ปาล์มน้ำมัน ที่ดีที่สุด

กลับสู่หน้าหลัก กระดานสนทนา การสั่งซื้อ สุดยอดปุ๋ย ติดต่อเรา

จำหน่าย ปลีก - ส่ง ทั้งเมล็ดและต้นกล้าปาล์ม ทุกสายพันธุ์ นำเข้าจากมาเลเซียแท้ 100%

สอบถามราคาพิเศษได้ที่ 087-1474831

เปิดจองแล้วครับ ต้นกล้าปาล์มที่มีคุณภาพจากประเทศมาเลเซีย ราคาพิเศษ

สำหรับผู้สั่งจองเท่านั้น สายพันธุ์มาเลเซีย 5 สายพันธุ์

1. ยางกำบิ DxP Yangambi ml 161 ดูข้อมูลรายละเอียด คลิ๊กที่นี่เลย ขายดี

2. เอเอ ไฮบริดา ( AA Hybrida ) ดูข้อมูลรายละเอียด คลิ๊กที่นี่เลย

3. การิค Calix 600 ดูข้อมูลรายละเอียด คลิ๊กที่นี่เลย ใหม่ล่าสุด

4. ซุปเปอร์ยีน (Super gene ) ดูข้อมูลรายละเอียด คลิ๊กที่นี่เลย

5. เชอเมร่า CHEMARA DxP ดูข้อมูลรายละเอียด คลิ๊กที่นี่เลย ทนแล้งดีสุด

จองเพียงต้นละ 50 บาทเท่านั้น และเมล็ดมัดจำ 50%

ท่านใครสนใจติดต่อสอยถามได้ที่ 087-147-4831 LINE ID: 0871474831 ได้ทุกวัน

Email : yangthai18@gmail.com

ข้อมูลการเพาะเม็ด และการปลูกปาล์มน้ำมัน คลิกที่นี่เลย

ในการสั่งซื้อ พันธุ์ปาล์ม มีขั้นตอนดังนี้

1. โอนเงินค่ามัดจำ 50% หรือ ยอดสั่งซื้อทั้งหมด มาที่ชื่อบัญชี ร้านเงินทองเพิ่มพูน @momey gold to up@

โดย( กฤตย์ภิรมณ กนกพงษ์เสถียร ) ธนาคาร กสิกรไทย สาขาตลาด บ้านเพ เลขบัญชี 006-1-338-039

2. ส่ง Email : yangthai18@gmail.com หรือ ส่ง Line มาที่ ID :0871474831

3. เขียนหัวกระดาษว่า สั่งพันธุ์ปาล์ม...... (เมล็ด หรือ ต้นกล้า) จำนวน........ จากคุณ.......

ที่อยู่..........สถานที่ส่ง........... ชื่อผู้รับ............. เบอร์โทรศัพท์........... E-mail:.........

แล้วทางเราจะส่ง ใบสัญญามัดจำ ตอบกับไปทาง E-mail ของคุณ หรือ ส่ง Line

สอบถามรายละเอียดได้ที่ : 087-147-4831 ทุกวัน

Email : yangthai18@gmail.com

ข่าวสาร จาก คม ชัด ลึก

ปาล์มน้ำมันในมาเลเซีย

ปาล์มน้ำมันในมาเลเซีย : คอลัมน์ เกษตรยุคใหม่ : โดย ... รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมห้องแล็บเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปาล์มน้ำมันที่บริษัทใหญ่แห่งหนึ่งในมาเลเซีย ซึ่งทำธุรกิจเพาะกล้าปาล์มจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากต้นปาล์มลูกผสมพันธุ์ดีที่คัดมาแล้ว ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่ทำให้ปาล์มน้ำมันของมาเลเซียมีความก้าวหน้ากว่าเมืองไทยมาก ทั้งในเรื่องของผลผลิตและปริมาณน้ำมันในผลปาล์ม

ปัจจุบันบริษัทนี้ผลิตต้นพันธุ์ปาล์มน้ำมันด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปีละประมาณ 6 หมื่นต้นเพื่อขายในประเทศ ปัจจุบันสวนปาล์มในมาเลเซียประมาณ 7 หมื่นไร่ ปลูกปาล์มพันธุ์นี้อยู่

เหตุผลที่ต้นปาล์มจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเหนือกว่าต้นกล้าทั่วไปก็คือความสม่ำเสมอของต้น ทั้งการเติบโตและผลผลิต เพราะว่าการคัดเลือกต้นพันธุ์ที่จะนำมาขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อนั้นต้องมีหลักเกณฑ์ ซึ่งโดยทั่วไปก็คือการคัดเลือกต้นที่ให้ผลผลิตสูง ผลมีขนาดใหญ่ การสุกของผลในทะลมีความสม่ำเสมอ และเรื่องที่สำคัญคือมีเนื้อหนาและเมล็ดเล็ก

