ถั่วมะแฮ

หากพูดถึงประโยชน์ของพืชตระกูลถั่วทั้งหลายแล้วเราต่างรู้ดีว่าคือพืชปรับปรุงดินที่ทรงประสิทธิภาพ ในระบบ

เกษตรของบ้านเรามีการนำถั่วมาปลูกสลับกับพืชไร่อื่นๆ เพื่อบำรุงดินระหว่างรอบการผลิต เพราะพืชตระกูลถั่วมีความสามารถ

ในการตรึงไนโตรเจนเมื่อปลูกและไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดกระบวนการย่อยสลายจะค่อยๆ เติมไนโตรเจนซึ่งเป็นแร่ธาตุจำเป็นใน

การเจริญเติบโตของพืชคืนให้กับดินและขณะเดียวกันก็เพิ่มช่องว่างให้ดินไม่แน่นเกินไป

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ถั่วมะแฮะ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ชื่อวิทยาศาสตร์ Cajanus canja (L) Millsp. ชื่อสามัญ

Pigeonpea อยู่ในวงศ์ Leguminosae มีชื่ออื่นๆ ว่า Kadios ถั่วมะแฮะ นิเวศวิทยาแหล่งกำเนิดมีอยู่เองในธรรมชาติ แต่พบว่าปลูก

มากในประเทศอินเดียและขยายพื้นที่ปลูก ไปยังทวีปอัฟริกาตะวันออกและแถบแคริบเบียนสามารถเจริญเติบโตข้ามปี ได้ 2 - 3

ปี สูง 1 - 5 เมตร รูปทรงผันแปรตามลักษณะของพันธุ์มีรากแก้วหยั่งลักในดิน ลักษณะใบเป็นใบรวมมีใบย่อย 3 ใบ รูปยาวรี

คล้ายหอกปลายแหลมขอบใบเรียบ มีขน ด้านบนสีเขียวเข้ม ส่วนด้านล่างของใบเป็นสีเงินดอกสีเหลืองหรือสีแดง ออกเป็นช่อ

ขนาดแตกต่างกันตามพันธุ์ยาวตั้งแต่ 3 - 10 เซนติเมตร ขนาดดอกยาว 2.8 - 2.9 เซนติเมตร ฝักมีลักษณะแบน เมื่อฝักอ่อนมีสี

เขียวลายแดงเมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาลดำ ยาว 5.5 - 10 เซนติเมตร กว้าง 0.6 - 0.9 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดกลมหรือรูปไข่มี

หลายสีจำนวน 3 -5 เมล็ด ลักษณะทางพืชไร่ ถั่วมะแฮะเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนกึ่งแห้งแล้ง ปริมาณฝน 500 - 2,000

มิลลิเมตรต่อปี ทนต่อสภาพแห้งแล้งและอุณหภูมิสูงได้ดีกว่าพืชชนิดอื่น ๆ สามารถทนแล้งได้ยาวนานถึง 6 เดือน การปรับเข้า

สภาพแวดล้อมได้กว้างมากขึ้นได้ระดับความสูง 0 -1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเลเจริญเติบโรได้ดีบนดินหลายชนิด แต่ดินร่วน

ที่มีการระบายน้ำจะได้ผลผลิตใบและเมล็ดสูงไม่ทนต่อสภาพน้ำแช่ขัง ความเป็นกรดเป็นด่างของดินระหว่าง 4.5 - 8 มีระบบราก

แก้วและรากแขนงจำนวนมากและหยั่งลึกสามารถดูธาตุฟอสฟอรัสได้ดี จึงทำให้เกิดการหมุนเวียน ธาตุฟอสฟอรัสจากดินชั้น

ล่างสู่ผิวดิน โดยทั่วไปถั่วมะแฮะมักปลูกในลักษณะพืชไร่ เพื่อเก็บเมล็ดมากกว่าจะใช้ประโยชน์อย่างอื่น ลำต้นและกิ่งใช้เป็น

ชื้อเพลิงปัจจุบัน วิธีปลูก การปลูกถั่วมะแฮะควรเตรียมดินอย่างดี แล้วปลูกถั่วมะแฮะโดยใช้เมล็ดโดยตรง ไม่มีความจำเป็นต้อง

คลุกเชื้อไรโซเบียม หรือแช่เมล็ดก่อนปลูกควรปลูกช่วงต้นฤดูฝน ขณะดินมีความชื้นพอเพียง (พฤษภาคม - มิถุนายน) การใช้

ประโยชน์ ใบของถึ่งมะแฮะจึงนำมาใช้เป็นปุ๋ยบำรุงดินได้เป็นอย่างดี จึงนิยมปลูกเป็นพืชแซม เช่น แซมกับธัญญพืช แซมกับถั่ว

