ฮอร์โมนเพิ่มน้ำยางพารา

กลับสู่หน้าหลัก กระดานสนทนายาง การสั่งซื้อ ปุ๋ยแคปซูล ติดต่อเรา

Webนี้ สนับสนุนให้ประเทศไทยเป็น อันดับ 1 ในการผลิตและการส่งออกยางพาราไปทั่วโลก ศึกษารายละเอียดได้ที่ Web นี้ คลิกที่นี้เลย

นวัตกรรมใหม่ ในการเพิ่มน้ำยางพารา ด้วยฮอร์โมนเอทธิลีน

กับอุปกรณ์คุณภาพมาตรฐาน นำเข้าจากมาเลเซีย

ชุดหนึ้งใช้งานได้ยาวนานถึง 5-7 ปี คุ้มค่าการลงทุน

ตารางการเปรียบเทียบ รายได้ที่เพิ่มขึ้น 3-4 เท่า ทำงานน้อยลง อายุยางเพิ่มขึ้น

รายได้ที่เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบ การกรีดยาง

ระบบปกติ กับ ระบบกรีดหน้าสั้น จากพื้นที่สวนยาง 1 ไร่ ต่อ 1 ปี (10เดือน)

เทคโนโลยีใหม่ ในเพิ่มปริมาณน้ำยางพารา

ด้วย ฮอร์โมน จากประเทศมาเลเซีย

เห็นผล 100% ภายใน 24 ชั่วโมง ผลผลิตน้ำยางเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม

และช่วยยืดอายุต้นยางอีกนับ 10 ปี โดยการกรีดระบบสั้น

ไม่ว่า ยางจะมีราคาอย่างไรก็ตาม เมื่อท่านใช้เทคโนโลยีของเรา รายได้จะเพิ่มขึ้น 3-4 เท่าจากเดิม และเป็นการประหยัดหน้ายาง ทำให้อายุในการกรีดยางได้เพิ่มขึ้นอีกนับ 10 ปี ด้วยครับ

สอบถามรายละเอียดได้ที่ : 087-147-4831 ทุกวัน

ID Line :0871474831

Email : yangthai18@gmail.com

ศึกษาการใช้ฮอร์โมน ร่วมกันการเจาะ คลึกที่นี่เลยครับ

ข่าวสารเทคนิคการทำสวนยาง ด้วยเอทธิลีน คลิ๊กที่นี่เลยครับ

ความเป็นมาในการใช้ฮอร์โมนในการเพิ่มปริมาณน้ำยางพารา

นับ เป็นเวลาที่เนิ่นนาน ที่มนุษย์พยายามค้นหาวิธีในการที่จะเพิ่มผลผลิตน้ำยางพาราให้ได้มากกว่าที่ เป็นอยู่ ในที่สุดก็พบว่าในทุกครั้งที่มีการกรีดยางหรือทำให้เปลือกยางได้รับบาดแผลจน น้ำยางไหลออกมา ต้นยางก็จะสร้างฮอร์โมนพืชที่มีชื่อว่า “เอทธิลีน” ขึ้นในบริเวณเปลือกยางโดยเอทธิลีนจะมีผลต่อการไหลของน้ำยาง ในปัจจุบันจึงมีการผลิตแก๊สเอทธิลีน ซึ่งถือเป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติเหมือนฮอร์โมนพืช มาเป็นตัวการเร่งหรือกระตุ้นให้ได้น้ำยางมากขึ้นกว่าเดิม 3-10 เท่าต่อวัน หรือ 2.5-4 เท่าต่อเดือน

หากจะย้อนเวลาเพื่อดูความพยายามของผู้คนในการจะเพิ่มผลผลิตน้ำยาง ก็พอจะมีบันทึก ไว้บ้าง ดังนี้

  • พ.ศ. 2455 Camerun พบว่าส่วนผสมของมูลโคและดินเหนียว ทาใต้รอยกรีด จะช่วยเร่งน้ำยางได้

  • พ.ศ. 2494 Tixier พบว่าจุนสี หรือ CuSo4 ที่ฝังในรูที่เจาะไว้ที่โคนยาง 2 รู ทำให้ผลผลิตยางเพิ่มเป็นเวลา 3 เดือน และ G.W. Chapman พบว่า 2,4-D ผสมน้ำมันปาล์มทาใต้รอยกรีดที่ขูดเปลือก ทำให้ผลผลิตน้ำยางเพิ่มขึ้น ซึ่งต่อมาได้มีการปรับปรุงส่วนผสมใหม่ ได้เป็นสารเคมีเร่งน้ำยางสูตรใหม่ ภายใต้ชื่อ Stimulex และผลิตออกขายเป็นระยะเวลานาน