ทั้งหมดนี้เป็นผลโดยรวมให้ปริมาณน้ำมันในผลสูงมากกว่า 26% ถ้ามองเป็นรายต้นอาจดูไม่มากเท่าใดนัก แต่ถ้าปลูกกันเป็นไร่ ผลผลิตและปริมาณน้ำมันที่ต่างกันเพียงเล็กน้อยก็จะยิ่งเห็นความแตกต่างชัดเจนขึ้น

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อก็เป็นวิธีการขยายพันธุ์แบบหนึ่ง เหมือนกับการปักชำ หรือการตอนกิ่ง นั่นก็คือเป็นการขยายพันธุ์โดยไม่ใช้เพศ ต้นที่ได้จึงควรเหมือนต้นแม่ทุกประการ ซึ่งวิธีการนี้เรียกว่า "โคลนนิ่ง" แต่ว่าการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออาจต่างจากการขยายพันธุ์แบบตอนกิ่งหรือปักชำตรงที่ว่า อาจมีการกลายพันธุ์เกิดขึ้นได้บ้าง เพราะว่าชิ้นส่วนเนื้อเยื่อที่นำมาขยายพันธุ์มีขนาดเล็กมากและต้องมีการแบ่งเซลล์หลายต่อหลายครั้งเพื่อการเติบโต จึงมีโอกาสผิดเพี้ยนได้มากกว่า

สำหรับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปาล์มน้ำมันนั้น อาจเป็นวิธีการเดียวของการขยายพันธุ์โดยไม่ใช้เพศ เพราะว่าปาล์มน้ำมันเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและไม่มีการแตกหน่อ จึงไม่สามารถตอนกิ่งหรือปักชำได้ ความยากจึงอยู่ตรงนี้ และต้องมีการศึกษาวิจัยอย่างมากกว่าที่จะประสบความสำเร็จ เนื่องจากต้นปาล์มแต่ละต้นมีการตอบสนองต่อการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไม่เหมือนกัน

บางครั้งอาจพบปัญหาว่าเพาะเลี้ยงมาเกือบ 2 ปีแล้ว แต่ไม่สามารถชักนำให้เกิดต้นและรากได้ หมายความว่าเกิดการเสียเปล่า ดังนั้นการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจึงมีความเสี่ยงสูงที่จะไม่สำเร็จได้เช่นกัน

ปาล์มน้ำมันเป็นพืชยืนต้น เติบโตและให้ผลผลิตต่อเนื่องได้มากกว่า 25 ปี ดังนั้นถ้าลงทุนปลูกไปแล้วโดยใช้พันธุ์ไม่ดี ก็ต้องทนอยู่กับต้นนั้นไปนาน ได้ผลผลิตต่ำ น้ำมันน้อย ไม่คุ้มค่าการลงทุน เกษตรกรผู้ปลูกจึงพยายามขวนขวายหาพันธุ์ปาล์มที่ดีมาปลูก โดยการสั่งเมล็ดเข้ามาจากแหล่งปลูกต่างๆ ที่มีชื่อเสียง เช่นคอสตาริกา แต่ส่วนใหญ่แล้วพันธุ์ที่ได้มามักจะเป็นของเหลือทิ้งจากประเทศเหล่านั้น เพราะว่าคงไม่มีใครส่งของดีเข้ามาให้เรา

ผลก็คือปาล์มน้ำมันของเราไม่มีทางสู้คนอื่นได้เลย สิ่งที่จะทำให้ไทยเรามีความก้าวหน้าทันโลกได้ก็คือ ต้องมีการพัฒนาพันธุ์ปาล์มที่เหมาะสมสำหรับเมืองไทยขึ้นมาใช้เอง และแน่นอนว่าต้องใช้ทั้งเงินและเวลา รวมทั้งนักวิจัยที่ทุ่มเทในเรื่องนี้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพราะว่าปาล์มน้ำมันเป็นพืชยืนต้น ต้องใช้เวลาหลายปีในการปรับปรุงพันธุ์ ไม่เหมือนพืชล้มลุกทั้งหลายที่ใช้เวลาสั้นกว่า

คราวหน้าจะมาเล่าให้ฟังว่าการปลูกปาล์มของมาเลเซียมีมากน้อยเพียงใด และมีความก้าวหน้ามากกว่าเราขนาดไหนครับ!