ลิสง โดยใช้ถั่วลิสง 6 แถว แซมด้วย ถั่วมะแฮะ 1 แถว ใช้เป็นพืชร่มเงากับพืชยืนต้นในช่วงแรก ๆ 2 - 3 ปี เช่น ไม้ผล ชา กาแฟ

โกโก้ ในภาคเหนือใช้ถั่วมะแฮะปลูกร่วมกับกระถินในอัตราเมล็ด 1 : 1 แล้วนำไปโรยเป็นแถวขวางความลาดเท ระยะห่างของ

แถวตามค่าต่างระดับในแนวดิ่ง 1 - 3 เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน ซึ่งถั่วมะแฮะจะโตได้เร็วกว่ากระถินในระยะ 1 - 2 ปี

แรก หลังจากนั้นถั่วมะแฮะจะตายคงเหลือแต่แนวกระถินเป็นแนวถาวรต่อไป ถั่วมะแฮะสามารถใช้เป็นพืชอาหารสัตว์เพื่อเพิ่ม

โปรตีนในอาหารสัตว์ ลำต้นใช้เป็นฟืนเป็นแหล่งเชื้อเพลิงได้

ถั่วที่นิยมปลูกเพื่อปรับปรุงดินโดยเฉพาะมีหลายชนิด เช่น ถั่วพร้า ถั่วขอ ถั่วมะแฮะ ฯลฯ ถั่วเหล่านี้รับประทานได้แต่

ไม่เป็นที่นิยม ในความไม่นิยมนี้จึงเป็นที่น่าเสียดายที่เรามองข้ามถั่วมะแฮะแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน (คิดจากส่วนที่

บริโภค 100 กรัม เมล็ดสดมีโปรตีน 70% และ 19.2% ในเมล็ดแห้ง) มีกรดอมิโนจำเป็นเทียบเท่ากับถั่วเหลือง นอกจากนั้นยังมี

วิตามินบีสูง และยังอุดมด้วย แคลเซียม โปแตสเซียม ฟอสฟอรัส แม็กนีเซียม วิตามินเอ และไนอาซิน เป็นถั่วไขมันต่ำ เหมาะ

กับผู้ที่ลดความอ้วน ช่วยลดน้ำตาลและลดโคเลสเตอรอลในเลือด

ตารางเปรียบเทียบกรดอมิโนจำเป็นระหว่างถั่วมะแฮะกับถั่วเหลือง กรดอะมิโน (คิดเป็นกรัมต่อ 100 กรัมของโปรตีน)

ถั่วมะแฮะ ถั่วเหลือง

Cystine 3.4 1.2

Lysine 1.5 6.6

Histidine 3.8 2.5

Arginine 1.2 7.0

Aspartic acid 19.2 8.3

Threonine 2.2 3.9

Glutamic acid 6.4 18.5

Proline 5 5.4

Glycine 4.4 3.8

Alanine 3.6 4.5

Valine 9.8 5.8

Methionine 8.7 1.1

Isoleucine 7.6 5.8

Tyrosine 5 3.2

Phenylalanine 3.4 4.8

Leucine 7 7.6

ที่มา : James A. Duke. 1983. Handbook of Energy Crops. unpublished

ถั่วมะแฮะ Cajanus cajan (L.) Millsp. พืชในวงศ์ LEGUMINOSAE เป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 1.5-2 เมตร อายุ 2-3 ปี

ใบรวมมี 3 ใบย่อย รูปหอกขอบเรียบ ปลายแหลม มีขน ช่อดอกยาวประมาณ 10 เซนติเมตร มีหลายสายพันธุ์ ฝักอ่อนสีเขียวสาย

เมื่อฝักแก่เป็นสีแดงอมม่วง เมล็ดค่อนข้างกลม ฝักสดรสฝาด เป็นไม้เขตร้อนปลูกและนิยมรับประทานกันมากในประเทศอินเดีย

และขยายพื้นที่ปลูก ไปยังทวีปอัฟริกาตะวันออกและแถบแคริบเบียน รับประทานเมล็ดแห้ง ต้นและใบ รักษาเส้นเอ็นพิการและ

ใช้ขับผายลมลงเบื้องต่ำ ราก เป็นยาขับลมก้อนนิ่วที่เกิดจากไต ช่วยกระตุ้นให้ไตทำงาน

ชาวบ้านทั่วทุกภาคของไทยมักปลูกไว้ในสวนครัวตามบ้านต้นสองต้น หรือปลูกแซมในไร่นา และรักษาเมล็ดพันธุ์ด้วยการปลูก

