page1

วิธีการกรีดยางพร้อมความเข้าใจในระบบใหม่

1. ระบบการกรีดยางแบบLLC=Long live cycle Tapping คือการกรีดยางระบบใหม่ที่ได้พัฒนาจากการศึกษาระบบสรีระวิทยาของต้นยาง ซึ่งผ่านการทดลอง และนำมา ปฏิบัติจริงทำให้ง่ายต่อการจัดการได้ปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ต้นยางมีบาดแผลน้อยที่สุด โดยจะส่งผลให้ต้นยาง ยังคงความสมบูรณ์ ช่วยยืดอายุการใช้งานต้นยางได้อย่างยั่งยืน ซึ่งมีวิธีการดังนี้

ข้อควรปฏิบัติหลังติดตั้ง(อุปกรณ์เพิ่มผลิตน้ำยางพารา)

1.1 การกรีดยางหน้าสั้น 4 นิ้ว

1.2 การกรีดยางจากด้านล่างขึ้นด้านบน

1.3 การกรีดหน้ายางเฉียง 45 องศา

1.4 การกรีดยางตอนเย็น (17.00น -18.00น.)

1.5 การกรีดยาง 1 วันเว้น 2 วัน

1.1 การกรีดยางหน้าสั้น 4 นิ้ว

คือ การกรีดยางโดยใช้พื้นที่ของเปลือกยางกว้าง 4 นิ้ว ทำให้ประหยัดพื้นที่หน้ายาง และยืดอายุการใช้งานของต้นยางได้นานขึ้น โดยปกติเราจะกรีดเปลือกยางกว้าง 8 – 12 นิ้ว ซึ่งทำให้สูญเสียพื้นที่ของเปลือกยางโดยเปล่าประโยชน์ และอายุใช้งานของต้นยางสั้นลง

1.2 การกรีดยางจากด้านล่างขึ้นด้านบน

โดยปกติ ท่อน้ำยางจะไหลเวียนรอบต้นยางในลักษณะจากด้านขวาบนลงมาด้านซ้ายล่างระบบกรีดแบบLLC จะกรีดขึ้นไปรับท่อน้ำยางใหม่ตลอด

1.3 การกรีดหน้ายางเฉียง 45 องศา

การกรีดหน้ายางเฉียง 45 องศา จะทำให้พื้นที่การกรีดตัดท่อน้ำยางให้ได้มากที่สุดและทำให้การไหลของน้ำยางลงสู้ถ้วยรองรับได้สะดวก ไม่หกตามหน้ายาง

1.4 ระบบใหม่ น้ำยางจะไหลประมาณ 12-15 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ภูมิประเทศความสมบรูณ์ของดิน และต้นยาง จากการเปรียบเทียบ การกรีดยางช่วงเย็นประมาณ 5-6 โมงเย็น การไหลของน้ำยางผ่านช่วงเวลากลางคืนซึ่งมี อุณภูมิต่ำมีลมพัดโกรกน้อยทำให้หน้ายางแห้งช้า ปริมาณผลผลิตที่ได้จะมากกว่าการกรีดยางช่วงเวลาอื่น การกรีดยางช่วงเย็นยังมีแสงสว่างทำให้คนกรีดยางสะดวกเวลากรีดยาง ไม่ต้องใช้ตะเกียงไฟในการกรีดและตื่นเช้ามือมากรีดยาง ทำให้การกรีดยางมีประสิทธิภาพ

1.5 การกรีดยาง 1 วัน เว้น 2 วัน

เป็นระยะการกรีดที่เหมาะสม เพราะระบบริมโฟลว์จะให้ผลผลิตน้ำยางปริมาณมาก การกรีด 1 วันเว้น 2 วันเพื่อให้ต้นยางได้พักประมาณ 48ชั่วโมง มีเวลาในการดูดน้ำแร่ธาตุเพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสงผลิตเป็นน้ำยาง จึงทำให้ต้นยางสมบรูณ์ตลอดเวลา

ข้อดี : จะไม่ทำให้เกิดโรคหน้าแห้งตายนิ่ง

สาเหตุของโรงหน้าแห้งตายนิ่ง: เกิดจากการกรีดมาก ไม่พักหน้ายาง

2. ระบบการเพิ่มฮอร์โมน

ระบบการเพิ่มฮอร์โมนแบบริมโฟลว์ คือการเพิ่มระดับฮอร์โมนที่ขาดหายไปในโครงการสร้างต้นยางให้เกิดความสมดุลขึ้น ทำให้ระบบต่าง ๆ ของต้นยางสมบูรณ์ขึ้นส่งผลให้