  • พ.ศ. 2504 พบว่า เอทธิลีนออกไซด์ ทำให้น้ำยางไหลมากขึ้น

  • พ.ศ. 2507 นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย ได้ผลิตสารที่ให้เอทธิลีนขึ้นมา ชื่อว่า อีเทฟอน(Ethephon) ซึ่งสามารถเร่งน้ำยางได้

  • พ.ศ. 2508 บริษัทยูเนียนคาร์ไบด์ ได้ผลิตสารอีเทฟอน เพื่อเชิงการค้าโดยใช้ชื่อว่า อีเทรล (Ethrel)

  • พ.ศ. 2511 Bonner ได้ทดลองใช้พลาสติกหุ้มเหนือรอยกรีด โดยภายในบรรจุด้วยแก๊สเอทธิลีน พบว่า ทำให้มีผลผลิตน้ำยางเพิ่มขึ้นอย่างมาก จึงได้ข้อสรุปว่า สารที่เป็นฮอร์โมนและสามารถปลดปล่อยแก๊สเอทธิลีนได้ สามารถเร่งหรือเพิ่มผลผลิตน้ำยางได้

คุณสมบัติพิเศษของเอทิลีน

เอทิลีน เป็นฮอร์โมนพืชชนิดเดียวที่อยู่ในรูปแก๊ส และมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชเป็นอย่างมากไม่มีสี มีกลิ่นเล็กน้อย จัดเป็นสารอินทรีย์ประเภทไฮโดรคาร์บอน ที่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของสารที่มีคาร์บอน และเกิดจากการสร้างขึ้นของพืช

จากการพิสูจน์พบว่า สารเอทิลีนเป็นฮอร์โมนพืช สามารถกระตุ้นการสุกของผลไม้หลายชนิด โดยพืชชนิดต่างๆ ผลิตเอทิลีนจากกระบวนการเมทาบอลิซึ่ม (metabolism) ในส่วนของลำต้น ใบ ดอก ผล เมล็ด และรากเป็นต้น นอกจากนี้เอทิลีนจะช่วยเร่งให้เกิดน้ำยางในต้นยางพารา ส่งผลให้น้ำยางไหลเร็วและนานขึ้น จึงมีความสำคัญกับต้นยางพาราเป็นอย่างมาก

เมื่อมีการกรีดยางพาราทุกครั้ง เท่ากับต้นยางมีแผลสารเอทิลีนจะออกฤทธิ์คือ กรด chloroethylphosphonic ซึ่งมีผลในการเร่งการไหลของน้ำยาง ทำให้ได้รับผลผลิตน้ำยางเพิ่มขึ้น เพราะเอทิลีนไปเร่งการทำงานของเอนไซม์ ATPase ทำให้โปรตอนเกิดการเหนี่ยว และเข้าสู่เซลล์การสังเคราะห์ยาง จะช่วยเร่งการเคลื่อนย้ายน้ำตาลซูโครส ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์น้ำยาง

นอกจากนี้ยังทำให้สภาพภายในเซลล์สังเคราะห์ยางมีความเป็นกรดด่างมากขึ้น และเร่งการเคลื่อนย้ายของโมเลกุลน้ำในเซลล์ข้างเคียงเข้าสู่เซลล์สังเคราะห์ยาง ทำให้น้ำยางไหลนานกว่าปกตินั่นเอง

เอทธิลีนช่วยเพิ่มน้ำยางได้อย่างไร

แก๊สเอทธิลีนจะทำให้เม็ดยางในน้ำยางจับตัวช้าลง น้ำยาจึงสามารถไหลออกจากต้นยางได้นานกว่าปกติ เมื่อกรีดหรือเจาะเปลือก จึงเป็นการเพิ่มผลผลิตของน้ำยางอย่างหนึ่ง อีกทั้งถ้ามีการดำเนินการมาตั้งแต่เริ่มต้นเปิดกรีดใหม่ จะช่วยขยายอายุการกรีดยางได้มากกว่า 50 ปี

การเพิ่มเอทธิลีนให้กับต้นยางดีอย่างไร

ระบบการเพิ่มฮอร์โมนเอทธิลีน คือการเพิ่มระดับฮอร์โมนที่ขาดหายไปในโครงสร้างต้นยางให้เกิดความสมดุลขึ้น ทำให้ระบบต่าง ๆ ของต้นยางสมบูรณ์ขึ้นส่งผลให้

