคือ มีฤทธิ์ทําให้กระบวนการ ป้องกันผิวและดูแลเส้นผมตามธรรมชาติอ่อนแอลง เสี่ยงต่อการระคายเคือง และหากกระบวนการผลิตมีการปนเปื้อนก็อาจเป็นสารก่อมะเร็งได้ 

9. Artificial Color มีเครื่องสําอางจํานวนไม่น้อยที่ใช้สีในการเติมแต่งเพื่อให้เกิดความงาม น่าใช้ บางชนิดเป็นสารเคมีสังเคราะห์และบางชนิดเป็นสีที่ใช้ในอาหาร (Food grade - ซึ่งค่อนข้างมีความปลอดภัย) อย่างไรก็ดีย่อมเป็นการปลอดภัยกว่า ในการงดการใช้สีที่มาจากการสังเคราะห์ทุกประเภท เนื่องจากอาจมีสารหนัก รวมทั้งสารหนูและสารตะกั่ว อันเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง 

10. Silicone ซิลิโคนมีลักษณะ คล้ายยาง มีความยืดหยุ่นสูงและมีอยู่หลายรูปแบบขึ้นอยู่ กับประเภทใช้งาน แต่ถูกนํามาใช้ในวงการความงามอย่างแพร่หลาย โดยใน เครื่องสําอางนั้น มักถูกนํามาใช้กับครีมนวดผมเพื่อให้รู้สึกนุ่มลื่น ช่วยเคลือบ บํารุงเส้นผมให้ดูเงางาม นุ่มสลวย แต่อาจเกิดการสะสมในตับและต่อม น้ําเหลืองหากใช้ในปริมาณมาก ซึ่งสามารถเป็นตัวเร่งการเกิดเนื้องอกและ มะเร็งได้ 

11. Petroleum Derivative เป็นสารเคมีที่ได้มาจากการแยกน้ํามันปิโตรเลียม มักถูกนําไปเป็นส่วนผสมใน เครื่องสําอางหลายประเภท อาทิครีมรองพื้น โฟมล้างหน้า ครีมบํารุงผิว เพื่อ ทําหน้าที่เก็บกักความชุ่มชื่นผิวโดยการเคลือบผิวไว้แต่ด้วยความที่มีโมเลกุล ขนาดใหญ่และผ่านกรรมวิธีทางเคมีจึงอาจทําให้ผิวเกิดการระคายเคือง อุด ตันผิว และเกิดสิวได้และหากเก็บกักสะสม อาจเสี่ยงต่อการเสื่อมสภาพของ ผิว และทําให้ฮอร์โมนและภูมิคุ้มกันในเพศหญิงอ่อนแอ 

12. Synthetic Polymer โพลิเมอร์มีสารตั้งต้นจากพลาสติก ที่ผ่านกระบวนการทางเคมีให้มีความ เหนียวนุ่ม ยืดหยุ่น นิยมนํามาทําบรรจุภัณฑ์อาหาร รวมทั้งเป็นส่วนผสมใน เครื่องสําอาง อาทิครีมนวดผม หรือเจลแต่งทรงผม ทําหน้าที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับการใช้งาน อาทิการเพิ่มเนื้อสัมผัส การเคลือบผิว หรือการเก็บ รักษาความชุ่มชื้น อย่างไรก็ตาม มีสารโพลิเมอร์บางชนิดสามารถหาได้จากพืช อาทิมันสําปะหลัง ข้าวโพด และมะพร้าว ซึ่งเป็นมิตรกับธรรมชาติและ เหมาะสมกับร่างกายของเรามากกว่า 

