ประวัติโรงเรียนราชปิโยรสา ยุพราชานุสรณ์

โรงเรียนราชปิโยรสา ยุพราชานุสรณ์ เดิมชื่อ โรงเรียนริม-ป่าคาประชานุเคราะห์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เดิมเปิดทำการสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 เป็นโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อปีพ.ศ.2503  โดยอาศัยสถานที่ เปิดทำการสอนชั่วคราว ณ.หอประชุมโรงเรียนบ้านท่าวังผาประชารัฐวิทยาคาร มีครูทำการสอน 2 คน  มีนายนิสิต คำยอด เป็นครูใหญ่คนแรก

        ต่อมาได้เริ่มดำเนินการสร้างอาคารใหม่คือ อาคาร1 (นิลกาฬ) ในบริเวณของทางราชการ ซึ่งมีเนื้อที่ 13 ไร่ 3 งาน 42 ตารางวา การสร้างอาคารเรียนครั้งนี้ ไม่ได้ใช้งบงบประมาณของราชการแต่อย่างใดโดยได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย เช่น คณะครูกลุ่มโรงเรียน ตำบลริม (ริมและผาตอ ขณะนั้น) และตำบลป่าคา ข้าราชการ พ่อค้า กำนัน ผู้ใหญ่บ้านของสองตำบลดังกล่าว โดยได้รับบริจาค เป็นเงินทั้งสิ้น 66,991.75 บาท (หกหมื่นหกพันเก้าร้อยเก้าสิบเอ็ดบาทเจ็ดสิบห้าสตางค์) การก่อสร้างได้หยุดชะงักไปชั่วคราว เพราะไม่มีเงินดำเนินการต่อและขาดอุปกรณ์บางอย่าง จนกระทั่ง พ.ศ.2506 ได้รับงบประมาณจากกระทรวงศึกษาธิการเป็นจำนวนเงิน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) จึงได้ดำเนินการก่อสร้างต่อเสร็จเรียบร้อยเป็นอาคารเรียนสองชั้น ขนาด 12×40 เมตร จำนวน 8 ห้องเรียน มีการทำพิธีเปิดป้ายชื่อโรงเรียน “โรงเรียนริม–ป่าคาประชานุเคราะห์” เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2508 มีนายเสรี ทองใบใหญ่ ตำแหน่งปลัดอำเภอเป็นประธานในพิธี นายนิสิต คำยอด เป็นครูใหญ่

        ปี พ.ศ. 2509 ได้รับงบประมาณจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เป็นจำนวนเงิน180,000 บาท (หนึ่งแสนแปดหมื่นบาทถ้วน) ก่อสร้างอาคารแบบ ป.1 ข ใต้ถุนสูง เพิ่มอีกหนึ่งหลัง คือ อาคารบุษราคัม มีขนาด 9×48 เมตร จำนวน 6 ห้องเรียน จนกระทั่งถึง พ.ศ.2519 ได้รับงบประมาณต่อเติมชั้นล่างอีก 4 ห้องเรียน เป็นจำนวนเงิน 120,000 บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นบาท) และในวันที่ ๓๐ กันยายน 2525 ตามคำสั่งที่ 411/2525 ได้มีคำสั่งเปลี่ยนแปลง สับเปลี่ยนโยกย้ายผู้บริหารโรงเรียนคือนายนิสิต คำยอด ครูใหญ่โรงเรียนริม- ป่าคาประชานุเคราะห์ ไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านวังว้าให้นายสมนึก เมธะพันธุ์ ครูใหญ่โรงเรียนบ้านปูคา มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนริม–ป่าคาประชานุเคราะห์ ในปีเดียวกันได้มีการปรับปรุงซ่อมแซมพัฒนางานด้านต่างๆ เช่น รั้วโรงเรียน เสาธง ประรำพิธี เรือนเพาะชำวันที่ 24 สิงหาคม 2528 ได้รับงบประมาณซ่อมแซมอาคารเรียนนิลกาฬ เป็นจำนวนเงิน 37,000 บาท(สามหมื่นเจ็ดพันบาทถ้วน) ปี พ.ศ.2530 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารอเนกประสงค์จำนวน 200,000 บาท(สองแสนบาทถ้วน) ปี พ.ศ.2531 ได้รับบริจาคจากคณะครู ภารโรง ประชาชน หมู่บ้านอาฮาม- สบยาวและเงินบำรุงท้องถิ่น (ส.ส.) สร้างถนนเข้าสู่โรงเรียนทางด้านทิศใต้ จำนวน 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน) ปี พ.ศ.2537 ได้รับงบประมาณซ่อมแซมบ้านพักหลังที่ 2 จำนวน 23,000 บาท (สองหมื่นสามพันบาทถ้วน) ปี พ.ศ.2538 ได้รับบริจาคในวันแม่แห่งชาติ ซื้อเก้าอี้เหล็ก 50 ตัว จำนวน 10,000 บาท(หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) และได้รับบริจาคจากคณะครู ภารโรง และคณะผู้ปกครองสร้างประตูรั้วโรงเรียน จำนวน 9,000 บาท(เก้าพันบาทถ้วน) ปี พ.ศ.253๘ ได้รับบริจาคจากนักเรียนศิษย์เก่า ซื้อเครื่องกรองน้ำและถังน้ำเย็นสำหรับดื่ม จำนวน 12,500 บาท (หนึ่งหมื่นสองพันห้าร้อยบาทถ้วน) ได้รับบริจาค จากคณะครู ภารโรงและผู้ปกครอง สร้างโต๊ะ- ม้านั่ง สำหรับรับประทานอาหาร จำนวน 5 ชุด เป็นเงิน 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน)