- การทำงานของรากแข็งแรงขึ้น

- การลำเลียงอาหารสมบูรณ์ขึ้น

- การสังเคราะห์แสงสมบูรณ์ขึ้น

- การผลิตน้ำยางปริมาณมากขึ้น

- การขยายตัวของท่อน้ำยางมากขึ้น

- ระบบภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ จะดีขึ้น

เทคโนโลยีการเพิ่มฮออร์โมน คือ การเพิ่มระดับฮอร์โมนที่ขาดหายไปในโครงสร้างต้นยางให้เกิดความสมดุลขึ้นทำให้ระบบต่างๆของต้นยางสมบูรณ์ขึ้น โดยมีวิธีการ คือ ติดตั้งอุปกรณ์กับต้นยาง ที่สมบูรณ์และมี่อายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป เมื่อติดตั้งแล้ว จะมีระยะเวลาการเติมฮอร์โมนทุก 7วัน และวิธีการกรีดเพื่อให้ได้ปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ต้นยางมีบาดแผลน้อยที่สุด ส่งผลให้ต้นยางยังคงความสมบูรณ์ ช่วยยืดอายุการใช้งานได้อย่างยั่งยืน

โดยมีหลักการดังนี้

1. กรีดยางหน้าสั้น 4 นิ้ว คือการกรีดยางโดยใช้พื้นที่ของเปลือกยางกว้างเพียง 4 นิ้ว ทำให้ประหยัดพื้นที่หน้ายาง และยืดอายุการใช้งานของต้นยางได้นานขึ้น โดยปกติเราจะกรีดเปลือกยางกว้าง 8-12 นิ้ว ทำให้สูญเสียพื้นที่ของเปลือกยางโดยเปล่าประโยชน์ ทำให้อายุการใช้งานของต้นยางสั้นลง

2. กรีดยางจากด้านล่างขึ้นด้านบน เนื่องจากโดยปกติท่อน้ำยางจะไหลเวียนรอบต้นยางในลักษณะจากด้านบนขวาลงมาด้านซ้ายล่าง การกรีดจากด้านล่างขึ้นด้านบนจะกรีดขึ้นไปรับท่อน้ำยางใหม่ตลอด ทำให้ได้ผลผลิตมากกว่า

3. กรีดยางหน้าเฉียง 45 องศา จะทำให้พื้นที่การกรีดตัดท่อน้ำยางใหม่มาทกี่สุด และทำให้การไหลของน้ำยางลงสู่ถ้วยรองรับได้สะดวก ไม่หกตามหน้ายาง

4. กรีดยางตอนเย็น (ช่วง 4-6 โมงเย็น) ระบบนี้ น้ำยางไหลประมาณ 12-15 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ภูมิประเทศ ความสมบูรณ์ของดินและต้นยาง จากการเปรียบเทียบการกรีดยางช่วงเย็นประมาณ 4-6 โมงเย็น การไหลของน้ำยางผ่านช่วงเวลากลางคืน ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำ มีลมพัดโกรกน้อย ทำให้หน้ายางแห้งช้า ปริมาณผลผลิตที่ได้มากกว่าการกรีดช่วงเวลาอื่น

5. กรีด 1 วันเว้น 2 วัน เป็นระยะการกรีดที่เหมาะสมที่สุด เพราะเทคโนโลยีการเพิ่มฮออร์โมน จะให้ผลผลิตน้ำยางในปริมาณมาก การกรีด 1 วัน เว้น 2 วัน เพื่อให้ท่อน้ำยางได้พัก ประมาณ 48 ชั่วโมง มีเวลาในการดูดน้ำ แร่ธาตุ เพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสงผลิตเป็นน้ำยาง จึงทำให้ต้นยางสมบูรณ์ตลอดเวลา และมีข้อดีคือ ทำให้ไม่เกิดโรคหน้ายางตายนึ่ง ซึ่งส่วนมากมีสาเหตุจากการกรีดยางมากเกินไป โดยไม่ได้พักหน้ายาง

ศึกษาเรื่อง เอทธิลีน เพิ่มเติมได้จาก ที่นี้ครับ คลิกที่นี่เลย

ดูวิธีติดตั้งอุปกรณ์ส่งฮอร์โมน กับยางหน้าตายนึ่ง ในyoutube ด้านล่างนี้

คลิปที่2 คลิกที่นี่เลย

ดูวิธีการติดตั้งอุปกรณ์ทั้ง 3 แบบ กับต้นยางที่กำลังกรีดอยู่ ด้านล่างนี้ครับ

ขั้นตอนในการติดตั้ง ง่ายๆ

- ผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยตามมาตรฐานการผลิตสากล

- ไม่ต้องห่วงเรื่องรั่วซึม , แมลงไม่กัด

- ผลิตด้วยวัสดุที่คงทนต่อแสงยูวี มีอายุการใช้งานได้นานกว่าปกติ

- ช่วยประหยัดปริมาณฮอร์โมนที่ใช้

- ไม่ต้องเปลี่ยนถุงบรรจุฮอร์โมน และไม่ต้องใช้กาวซ่อมภายในระยะเวลา 1 ปี

- มีระบบวาล์วที่ช่วยให้สะดวกในการเติมฮอร์โมนและควบคุมปริมาณได้แน่นอน

- มีระบบการระบายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากต้นยางที่ไม่ยุ่งยาก

- สามารถติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็วเพียงต้นละ 1 นาที ไม่ต้องจ่ายค่าติดตั้ง

- สามารถพิสูจน์ว่าเพิ่มผลผลิตได้จริงภายใน 1 วัน

- ลงทุนต่ำ คืนทุนภายใน 1 เดือน

- มีระบบรับประกันคุณภาพสินค้าและความพึงพอใจ

ประสบการณ์จริงของผู้ใช้จริง

จุดเด่นเฉพาะตัวของอุปกรณ์นี้

น้ำยางพาราได้มากจนต้องใช้ถังรอง

น้ำยางพาราได้มากจนต้องใช้แกลอน 5 ลิตร รองน้ำยางก็ได้ครับใช้คนเห็นแล้ว อิจฉากันไปเลย

เปิดกรีดหน้าสั้นเพียง 4 นิ้วเอง รอยกรีด 45 องศา กรีด 1 วัน หยุด 2 วัน

ตารางการเปรียบเทียบการกรีด

อุปกรณ์ติดสูงกว่ารอยกรีด 8 นิ้ว ห่าง 2 นิ้ว

เปิดหน้าแค่ 4 นิ้ว 1ปีกรีด100 ครั้ง ความสูงรอยกรีด 1 ศอก รอบต้นนี้ใช้กรีดได้ 8 ปี

ระบบนี้เป็นการเพิ่มอายุของต้นยาง ให้มีอายุ 50-60 ปี

ยางหน้าตาย ปิดหน้ามาแล้ว4 ปี ก็ยังมีน้ำยาง

เทคนิคการใช้งานจากประสบการณ์ผู้ใช้จริง คลิกเลย

ใช้ร่วมกันการจิ้ม-ใส่หลอด น้ำยางก็ได้ดีนักแล

สาเหตุ ที่ใช้อุปกรณ์ร่วมกับการเจาะ

ปริมาณน้ำยางมากจนต้องใช้แกลอนรองน้ำยาง

ยาง 500 ต้น ผลิตยางแผ่นได้ 50-70 แผ่นต่อวัน

จากเดิมได้ 8-12 แผ่นต่อวัน

ปริมาณน้ำยางมากจนต้องใช้ถ้วย 1.5ลิตร รองน้ำยาง

ยาง 200 ต้น ผลิตขี้ยางได้ 100-110 กิโลต่อวัน

จากเดิมได้ 15-20 กิโลต่อวัน

ใช้ร่วมการการเจาะได้ผลดีนัก

ดูวิธีการกรีดยางระบบนี้ และเปรียบเทียบการไหลของน้ำยางใน youtube ด้านล่างนี้

คลิปที่2 http://www.youtube.com/watch?v=pmhI7GsJjUo&feature=mfu_in_order&list=UL

ดูคลิปนี้ ผ่านมือถือ คลิกที่นี่เลยครับ

การตั้งรอยกรีดครั้งแรก ในการกรีดจาก ล่างขึ้นบน

ผลพิสูจน์เนื้อไม้ หลังการใช้ฮอร์โมน มานานมากกว่า 9 ปี

ไม่ทำให้เนื้อไม้เสีย ไม่ทำให้ยางตาย กรีดได้นานมากกว่า 10 ปี

ผมวิเคราะห์ การใช้ฮอร์โมนจาก นักวิชาการ

ข่าวสารจาก หนังพิมพ์คมชัดลึก :

ปัจจุบันประเทศไทยมีการปลูกยางพารามากที่สุดในโลก มีพื้นที่ปลูกกว่า 16 ล้านไร่ ให้ผลผลิตแล้ว 10 ล้านไร่ ได้ผลผลิตปีละ 3 ล้านตัน ต้นยางพาราส่วนใหญ่ที่เกษตรกรนิยมปลูกมากที่สุดก็คือ พันธุ์อาร์อาร์ไอเอ็ม 600 (RRIM 600) ให้ผลผลิตน้ำยางเฉลี่ยไร่ละ 270 กิโลกรัมต่อปี และปลูกมากว่า 40 ปีแล้ว ขณะที่ประเทศมาเลเซียมีการพัฒนาพันธุ์ยางไปถึงอาร์อาร์ไอเอ็ม 2025-3001 ให้ผลผลิตไร่ละกว่า 500 กิโลกรัมต่อไป