--------------------

(ปาล์มน้ำมันในมาเลเซีย : คอลัมน์ เกษตรยุคใหม่ : โดย ... รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ)

ปาล์มน้ำมันของมาเลเซีย(2)

ปาล์มน้ำมันของมาเลเซีย (2) : คอลัมน์ เกษตรยุคใหม่ : โดย ... รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ

คราวที่แล้วได้เล่าเกริ่นนำไปแล้วว่ามาเลเซียมีความก้าวหน้าด้านปาล์มน้ำมันมากกว่าไทยค่อนข้างมาก และได้ใส่ใจเรื่องของการพัฒนาพันธุ์และมีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจนจากรัฐ ทำให้ทุกวันนี้ปาล์มน้ำมันของมาเลเซียเป็นอย่างที่เห็น ประเทศที่ปลูกปาล์มน้ำมันมากที่สุดในโลกก็คืออินโดนีเซีย ซึ่งมีประมาณ 50 ล้านไร่ รองลงมาคือมาเลเซียคือ 35 ล้านไร่ ตามด้วยไนจีเรีย สำหรับไทยเป็นอันดับสี่ คือประมาณ 5.5 ล้านไร่ เรียกได้ว่าห่างกันค่อนข้างมาก

จากการที่ได้ไปดูงานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปาล์มน้ำมันที่เมืองอิโปห์ของมเลเซีย โดยมี ดร. อึ๊ง ซิวกี่ ผู้เชี่ยวชาญปาล์มน้ำมันซึ่งได้ค้นคว้าพัฒนาปาล์มน้ำมันมาตลอดชีวิต เป็นเจ้าของกิจการ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากและมีส่วนในการทำให้ปาล์มน้ำมันของมาเลเซียมีความก้าวหน้าอย่างทุกวันนี้

ระหว่างทางจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ไปยังเมืองอิโปห์ ประมาณเกือบ 200 กิโลเมตร ทั้งสองข้างทางเป็นสวนปาล์มเกือบทั้งหมด แทบไม่พบสวนยางอย่างในอดีต เพราะรัฐบาลมาเลเซียมีวิสัยทัศน์ชัดเจนว่ายางพาราไม่น่าจะเป็นพืชที่เหมาะสมสำหรับมาเลเซีย เพราะขาดแรงงานในการกรีดยางและเห็นว่าน้ำมันปาล์มในอนาคตน่าจะมีความสำคัญมากขึ้นในหลายๆ ด้าน จึงกำหนดนโยบายเปลี่ยนยางพารามาเป็นปาล์มน้ำมัน และครองความเป็นเลิศด้านปาล์มน้ำมันอยู่ ในขณะที่ปล่อยให้ไทยเราเป็นผู้ส่งออกยางพารารายใหญ่ของโลก ซึ่งก็เป็นที่ทราบกันดีว่าเราก็ส่งออกเพียงในรูปของผลิตภัณฑ์ยางเบื้องต้นซึ่งมีราคาต่ำ นั่นคือยางข้น ยางแผ่น เหมือนในอดีต

ปาล์มน้ำมันความจริงแล้วก็ไม่ใช่พืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในมาเลเซียหรือว่าอินโดนีเซีย แต่เมื่อประมาณร้อยกว่าปีที่แล้วคือปี พ.ศ.2391 ชาวดัตช์เป็นคนนำปาล์มน้ำมันเข้ามาปลูกที่อินโดนีเซียในลักษณะของไม้ประดับ ซึ่งต่อมาก็มีการขยายเข้ามาในมาเลเซียอีก 62 ปีต่อมา จึงเริ่มเห็นประโยชน์ของปาล์มน้ำมัน นอกเหนือจากการเป็นไม้ประดับ คือการนำมาสกัดน้ำมันเพื่อเป็นอาหารใช้แทนน้ำมันจากสัตว์ น้ำมันถั่วเหลืองหรือถั่วลิสงได้

ในช่วงแรกที่นำเข้ามาในมาเลเซีย เป็นการดำเนินงานของเอกชนชาวอังกฤษ แต่ต่อมาอีกประมาณ 50-60 ปี รัฐบาลมาเลเซียเห็นความสำคัญและเห็นอนาคตที่สดใสของปาล์มน้ำมัน จึงเข้ามาให้ความสนใจและผลักดันเป็นพิชเศรษฐกิจตัวใหม่เข้ามาทดแทนยางพารา อย่างน้อยก็เพื่อเป็นหลักประกันความล้มเหลวโดยไม่ยอมเสี่ยงกับการสร้างรายได้จากพืชชนิดเดียวเช่นยางพาราที่เดิมสร้างรายได้หลักให้มาเลเซียอีกต่อไป ปัจจุบันมาเลเซียใช้น้ำมันปาล์มเพื่อการบริโภคในประเทศประมาณ 60% ที่เหลือมีการนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ รวมทั้งส่งออกบางส่วน แต่มีการนำมาใช้ทำเชื้อเพลิงน้อยมาก