ปีต่อปี เรียกชื่อต่างๆ กันไป ถั่วแฮ มะแฮะ ถั่วแระ ถั่วแม่ตาย ถั่วแรด มะแฮะต้น ถั่วแฮ่ ส่วนใหญ่กินเป็นผักสดจิ้มน้ำพริก ภาค

อีสานกินกับเมี่ยงข่า ปลาร้าสับและนิยมนำมาตำเหมือนส้มตำ ยังไม่นิยมรับประทานเมล็ดแห้งมากนัก

หากมีการส่งเสริมอย่างจริงจังถั่วมะแฮะมีศักยภาพในฐานะแหล่งโปรตีนที่ทดแทนถั่วเหลืองได้ อีกทั้งมีข้อดีคือมีไขมันใน

ปริมาณที่ต่ำกว่า สำหรับการแปรรูปเป็นเครื่องดื่มน้ำเต้าหู้ถั่วมะแฮะก็ไม่มีกลิ่นเต้าหู้อย่างถั่วเหลือง นอกจากนั้นยังสามารถนำมา

เพราะเป็นถั่วงอก ผลิตเป็นแป้งถั่วมะแฮะและทำวุ้นเส้นถั่วมะแฮะได้อีกด้วย

แต่อย่างไรก็ตามหากมองในแง่ส่งเสริมการผลิตยังมีข้อจำกัดอีกหลายอย่างที่ไม่สร้างแรงจูงใจด้านการตลาด เช่น ขนาดต้นที่

ใหญ่ อายุในการให้ผลผลิตช้าและให้ผลผลิตต่ำกว่าถั่วเหลืองซึ่งได้รับการปรับปรุงพันธุ์ให้อายุสั้นได้ผลผลิตจำนวนมาก แต่

หากมองในมิติของความมั่งคั่งทางอาหารแล้วถั่วมะแฮะเป็นของขวัญล้ำค่าที่ธรรมชาติมอบให้มนุษย์

ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันระหว่างคนที่ส่งเสริมการบริโภคถั่วชนิดต่างๆ อย่างหลากหลาย กินอาหารที่ปลอดภัยไม่ทำลายสิ่ง

แวดล้อม สุขภาพและเป็นธรรมต่อคนในสังคม เนื่องจากความนิยมที่ขาดความเข้าใจนำไปสู่การพยายามปรับเปลี่ยนระบบซึ่ง

ธรรมชาติได้จัดสรรไว้แล้ว อาจเกิดการดัดแปลงพันธุกรรมให้ถั่วมะแฮะให้ผลผลิตมากและใช้เวลาปลูกน้อย สามารถแข็งขันกับ

ถั่วอื่นๆ ในท้องตลาดได้ ซึ่งผลที่ตามมาก็คือการทำลายคุณสมบัติตามธรรมชาติของมันจนเรามองข้ามความสำคัญของถั่วชนิด

อื่นๆ อย่างที่เรามองข้ามถั่วมะแฮะและอาจนำไปสู่การผูกขาดเป็นเจ้าของโดยพ่อค้า นายทุนซึ่งเห็นช่องทางหาผลประโยชน์

ดังนั้นหากเราต้องการสร้างความยั่งยืน มั่งคั่งทางอาหารแล้วละก็ เราควรเรียนรู้ธรรมชาติของถั่วชนิดต่างๆ ว่าดีต่อร่างกาย

อย่างไร ดีต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร ที่ถูกต้องแล้วระบบนิเวศที่สมดุลย์ย่อมมีพื้นฐานมาจากชีวิตที่หลากหลายและมนุษย์ควรได้

รับประทานอาหารที่หลากหลายเพียงพอ เพื่อความแข็งแรงตามธรรมชาติมิใช่หรือ

ที่มา : วารสารเกษตรกรรมธรรมชาติ

ถั่วมะแฮะ ชื่อสามัญ Pigeon pea , Angola pea, Congo pea[2]

ถั่วแระ ชื่อวิทยาศาสตร์ Cajanus cajan (L.) Millsp. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cajanus indicus Spreng.) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว

(FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่วFABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)[2]

สมุนไพรถั่วมะแฮะ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ถั่วแรด (ชุมพร), มะแฮะ มะแฮะต้น ถั่วแระต้น (ภาคเหนือ), ถั่วแฮ (ภาคตะวันออกเฉียง

เหนือ), ถั่วแระ ถั่วแระผี ถั่วแม่ตาย (ภาคกลาง), พะหน่อเซะ พะหน่อซิ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), มะแฮะ (ไทลื้อ), ย่วนตูแฮะ (ปะ

หล่อง), เปล๊ะกะแลง (ขมุ), ถั่วแฮ เป็นต้น[1],[5]