ยางพาราพันธุ์อาร์อาร์ไอเอ็ม 600 แม้จะให้ผลผลิตดีกว่ายางพาราพันธุ์พื้นเมือง แต่หากเทียบกับยางพาราที่ปลูกในประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียแล้ว ถือว่ายังล้าหลังมาก ที่สำคัญยางพาราพันธุ์อาร์อาร์ไอเอ็ม 600 มีอายุถึง 15 ปีขึ้นไป ฮอร์โมนเอทิลีน (Ethylene) ในต้นยางพาราลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้น้ำยางจับตัวเป็นก้อน และเกิดอุดตันในท่อน้ำยาง ทำให้น้ำยางไหลช้าลงเรื่อยๆ จนหยุดไหลเมื่อต้นยางพาราอายุมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีใหม่ จากประเทศมาเลเซีย ซึ่ง ดร.สิวา กุมาราน ค้นคว้าและวิจัยพัฒนาขึ้นมาเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิจัยและค้นคว้า ศูนย์วิจัยยาง ประเทศมาเลเซีย หรือ อาร์อาร์ไอเอ็ม (RRIM) (ปัจจุบันสถาบันวิจัยยาง มาเลเซีย) เมื่อกว่า 20 ปีก่อน เหมาะที่จะใช้กับยางพาราที่มีอายุเกิน 15 ปี เพื่อให้มีน้ำยางไหลเร็วกว่าปกติ จากเดิมน้ำยางจะไหลหลังจากกรีดนาน 3-4 ชั่วโมง เป็น 6-8 ชั่วโมง และให้ผลผลิตน้ำยางมากกว่าถึง 2-3 เท่าตัว

นายพนัส แพชนะ นักวิชาการชำนาญการ ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี อธิบายว่า เทคโนโลยีนี้คือ การเพิ่มระดับฮอร์โมนเอทิลีนที่ขาดหายไปในโครงสร้างของต้นยางพารา โดยการติดตั้งอุปกรณ์กับต้นยางที่อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป

หลังจากติดตั้งแล้วจะฉีดฮอร์โมนเอทิลีนซึ่งมีลักษณะคล้ายกับแก๊ส ไปตามสายยางผ่านวาล์วในอัตรา 0.02 กรัมต่อต้น จากนั้นฮอร์โมนวิ่งผ่านสายเข้าไปในถุงเก็บฮอร์โมนที่ติดกับต้นยางและจะซึมเข้าในเปลือกยาง โดยใช้ระยะเวลาการเติมฮอร์โมนทุก 7-10 วัน เมื่อเติมฮอร์โมนเอทิลีนแล้วจะกรีดยาง 1 วัน เว้นอีก 2 วัน จะได้ผลผลิตมากกว่า3 เท่า ที่สำคัญจะกรีดยางตอนกลางหรือตอนเย็นก็ได้ เหมาะอย่างยิ่งกับพื้นที่อันตรายโดยเฉพาะ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

สวนยางที่ใช้เทคโนโลยีนี้ นอกจากจะให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นแล้ว นายพนัสยืนยันว่า ทำให้ต้นยางมีบาดแผลน้อยที่สุด เนื่องจากจะกรีดหน้าสั้นเพียง 4 นิ้วเท่านั้น จากปกติกรีดยาว 8-12 นิ้ว นอกจากนี้ยังให้ต้นยางคงความสมบูรณ์ ช่วยยืดอายุการใช้งานได้อย่างยั่งยืนเป็นเวลา 50-60 ปี จากเดิมพอต้นยางอายุ 25 ปี ต้องโค่นปลูกใหม่ ส่วนวิธีการกรีดนั้น จะกรีดจากด้านล่างขึ้นด้านบน ในลักษณะเฉียง 45 องศา เนื่องจากโดยปกติท่อน้ำยางจะไหลเวียนรอบต้นยางในลักษณะจากด้านบนขวาลงมาด้านซ้ายล่าง

สำหรับประเทศไทย มีการนำเทคโนโลยีตัวนี้มาเมื่อ 11 ปีที่แล้ว ครั้งแรกทดลองใช้ในสวนยางพาราที่ อ.ช้างกลาง จ.นครศรีธรรมราช ปัจจุบันมีเกษตรกรติดตั้งอุปกรณ์ประมาณ 4 ล้านต้นไร่ ล่าสุดรัฐบาลได้จัดงบประมาณปี 2552 ให้สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางนำไปฝึกอบรมและสาธิตการใช้เทคโนโลยีนี้ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อลดความเสี่ยงในพื้นที่อันตราย เพราะเทคโนโลยีตัวนี้สามารถกรีดยางในเวลากลางวันได้ และกรีด 1 วันหยุด 2 วันด้วย