มาเลเซียปลูกปาล์มน้ำมันมาก เป็นพืชหลักของประเทศ แต่ไม่ได้ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม รัฐบาลให้ความสำคัญในการวิจัยและพัฒนาเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงมีองค์กรต่างๆ ที่ดูแล และมีสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและเพิ่มมูลค่าของน้ำมันปาล์ม ที่สร้างผลงานหลายอย่างออกมา ทำให้มาเลเซียสามารถสร้างความเป็นเลิศด้านนี้ได้อย่างเต็มภาคภูมิ โดยภาพรวมแล้วไม่ว่าเราจะครองความเป็นหนึ่งด้านใดก็ตาม เช่น ข้าว กุ้ง ยางพารา สิ่งเหล่านี้ทำได้อย่างมากคือการขายผลผลิตในรูปวัตถุดิบในปริมาณมากเท่านั้น เราแทบไม่ได้ใส่ความรู้จากการวิจัยเพื่อความยั่งยืนเข้าไปเลย เหตุผลก็คงเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าหาคนที่มีวิสัยทัศน์เรื่องนี้ได้น้อยมากในเมืองไทยครับ!

--------------------

(ปาล์มน้ำมันของมาเลเซีย (2) : คอลัมน์ เกษตรยุคใหม่ : โดย ... รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ)

จำหน่าย พันธุ์ปาล์มน้ำมัน DxP Yangambi จาก มาเลเซีย

พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ดีที่สุด ให้เปอร์เซ็นน้ำมันสูง 30.2 %

เสนอราคาพิเศษ เม็ดละ 22-28 บาท ขึ้นอยู่กับจำนวน

กล้าปาล์ม 80- 150 บาท ขึ้นอยู่กับอายุและจำนวน

ข้อมูล พันธุ์ปาล์มน้ำมัน DxP Yangambi

สายพันธุ์ปาล์มที่ดีที่สุด %น้ำมันสูงสุด ในขณะนี้

ลักษณะเด่นของปาล์มน้ำมันสายพันธุ์ DxP Yangambi

รายละเอียด

จำหน่ายและรับสั่งจองเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมัน สายพันธุ์ D x P ( Yangambi ) จากสถาบัน FELDA AGRICULTURAL SERVICE SDN BHD ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลมาเลเซีย ในการค้นคว้า วิจัย และพัฒนา พันธุ์ปาล์มน้ำมัน เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูงสุด ทะลายใหญ่ ขนาดทางใบสั้น ต้นอวบอ้วนและเตี้ย ทำให้อายุการเก็บเกี่ยวได้นานขึ้น

1.ลักษณะต้นเตี้ย ทางใบสั้น

2.มีจำนวนทะลายต่อต้นสูงมาก

3.มีขนาดทลายสดปานกลาง (20-30กก./ทะลาย)

4.มีเปลือกนอกหนาและมีกะลาบาง

5.ทะลายปาล์มมีหนามน้อย

6.ให้เปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง 30เปอร์เซ็นต์ถ้าปลูกบริเวณที่ลุ่มมีร่องน้ำหรือปริมาณน้ำฝนดีจะให้เปอร์เซ็นต์น้ำมันสูงสุด

*ระยะเวลาในการปลูก 2 ปี 6 เดือน - เริ่มออกทะลาย

*ความสูงของต้นสูงช้าเฉลี่ย60ซม./ปี

*อายุต้นปาล์มในการเก็บเกี่ยว เฉลี่ย 25-30 ปี

*พื้นที่ในการปลูก 22-23 ต้น/1 ไร่

*ระยะปลูก ปลูกเป็นสามเหลี่ยมด้านเท่า 9 x 9 x 9 เมตร

*ผลิตผลคิดเป็น 7- 9 ตัน/1ไร่/1 ปี

Felda DxP Yangambi 3,000 Palm seed/box สายพันธุ์มาเลย์เซียแท้ 100 % ผ่านการตรวจสอบ QC. ทุกเมล็ด ของใหม่มี วันที่ผลิต มีใบรับรองสายพันธุ์ ลดความเสี่ยงต่อการ ปลูกพันธ์ปาล์มน้ำมันที่มีคุณภาพต่ำ ปลูกได้ ทุกภาคของไทย ใต้ อีสาน เหนือ ที่มีสภาพเหมาะสมกับการปลูกปาล์ม