13. PEG (Polyethylene Glycol) เป็น สารเคมีสังเคราะห์ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อทดแทนสารเพิ่มความชุ่มชื้น มักถูกใช้ ในผลิตภัณฑ์ความงามจําพวกทําความสะอาดและบํารุงผิว โดยสถาบัน เผยแพร่ข้อมูลด้านความปลอดภัยของวัตถุในสหรัฐอเมริกา (III) ได้ออกคํา เตือนให้หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีชนิดนี้เพราะระคายเคืองต่อผิวสูง และอาจ เป็นสาเหตุของความผิดปกติในตับและไต และอาจเกิดการปนเปื้อนจากการ ผลิตซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งตับและจมูก 

14. Quats คือสารชะล้างที่มักนําไปใช้กับผลิตภัณฑ์ขัดล้างต่าง ๆ อาทิน้ํายาล้างห้องน้ํา น้ํายาขัดพื้น และนํามาใช้กับเครื่องสําอางจําพวกแชมพูหรือเจลอาบน้ํา ทั้งหลาย เพื่อให้รู้สึกถึงการทําความสะอาดที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นอย่างไรก็ ตาม ด้วยความที่เป็นสารเคมีรุนแรง จึงมีความเสี่ยงที่จะทําให้ผิวเกิดผดผื่น แพ้และทําลายระบบทางเดินหายใจหากใช้ในปริมาณสูงและใช้ต่อเนื่องเป็น เวลานาน 

           ผลิตภัณฑ์ที่ดีควรสกัดมาจากธรรมชาติเช่น น้ํามันมะพร้าว ผัก หรือ ผลไม้ ซี่งผลิตภัณฑ์ในปัจจุบันส่วนมากมีสารเคมีเป็นส่วนประกอบหลักอยู่ แทบทุกชนิด เช่น สารกันเสียที่มากเกินไป หรือสารอื่น ๆ ที่เรายังไม่รู้และ เป็นอันตรายต่อผิวหนัง ดังนั้นก่อนซื้อควรทดลองกับผิวบริเวณแขนของตัวเอง ก่อน ถ้าทาแล้วไม่รู้สึกระคายเคือง หรือไม่มีอาการคัน ก็สามารถใช้ได 

         การเลือกซื้อเครื่องสําอาง ไม่ควรซื้อเพราะเห็นคนอื่นใช้แล้วดีแต่ควรดูสภาพ ผิวของตัวเองด้วยว่า เหมาะสมหรือไม่อีกอย่างไม่ควรซื้อเกินกําลังของตัวเอง และนอกจากนี้ยังมีสมุนไพรไทย เช่น ขมิ้น ว่านหางจระเข้สามารถนํามาขัด และบํารุงผิวได้เหมือนกัน โดยไม่มีสารเคมีแถมหาได้ง่าย หรือถ้าจะล้าง เครื่องสําอางออก วิธีง่ายๆ ก็คือ ใช้น้ํามันมะพร้าวเช็ด และล้างน้ําออก ซึ่ง ได้ผลดีเหมือนกัน 


สัญลักษณ์แสดงความอันตรายของสารเคมี

ระบบ สัญลักษณ์แสดงอันตรายที่รู้จักและนิยมใช้มีหลายระบบ เช่น 

• ระบบ UN 

• ระบบ NFPA (The National Fire Protection Association) ของ สหรัฐอเมริกา 

• ระบบ EEC 

• ระบบ GHS เป็นต้น ซึ่งสัญลักษณ์ของทั้ง 4 ระบบนั้น มีดังนี้ 

1.ระบบ UN - United Nations Committee of Experts on the Transport of Dangerous Goods จําแนกสารที่เป็นอันตรายและเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายได้หรือก่อให้เกิด ความพินาศ เสียหาย ออกเป็น 9 ประเภท (UN-Class) ตามลักษณะที่ ก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสี่ยงในการเกิดอันตราย ดังนี้


ประเภท 1 - ระเบิดได้ (Explosives) 