ด้าน ดร.สิวา กุมาราน อดีตผู้อำนวยการวิจัยและค้นคว้า สถาบันวิจัยยาง มาเลเซีย กล่าวว่า ประสบผลสำเร็จจากการวิจัยและค้นคว้าพัฒนาเทคโนโลยีนี้ เมื่อปี 2533 เริ่มจากต้นยางพาราที่มีอายุ 20 ปี ต่อมาใช้กับยางพาราอายุ 15 ปี ล่าสุดมีการใช้กับต้นยางพาราอายุ 12 ปี โดยเบื้องต้นที่คิดเทคโนโลยีตัวนี้ เกิดจากการที่มาเลเซียขาดแคลนแรงงานที่จะกรีดยาง ทางสถาบันวิจัยยาง มาเลเซียจึงให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมา หลังจากที่เขาประสบผลสำเร็จในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่แล้ว รัฐบาลมาเลเซียนำไปแจกให้เกษตรกรรายย่อยที่มีสวนยางพาราไม่เกิน 10 ไร่ เมื่อ 20 ปีก่อน กระทั่งปัจจุบันชาวสวนยางในประเทศมาเลเซียมีการติดตั้งอุปกรณ์นี้เกือบ 100% โดยที่ต้นยางไม่มีผลกระทบใดๆ ทั้งสิ้น และเขาเองได้ลาออกจากตำแหน่งมาทำธุรกิจเต็มตัวแล้ว

ขณะที่นายก้อเส็ม โบบทอง ชาวสวนยางพาราจาก ต.บ่อแสน อ.ทับปุด จ.พังงา กล่าวว่า มีสวนยางอยู่ 70 ไร่ เดิมที่กรีดได้ต้นละ 400 ซีซีต่อ 1 วัน หลังจากที่ได้ติดตั้งอุปกรณ์ เมื่อ 9 ปีก่อน ผลผลิตได้ต้นละ 1,000 ซีซี กรีดในเวลา 16.00 น.เป็นต้นไป หากมีต้นยาง 1,000 ต้น จะได้น้ำยางวันละ 1 ตัน ถือว่าคุ้มค่ากับการลงทุน เนื่องจากได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น แต่เวลาทำงานน้อยลง

"ตอนที่ผมติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ๆ ต้นยางของผมมีอายุเพียง 14 ปีเท่านั้น ปัจจุบันต้นยางพารามีความสมบูรณ์มากขึ้น เนื่องจากได้รับฮอร์โมนเอทิลีน และและลดเวลาการกรีดจากทุกวันมาเป็น 1 วัน เว้น 2 วัน ที่สำคัญเวลาที่เหลืออีก 2 เท่าตัวนั้น สามารถไปทำอย่างอื่นได้อีก" นายก้อเส็ม กล่าวว่า นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของเกษตรกรชาวสวนยางพารา ที่จะยกระดับรายได้ให้มากขึ้น ขณะที่เวลาทำงานลดน้อยลงอีกด้วย

ข่าวสารจาก ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ

การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตยางพารา เทคโนโลยีใหม่ คือ การเพิ่มระดับฮอร์โมนที่ขาดหายไปในโครงสร้างต้นยางให้เกิดความสมดุลขึ้นทำให้ระบบต่างๆของต้นยางสมบูรณ์ขึ้น

จากการที่ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดเทคโนโลยี เรื่อง “ การใช้เทคโนโลยีเพ่อเพิ่มผลผลิตยางพารา" เมื่อวันพุธที่ 8 เมษายน 2552 ณ ห้องบรรยาย ทธ. 260 คณะทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งตัวเอง ได้มีโอกาสเข้าอบรมครั้งนี้ด้วย การจัดอบรมครั้งนี้มีการตอบรับจากทั้งทางเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบการจำนวนมาก จึงขอหยิบยกเนื้อหาสาระจากการอบรมมาเล่าสู่กันฟังนะคะ เริ่มจากการกล่าวรายงานการจัดกิจกรรมของหัวหน้าภาควิชาพืชศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์อิบรอเฮม ยีดำ โดยได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดอบรมครั้งนี้ขึ้น กล่าวคือ “เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพการทำสวนยางได้ เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ต้องมีการศึกษากันว่าพันธุ์ยางที่เกษตรกรใช้กันอยู่มีความเหมาะสมหรือไม่ ประกอบกับการที่ต้นยางพารามีอายุการกรีดที่สั้นลง จึงต้องมีการหาระบบกรีดที่มีประสิทธิภาพที่สามารถยืดอายุการกรีดของต้นยางได้ รวมทั้งการขยายตัวของอุตสาหกรรมยางพาราโดยไม่มีการสนใจในส่วนของการจัดการสวนซึ่งเป็นปัจจัยต้นเหตุ และปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นในด้านปัจจัยการผลิตต่างๆโดยเฉพาะปุ๋ยเคมี จากปัญหาหลายอย่างที่กล่าวมาทำให้ต้องมีการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการเพิ่มผลผลิตยางพารา โดยเฉพาะพันธุ์ RRIM 600 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูก” จากนั้นก็เป็นการกล่าวเปิดการอบรมโดยท่านคณบดี รองศาสตราจารย์ ดร. วัลลภ สันติประชา