ลักษณะ กล้าปาล์มน้ำมัน พันธุ์ DxP Yangambi

ลักษณะ เมล็ดปาล์มน้ำมัน พันธุ์ DxP Yangambi

ส่งตรงจาก มาเลเซีย

ลักษณะ เมล็ดปาล์มน้ำมัน พันธุ์ DxP Yangambi

เบอร์ 1 ยิงเลเซอร์ที่เม็ด ส่งตรงจาก มาเลเซีย

ลักษณะกล่องบรรจุ เมล็ดปาล์มน้ำมัน

พันธุ์ DxP Yangambi ส่งตรงจาก มาเลเซีย

แปลงเพาะพันธุ์ปาล์ม

ปาล์มFelda DxP Yangambi ที่ออกผลแล้ว

ปริมาณน้ำมันที่ได้ประมาณ 30-35 เปอร์เซ็นต์

ผลผลิตปาล์ม อายุประมาณ 3 ปี

แต่ละทลายจะมีน้ำหนักประมาณ12-15 กก.

ปาล์มFelda DxP Yangambi อายุ 2.5 ปี

ใบรับรองสายพันธุ์ แท้100% จากมาเลเซีย

ทางเรารับประกันเป็นพันธุ์ แท้ 100% ส่งตรงจากมาเลเซีย

ส่งตรงสายพันธุ์ ทุกเม็ดและต้น (ไม่มีหลอกกัน ชัวร์)

ข้อมูลพันธุ์ปาล์มน้ำมัน สายพันธุ์ CHEMARA DXP

เสนอราคาพิเศษ เม็ดละ 22-28 บาท ขึ้นอยู่กับจำนวน

กล้าปาล์ม 80- 150 บาท ขึ้นอยู่กับอายุและจำนวน

ปาล์มน้ำมัน สายพันธุ์ CHEMARA DXP ได้มีทำการวิจัยสายพันธ์ปาล์มน้ำมันของแต่ละสายพันธุ์ โดยนำพ่อแม่พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่มีข้อดีแต่ละสายพันธุ จนได้พ่อแม่สายพันธุ์ปาล์มน้ำที่ว่าดีที่สุด (ในขณะนั้น) นั้นก็คือ แม่พันธุ์ปาล์มน้ำมันสายพันธุ์ ดูร่า(DURA) ส่วนพ่อพันธุ์ปาล์มน้ำมัน คือ ฟิสิเฟอร่า(PISIFERRA) สาเหตุที่ต้องนำปาล์มน้ำมัน 2 สายพันธุ์ คือ

ดูร่า(DURA) แม่พันธุ์

- มีเปลือกบางให้น้ำมันร้อยละ 35-60 ของน้ำหนักผลปาล์ม ผลนะครับไม่ใช่ทลาย มีกะลาหนาปานกลาง มีเปลือกชั้นนอกหนา 20-60 มิลลิเมตร ข้อเสีย กะลาหนามากๆๆๆ

ฟิสิเฟอร่า(PISIFERRA) พ่อพันธุ์

- มีกะลาบางเปลือกหนา เมล็ดเล็ก ข้อเสีย ขนาดผลเล็ก ช่อดอกตัวเมียเป็นหมั่นและมีการผลิตทะลายต่ำต่อต้นจำนวนต่ำ

แต่ได้มีการวิจัยสายพันธุ์ปาล์มน้ำมันเป็นเวลานาน และทดลองหลายๆครั้งโดยนำเอาเกศรจากต้นลูกของสองสายพันธุ์นี้มาศึกาษาหาข้อดี จนได้ปาล์มสายพันธุ์ CHEMARA DXP

ลักษณะของปาล์ม CHEMARA DXP

- ทางสั้น ต้นไม่สูง อัตราสูงประมาณ 10 - 20 ซม. / ปี ( หลังจาก 8 ปี )

- ค่าเฉลี่ยของน้ำมันต่อทะลายเท่ากับ 28 % (3 ปีแรก) 32% (หลังจาก 8 ปี)

- ระยะเวลาให้ผลผลิตประมาณ 20-30 ปี

- รอบการตัดเร็ว 24 เดือน ขึ้นไป เริ่มให้ผลที่(หลังจากนำต้นกล้าอายุ 8-12 เดือน ลงปลูก )

- ให้น้ำหนัก 25-35 กิโลกรัมต่อทลาย (ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา)

- ทนต่อสภาพภูมิอากาศร้อนสูง ( 78 วัน)

- เปอร์เซ็นต์การร่วงของผลปาล์มจากทลายมีน้อย

- การให้ผลิต 6.6-9.24 ตัน/ไร่/ปี

- เริ่มให้ผลผลิตเร็ว 2-3 ปีสามารถให้ผลผลิต (ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ น้ำ ปุ๋ย แต่ถ้าให้เทวดาดูแลให้ ก็ไม่ถึงนะครับ)