          สารระเบิดได้หมายถึง ของแข็งหรือของเหลวหรือ สารผสมที่สามารถเกิดปฏิกิริยาทางเคมีด้วยตัวมัน เอง ทําให้เกิดก๊าซที่มีความดัน และความร้อนอย่าง รวดเร็ว ก่อให้เกิดการระเบิดสร้างความเสียหายแก่ บริเวณโดยรอบได้ซึ่งรวมถึงสารที่ใช้ทําดอกไม้ เพลิงและสิ่งของที่ระเบิดได้ด้วย 

แบ่งเป็น 6 กลุ่มย่อย คือ 

1.1 สารหรือสิ่งของที่ก่อให้เกิดอันตรายจากการระเบิดอย่างรุนแรงทันทีทันใดทั้ง หมด (Mass Explosive) ตัวอย่างเช่น เชื้อปะทุลูกระเบิด เป็นต้น 

1.2 สารหรือสิ่งของที่มีอันตรายจากการระเบิดแตกกระจาย แต่ไม่ระเบิดทันทีทันใด ทั้งหมด ตัวอย่างเช่น กระสุนปืน ทุ่นระเบิด ชนวนปะทุ เป็นต้น 

1.3 สารหรือสิ่งของที่เสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้และอาจมีอันตรายบ้าง จากการระเบิด หรือการระเบิดแตกกระจาย แต่ไม่ระเบิดทันทีทนใดท ั ั้งหมด ตัวอย่างเช่น กระสุนเพลิง เป็นต้น 

1.4 สารหรือสิ่งของที่ไม่แสดงความเป็นอันตรายอย่างเด่นชัด หากเกิดการปะทุหรือปะทุ ในระหว่างการขนส่ง จะเกิดความเสียหายเฉพาะภาชนะบรรจุตัวอย่างเช่น พลุอากาศ เป็นต้น 

1.5 สารที่ไม่ไวต่อการระเบิด แต่หากมีการระเบิดจะมีอันตรายจากการระเบิดทั้งหมด 

1.6 สิ่งของที่ไวต่อการระเบิดน้อยมากและไม่ระเบิดทันทีทั้งหมด มีความเสี่ยงต่อการ ระเบิดอยู่ในวงจํากัด เฉพาะในตัวสิ่งของนั้นๆ ไม่มีโอกาสที่จะเกิดการปะทุหรือแผ่ กระจาย 


ประเภทที่2 ก๊าซ (Gases) 

         ก๊าซ หมายถึง สารที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส มีความดันไอมากกว่า 300 กิโลปาสคาล หรือมีสภาพเป็นก๊าซ อย่างสมบูรณ์ที่อุณหภูมิ 20 องศา เซลเซียส และมีความดัน 101.3 กิโลปาสคาล ได้แก่ก๊าซอัด ก๊าซพิษ ก๊าซใน สภาพ ของเหลว ก๊าซในสภาพของเหลวอุณหภูมิต่ํา และรวมถึงก๊าซที่ละลาย ในสารละลายภายใต้ความดัน เมื่อเกิดการรั่ว ไหลสามารถก่อให้เกิดอันตราย จากการลุกติดไฟและ/ หรือเป็นพิษและแทนที่ออกซิเจนในอากาศ 

แบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อย ดั้งนี้ 

2.1 ก๊าซไวไฟ (Flammable Gases) หมายถึง ก๊าซที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียสและมี ความดัน 101.3 กิโลปาสกาล สามารถติดไฟได้เมื่อ ผสมกับอากาศ 13 เปอร์เซ็นต์หรือต่ํากว่าโดย ปริมาตร หรือมีช่วงกว้างทสามารถติดไฟได้ 12 % ขึ้นไป เมื่อผสมกับอากาศโดยไม่คํานึงถึง ความ เข้มข้นต่ําสุดของการผสม โดยปกติก๊าซไวไฟ หนักกว่า อากาศ ตัวอย่างของก๊าซกลุ่มนี้เช่น อะเซทิลีน ก๊าซหุง ต้มหรือก๊าซแอลพีจีเป็นต้น 