        ปี พ.ศ. 2540 ได้รับบริจาคจากคณะครู ภารโรงและผู้ปกครอง ซื้อม้าหินอ่อนจำนวน 4 ชุดเป็นเงิน 3,200 บาท (สามพันสองร้อยบาทถ้วน) ได้รับบริจาคจากนักเรียนศิษย์เก่า ปีการศึกษา 2539ซื้อตู้หนังสือไว้ห้องสมุด จำนวน 2,000 บาท (สองพันบาทถ้วน) ได้รับบริจาคจากสหกรณ์โรงเรียน ซื้อเครื่องขยายเสียง จำนวน 7,000 บาท(เจ็ดพันบาทถ้วน) เงินบริจาคจากผ้าป่าบ้านสบยาว - อาฮาม ซ่อมแซมอาคารเรียนชั้นล่างของอาคารเรียนบุษราคัม จำนวน 15,000 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน) ผู้ปกครองบริจาคเงิน บุผนังห้องวิทยาศาสตร์ จำนวน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ได้รับงบประมาณปรับปรุงโรงเรียนให้เป็นปัจจุบัน จำนวน 90,631 บาท (เก้าหมื่นหกร้อยสามสิบเอ็ดบาทถ้วน) ปรับปรุงห้องปฏิบัติการทางภาษา จำนวน 45,000 บาท (สี่หมื่นห้าพันบาทถ้วน) ปรับปรุงห้องวิทยาศาสตร์ จำนวน 40,000 บาท(สี่หมื่นบาทถ้วน) ปรับปรุงห้องคอมพิวเตอร์ จำนวน 45,000 บาท (สี่หมื่นห้าพันบาทถ้วน)

        ปี พ.ศ. 2541 ได้รับบริจาค จากคณะครู ศิษย์เก่า พ่อค้า และหน่วยงานต่างๆ เพื่อจัดทำป้ายโรงเรียน เป็นจำนวนเงิน 58,700 บาท (ห้าหมื่นแปดพันเจ็ดร้อยบาทถ้วน) ได้รับงบประมาณซ่อมแซมห้องเรียน จำนวน 15,000 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน) ได้รับงบประมาณซ่อมแซมหลังคาอาคารนิลกาฬ จำนวนเงิน 41,000 บาท (สี่หมื่นหนึ่งพันบาทถ้วน)  คณะนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ร่วมกับกิจกรรมสหกรณ์โรงเรียน บริจาคเงินจัดซื้อครุภัณฑ์มอบให้โรงเรียน เป็นเงินจำนวน 8,000 บาท (แปดพันบาทถ้วน)  