ปาล์มน้ำมัน สายพันธุ์ CHEMARA DXP อายุ 2.6 ปี

ข้อมูลการเพาะเม็ด และการปลูกปาล์มน้ำมัน คลิกที่นี่เลย

ข่าวสาร จาก คม ชัด ลึก

ปาล์มน้ำมันในมาเลเซีย

ปาล์มน้ำมันในมาเลเซีย : คอลัมน์ เกษตรยุคใหม่ : โดย ... รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมห้องแล็บเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปาล์มน้ำมันที่บริษัทใหญ่แห่งหนึ่งในมาเลเซีย ซึ่งทำธุรกิจเพาะกล้าปาล์มจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากต้นปาล์มลูกผสมพันธุ์ดีที่คัดมาแล้ว ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่ทำให้ปาล์มน้ำมันของมาเลเซียมีความก้าวหน้ากว่าเมืองไทยมาก ทั้งในเรื่องของผลผลิตและปริมาณน้ำมันในผลปาล์ม

ปัจจุบันบริษัทนี้ผลิตต้นพันธุ์ปาล์มน้ำมันด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปีละประมาณ 6 หมื่นต้นเพื่อขายในประเทศ ปัจจุบันสวนปาล์มในมาเลเซียประมาณ 7 หมื่นไร่ ปลูกปาล์มพันธุ์นี้อยู่

เหตุผลที่ต้นปาล์มจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเหนือกว่าต้นกล้าทั่วไปก็คือความสม่ำเสมอของต้น ทั้งการเติบโตและผลผลิต เพราะว่าการคัดเลือกต้นพันธุ์ที่จะนำมาขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อนั้นต้องมีหลักเกณฑ์ ซึ่งโดยทั่วไปก็คือการคัดเลือกต้นที่ให้ผลผลิตสูง ผลมีขนาดใหญ่ การสุกของผลในทะลมีความสม่ำเสมอ และเรื่องที่สำคัญคือมีเนื้อหนาและเมล็ดเล็ก

ทั้งหมดนี้เป็นผลโดยรวมให้ปริมาณน้ำมันในผลสูงมากกว่า 26% ถ้ามองเป็นรายต้นอาจดูไม่มากเท่าใดนัก แต่ถ้าปลูกกันเป็นไร่ ผลผลิตและปริมาณน้ำมันที่ต่างกันเพียงเล็กน้อยก็จะยิ่งเห็นความแตกต่างชัดเจนขึ้น

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อก็เป็นวิธีการขยายพันธุ์แบบหนึ่ง เหมือนกับการปักชำ หรือการตอนกิ่ง นั่นก็คือเป็นการขยายพันธุ์โดยไม่ใช้เพศ ต้นที่ได้จึงควรเหมือนต้นแม่ทุกประการ ซึ่งวิธีการนี้เรียกว่า "โคลนนิ่ง" แต่ว่าการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออาจต่างจากการขยายพันธุ์แบบตอนกิ่งหรือปักชำตรงที่ว่า อาจมีการกลายพันธุ์เกิดขึ้นได้บ้าง เพราะว่าชิ้นส่วนเนื้อเยื่อที่นำมาขยายพันธุ์มีขนาดเล็กมากและต้องมีการแบ่งเซลล์หลายต่อหลายครั้งเพื่อการเติบโต จึงมีโอกาสผิดเพี้ยนได้มากกว่า

สำหรับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปาล์มน้ำมันนั้น อาจเป็นวิธีการเดียวของการขยายพันธุ์โดยไม่ใช้เพศ เพราะว่าปาล์มน้ำมันเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและไม่มีการแตกหน่อ จึงไม่สามารถตอนกิ่งหรือปักชำได้ ความยากจึงอยู่ตรงนี้ และต้องมีการศึกษาวิจัยอย่างมากกว่าที่จะประสบความสำเร็จ เนื่องจากต้นปาล์มแต่ละต้นมีการตอบสนองต่อการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไม่เหมือนกัน

บางครั้งอาจพบปัญหาว่าเพาะเลี้ยงมาเกือบ 2 ปีแล้ว แต่ไม่สามารถชักนำให้เกิดต้นและรากได้ หมายความว่าเกิดการเสียเปล่า ดังนั้นการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจึงมีความเสี่ยงสูงที่จะไม่สำเร็จได้เช่นกัน