2.2 ก๊าซไม่ไวไฟและไมเป่ ็นพิษ (Non-flammable Non-toxic Gases) หมายถึง ก๊าซที่มีความดันไม่น้อยกว่า 280 กิโล ปาสคาลที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส หรืออยู่ใน สภาพของเหลวอุณหภูมิต่ํา ส่วนใหญ่เป็นก๊าซหนัก กว่าอากาศ ไม่ติดไฟและไม่เป็นพิษหรอแทนที่ ออกซิเจนในอากาศและทําให้เกิด สภาวะขาด แคลน ออกซิเจนได้ตัวอย่างของก๊าซกลุ่มนี้เช่น ไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์อาร์กอน เป็นต้น 

2.3 ก๊าซพิษ (Poison Gases) หมายถึง ก๊าซที่มีคุณสมบัติเป็นอันตรายต่อสุขภาพ หรือถึงแก่ชีวิตได้จาก การหายใจ โดยส่วนใหญ่ หนักกว่าอากาศ มีกลิ่นระคายเคือง ตัวอย่างของ ก๊าซในกลุ่มนี้เช่น คลอรีน เมทิลโบรไมด์เป็นต้น 


ประเภทที่3 ของเหลวไวไฟ (Flammable Liquids) 

ของเหลวไวไฟ หมายถึง ของเหลวหรือของเหลว ผสมที่มีจุดวาบไฟ (Flash Point) ไม่เกิน 60.5 องศาเซลเซียส จากการทดสอบด้วยวิธีถ้วยปิด (Closed-cup Test) หรือไม่เกิน 65.6 องศา เซลเซียส จากการทดสอบด้วยวิธีถ้วยเปิด (Opened-cup Test) ไอของเหลวไวไฟพร้อมลุก ติดไฟเมื่อมีแหล่งประกายไฟ ตัวอย่างเช่น อะซีโตน น้ํามันเชื้อเพลิง ทินเนอร์ เป็นต้น 


ประเภทที่4 ของแข็งไวไฟ

 สารที่ลุกไหม้ได้เองและสารที่สมผัสกับน้ําแล้วใหก๊าซไวไฟ แบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อย ดังนี้ 

4.1 ของแข็งไวไฟ (Flammable Solids) หมายถึง ของแข็งที่สามารถติดไฟได้ง่ายจากการได้รับความ ร้อน จากประกายไฟ/เปลวไฟ หรือเกิดการลุกไหม้ได้ จากการเสียดสีตัวอย่างเช่น กํามะถัน ฟอสฟอรัสแดง ไนโตรเซลลูโลส เป็นต้น หรือเป็นสารที่มีแนวโน้มที่จะ เกิดปฏิกิริยาคายความร้อนที่รุนแรง ตัวอย่างเช่น เกลือไดอะโซเนียม เป็นต้น หรือเป็นสารระเบิดที่ถูกลดความไวต่อการเกิดระเบิด ตัวอย่างเช่น แอมโมเนียมพิเครต (เปียก) ไดไนโตรฟีนอล (เปียก) เป็นต้น 

4.2 สารที่มีความเสี่ยงต่อการลุกไหม้ได้เอง (Substances Liable to Spontaneous Combustion) หมายถึง สารที่มีแนวโน้มจะเกิดความร้อนขึ้นได้เอง ในสภาวะการขนส่งตามปกติหรือเกิดความร้อน สูงขึ้นได้เมื่อ สัมผัสกับอากาศและ มีแนวโน้มจะลุก ไหม้ได 

4.3 สารที่สัมผัสกับน้ําแล้วทําให้เกิดก๊าซไวไฟ (Substances which in Contact with Water Emit Flammable Gases) หมายถึง สารที่ทําปฏิกิริยากับน้ําแล้ว มีแนวโน้มที่ จะเกิดการติดไฟได้เองหรือทําให้เกิด ก๊าซไวไฟใน ปริมาณที่เป็นอันตราย 



ประเภทที่5 สารออกซิไดซ์และสารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ 

แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย ดังนี้ 

5.1 สารออกซิไดส์ (Oxidizing Substances) หมายถึง ของแข็ง ของเหลวที่ตัวของสารเองไม่ติด ไฟ แต่ให้ออกซิเจนซึ่งช่วยให้วัตถุอื่นเกิดการลุก ไหม้และอาจจะก่อให้เกิดไฟ เมื่อสัมผัสกับสารที่ลุก ไหม้และ เกิดการระเบิดอย่างรุนแรง ตัวอย่างเช่น แคลเซียมไฮโปคลอไรท์โซเดียมเปอร์ออกไซด์ โซเดียมคลอเรต เป็นต้น 

5.2 สารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ (Organic Peroxides) หมายถึง ของแข็งหรือของเหลวที่มีโครงสร้าง ออกซิเจนสองอะตอม -O-O- และช่วยในการเผา สารที่ลุกไหม้หรือทําปฏิกิริยากับสารอื่นแล้ว ก่อให้เกิดอันตรายได้หรือเมื่อได้รับความร้อนหรือ ลุกไหม้แล้วภาชนะบรรจุสารนี้อาจระเบิดได้ ตัวอย่างเช่น อะซีโตนเปอร์ออกไซด์เป็นต้น 

ประเภทที่6 สารพิษและสารติดเชื้อ 

แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย ดังนี้ 

6.1 สารพิษ (Toxic Substances) หมายถึง ของแข็งหรือของเหลวที่สามารถทําให้เสียชีวิตหรือ บาดเจ็บ รุนแรงต่อสุขภาพของคน หากกลืน สูดดม หรือหายใจรับสารนี้เข้าไป หรือเมื่อสารนี้ได้รับ ความร้อนหรือลุกไหม้จะ ปล่อยก๊าซพิษ ตัวอย่างเช่น โซเดียมไซยาไนด์กลุ่มสารกําจัดแมลง ศัตรูพืชและสัตว์เป็นต้น 

6.2 สารติดเชื้อ (Infectious Substances) หมายถึง สารที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนหรือสารที่มี ตัวอย่าง การตรวจสอบของพยาธิสภาพปนเปื้อนที่ เป็นสาเหตุของ การเกิดโรคในสัตว์และคน ตัวอย่างเช่น แบคทีเรียเพาะเชื้อ เป็นต้น 



ประเภทที่7 วัสดุกัมมันตรังสี 

        วัสดุกัมมันตรังสี (Radioactive Materials) หมายถึง วัสดุที่สามารถแผ่ รังสีที่มองไม่เห็นอย่างต่อเนื่องมากกว่า 0.002 ไมโครคูรีต่อกรัม ตัวอย่างเช่น โมนาไซด์ยูเรเนียม โคบอลต์-60 เป็นต้น 

ประเภทที่8 สารกัดกร่อน

  สารกัดกร่อน (Corrosive Substances) หมายถึง ของแข็งหรือของเหลวซึ่งโดย ปฏิกิริยา เคมีมีฤทธิ์กัดกร่อนทําความเสียหาย ต่อเนื้อเยื่อ ของสิ่งมีชีวิตอย่างรุนแรงหรือ ทําลายสินค้า/ ยานพาหนะที่ทําการขนส่ง เมื่อเกิดการรั่วไหลของ สารไอระเหยของ สารประเภทนี้บางชนิด ก่อให้เกิดการ ระคายเคืองต่อจมูกและตา ตัวอย่างเช่น กรดเกลือ กรดกํามะถัน โซเดียมไฮดรอกไซด์เป็นต้น 