หมายเหตุ : ต้นถั่วแระที่กล่าวถึงในบทความนี้ เป็นคนละชนิดกันกับถั่วแระที่ได้มาจากการเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองในระยะที่ฝักยังไม่

แก่หรือไม่อ่อนเกินไป แล้วนำมาต้มหรือนึ่งทั้งต้นและฝัก สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความเรื่อง ถั่วเหลือง

ลักษณะของถั่วมะแฮะ

ต้นถั่วมะแฮะ จัดเป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดย่อม อายุฤดูเดียวหรือหลายฤดู ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง สูงประมาณ 1-3.5

เมตร กิ่งแผ่ออกด้านข้างเป็นคู่ ผิวของลำต้นเกลี้ยงเป็นสีเขียวหม่น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีทั้งถั่วแระขาวและถั่วแระ

แดง พบขึ้นในที่โล่งแจ้งชายป่าเบญจพรรณ[1],[4]

ดอกถั่วมะแฮะ ออกดอกเป็นช่อกระจะคล้ายดอกโสน มีดอกย่อยประมาณ 8-14 ดอก โดยจะออกตามซอกใบ ลักษณะของดอก

เป็นรูปดอกถั่ว กลีบดอกเป็นสีเหลืองมีขอบสีน้ำตาลแดง ใบประดับมีขน กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นถ้วย ปลายแยกเป็นแฉก 4-5 แฉก[1],[4]

ผลถั่วมะแฮะ ลักษณะของผลเป็นฝักแบนยาวสีม่วงเข้มปนเขียว เป็นห้อง ๆ และมีขน ฝักหนึ่งจะแบ่งออกเป็นห้อง 3-4 ห้อง

ภายในมีเมล็ดลักษณะกลมหรือแบนเล็กน้อย ห้องละ 1 เมล็ด เมล็ดมีขนาดเท่ากับเมล็ดถั่วเหลือง สีของเมล็ดเป็นสีเหลือง ขาว และสีแดง[1],[4]

สรรพคุณของถั่วมแฮะ

เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง (เมล็ด)[2]

ทั้งฝักมีรสมันเฝื่อนเล็กน้อย มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกาย (ทั้งฝัก)[4]

ช่วยลดระดับคอเลสเตรอล ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ด้วยการใช้เมล็ดนำมาต้มรับประทานเป็นของกินเล่น (เมล็ด)[2]

รากและเมล็ดใช้ปรุงเป็นยากินรักษาไข้ ถอนพิษ (รากและเมล็ด)[1],[4]

ช่วยแก้อาการไอ (ใบ)[2],[4]

น้ำคั้นจากใบใช้ใส่แผลในปากหรือหู (ใบ)[4

ต้นและใบมีสรรพคุณเป็นยาขับลมลงเบื้องต่ำ (ต้นและใบ)[4

ต้น ราก และใบมีสรรพคุณเป็นยาขับผายลม (ต้น,ราก,ใบ)[2]

ใบใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย (ใบ)[2],[4]

ตำรายาไทยจะใช้รากปรุงยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ ปัสสาวะแดงขุ่น ปัสสาวะน้อย ช่วยละลายนิ่วในไต ส่วนรากและ

เมล็ดใช้ปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการปัสสาวะเหลืองหรือแดง (ราก,รากและเมล็ด)[1],[2],[4]

ตำรายาพื้นบ้านจะใช้ทั้งต้น 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำดื่มครั้งละ 1 ถ้วย วันละ 3 ครั้ง เป็นยารักษาอาการตกเลือด แก้ไข้ทับระดู (ทั้งต้น)[4]

รากและเมล็ดใช้ปรุงเป็นยากินแก้น้ำเหลืองเสีย รักษาน้ำเบาเหลืองและแดงดังสีขมิ้น หรือน้ำเบาออกน้อย (รากและเมล็ด)[1]

ใบใช้เป็นยารักษาบาดแผล (ใบ)[2]

ต้นและใบมีสรรพคุณเป็นยาแก้เส้นเอ็นพิการ (ความผิดปกติของระบบเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ มักมีอาการเจ็บต่าง ๆ ปวดเมื่อยเสียวไปทุกเส้น ตามตัว ใบหน้า ถึงศีรษะ) (ต้น,ใบ)[2],[4]

เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงไขข้อ บำรุงเส้นเอ็น ส่วนทั้งฝักมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกระดูก บำรุงเส้นเอ็น (เมล็ด,ทั้งฝัก)[2],[4]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของถั่วแฮะ