ขอนำเสนอทีละเทคโนโลยีตามลำดับของการบรรยายในการอบรมนะคะ เริ่มจาก “เทคโนโลยีการเพิ่มฮออร์โมน โดยคุณพนัส แพชนะ นักวิชาการชำนาญการ ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นศิษย์เก่ารุ่นที่ 4 (NR4) ของคณะทรัพยากรธรรมชาติ (อีกหนึ่งความภาคภูมิใจของผลิตผลจากทางคณะฯค่ะ) เข้าเรื่อง เทคโนโลยีการเพิ่มฮออร์โมน กันเลยดีกว่านะคะ เทคโนโลยีการเพิ่มฮออร์โมน คือ เทคโนโลยีที่เป็นผลงานวิจัยและพัฒนาของศูนย์วิจัยยาง ประเทศมาเลเซีย หรือที่ รู้จักกันในนาม Rubber Research Institute of Malaysia (RRIM) หรือปัจจุบัน คือ MRB โดย ดร. สิวา กุมาราน ซึ่งได้ใช้เวลาในการทดลองภาคสนามมากกว่า 10 ปี จนแน่ใจว่าสามารถเพิ่มผลผลิตให้กับต้นยางจริง โดยไม่ทำให้ต้นยางทรุดโทรมเสียหาย หรือไม้ยางมีตำหนิขายไม่ได้ราคา

เทคโนโลยีการเพิ่มฮออร์โมน คือ การเพิ่มระดับฮอร์โมนที่ขาดหายไปในโครงสร้างต้นยางให้เกิดความสมดุลขึ้นทำให้ระบบต่างๆของต้นยางสมบูรณ์ขึ้น โดยมีวิธีการ คือ ติดตั้งอุปกรณ์กับต้นยาง ที่สมบูรณ์และมี่อายุตั้งแต่ 12-15 ปีขึ้นไป เมื่อติดตั้งแล้ว จะมีระยะเวลาการเติมฮอร์โมนทุก 7-10 วัน และวิธีการกรีดเพื่อให้ได้ปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ต้นยางมีบาดแผลน้อยที่สุด ส่งผลให้ต้นยางยังคงความสมบูรณ์ ช่วยยืดอายุการใช้งานได้อย่างยั่งยืน

โดยมีวิธีการดังนี้

1. กรีดยางหน้าสั้น 4 นิ้ว คือการกรีดยางโดยใช้พื้นที่ของเปลือกยางกว้างเพียง 4 นิ้ว ทำให้ประหยัดพื้นที่หน้ายาง และยืดอายุการใช้งานของต้นยางได้นานขึ้น โดยปกติเราจะกรีดเปลือกยางกว้าง 8-12 นิ้ว ทำให้สูญเสียพื้นที่ของเปลือกยางโดยเปล่าประโยชน์ ทำให้อายุการใช้งานของต้นยางสั้นลง

2. กรีดยางจากด้านล่างขึ้นด้านบน เนื่องจากโดยปกติท่อน้ำยางจะไหลเวียนรอบต้นยางในลักษณะจากด้านบนขวาลงมาด้านซ้ายล่าง การกรีดจากด้านล่างขึ้นด้านบนจะกรีดขึ้นไปรับท่อน้ำยางใหม่ตลอด ทำให้ได้ผลผลิตมากกว่า

3. กรีดยางหน้าเฉียง 45 องศา จะทำให้พื้นที่การกรีดตัดท่อน้ำยางใหม่มาทกี่สุด และทำให้การไหลของน้ำยางลงสู่ถ้วยรองรับได้สะดวก ไม่หกตามหน้ายาง

4. กรีดยางตอนเย็น (ช่วง 4-6 โมงเย็น) ระบบนี้ น้ำยางไหลประมาณ 12-15 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ภูมิประเทศ ความสมบูรณ์ของดินและต้นยาง จากการเปรียบเทียบการกรีดยางช่วงเย็นประมาณ 4-6 โมงเย็น การไหลของน้ำยางผ่านช่วงเวลากลางคืน ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำ มีลมพัดโกรกน้อย ทำให้หน้ายางแห้งช้า ปริมาณผลผลิตที่ได้มากกว่าการกรีดช่วงเวลาอื่น

5. กรีด 1 วันเว้น 2 วัน เป็นระยะการกรีดที่เหมาะสมที่สุด เพราะเทคโนโลยีการเพิ่มฮออร์โมน จะให้ผลผลิตน้ำยางในปริมาณมาก การกรีด 1 วัน เว้น 2 วัน เพื่อให้ท่อน้ำยางได้พัก ประมาณ 48 ชั่วโมง มีเวลาในการดูดน้ำ แร่ธาตุ เพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสงผลิตเป็นน้ำยาง จึงทำให้ต้นยางสมบูรณ์ตลอดเวลา และมีข้อดีคือ ทำให้ไม่เกิดโรคหน้ายางตายนึ่ง ซึ่งส่วนมากมีสาเหตุจากการกรีดยางมากเกินไป โดยไม่ได้พักหน้ายาง