        ปี พ.ศ. 2542 เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 อนุบาล 2 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 247 คน นักเรียนชาย 135 คน นักเรียนหญิง 112 คน ครูทำการสอนทั้งสิ้น 13 คนครูชาย 4 คน ครูหญิง 9 คน ระดับปริญญาตรี 11 คน ระดับอนุปริญญา 2 คน นักการภารโรง 1 คนนายสมนึก เมธะพันธุ์ ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ และในวันที่ 1 ตุลาคม 2542 นายสมนึก เมธะพันธุ์    ได้ลาออกจากราชการตามโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด โครงการที่ 1 โดยทางราชการได้แต่งตั้ง นางสุดา โนตา ข้าราชการครูดำรงตำแหน่งอาจารย์ 2 ระดับ 7 รักษาการแทนในตำแหน่ง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

        ต่อมาสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดน่าน ได้มีคำสั่งที่ 173/2543 เรื่องแต่งตั้งผู้รักษาการ ในตำแหน่งเป็นการชั่วคราว ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2543 โดยแต่งตั้งให้ นายเฉลิมศักดิ์ อุ่นอกพันธ์     ข้าราชการครูตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ ระดับ 7 ขั้นเงินเดือน 15,240 บาท โรงเรียนบ้านก๋ง  กลุ่มโรงเรียนยมจอมพระ สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอท่าวังผา มารักษาการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนริม-ป่าคาประชานุเคราะห์ และเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2543 นายเฉลิมศักดิ์ อุ่นอกพันธ์ ได้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนริม-ป่าคาประชานุเคราะห์

          ปี ๒๕๔๓ ได้รับงบประมาณก่อสร้างลานกีฬาอเนกประสงค์เป็นเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท(หนึ่งแสนบาทถ้วน)

          ปี ๒๕๔๔ ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ สปช.๑๐๕/๒๙ จำนวน ๑ หลัง ๔ ห้องเรียน เป็นเงิน ๑,๗๗๘,๐๐๐ บาท(หนึ่งล้านเจ็ดแสนเจ็ดหมื่นแปดพันบาทถ้วน) และได้ร่วมกับคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียนและประชาชนบ้านสบยาว บ้านอาฮาม ได้ทำการสร้างทางเชื่อมระหว่างอาคารบุษราคัม กับอาคารคุ้มเกล้า สิ้นงบก่อสร้างประมาณ ๕๐,๐๐๐ บาท(ห้าหมื่นบาทถ้วน) โดยไม่ใช้งบประมาณจากทางราชการแต่อย่างใด

          ปี ๒๕๔๕ ได้ทำการก่อสร้างห้องน้ำครูและห้องเก็บของใต้บันไดอาคารคุ้มเกล้าคิดเป็นเงินประมาณ ๑๕,๐๐๐ บาท(หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน) พร้อมทั้งจัดทำประตูเหล็กม้วนปิด-เปิดทางขึ้นบันไดอาคารคุ้มเกล้าสิ้นเงินประมาณ ๔,๐๐๐ บาท(สี่พันบาทถ้วน) ทำการปรับปรุงห้องผู้บริหารโดยปูกระเบื้องและกั้นห้องกระจกสำหรับใช้เป็นที่ทำงานของผู้บริหาร สิ้นเงินประมาณ ๒๕,๐๐๐ บาท(สองหมื่นห้าพันบาทถ้วน) ทำการปูกระเบื้องบริเวณม้านั่งยาวหน้าห้องปฏิบัติกาชั้นบนอาคารคุ้มเกล้าสิ้นเงินประมาณ ๕,๐๐๐ บาท(ห้าพันบาทถ้วน) และร่วมกับคณะครูบริจาคเงินซื้อพัดลมติดผนังห้องปฏิบัติการจำนวน ๕ เครื่องเป็นเงิน ๑๒,๐๐๐ บาท(หนึ่งหมื่นสองพันบาทถ้วน) โดยไม่ได้ใช้งบประมาณของทางราชการแต่อย่างใด และในปีเดียวกันได้ร่วมมือกับคณะครู ประชาชนบ้านสบยาวดำเนินการกำหนดจุดอนุรักษ์พันธุ์ปลาในลำน้ำน่านหลังบริเวณที่ว่าการอำเภอท่าวังผา หลังโรงเรียนริม-ป่าคาประชานุเคราะห์และหลังสำนักงานสาธารณสุขอำเภอท่าวังผา ความยาวประมาณ ๑,๐๐๐ เมตร