สารสำคัญที่พบ ได้แก่ pectin ซึ่งเป็นใยพืช ช่วยลดการดูดซึมน้ำตาลจากทางเดินอาหารเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้น้ำตาลในเลือดลดลง, acoradiene, allantoin, α-amyrin, arabinitol, benzoic acid, butyrospermol, caffeic acid, cajaflavanone, cajasoflavone, cajaminose, cajanin, cajanol, cajanone, cajanus cajan lectin, cajanus cajan phyyoalexin 3, campesterol, para-coumaric acid, cycloartanol, 24-methylene, cycloartenol, cyclobranol, daidzein, daucosterol, erremophilene, erythritol, euphol, ferulic acid, flavone, iso: 2-5-7, trihydroxy: 7-O-β-D-glucoside, formononetin, galactinol, genistein, gentisic acid, glucitol, glycerol, α-guaiene, β-guaiene, n-hentriacontane, α-himachalene, hydrocyanic acid, inositol,myo, laccerol, lanosterol, 24-dihydro, 24-methylene, longistylin A, longistylin C, lupeol, mannitol, naringenin-4-7-dimethyl ether, parkeol, pinostrobin, protocatechuic acid, simiarenol, β-sitosterol, stigmasterol, stilbene, tannin, taraxerol, threitol, tirucallol, uronic acid, L-valine, vanillic acid,vitexin, wighteone,iso, xylitol, xylos[2]

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่พบ ได้แก่ ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ลดคอเลสเตอรอล ลดไขมันในเลือด ต้านไวรัส

ทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ (เป็นภาวะซึ่งเกิดขึ้นจากการรับประทานอาหารไม่สมดุลกัน ทำให้เกิดความเป็นปกติทางโภชนาการต่าง ๆ) ยับยั้งการย่อยโปรตีน ยับยั้ง txpsin และ chymotrypsin[2],[3]

จาการทดสอบความเป็นพิษ พบว่า เมื่อฉีดสารสกัดจากเมล็ดถั่วแระต้นด้วยน้ำและแอลกอฮอล์ ในอัตราส่วน 1:1 เข้าช่องท้องของหนูถีบจักร หนูสามารถทนยาได้ถึง 1 กรัมต่อกิโลกรัม[2]

เมื่อปี ค.ศ.1970 ที่ประเทศอินเดีย ได้ทำการศึกษาผลในการลดไขมันของถั่วแระ โดยทำการทดลองในหนูทดลองที่ให้อาหาร

ไขมันสูงจนเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง ใช้ถั่วนิดต่าง ๆ ให้หนูทดลองกิน ได้แก่ ถั่วแระ ถั่วดำ ถั่วแดง และถั่วเขียว นาน 3 เดือน

ผลการทดลองพบว่าถั่วทั้ง 4 ชนิด มีผลทำให้ไขมันในเลือด, ระดับ phospholipid ในตับ และระดับน้ำตาลในเลือดลดลง[2

เมื่อปี ค.ศ.1973 ที่ประเทศอินเดีย ได้ทำการทดลองใช้พืชสมุนไพรหลายชนิดที่ออกฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ผลการ

ทดลองพบว่าสารสกัดจาเมล็ดถั่วแระ สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองได้[3]

เมื่อปี ค.ศ.2008 ที่ประเทศจีน ได้ทำการศึกษาทดลองผลในการลดไขมันของถั่วแระต้น โดยพบว่าในถั่วแระต้นมีสาร stibenes

โดยใช้ทำการศึกษาดลองในหนู (Kunming mice) ใช้ระยะเวลาการทดลอง 4 สัปดาห์ แบ่งกลุ่มการทดลองออกเป็น 4 กลุ่ม

โดยกลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม, กลุ่มที่ 2 ให้สารสกัดถั่วแระต้น 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน, กลุ่มที่ 2 ให้สารสกัดถั่วแระต้น

100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ส่วนกลุ่มที่ 4 ให้สาร simvastatin ผลการทดลองพบว่าหนูกลุ่มที่ 2 มีระดับคอเลสเตอรอลลดลง 31.4% ไตรกลีเซอไรด์ลดลง 22.7% โดยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P < 0.01[2]

ประโยชน์ของถั่วมะแฮะต้น

นอกจากจะนำมาใช้ในทางยาแล้ว ยังสามารถนำฝักมาตากแห้งแกะเอาเมล็ดออกมาใช้ปรุงเป็นอาหาร หรือนำไปขายเป็นสินค้าได้อีกด้วย[1]

ชาวปะหล่อง ขมุ และกะเหรี่ยงเชียงใหม่ จะนำผลถั่วแระมารับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก[5]

ชาวปะหล่องถือว่ายอดอ่อนและดอกถั่วแระเป็นพืชศักดิ์สิทธิ์ ใช้ปะพรมน้ำมนต์หรือใช้ในพิธีปลูกเสาเอกของบ้าน[5]

