มาตรฐานที่ 2

กระบวนการบริหารและจัดการของผู้บริหาร

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและจัดการของผู้บริหาร

มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา

ระดับคุณภาพ ดีเยี่ยม

๑. กระบวนการพัฒนา

ผู้บริหารสถานศึกษาใช้หลักการในการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดคุณภาพและประสิทธิภาพดังนี้

๑. การตัดสินใจที่ยึดโรงเรียนเป็นฐาน โรงเรียนมีอิสระในการตัดสินใจด้วยตนเอง โดยยึดประโยชน์ที่เกิดกับผู้เรียนเป็นสำคัญ

๒. การมีส่วนร่วม ให้องค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการ ร่วมแสดงความคิดเห็น และร่วมกำกับติดตาม ดูแล

๓. การกระจายอำนาจ โดยแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโรงเรียนทำงานควบคู่กับฝ่ายบริหาร

๔. ความรับผิดชอบที่สามารถตรวจสอบได้ มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบและภารกิจของผู้รับผิดชอบ เพื่อเป็นหลักประกันคุณภาพการศึกษา

๕. ธรรมาภิบาล ยึดหลักความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีประสิทธิภาพ

ในการบริหาร ผู้บริหารสถานศึกษาได้ใช้กระบวนการทำงานร่วมกันของบุคลากรและทรัพยากรต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร ได้แก่ กระบวนการทำงานเชิงระบบ (PDCA) กระบวนการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน และกระบวนการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

ผู้บริหารสถานศึกษาได้ใช้หลักการและกระบวนการบริหารดังกล่าวมาดำเนินการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ และแผนกลยุทธ์ ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่ครอบคลุมทั้งด้านวิชาการ บุคลากร สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา รวมถึงการจัดหาทรัพยากร การจัดสรรงบประมาณในการพัฒนา มอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบดำเนินการ โดยมีการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ ดังนี้

๑. ให้ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาทุกฝ่ายเข้ามีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ และแผนกลยุทธ์ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

๒. กำหนดนโยบายและแนวทางการบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพทางด้านวิชาการ บุคลากร การจัดการข้อมูลสารสนเทศ และการจัดการด้านสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ได้แก่

- การจัดหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย ส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน การวางแนวปฏิบัติในการวัดผลประเมินผลที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน

- ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรในสถานศึกษาได้พัฒนาตนเองทั้งในและนอกสถานที่ ทำให้สถานศึกษาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

- พัฒนาอาคารสถานที่และบรรยากาศภายในสถานศึกษาให้มีความทันสมัย สวยงาม เพิ่มพื้นที่ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน

- ในการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศ มีกระบวนการพัฒนาระบบสารสนเทศ ดังภาพ

๓. เข้าร่วมประชุมและประสานกับองค์กรต่างๆ ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สมาคมผู้ปกครองและครูฯ สมาคมศิษย์เก่าฯ มูลนิธิโรงเรียนทวีธาภิเศก ชมรมครูเก่า เครือข่ายผู้ปกครอง สร้างเครือข่ายทางการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

๔. ประชุมร่วมกับทุกฝ่าย ได้แก่ คณะกรรมการบริหารโรงเรียน กลุ่มบริหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ กลุ่มงานต่างๆ เพื่อกำกับติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนิ่อง

๒. ผลการพัฒนา

๒.๑ สถานศึกษามีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจ สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนาของสถานศึกษา นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติอย่างชัดเจน

๒.๒ สถานศึกษามีแผนและการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการบริหารและการจัดการศึกษาที่มีความครอบคลุมทุกด้าน ดังนี้

- แผนพัฒนาวิชาการที่เน้นผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย และดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม

- แผนพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ มีความรู้ความสามารถและทักษะตามมาตรฐานตำแหน่ง

- การบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศมีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย และดำเนินการอย่างเป็นระบบ

- จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีความสะอาดร่มรื่น เอื้อต่อการเรียนรู้

๒.๓ องค์กรต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และกำกับดูแล มีเครือข่ายความร่วมมือทั้งด้านวิชาการและระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ทำให้การจัดการศึกษามีคุณภาพและได้มาตรฐาน

๒.๔ สถานศึกษามีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษาที่เหมาะสม เป็นระบบ และต่อเนื่อง และเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม

๓. จุดเด่น

ผู้บริหารสถานศึกษามีหลักการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบแบบมืออาชีพ เน้นการมีส่วนร่วมในทุกระดับ มีรูปแบบของกระบวนการบริหารที่ชัดเจนที่เรียกว่า หลัก ๕ ดี คือ

๑. ผู้บริหารดี หมายถึง ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ หัวหน้างานต่างๆ เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการ มีคุณธรรมจริยธรรมในการบริหาร และมีภาวะผู้นำ

๒. ครูดี หมายถึง การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้และทักษะแบบมืออาชีพ ในการจัดการเรียนการสอน มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน เป็นตัวอย่างที่ดี

๓. แหล่งเรียนรู้ดี หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน

๔. สื่อและเทคโนโลยีดี หมายถึง การจัดหาสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนการสอน การบริการข้อมูลสารสนเทศ และการบริหารจัดการ

๕. การบริหารจัดการที่ดี หมายถึง การบริหารจัดการที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน การมีส่วนร่วม การกระจายอำนาจ และหลักธรรมาภิบาล

๔. จุดควรพัฒนา

๑. วิธีการประเมินผลการดำเนินงาน โครงการ กิจกรรม ตามแผนปฏิบัติการประจำปี ในเชิงคุณภาพ ไม่สอดคล้องกับตัวชี้วัดความสำเร็จของมาตรฐานการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

๒. การสร้างทีมงานคุณภาพในการปฏิบัติงานต่างๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อความสำเร็จของงานนั้นๆ




มาตรฐานที่2 new.pdf