          ปี ๒๕๔๖ ได้ทำการปรับปรุงสภาพแวดล้อมโดยจัดทำสวนหย่อมหน้าอาคารคุ้มเกล้าจัดทำน้ำตก จัดทำม้านั่งยาวใต้อาคารคุ้มเกล้า จัดทำสวนหย่อมหน้าเรือนดนตรีไทย จัดทำสวนหย่อมหน้าป้ายโรงเรียน สิ้นเงินประมาณ ๓๐,๐๐๐ บาท(สามหมื่นบาทถ้วน) และได้พัฒนางานอื่นๆ ดังนี้

-          ปรับปรุงแหล่งเรียนรู้ดนตรีและนาฏศิลป์ไทย

-          สร้างแหล่งเรียนรู้การเพาะชำพันธุ์พืช

-          ปรับปรุงห้องประชุมสายชล

-          จัดสร้างที่จัดเก็บถ้วยจานในห้องครัว

-          จัดสร้างโต๊ะประชุมสำหรับใช้เป็นที่ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาและคณะครู

-          ๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๖ ได้รับบริจาคจากคณะศิษย์เก่าเป็นเงิน ๗,๕๐๐ บาท(เจ็ดพันห้าร้อยบาทถ้วน) เพื่อจัดซื้อเครื่องเสียงสำหรับใช้กับห้องประชุมนักเรียนและห้องดนตรีไทย และได้รับบริจาคจากผู้ปกครองนักเรียนเนื่องในวันแม่แห่งชาติเป็นเงินประมาณ ๖,๐๐๐ บาท(หกพันบาทถ้วน)

-          ๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๖ ได้ร่วมมือกับหน่วยจัดการต้นน้ำน้ำย่างดำเนินโครงการปลูกไม้ใหญ่วงศ์ไม้ยางสองฝั่งลำน้ำน่านโดยทำการปลูกไม้ตระกูลไม้ยางด้านหลังบริเวณโรงเรียนและในบริเวณโรงเรียน

-          ๑๐ กันยายน ๒๕๔๖ ได้รับการติดตั้งเครื่องรับสัญญาณอินเตอร์เน็ตจากกระทรวงศึกษาธิการเพื่อใช้ในเรื่องของ IT และ E-Learning

-          ร่วมมือกับคณะครูดำเนินโครงการโรงเรียนคุณภาพ

-          จัดงานริม-ป่าคาบอลล์ เดือนมีนาคม ๒๕๔๗

          ในปีการศึกษา ๒๕๔๖ เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ๑ – ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีนักเรียนจำนวน ๑๖๕ คน ครูทำการสอน ๑๒ คน ในวันที่ ๑ เมษายน ครูเข้าร่วมโครงการ ๒ คน คืออาจารย์จันทรา ผาแก้ว

          ปี ๒๕๔๗ ดำเนินการพัฒนาโรงเรียน ดังนี้

-          จัดทำเวทีการแสดงของนักเรียนบริเวณใต้ถุนอาคารคุ้มเกล้า

-          ได้รับจัดสรรงบจากเทศบาลตำบลท่าวังผาสร้างห้องน้ำจำนวน ๔ ห้องเป็นเงิน ๒๒๐,๐๐๐ บาท(สองแสนสองหมื่นบาทถ้วน)

-          ร่วมมือกับชาวบ้านรื้ออาคารเรียนหลังเก่า(อาคารนิลกาฬ)

-          สร้างอาคารโภชนาการ

-          เทศบาลตำบลท่าวังผาสร้างถนนบริเวณด้านหลังโรงเรียน(บ้านสบยาวหลังที่ว่าการอำเภอท่าวังผา)

-          เดือนตุลาคม ๒๕๔๗ ต่อเติมที่ล้างจานด้านหลังอาคารโภชนาการ

          วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๖ ทางราชการมีคำสั่งเลื่อนและแต่งตั้งให้นายเฉลิมศักดิ์ อุ่นอกพันธ์ อาจารย์ใหญ่ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยกาโรงเรียนระดับ ๘ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาตามคำสั่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาน่าน เขต ๒ ที่ ๒๖๐/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๔๗ โดยให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๖ เป็นต้นมา

          สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาน่าน เขต ๒ ได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้นายเฉลิมศักดิ์ อุ่นอกพันธ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนระดับ ๘ ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษาชำนาญการพิเศษ ระดับเงินเดือน อันดับ คศ.๓ ตั้งแต่วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๔๗ เป็นต้นมาตามคำสั่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาน่าน เขต ๒ ที่ ๙๒/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๔๘

          ปีการศึกษา ๒๕๔๘ ได้เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีนักเรียนชาย ๗๖ คน หญิง ๘๖ คน รวม ๑๖๒ คน

          ได้ดำเนินการพัฒนาสถานศึกษา ดังนี้       

๑.      จัดเขตบริการสิ่งแวดล้อม จำนวน ๘ เขตประกอบด้วย

๑.๑ บุบผาผกามาศ

๑.๒ วิลาศผกากรอง

๑.๓ เรืองรองบุหงา

๑.๔ มาลาขจี

๑.๕ มาลีชวนชม

๑.๖ สวยสมบุษบง

๑.๗ กาหลงจำปี

๑.๘ สารภีมลิวัลย์

          ๒.  ปรับปรุงห้องเรียนให้เป็นศูนย์สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

          ๓.  เทศบาลตำบลท่าวังผาก่อสร้างอาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เป็นเงิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท(หนึ่งล้านบาทถ้วน)

          ๔.  ได้รับงบประมาณปี ๒๕๔๙ จากเทศบาลตำบลท่าวังผาตามโครงการทดลองนำร่องการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อจัดดำเนินโครงกาต่างๆ จำนวน ๑๒ กิจกรรมเป็นเงิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท(ห้าแสนบาทถ้วน)

          ๕.  จัดทำประตูและปรับปรุงบันไดขึ้นลง ๒ ข้างอาคารบุษราคัม เป็นเงิน ๗,๕๐๐ บาท(เจ็ดพันห้าร้อยบาทถ้วน)

          ๖.  ติดมุ้งลวดห้องอนุบาล ๓ ห้อง โดยได้รับความอนุเคราะห์จากเทศบาลตำบลท่าวังผา

          ๗.  ติดเพดานห้องเรียนชั้นล่างอาคารบุษราคัม ๒ ห้อง เป็นเงิน ๑๕,๐๐๐ บาท(หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน)

          ๘.  จัดสร้างสนามเปตองเป็นเงิน ๒,๕๐๐ บาท(สองพันห้าร้อยบาทถ้วน)

          ๙.  ได้รับงบประมาณถมสนาม ๓๐,๐๐๐ บาท(สามหมื่นบาทถ้วน)ปี ๒๕๔๙ ได้พัฒนาสถานศึกษา ดังนี้

๑.      จัดสร้างรั้วด้านหลังโรงเรียนความยาว ๑๕๐ เมตร

๒.      ปรับปรุงห้องเรียน ศูนย์กาเรียนรู้ภาษาไทย

๓.      ปรับปรุงห้องเรียน เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักเรียน (ห้องสมุด) โดยขอรับการสนับสนุนจากภาคเอกชน

๔.      ปรับปรุงสนามกีฬา โดย อบจ.น่าน เป็นเงิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท(สองล้านบาทถ้วน)

๕.      ก่อสร้างศูนย์เด็กปฐมวัยโดยเทศบาลตำบลท่าวังผา เป็นเงิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท(หนึ่งล้านบาทถ้วน)

๖.      ก่อสร้างสัญลักษณ์สามสถาบัน (เสาธง ซุ้มพระ ซุ้มในหลวง) โดยขอรับการสนับสนุนจากภาคเอกชน

๗.      ก่อสร้างถนนด้านทิศใต้ เพื่อให้นักเรียนและประชาชนใช้สัญจรไป-มาได้

๘.      ก่อสร้างถนนด้านหน้าอาคารคุ้มเกล้าขนาดกว้าง ๖ เมตร หนา ๑๕ เซนติเมตร ยาว ๑๓๕ เมตร

๙.      ประสานขอรับงบประมาณสนับสนุนจากเทศบาลตำบลท่าวังผา ปีงบประมาณ ๕๐ (๑ ต.ค.๔๙-๓๐ ก.ย.๕๐) โดยได้รับการสนับสนุนเป็นเงิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท(ห้าแสนบาทถ้วน)