ถั่วแระเป็นพืชที่สามารถนำมาใช้ในการเลี้ยงครั่งได้ดี (ทั่วไปแล้วจะใช้สะแกนา ปันแก่ พุทราป่า ลิ้นจี่ และไทร ในการเลี้ยงครั่ง)

เนื่องต้นถั่วแระสามารถเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนและกึ่งแห้งแล้ง ปลูกง่าย ทนแล้ง ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี

หลังจากปลูกแล้วจะให้ผลผลิตประมาณ 6-9 เดือน อีกทั้งเมล็ดถั่วแระยังให้โปรตีนสูง เจริญเติบโตแข่งกับพืชชนิดอื่นได้ดี และยังช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดินได้อีกด้วย[6]

นอกจากนี้ยังมีการปลูกถั่วแระเพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ ช่วยลดการพังทลายของหน้าดินจากน้ำฝน ซึ่งถั่วแระสามารถเจริญเติบโตได้ดีทั้งที่ราบและที่ลาดชัน[6]

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดถั่วมะแฮะ ต่อ 100 กรัม

พลังงาน 343 กิโลแคลอรี่

คาร์โบไฮเดรต 62.78 กรัม

ใยอาหาร 15 กรัม

ไขมัน 1.49 กรัม

โปรตีน 22.7 กรัม

วิตามินบี1 0.643 มิลลิกรัม (56%)

วิตามินบี2 0.187 มิลลิกรัม (16%)

วิตามินบี3 2.965 มิลลิกรัม (20%)

วิตามินบี5 1.266 มิลลิกรัม (25%)

วิตามินบี6 0.283 มิลลิกรัม (22%)

วิตามินบี9 456 ไมโครกรัม (114%)

วิตามินซี 0 มิลลิกรัม (0%)

วิตามินอี 0 มิลลิกรัม (0%)

วิตามินเค 0 ไมโครกรัม (0%)

แคลเซียม 130 มิลลิกรัม (13%)

ธาตุเหล็ก 5.23 มิลลิกรัม (40%)

แมกนีเซียม 183 มิลลิกรัม (52%)

แมงกานีส 1.791 มิลลิกรัม (85%)

ฟอสฟอรัส 367 มิลลิกรัม (52%)

โพแทสเซียม 1,392 มิลลิกรัม (30%)

โซเดียม 17 มิลลิกรัม (1%)

สังกะสี 2.76 มิลลิกรัม (29%)

% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

References

หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ถั่วแระต้น”. หน้า 331-332.

หนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “ถั่วแระต้น” หน้า 96-97.

หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “ถั่วแระต้น”. หน้า 85-86.

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ถั่วแฮ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [14 ธ.ค. 2014].

โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ถั่วแระ, ถั่วมะแฮะ”. อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [14 ธ.ค. 2014].

ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. “ต้นถั่วแระ ทางเลือกใหม่ในการเลี้ยงครั่ง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phtnet.org. [14 ธ.ค. 2014].

ภาพประกอบ : www.flickr.com (by Andre Benedito, SierraSunrise, Parchen, Bernadette Hawkins and Russell Reinhardt), www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/, pantip.com

ถั่วมะแฮะ พืชที่มีค่ามากกว่าบำรุงดิน

Written by แก้วตา ธัมอิน .

inShare

ถั่วมะแฮะหากพูดถึงประโยชน์ของพืชตระกูลถั่วทั้งหลายแล้วเราต่างรู้ดีว่าคือพืชปรับปรุงดินที่ทรงประสิทธิภาพ ในระบบเกษตร

ของบ้านเรามีการนำถั่วมาปลูกสลับกับพืชไร่อื่นๆ เพื่อบำรุงดินระหว่างรอบการผลิต เพราะพืชตระกูลถั่วมีความสามารถในการ

ตรึงไนโตรเจนเมื่อปลูกและไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดกระบวนการย่อยสลายจะค่อยๆ เติมไนโตรเจนซึ่งเป็นแร่ธาตุจำเป็นในการ

เจริญเติบโตของพืชคืนให้กับดินและขณะเดียวกันก็เพิ่มช่องว่างให้ดินไม่แน่นเกินไป

ถั่วที่นิยมปลูกเพื่อปรับปรุงดินโดยเฉพาะมีหลายชนิด เช่น ถั่วพร้า ถั่วขอ ถั่วมะแฮะ ฯลฯ ถั่วเหล่านี้รับประทานได้แต่ไม่เป็นที่

นิยม ในความไม่นิยมนี้จึงเป็นที่น่าเสียดายที่เรามองข้ามถั่วมะแฮะแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน (คิดจากส่วนที่บริโภค 100