ปาล์มน้ำมันเป็นพืชยืนต้น เติบโตและให้ผลผลิตต่อเนื่องได้มากกว่า 25 ปี ดังนั้นถ้าลงทุนปลูกไปแล้วโดยใช้พันธุ์ไม่ดี ก็ต้องทนอยู่กับต้นนั้นไปนาน ได้ผลผลิตต่ำ น้ำมันน้อย ไม่คุ้มค่าการลงทุน เกษตรกรผู้ปลูกจึงพยายามขวนขวายหาพันธุ์ปาล์มที่ดีมาปลูก โดยการสั่งเมล็ดเข้ามาจากแหล่งปลูกต่างๆ ที่มีชื่อเสียง เช่นคอสตาริกา แต่ส่วนใหญ่แล้วพันธุ์ที่ได้มามักจะเป็นของเหลือทิ้งจากประเทศเหล่านั้น เพราะว่าคงไม่มีใครส่งของดีเข้ามาให้เรา

ผลก็คือปาล์มน้ำมันของเราไม่มีทางสู้คนอื่นได้เลย สิ่งที่จะทำให้ไทยเรามีความก้าวหน้าทันโลกได้ก็คือ ต้องมีการพัฒนาพันธุ์ปาล์มที่เหมาะสมสำหรับเมืองไทยขึ้นมาใช้เอง และแน่นอนว่าต้องใช้ทั้งเงินและเวลา รวมทั้งนักวิจัยที่ทุ่มเทในเรื่องนี้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพราะว่าปาล์มน้ำมันเป็นพืชยืนต้น ต้องใช้เวลาหลายปีในการปรับปรุงพันธุ์ ไม่เหมือนพืชล้มลุกทั้งหลายที่ใช้เวลาสั้นกว่า

คราวหน้าจะมาเล่าให้ฟังว่าการปลูกปาล์มของมาเลเซียมีมากน้อยเพียงใด และมีความก้าวหน้ามากกว่าเราขนาดไหนครับ!

--------------------

(ปาล์มน้ำมันในมาเลเซีย : คอลัมน์ เกษตรยุคใหม่ : โดย ... รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ)

ปาล์มน้ำมันของมาเลเซีย(2)

ปาล์มน้ำมันของมาเลเซีย (2) : คอลัมน์ เกษตรยุคใหม่ : โดย ... รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ

คราวที่แล้วได้เล่าเกริ่นนำไปแล้วว่ามาเลเซียมีความก้าวหน้าด้านปาล์มน้ำมันมากกว่าไทยค่อนข้างมาก และได้ใส่ใจเรื่องของการพัฒนาพันธุ์และมีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจนจากรัฐ ทำให้ทุกวันนี้ปาล์มน้ำมันของมาเลเซียเป็นอย่างที่เห็น ประเทศที่ปลูกปาล์มน้ำมันมากที่สุดในโลกก็คืออินโดนีเซีย ซึ่งมีประมาณ 50 ล้านไร่ รองลงมาคือมาเลเซียคือ 35 ล้านไร่ ตามด้วยไนจีเรีย สำหรับไทยเป็นอันดับสี่ คือประมาณ 5.5 ล้านไร่ เรียกได้ว่าห่างกันค่อนข้างมาก

จากการที่ได้ไปดูงานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปาล์มน้ำมันที่เมืองอิโปห์ของมเลเซีย โดยมี ดร. อึ๊ง ซิวกี่ ผู้เชี่ยวชาญปาล์มน้ำมันซึ่งได้ค้นคว้าพัฒนาปาล์มน้ำมันมาตลอดชีวิต เป็นเจ้าของกิจการ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากและมีส่วนในการทำให้ปาล์มน้ำมันของมาเลเซียมีความก้าวหน้าอย่างทุกวันนี้

ระหว่างทางจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ไปยังเมืองอิโปห์ ประมาณเกือบ 200 กิโลเมตร ทั้งสองข้างทางเป็นสวนปาล์มเกือบทั้งหมด แทบไม่พบสวนยางอย่างในอดีต เพราะรัฐบาลมาเลเซียมีวิสัยทัศน์ชัดเจนว่ายางพาราไม่น่าจะเป็นพืชที่เหมาะสมสำหรับมาเลเซีย เพราะขาดแรงงานในการกรีดยางและเห็นว่าน้ำมันปาล์มในอนาคตน่าจะมีความสำคัญมากขึ้นในหลายๆ ด้าน จึงกำหนดนโยบายเปลี่ยนยางพารามาเป็นปาล์มน้ำมัน และครองความเป็นเลิศด้านปาล์มน้ำมันอยู่ ในขณะที่ปล่อยให้ไทยเราเป็นผู้ส่งออกยางพารารายใหญ่ของโลก ซึ่งก็เป็นที่ทราบกันดีว่าเราก็ส่งออกเพียงในรูปของผลิตภัณฑ์ยางเบื้องต้นซึ่งมีราคาต่ำ นั่นคือยางข้น ยางแผ่น เหมือนในอดีต