เอทธิลีน (Ethylene)

เป็นฮอร์โมนพืชชนิดเดียวที่อยู่ในรูปแก๊ส และมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชเป็นอย่างมากไม่มีสี มีกลิ่นเล็กน้อย จัดเป็นสารอินทรีย์ประเภทไฮโดรคาร์บอน เป็นแก๊สที่ระเหยได้ เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของสารที่มีคาร์บอนมาก เช่น น้ำมันถ่านหิน นอกจากนี้เกิดจากการสร้างขึ้นของพืชซึ่งได้มีการพิสูจน์แล้วว่าเอทธิลีนเป็นฮอร์โมนพืช สามารถกระตุ้นการสุกของผลไม้หลายชนิด โดยพืชสามารถผลิตเอทธิลีนได้จากกระบวนการเมทาบอลิซึม (metabolism) ในส่วนต่างๆ เช่น ราก ลำต้น ใบ ดอก หัว ผล และเมล็ด

คุณสมบัติประการหนึ่งของเอทธิลีน คือ ช่วยเร่งการเกิดน้ำยางในต้นยางพาราที่มีอายุมาก และเร่งการไหลของน้ำยาง โดยกระบวนการสังเคราะห์เอทธิลีนของพืชเป็นขั้นตอนที่สำคัญ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์เอทธิลีนในยางพารา เนื่องจากการกรีดยางทำให้เกิดบาดแผล ซึ่งจะไปกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ เอทธิลีนที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นเนื่องจากต้นไม้เกิดบาดแผลนี้ อาจจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นในระยะเวลาครึ่งชั่วโมงแรก ดังนั้นจึงมีความสำคัญกับต้นยางพารามาก เพราะการกรีดทุกครั้งจะต้องมีรอยแผล สารออกฤทธิ์ของเอทธิลีน คือกรด chloroethylphosphonic ซึ่งมีผลในการเร่งการไหลของน้ำยาง ทำให้ได้รับผลผลิตเพิ่มขึ้น สรุปแล้วบทบาทของเอทธิลีนในการเร่งการไหลของน้ำยางคือ เอทธิลีนไปเร่งการทำงานของเอนไซม์ ATPase ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำของโปรตอนเข้าสู่เซลล์การสังเคราะห์ยางเร่งการเคลื่อนย้ายน้ำตาลซูโครส ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์น้ำยาง นอกจากนี้ยังทำให้สภาพภายในเซลล์สังเคราะห์ยางมีความเป็นกรดด่างมากขึ้น นอกจากนี้เอทธิลีนยังเร่งการเคลื่อนย้ายของโมเลกุลน้ำในเซลล์ข้างเคียงเข้าสู่เซลล์สังเคราะห์ยางทำให้น้ำยางไหลอยู่ได้นานกว่าปกติ

สำหรับบันทึกนี้ขอเล่าให้อ่านกันแค่นี้ก่อนนะคะ แต่การใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิตยางพารา ยังไม่จบค่ะ ติดตามได้ในบันทึกครั้งต่อไปในเร็วๆนี้ค่ะ

ราคายางวันนี้

โครงสร้างของต้นยาง

การกรีดยาง

ข้อมูลพื้นที่ปลูกยาง

ในการสั่งสินค้า มีขั้นตอนดังนี้

1. โอนเงินค่ามัดจำ 50% ขั้นต่ำ 500 บาท หรือ ยอดสั่งซื้อทั้งหมด มาที่ชื่อบัญชี ร้านเงินทองเพิ่มพูน โดย( กฤตย์ภิรมณ กนกพงษ์เสถียร ) ธนาคาร กสิกรไทย สาขาตลาด บ้านเพ เลขบัญชี 006-1-338-039

2. ส่ง อีเมล์มาที่ yangthai18@gmail.com หรือ ส่ง Line มาที่ ID :0871474831

3. เขียนหัวกระดาษว่า สั่งจำนวน........ชุด จำนวนฮอร์โมน........กระป๋อง จากคุณ.......

สถานที่ส่ง........... เบอร์โทรศัพท์........... E-mail:............. หรือ ส่งSMS ก็ได้ครับ

ทางเราจะส่งสินค้าไปให้ทางไปรษณีย์ และเรียกเก็บเงินปลายทางเมื่อได้รับสินค้าแล้ว

มีชุดทดลองจำหน่าย แล้ว

สอบถามรายละเอียดได้ที่ : 087-147-4831 ทุกวัน

Email : yangthai18@gmail.com