แผนจัดการเรียนรู้

หน่วยการเรียนรู้ :  สารเคมีในชีวิตประจำวัน 

ชั้นประถมศึกษาปีที่2 เวลา 20 ชั่วโมง 


ขอบเขตเนื้อหา


1.ความหมายของสารเคมีในชีวิตประจำวัน

2.ประเภทของสารเคมีในชีวิตประจำวัน


วัตถุประสงค์การเรียนรู้


1.เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจความสำคัญของสารเคมีในชีวิตประจำวัน 

  2.เพื่อแยกประเภทของสารเคมีในชีวิตประจำวัน

มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

สาระการเรียนรู้ มาตรฐาน ว  1.2  เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของสารเคมีในชีวิตประจำวัน

ตัวชี้วัด ว 1.2  ป.2/1  อภิปรายความสำคัญต่างๆ ของสารเคมีในชีวิตประจำวัน  

          ว 1.2 ป.2/2  แยกประเภทของสารเคมีในชีวิตประจำวัน

สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

     สารเคมีในชีวิตประจำวันหมายถึง สารหลายชนิดซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน สารที่ใช้ในชีวิตประจำวันจะมีสารเคมีเป็นองค์ประกอบ ซึ่งสามารถจำแนกเป็นสารสังเคราะห์และสารธรรมชาติ เช่น สารปรุงรสอาหาร สารแต่งสีอาหาร สารทำความสะอาด สารกำจัดแมลงและสารกำจัดศัตรูพืช เป็นต้น 

สาระการเรียนรู้

1 ความรู้ 

2 ทักษะ/กระบวนการ 

3 เจตคติ  

สมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียน

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

กิจกรรมการเรียนการสอน

ขั้นนำ 

1.ครูสนทนาซักถามความรู้เดิมเกี่ยวกับสารเคมีในชีวิตประจำวันที่นักเรียนได้เรียนรู้ เพื่อตรวจสอบความรู้เดิมของนักเรียน 

2.ครูชี้แจงเป้าหมายการเรียนรู้ ในเรื่อง สารเคมีในชีวิตประจำวัน 

3.ครูผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสนทนาและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ สารเคมีในชีวิตประจำวัน

4.สร้างแรงบันดาลใจและจูงใจนักศึกษาให้เห็นถึงความสำคัญของกระบวนการและความสำคัญของสารเคมีในชีวิตประจำวัน

5.นักศึกษาทำแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อประเมินความรู้พื้นฐานและพัฒนาการของการเรียนรู้

ขั้นสอน 

1. ครูผู้สอนบรรยายเนื้อหาบทที่ 1 และใช้คำถาม กิจกรรม เพื่อตรวจสอบความรู้ ความเข้าใจ

2. แบ่งกลุ่มศึกษาค้นคว้า

3. แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเพื่อนๆร่วมแสดงความคิดเห็น

ขั้นสรุป 

1. ครูผู้สอนสรุปผลการนำเสนอจากแนวคิดของผู้เรียน

2. ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนเพื่อประเมินความก้าวหน้า

3. สรุปผลการเรียนรู้จากการสังเกตการทำกิจกรรมในชั้นเรียน เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป

สื่อการสอน

1.เอกสารประกอบการสอน PDF 

2.บทเรียนออนไลน์ 






 









การวัดผลประเมินผล

1. การวัดผล สังเกตได้จากสิ่งต่อไปนี้

  1.1 การสนทนาซักถาม แสดงความคิดเห็น

  1.2 การมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่มและหน้าที่

  1.3 ผลงานที่ร่วมกันศึกษาค้นคว้าและนำเสนอ

2. การประเมินผล

  2.1 ความรู้ความเข้าใจ กล้าแสดงออก

  2.2 การมีส่วนร่วมในงานกลุ่มและผลของการนำเสนอ

  2.3 การทำแบบทดสอบออนไลน์เพื่อกระตุ้นความจำและเข้าใจ



บทเรียนออนไลน์ e-learning ประกอบการเรียนการสอน