กรัม เมล็ดสดมีโปรตีน 70% และ 19.2% ในเมล็ดแห้ง) มีกรดอมิโนจำเป็นเทียบเท่ากับถั่วเหลือง นอกจากนั้นยังมี วิตามินบีสูง

และยังอุดมด้วย แคลเซียม โปแตสเซียม ฟอสฟอรัส แม็กนีเซียม วิตามินเอ และไนอาซิน เป็นถั่วไขมันต่ำ เหมาะกับผู้ที่ลด

ความอ้วน ช่วยลดน้ำตาลและลดโคเลสเตอรอลในเลือด

ถั่วมะแฮะหลากหลายแบบ

ถั่วมะแฮะ Cajanus cajan (L.) Millsp. พืชในวงศ์ LEGUMINOSAE เป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 1.5-2 เมตร อายุ 2-3 ปี ใบรวมมี 3 ใบ

ย่อย รูปหอกขอบเรียบ ปลายแหลม มีขน ช่อดอกยาวประมาณ 10 เซนติเมตร มีหลายสายพันธุ์ ฝักอ่อนสีเขียวสายเมื่อฝักแก่

เป็นสีแดงอมม่วง เมล็ดค่อนข้างกลม ฝักสดรสฝาด เป็นไม้เขตร้อนปลูกและนิยมรับประทานกันมากในประเทศอินเดียและขยาย

พื้นที่ปลูก ไปยังทวีปอัฟริกาตะวันออกและแถบแคริบเบียน รับประทานเมล็ดแห้ง ต้นและใบ รักษาเส้นเอ็นพิการและใช้ขับ

ผายลมลงเบื้องต่ำ ราก เป็นยาขับลมก้อนนิ่วที่เกิดจากไต ช่วยกระตุ้นให้ไตทำงาน

ชาวบ้านทั่วทุกภาคของไทยมักปลูกไว้ในสวนครัวตามบ้านต้นสองต้น หรือปลูกแซมในไร่นา และรักษาเมล็ดพันธุ์ด้วยการปลูก

ปีต่อปี เรียกชื่อต่างๆ กันไป ถั่วแฮ มะแฮะ ถั่วแระ ถั่วแม่ตาย ถั่วแรด มะแฮะต้น ถั่วแฮ่ ส่วนใหญ่กินเป็นผักสดจิ้มน้ำพริก ภาค

อีสานกินกับเมี่ยงข่า ปลาร้าสับและนิยมนำมาตำเหมือนส้มตำ ยังไม่นิยมรับประทานเมล็ดแห้งมากนัก

ถั่วมะแฮะในฝักถั่วมะแฮะ

หากมีการส่งเสริมอย่างจริงจังถั่วมะแฮะมีศักยภาพในฐานะแหล่งโปรตีนที่ทดแทนถั่วเหลืองได้ อีกทั้งมีข้อดีคือมีไขมันใน

ปริมาณที่ต่ำกว่า สำหรับการแปรรูปเป็นเครื่องดื่มน้ำเต้าหู้ถั่วมะแฮะก็ไม่มีกลิ่นเต้าหู้อย่างถั่วเหลือง นอกจากนั้นยังสามารถนำมา

เพราะเป็นถั่วงอก ผลิตเป็นแป้งถั่วมะแฮะและทำวุ้นเส้นถั่วมะแฮะได้อีกด้วย

แต่อย่างไรก็ตามหากมองในแง่ส่งเสริมการผลิตยังมีข้อจำกัดอีกหลายอย่างที่ไม่สร้างแรงจูงใจด้านการตลาด เช่น ขนาดต้นที่

ใหญ่ อายุในการให้ผลผลิตช้าและให้ผลผลิตต่ำกว่าถั่วเหลืองซึ่งได้รับการปรับปรุงพันธุ์ให้อายุสั้นได้ผลผลิตจำนวนมาก แต่

หากมองในมิติของความมั่งคั่งทางอาหารแล้วถั่วมะแฮะเป็นของขวัญล้ำค่าที่ธรรมชาติมอบให้มนุษย์

ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันระหว่างคนที่ส่งเสริมการบริโภคถั่วชนิดต่างๆ อย่างหลากหลาย กินอาหารที่ปลอดภัยไม่ทำลายสิ่ง

แวดล้อม สุขภาพและเป็นธรรมต่อคนในสังคม เนื่องจากความนิยมที่ขาดความเข้าใจนำไปสู่การพยายามปรับเปลี่ยนระบบซึ่ง

ธรรมชาติได้จัดสรรไว้แล้ว อาจเกิดการดัดแปลงพันธุกรรมให้ถั่วมะแฮะให้ผลผลิตมากและใช้เวลาปลูกน้อย สามารถแข็งขันกับ

