AquariumPBRU

การเรียน 4 สัปดาห์ที่ผ่านมาของวิชา การเพาะพันธุ์ปลาสวยงามและพรรณไม้น้ำ เป็นการเรียนเกี่ยวกับ

สถานการณ์การตลาดและความสัมพันธ์ขององค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการเพาะเลี้ยงปลาสวยงาม จากการส่งออกปลาสวยงามและพรรณไม้น้ำนับเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูงอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งก่อให้เกิดการดำเนินงานเป็นธุรกิจ โดยมีมูลค่าหลายพันล้านบาทในแต่ละปี ปัจจุบันนี้ประเภทสินค้าส่งออก นอกจากปลาสวยงามแล้ว ยังมีพรรณไม้น้ำ อาหารปลา เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์ ตู้ปลา และเครื่องประดับตกแต่งตู้ปลา เป็นต้น จะเห็นได้ว่า ประเทศไทย มีศักยภาพสูงในการส่งออกสินค้าดังกล่าว เนื่องจากมีปัจจัยเอื้ออำนวยหลายอย่าง อาทิ สภาพ ภูมิอากาศ คุณภาพน้ำ แหล่งอาหาร แรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกร ผู้เพาะเลี้ยง และผู้ส่งออก ปลาสวยงามมีความสามารถ ซึ่งมีส่วนสร้างเสริมให้ธุรกิจ การส่งออกปลาสวยงาม พรรณไม้น้ำ และอื่นๆ ได้พัฒนาล้ำหน้ามีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลสูงสุด ปี 2545 ไทยเป็นอันดับที่ 3 ในธุรกิจส่งออกปลาสวยงาม การส่งออกปลาสวยงามในต่างประเทศ ส่งออกทางอากาศเป็นส่วนใหญ่ ประเทศที่ส่งออกปลาสวยงามมากที่สุด คือ สิงคโปร์ รองลงมาคือ มาเลเซีย และไทย ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีพื้นที่แผ่นดินกว้าง เกษตรกรมีความสามารถมาก สิ่งที่ทำให้ไทย เป็นรองสิงค์โปร์ และมาเลเซีย ที่เห็นชัด ก็ในด้านการขนส่งและขาดความรู้ ความสามารถทางด้านตลาด การค้าระหว่างประเทศสิ่งที่ปรากฏชัด ก็คือ 2-3 ปีมานี้ ประเทศไทยแซงสิงค์โปร์มาแล้วแต่โดยจำนวนรวม ยังเป็นรองในตลาดยุโรป ขณะนี้ปลาสวยงามส่งเข้ายุโรปนั้น สิงค์โปร์ครองตลาดอยู่ 80% ไทย 20% สาเหตุหลักคือ ค่าขนส่งราคาถูกกว่าไทย 25% ค่าระวางจากสิงค์โปร์ไปยุโรป 1 กล่อง ประมาณ 35-40 เหรียญ สหรัฐ แต่สำหรับไทยไปยุโรป 48-55 เหรียญสหรัฐ ผลต่างจึงมีผลกระทบ ต่อราคาและต้นทุนเป็นอย่างมาก

สถานการณ์ตลาดปลาสวยงาม ปลาสวยงามเป็นหนึ่งในสินค้าเกษตรที่ยังสามารถขยายตลาดส่งออก เนื่องจากความต้องการในตลาดโลกยังคงมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ไทยมีปัจจัยพื้นฐานในเรื่องความพร้อมทางศักยภาพการเลี้ยงและการพัฒนาสายพันธุ์ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญผลักดันให้ไทยก้าวขึ้นไปอยู่ในระดับประเทศผู้ส่งออกปลาสวยงามที่สำคัญของโลกได้ในอนาคต ปัจจุบันมีหลายประเทศที่มีการสั่งซื้อปลาสวยงามจากประเทศไทย ซึ่งจากเดิมสิงคโปร์เป็นประเทศที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ปัจจุบันปลาสวยงามของไทยได้รับการยอมรับมากขึ้นทั้งในด้านความหลากหลายของสายพันธุ์ ความสวยงาม ราคาไม่แพงเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง และมีการพัฒนามาตรฐานการเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งการควบคุมคุณภาพและการกักกันโรคของปลาสวยงามในการส่งออกให้เป็นที่ยอมรับมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันการแข่งขันการส่งออกปลาสวยงามในตลาดโลกมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ทำให้สิงคโปร์ต้องเร่งพัฒนาคุณภาพเพื่อรักษาตำแหน่งประเทศผู้ส่งออกปลาสวยงามมากที่สุดในโลก โดยคู่แข่งที่กำลังเป็นที่จับตามองคือ มาเลเซียและเวียดนามต่างพัฒนาการตลาดปลาสวยงาม โดยมีเป้าหมายในการเจาะขยายตลาดส่งออก และเป็นศูนย์กลางการผลิตปลาสวยงามที่มีคุณภาพ การค้าปลาสวยงามในตลาดโลก ผลผลิตร้อยละ 50 มาจากตลาดทางเอเชีย โดยสิงคโปร์เป็นผู้นำอันดับหนึ่งในการส่งออกปลาสวยงามของโลกโดยมีส่วนแบ่งในตลาดการค้าปลาสวยงามร้อยละ 21.5 รองลงมาคือมาเลเซียร้อยละ 8.9 สาธารณรัฐเช็กร้อยละ 7.8 สเปนร้อยละ 7.0 ญี่ปุ่นร้อยละ 6.7 และอินโดนีเซียร้อยละ 5.7 ส่วนไทยนั้นอยู่ในอันดับที่ 7 มีส่วนแบ่งในตลาดโลกร้อยละ5.0

ที่มา:พลพจน์ และคณะ, 2552. http://www.fisheries.go.th/aquaorna/web2/images/download/fish%20market.doc

เอกสารอ่านประกอบเพิ่มเติม บทความเกี่ยวกับปลาเสือตอ

1.http://www.lovefishclub.com/?name=species&file=read&id=4

2.http://www.fisheries.go.th/technical_group/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%94/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%95%E0%B8%AD.pdf

บทปฏิบัติการที่ 2 แบ่งกลุ่มๆละ 4 คน เพื่อเลี้ยงปลาร่วมกัน 3 ชนิด โดยใช้รายงานบันทึกผลการติดตามเจริญเติบโต ที่ให้มาด้านล่าง

บทที่ 2 การเลี้ยงปลาสวยงาม วิชา กพอ.ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 https://www.canva.com/design/DAFCa_aimQQ/_N0InCE7qn5V4JEUI5LMpQ/view?utm_content=DAFCa_aimQQ&utm_campaign=designshare&utm_medium=link2&utm_source=sharebutton