ปาล์มน้ำมันความจริงแล้วก็ไม่ใช่พืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในมาเลเซียหรือว่าอินโดนีเซีย แต่เมื่อประมาณร้อยกว่าปีที่แล้วคือปี พ.ศ.2391 ชาวดัตช์เป็นคนนำปาล์มน้ำมันเข้ามาปลูกที่อินโดนีเซียในลักษณะของไม้ประดับ ซึ่งต่อมาก็มีการขยายเข้ามาในมาเลเซียอีก 62 ปีต่อมา จึงเริ่มเห็นประโยชน์ของปาล์มน้ำมัน นอกเหนือจากการเป็นไม้ประดับ คือการนำมาสกัดน้ำมันเพื่อเป็นอาหารใช้แทนน้ำมันจากสัตว์ น้ำมันถั่วเหลืองหรือถั่วลิสงได้

ในช่วงแรกที่นำเข้ามาในมาเลเซีย เป็นการดำเนินงานของเอกชนชาวอังกฤษ แต่ต่อมาอีกประมาณ 50-60 ปี รัฐบาลมาเลเซียเห็นความสำคัญและเห็นอนาคตที่สดใสของปาล์มน้ำมัน จึงเข้ามาให้ความสนใจและผลักดันเป็นพิชเศรษฐกิจตัวใหม่เข้ามาทดแทนยางพารา อย่างน้อยก็เพื่อเป็นหลักประกันความล้มเหลวโดยไม่ยอมเสี่ยงกับการสร้างรายได้จากพืชชนิดเดียวเช่นยางพาราที่เดิมสร้างรายได้หลักให้มาเลเซียอีกต่อไป ปัจจุบันมาเลเซียใช้น้ำมันปาล์มเพื่อการบริโภคในประเทศประมาณ 60% ที่เหลือมีการนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ รวมทั้งส่งออกบางส่วน แต่มีการนำมาใช้ทำเชื้อเพลิงน้อยมาก

มาเลเซียปลูกปาล์มน้ำมันมาก เป็นพืชหลักของประเทศ แต่ไม่ได้ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม รัฐบาลให้ความสำคัญในการวิจัยและพัฒนาเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงมีองค์กรต่างๆ ที่ดูแล และมีสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและเพิ่มมูลค่าของน้ำมันปาล์ม ที่สร้างผลงานหลายอย่างออกมา ทำให้มาเลเซียสามารถสร้างความเป็นเลิศด้านนี้ได้อย่างเต็มภาคภูมิ โดยภาพรวมแล้วไม่ว่าเราจะครองความเป็นหนึ่งด้านใดก็ตาม เช่น ข้าว กุ้ง ยางพารา สิ่งเหล่านี้ทำได้อย่างมากคือการขายผลผลิตในรูปวัตถุดิบในปริมาณมากเท่านั้น เราแทบไม่ได้ใส่ความรู้จากการวิจัยเพื่อความยั่งยืนเข้าไปเลย เหตุผลก็คงเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าหาคนที่มีวิสัยทัศน์เรื่องนี้ได้น้อยมากในเมืองไทยครับ!

--------------------

(ปาล์มน้ำมันของมาเลเซีย (2) : คอลัมน์ เกษตรยุคใหม่ : โดย ... รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ)

ในการสั่งซื้อ พันธุ์ปาล์ม มีขั้นตอนดังนี้

1. โอนเงินค่ามัดจำ 50% หรือ ยอดสั่งซื้อทั้งหมด มาที่ชื่อบัญชี ร้านเงินทองเพิ่มพูน โดย( กฤตย์ภิรมณ กนกพงษ์เสถียร ) ธนาคาร กสิกรไทย สาขาตลาด บ้านเพ เลขบัญชี 006-1-338-039

2. Fax สลิปเงินโอนมาที่ 038-647498 หรือ ส่ง Line มาที่ ID :0871474831

3. เขียนหัวกระดาษว่า สั่งพันธุ์ปาล์ม...... (เมล็ด หรือ ต้นกล้า) จำนวน........ จากคุณ.......

ที่อยู่..........สถานที่ส่ง........... ชื่อผู้รับ............. เบอร์โทรศัพท์........... E-mail:.........

แล้วทางเราจะส่ง ใบสัญญามัดจำ ตอบกับไปทาง E-mail ของคุณ

สอบถามรายละเอียดได้ที่ : 087-147-4831 ทุกวัน

Email : yangthai18@gmail.com