ถั่วอื่นๆ ในท้องตลาดได้ ซึ่งผลที่ตามมาก็คือการทำลายคุณสมบัติตามธรรมชาติของมันจนเรามองข้ามความสำคัญของถั่วชนิด

อื่นๆ อย่างที่เรามองข้ามถั่วมะแฮะและอาจนำไปสู่การผูกขาดเป็นเจ้าของโดยพ่อค้า นายทุนซึ่งเห็นช่องทางหาผลประโยชน์

ดังนั้นหากเราต้องการสร้างความยั่งยืน มั่งคั่งทางอาหารแล้วละก็ เราควรเรียนรู้ธรรมชาติของถั่วชนิดต่างๆ ว่าดีต่อร่างกาย

อย่างไร ดีต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร ที่ถูกต้องแล้วระบบนิเวศที่สมดุลย์ย่อมมีพื้นฐานมาจากชีวิตที่หลากหลายและมนุษย์ควรได้

รับประทานอาหารที่หลากหลายเพียงพอ

ที่มา : วารสารเกษตรกรรมธรรมชาติ

ข้อเสียของการปลูกถั่วมะแฮะ

การปรับปรุงบำรุงดินสำหรับพันธุ์ที่พบมากในประเทศไทยนิยมปลูกเป็นแถว ๆ ห่างกันประมาณแถวละ 6 เมตร พอต้นถั่วสูง 100-150 เซนติเมตร จึงจะตัดกิ่งใบให้สูงจากพื้นดินประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วนำไปคลุมดิน หรือ สับลงไปในดินเป็นปุ๋ยพืชสด

ประโยชน์ของการปลูกถั่วมะแฮะ มีดังนี้ ใช้ในการปรับปรุงบำรุงดินสำหรับพันธุ์ที่พบมากในประเทศไทยนิยมปลูกเป็นแถว ๆ ห่างกันประมาณแถวละ 6 เมตร พอต้นถั่วสูง 100-150 เซนติเมตร จึงจะตัดกิ่งใบให้สูงจากพื้นดินประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วนำไปคลุมดิน หรือ สับลงไปในดินเป็นปุ๋ยพืชสด จากการทดลองด้วยวิธีนี้หลาย ๆ ครั้ง ในพื้นที่ทางภาคเหนือ เช่นที่แปลงทดลองสาธิต อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าเพียงระยะเวลา 2-3 ปี สามารถเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดินได้เป็นจำนวนมาก และดินหนาขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย ใช้ฝักอ่อนรับประทานอาหาร เมล็ดอ่อนนำไปแปรรูปเป็นอาหาร เมล็ดอ่อนนำไปแปรรูปเป็นอาหารได้หลายชนิด ใบสดนำไปเลี้ยงสัตว์ให้โปรตีนประมาณ 10 % และในใบแห้งมีโปรตีนประมาณ 7 % ใช้ปลูกเป็นแถวแนวระดับ ป้องกันการชะ พังทลายของหน้าดินและควบคุมวัชพืช นิยมใช้กันมากในพื้นที่ลาดชัน โดยการปลูกถั่วมะแฮะเป็นแถวตามแนวระดับ โดยแต่ละแถวห่างกันประมาณแถวละ 6 เมตร

ข้อเสียในการปลูกถั่วมะแฮะ ข้อเสียในการปลูกถั่วมะแฮะมีบ้างเหมือนกัน คือ ถ้าขาดการดูแลรักษา ระมัดระวัง เช่นในหน้าแล้งใบของถั่วมะแฮะจะร่วงหล่นมาก ซึ่งจะเป็นเชื้อเพลิงได้อย่างดี อายก่อให้เกิดปัญหาไฟไหม้ขึ้นได้ และอีกอย่างคือถั่วมะแฮะบางสายพันธุ์จะมีแมลง เจาะฝังทะลายเมล็ด ดังนั้นควรเลือกสายพันธ์ที่มีความต้านทานโรคและแมลง หรือเมื่อฝักแก่ควรจะเก็บเกี่ยวเอาเมล็ดไว้ เพื่อนำไปปลูกในฤดูกาลต่อไป หรือนำไปใช้ประโยชน์อื่นต่อไป

ขั้นตอนการสั่งซื้อ

1. ยอดสั่งซื้อทั้งหมด มาที่ชื่อบัญชี ร้านเงินทองเพิ่มพูน โดย( กฤตย์ภิรมณ กนกพงษ์เสถียร ) ธนาคาร กสิกรไทย สาขาตลาด บ้านเพ เลขบัญชี 006-1-338-039

2. ส่งสลิป Line มาที่ ID :0871474831