ประเภทที่9 วัสดุอันตรายเบ็ดเตล็ด

 วัสดุอันตรายเบ็ดเตล็ด (Miscellaneous Dangerous Substances and Articles) หมายถึง สารหรือสิ่งของที่ในขณะขนส่งเป็นสาร อันตรายซึ่งไม่จัดอยู่ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 8 ตัวอย่างเช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรต เป็นต้น และ ให้รวมถึงสารที่ต้อง ควบคุมให้มีอุณหภูมิไม่ต่ํากว่า 100 องศาเซลเซียส ในสภาพของเหลว หรือมี อุณหภูมิไม่ต่ํากว่า 240 องศาเซลเซียสในสภาพของแข็งในระหว่างการขนส่ง 

2. ระบบ NFPA - The National Fire Protection Association 

• ของสหรัฐอเมริกากําหนด สัญลักษณ์แสดงอันตรายเป็นรูปเพชร (Diamondshape) เพื่อใช้ในการป้องกันและตอบโต้เหตุเพลิงไหม้สัญลักษณ์ดังกล่าวมี ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่วางตั้งตามแนวเส้น ทแยงมุม ภายในแบ่ง ออกเป็นสี่เหลี่ยมย่อย ขนาดเท่ากัน 4 รูป ใช้พื้นที่กํากับ 4 สีได้แก่ 

• สีแดง แสดงอันตรายจากไฟ (Flammability) 

• สีน้ําเงิน แสดงอันตรายต่อสุขภาพ (Health) 

• สีเหลือง แสดงความไวต่อปฏิกิริยาของสาร (Reactivity) 

• สีขาวแสดงคุณสมบัติพิเศษของสาร และใช้ตัวเลข 0 ถึง 4 แสดงถึงระดับ อันตราย 

3. ระบบ EEC 

   ตามข้อกําหนดของประชาคมยุโรป ที่ 67/548/EEC สัญลักษณ์แสดงอันตราย จะแบ่งออก ตามประเภทของอันตราย โดยใช้รูปภาพสีดําเป็นสัญลักษณ์แสดง อันตรายบนพื้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีส้ม และมีอักษรย่อ กํากับที่มุมขวา ซึ่ง สัญลักษณ์เหล่านี้ปรากฏอยู่ที่ฉลากของสารเคมีที่ใช้ในสหภาพยุโรป 

4. ระบบ GHS - The Globally Harmonized System of Classification and Labeling of Chemicals ระบบการจัดกลุ่มผลิตภณฑั ์เคมีและการติดฉลากที่องค์การสหประชาชาติได้กําหนดขึ้น เพื่อให้เป็นระบบสากลในการจําแนกหรือการจัดกลุ่มความเป็นอันตรายและการสื่อ สาร ความเป็นอันตรายของ สารเคมีในรูปแบบของการแสดงฉลากและ เอกสารข้อมูลความ ปลอดภัยในการทํางานกับสารเคมี (Safety Data Sheet, SDS) ที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก ซึ่งสัญลักษณ์ที่ปรากฏในระบบ GHS นั้น หากไม่นับรวมสัญลักษณ์ใหม่ที่ทําขึ้นมาใช้สําหรับ ความเป็นอันตราย ต่อสุขภาพบางชนิด เครื่องหมายตกใจ (exclamation mark) และปลา กับต้นไม้(fish and tree) สัญลักษณ์มาตรฐานดังกลาวได ่ ้มการน ี ํามาใชในข ้ ้อกําหนดของ สหประชาชาติที่เป็นต้นแบบเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอันตราย (ระบบ UN ที่กล่าวข้างต้น) อยู่แล้ว สัญลักษณ์โดยที่แผนการ ดําเนินงานของ ที่ประชุมสุดยอดเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (WSSD) ซึ่งจัดทําขึ้นที่กรุงโยฮันเนสเบิร์ก เมื่อปี 2545 สนับสนุนให้ประเทศต่างๆ มีการนํา ระบบ GHS นี้ไปปฏิบัติให้เร็วที่สุด โดยมีแนวทางให้นําระบบนี้ไปใช้ได้อย่าง สมบูรณ์ภายใน ปี 2551 


บทเรียนออนไลน์ e-learning ประกอบการเรียนการสอน