การใช้ประโยชน์จากอาร์ทีเมีย

Post date: Aug 02, 2011 12:39:25 AM

การฟักไข่อาร์ทีเมียสามารถทำตามได้จากคลิป http://youtu.be/VILmNBMzXfc เมื่อเทียบกับการเพาะไรแดง http://youtu.be/gSTUPKVtnZE

การเพาะอาร์ทีเมียสามารถทำได้ดังนี้

  1. นำไข่อาร์ทีเมีย (ประมาณ 1-5 กรัม/น้ำ 1 ลิตร) ใส่ลงในถังเพาะฟัก ซึ่งได้เตรียมน้ำความเค็ม

    1. ที่เหมาะสมไว้ก่อนแล้ว ประมาณ 10-35 ส่วนในพัน(ppt) มีค่าความเป็นกรด เป็นด่าง อยู่ระหว่าง 7.5 – 9 ช่วงที่เหมาะสมที่สุดตั้ง 8.5 และอุณหภูมิของน้ำระหว่าง 20- 34 Cนอยู่กับสายพันธุ์ พร้อมทั้งเพิ่ม ฟองอากาศในน้ำตลอดเวลา โดยบริเซรออกซิเจนควรอยู่ในระดับอย่างน้อย 2 มิลลิกรัมต่อลิตร

  2. ใช้ระยะเวลาเพาะฟักประมาณ 15-48 ชั่วโมง ไข่จะฟักออกเป็นตัว(มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ

    1. คุณภาพไข่และสายพันธุ์)

  1. ถ้าจะนำไปให้เป็นอาหารของสัตว์น้ำต้องกำจัดเชื้อที่ไม่พึงประสงค์หรือพาราสิต ซึ่งอาจจะติดมากับไข่อาร์ทีเมียโดยการใส่ยาหรือสารเคมีในอัตราที่เหมาะสมนานประมาณ 3-12 ชั่วโมง (เช่น ฟอร์มาลีน 50-100 ซี.ซี.ต่อน้ำ 1 ตัน) ก่อนแยกเปลือกไข่ แต่ถ้าจะนำเอาไปเลี้ยงต่อเมื่ออาร์ทีเมียฟักเป็นตัวแล้วประมาณ 24-36 ชั่วโมง ค่อย ๆ ทยอยใส่น้ำเกลือหรือน้ำเกลือเข้มข้นลงในถังเพาะฟัก เพื่อเพิ่มความเค็มของน้ำในถังเพาะฟักให้มีความเค็มสูงเท่าความเค็มของน้ำในบ่อดินที่จะนำไปปล่อยลงเลี้ยง ซึ่งใช้ระยะเวลาในการปรับความเค็มให้สูงขึ้นประมาณ 12 ชั่วโมง

    1. โดยปรับความเค็มให้สูงขึ้นชั่วโมงละ 5-10 ส่วนในพัน(ppt)

    2. แยกเปลือกไข่ทิ้ง มีด้วยกัน 3 วิธี ดังนี้

โดยการฟอกหรือละลายเปลือกไข่ออกก่อนที่จะนำไปเพาะฟัก วิธีการฟอกไข่อาร์ทีเมีย http://www.bettanetwork.com/forum/viewthread.php?tid=5481&extra=page%3D3

โดยการใช้ความเค็ม หยุดการเพิ่มฟองอากาศในถังเพาะฟักสักครู่ประมาณ 1-3 นาที เปลือกไข่จะลอยขึ้นที่ผิวน้ำ(ไข่อาร์ทีเมียจะลอยได้ดียิ่งขึ้นในน้ำที่มีความเค็มสูงมากขึ้น) ตัวอ่อนก็ยังคงว่ายอยู่ในน้ำ

โดยการใช้แสงล่อ เพราะตัวอ่อนอาร์ทีเมียที่เพิ่งฟัก เป็นสัตว์ชอบแสง การแยกตัวอ่อนจากถังฟักจึงกระทำได้โดยหยุดการให้อากาศแล้วปิดฝาถังด้วยวัตถุทึบแสง ตัวอ่อนของอาร์ทีเมียจะมารวมกันอยู่ทีก้นถังเร็วขึ้น อ้างอิงจากhttp://www.fisheries.go.th/Dof_thai/knownledge/Aquacultures/Artimia/Artimia_index.htm

การเพาะฟักไข่อาร์ทีเมียนั้นไม่ยุ่งยาก แต่จำเป็นต้องหาอุปกรณ์เพื่อให้สะดวกต่อการเพาะฟักและเก็บเกี่ยวผลผลิตในแต่ละครั้ง ขั้นตอนที่ 1 ควรหาอุปกรณ์ในการเพาะฟักได้แก่ ขวดน้ำพลาสติกที่ใช้แล้วขนาด 1500 ml มาหนึ่งใบ ตัดก้นขวดด้วยคัตเตอร์คม ๆ ให้ขาดออก นำเทปพันสายไฟสีดำมาพันรอบขวดให้สนิทจนเป็นสีดำเกือบทั้งขวดเหลือไว้แต่เพียงคอขวดประมาณ 1.5 นิ้ว เจาะรูขอบก้นขวดสักสามรูไว้ร้อยเชือกหรือลวดแขวนกระถางต้นไม้เพื่อแขวนขวดน้ำขณะเพาะฟัก ถ้าจะให้ดีควรเจาะฝาขวดโดยใช้สว่านไฟฟ้าขนาดดอกสว่าน เพื่อใส่ที่ปรับแรงดันลมท่ออ๊อกซิเจน (มีสีเขียวมีขายตามร้านขายอุปกรณ์ตู้ปลาทั่วไป) ต่อกับสายยางออกซิเจน นำขวดที่ทำเสร็จไปแขวนไว้ในสถานที่ที่จะทำการเพาะฟัก ขั้นตอนที่ 2 การเตรียมน้ำสำหรับเพาะฟัก นำน้ำประปาที่กักไว้มา 1000 ml หรือ 1 ลิตร เติมเกลือทะเลไม่ว่าจะเป็นเกลือเม็ดหรือเกลือป่นก็ได้ อัตราส่วน เกลือ 300 กรัม (3 ขีด):น้ำ 1 ลิตร คนให้ละลายเข้ากัน นำไปเติมใส่ขวดที่เตรียมไว้ เปิดอ๊อกซิเจนเป่าลงไปในน้ำแรง ๆ ทิ้งไว้สัก 15 นาทีให้น้ำเกลือที่ได้เข้ากันดี ขั้นตอนที่ 3 เติมไข่อาร์ทีเมียที่ได้เตรียมไว้ในอัตราส่วน 2-5 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร (ทั้งนี้ถ้าจะใช้น้อยหรือมากขึ้นอยู่กับความจำเป็นที่จะใช้แต่อัตราส่วนของเกลือและน้ำต้องเป็นดังนี้) เปิดอ๊อกซิเจนทิ้งไว้ตลอดเวลา ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 24-48 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของอากาศด้วย ไข่อาร์ทีเมียก็จะฟักเป็นตัวนำไปใช้เลี้ยงลูกปลาได้ อาร์ทีเมียที่เพาะฟักออกมาจะมีขนาดเล็กมาก ใช้เลี้ยงลูกปลาได้และมีขนาดเท่า ๆ กันด้วย http://www.khonrakpla.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=308664&Ntype=2

เนื้อหาภาษาอังกฤษดูได้ที่ http://www.fao.org/DOCREP/003/W3732E/w3732e0n.htm