· การทำงานของรากแข็งแรงขึ้น

· การสังเคราะห์แสงสมบูรณ์

· การขยายตัวของท่อน้ำยางมากขึ้น

· การลำเลียงอาหารสมบูรณ์ขึ้น

· ระบบภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ จะดีขึ้น

· การผลิตน้ำยางปริมาณมากขึ้น

สามารถสังเกตได้จากลำต้นและใบภายหลังที่ได้รับฮอร์โมน 1 – 2 เดือน สภาพใบจะเขียวเข้มขึ้นมากโดยเห็นได้ชัดเจน ปกติฮอร์โมนเอทธิลีน ต้นยางจะผลิตอยู่แล้วแต่สภาพปัจจุบันสวนยางส่วนใหญ่จะขาดความสมดุล เนื่องจาก

· การปลูกยางในพื้นที่เดิมซ้ำกันหลายรุ่น

· ขาดการบำรุงใส่ปุ๋ยอย่างจริงจัง

· การกรีดยางที่ขาดประสิทธิภาพ (ไม่มีการพักการกรีดยาง)

· สภาวะอากาศฤดูกาลแปรปรวน

· การกรีดยางบริเวณโคนต้นมากเกินไป ซึ่งเป็นแหล่งสะสมของฮอร์โมนเอทธิลีน

· ขาดวิชาการและการดูแลเอาใจใส่

ลักษณะวิธีเพิ่มฮอร์โมน

ใช้วิธีการเพิ่มฮอร์โมนแบบออสโมซิส คือการซึม แพร่เข้าไปในเปลือกยางไม่การขุดหรือเจาะเข้าไปในต้นยาง จะใช้อุปกรณ์พลาสติกติดกับต้นยางโดยการใช้กาวซึ่งต้นยางไม่มีบาดแผล ทำการติดตั้งบริเวณด้านขวามือของหน้ากรีด เมื่อต้นยางขาดฮอร์โมนต้นยางจะดึงฮอร์โมน โดยการซึมผ่านเปลือกยางเข้าไปใช้เองตามธรรมชาติวิธีนี้จึงไม่ใช่การเร่งผลผลิตเหมือนที่เข้าใจผิดกัน แต่เป็นวิธีแบบธรรมชาติมากที่สุด.

การใช้ฮอร์โมน เอทธีลีน(Ethlene) กับต้นยางเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำยางได้ผ่านงานวิจัยจากสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ประเทศไทยงานวิจัย จากศูนย์วิจัยยางประเทศมาเลเซีย และจากการใช้จริงกับเกษตรกรชาวสวนยางในประเทศไทยมากกว่า 10 ปีแล้ว

3. ระบบการให้ปุ๋ยหลังติดตั้ง

คือ ระบบการให้ปุ๋ยกับต้นยาง เพื่อให้ตรงตามความต้องการของต้นยาง ในเรื่องสูตรปุ๋ยช่วงระยะเวลา ปริมาณปุ๋ย และความเหมาะสมโดยจะคำนวณจากความต้องการปุ๋ยของต้นยาง ซึ่งคิดจากปริมาณผลผลิตที่เก็บได้ คำนวณย้อนกลับเป็นปุ๋ยที่ต้องเติมให้กับต้นยาง และคิดจากช่วงฤดูกาลที่ต้นยางต้องการแร่ธาตุแตกต่างกัน

ปริมาณปุ๋ยที่ให้ ปีละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 กก. ต่อต้นดังนี้

ครั้งที่ 1 ช่วงใบยางเพสลาด (ก่อนใบยางแก่)

บำรุงลำต้น ราก ใบ เพื่อความพร้อมในการเปิดกรีดยาง

ครั้งที่ 2 ช่วงหลังลูกยางแตก

ช่วงนี้อุณหภูมิจะต่ำ ปกติปริมาณน้ำยางจะเริ่มออกมาก ดังนั้นจึงควรใส่ปุ๋ยเพื่อบำรุงน้ำยาง

ครั้งที่ 3 ช่วงก่อนเข้าสู่หน้าแล้ง

ก่อนถึงช่วงนี้ ชาวสวนยางจะเก็บปริมาณน้ำยางมาก จึงสมควรให้ปุ๋ยบำรุงต้นยางให้แข็งแรง