เอกสารเหล่านี้จะอธิบายวิธีการสร้างโปรเจคท์ด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC ของบริษัท Microchip และเขียนโปรแกรมด้วยภาษาซีโดยใช้คอมไพเลอร์ (compiler) ของบริษัท Hi-tech ผู้เขียนมีความประสงค์ที่จะทำเอกสารเหล่านี้เพื่อให้เหมาะกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้อุปกรณ์ที่มีราคาไม่สูงมาก และสามารถหาซื้อได้ง่าย นำมาต่อเป็นวงจรเองบนบอร์ดทดลอง ซึ่งอาจจะทำให้มีความยุ่งยากบ้างในการหาซื้ออุปกรณ์ และการต่ออาจเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย แต่ว่าถ้าทำได้จะทำให้เข้าใจวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์ได้เป็นอย่างดี
ผู้ที่ต้องการศึกษาด้วย Tutorial นี้ ควรมีพื้นฐานการเขียนโปรแกรมภาษาซีมาก่อน แต่ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์มาก่อนก็ได้
สำหรับผู้ที่เริ่มต้น ผมแนะนำให้จัดหาอุปกรณ์ดังต่อไปนี้
PIC Programmer แนะนำให้ใช้รุ่น PX-17 ของบริษัท Innovative Experiment ราคา 1,990 บาท
Project board แนะนำให้ใช้บอร์ด Wish รุ่น WBU204-1 ราคา 612 บาท
Multimeter
DC Adaptor 6-12 โวลท์ หรือเครื่องจ่ายไฟกระแสตรง
คีมปลอกสายไฟ (ใช้ปลอกสายไฟเบอร์ AWG 24 ได้)
สำหรับผู้ที่เริ่มต้นเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ อาจจะยังไม่รู้ว่าจะไปหาซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ได้จากที่ไหน ผมขอแนะนำให้ซื้อที่ร้าน Electronics Source ซึ่งอยู่ที่บ้านหม้อ หรือสามารถสั่งซื้อจากเว็บไซท์ เพราะสินค้าหลายอย่างมีราคาถูกกว่าที่อื่นๆ ในบ้านหม้อ
MPLAB IDE เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมสำหรับไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC โดยมีคอมไพเลอร์สำหรับภาษา Assembly มาให้ แต่ถ้าต้องการเขียนโปแรกรมด้วยภาษาอื่นๆ (เช่นภาษาซี เบสิก) จะต้องหาคอมไพเลอร์มาติดตั้งกับ MPLAB IDE ภายหลัง(ส่วนมากจะไม่ฟรี) โปรแกรม MPLAB IDE สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีจากเว็บไซท์ของ Microchip
Hi-Tech PICC เป็นคอมไพเลอร์ของ Hi-tech ซึ่งต้องนำมาติดตั้งเพื่อใช้งานร่วมกับโปรแกรม MPLAB IDE แม้ว่าคอมไพเลอร์ PICC จะไม่ใช่โปรแกรมฟรี (ราคาประมาณ US$950) แต่ทางบริษัท Hi-Tech มีโปรแกรม Demo ให้ทดลองใช้ได้ฟรี 45 วัน โดยสามารถดาวน์โหลดได้จากหน้า Demos and Free Software ของเว็บไซท์ของบริษัท Hi-Tech
โปรแกรมเมอร์ หรือบางครั้งผมเรียกง่ายๆ ว่าโปรแกรมอัดชิพ (เพื่อจะได้ไม่สับสนกับตัวโปรแกรมเมอร์ที่เป็นฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในการอัดชิพ) ถ้าใช้ Programmer PX-17 ตามที่ผมแนะนำ ก็สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมอัดชิพ EPICWin หรือ melabs Programmers ซึ่งเป็นโปรแกรมทดลอง (beta) มาใช้ได้จากเว็บไซท์ของบริษัท microEngineering Labs ทั้งนี้โปรแกรม melabs จะเป็นโปรแกรมที่ใหม่กว่าดังนั้นจึงสามารถอัด PIC เบอร์ใหม่ๆ ได้มากกว่าโปรแกรม EPICWin
เมื่อมีอุปกรณ์พร้อมแล้วก็สามารถเริ่มศึกษาด้วยตัวเองได้โดยอ่าน tutorial ตามลำดับต่อไปนี้
โปรเจคท์ต่อไปนี้ใช้ PIC16F628
โปรเจคท์ต่อไปนี้ใช้ PIC16F88
หากมีข้อสงสัยต่างๆ หรือพบข้อผิดพลาดในเอกสาร ขอให้แจ้งให้ผู้เขียนทราบโดยเขียน comments บนเวบนี้ได้ ผู้เขียนต้องการจะรวบรวมข้อมูลเหล่านี้เพื่อใช้ในการพัฒนาเอกสารให้ดีขึ้นต่อไป
ขอขอบคุณพนา บุณยประสิทธิ์ (CO'13) ที่ช่วยในการเขียนและทดสอบโปรแกรม รวมทั้งการจัดทำเอกสาร tutorial เหล่านี้