๑๐.  ดำเนินการก่อสร้างร่องระบายน้ำยาว ๔๐ เมตร กว้าง ๐.๕๐ เมตร โดยได้รับงบประมาณ จากสพฐ.เป็นเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท(หนึ่งแสนบาทถ้วน)

๑๑.  ดำเนินการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กหลังอาคารคุ้มเกล้า กว้าง ๖ เมตร หนา ๑๐ เซนติเมตร ยาว ๑๓๐ เมตร

๑๒.  โครงการนำร่องห้องสมุดมีชีวิต สพท.น่าน เขต ๒ ได้รับงบประมาณ ๑๐,๐๐๐ บาท(หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ปี ๒๕๕๐ ได้ดำเนินการพัฒนาสถานศึกษา ดังนี้

๑.      จัดสร้างสวนหย่อมด้านหน้าอาคารศูนย์เด็กปฐมวัย

๒.      สร้างทางเชื่อมคอนกรีตเสริมเหล็กด้านอาคารโภชนา

๓.      สร้างทางเชื่อมคอนกรีตเสริมเหล็กด้านหน้าอาคารคุ้มเกล้า

๔.      สร้างมุขคุ้มเกล้าเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษามหาราช

๕.      สร้างเสาธงเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษามหาราช

๖.      สร้างห้องเกียรติยศเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษามหาราช

๗.      ห้องสมุดแกนนำ สพท.น่าน ๒ ได้รับงบประมาณ ๑๐,๐๐๐ บาท(หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)

          ปีการศึกษา ๒๕๕๑ ได้ดำเนินการพัฒนาสถานศึกษา ดังนี้

๑.      ปรับปรุงบันไดทางขึ้นอาคาร พื้นหน้าห้องและทางเชื่อมอาคารโดยการปูกระเบื้อง

๒.      ปูพื้นกระเบื้องห้องคอมพิวเตอร์

๓.      ปรับปรุงห้องปฏิบัติการทางภาษา

          ปี 2556 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 ได้พิจารณาคัดเลือกให้โรงเรียนริม-ป่าคาประชานุเคราะห์เข้าร่วมโครงการโรงเรียนดีประจำตำบล โดยเห็นว่ามีความเหมาะสมในทุกๆด้านและเป็นศูนย์กลางแห่งการพัฒนาเพื่อรองรับในการแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ข้างเคียงต่อไป

          ปี 2558 โรงเรียนได้เสนอโครงการพัฒนาโรงเรียนริม-ป่าคาประชานุเคราะห์สู่ประชาคมอาเซียน โดยขอรับงบประมาณดำเนินการเรื่องการดำเนินการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งได้รับงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 21,515,840 บาท (ยี่สิบเอ็ดล้านห้าแสนหนึ่งหมื่นห้าพันแปดร้อยสี่สิบบาทถ้วน) ดังนี้

1.อาคารเรียน แบบ สปช.2/28 (3 ชั้น) 18 ห้อง จำนวน 1 หลัง งบประมาณ 9,147,000 บาท

          2.อาคารโรงอาหาร หอประชุม แบบ 100/27 จำนวน 1 หลัง งบประมาณ 6,462,000 บาท

          3.อาคารโรงอาหาร ขนาดเล็ก 260 ที่นั่ง จำนวน 1 หลัง งบประมาณ 3,403,000 บาท

          4.ลานกีฬาเอนกประสงค์ จำนวน 1 สนาม งบประมาณ 135,000 บาท

          5.ถนน คสล. ปริมาณ 2,592 ตารางเมตร งบประมาณ 1,088,640 บาท

          6.รั้ว คสล. ชนิดฐานรากไม่มีเสาเข็ม ความยาว 157 เมตร งบประมาณ 329,700 บาท

          7.ค่าปรับปรุงบริเวณโรงเรียน งบประมาณ 950,500 บาท

          อนึ่ง จากการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนริม-ป่าคาประชานุเคราะห์ครั้งที่   /2558 เมื่อวันที่               มีความเห็นว่าเพื่อให้โรงเรียนได้รับพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นโรงเรียนที่สร้างโอกาสให้แก่นักเรียนในเขตบริการรวมถึงชุมชนใกล้เคียง และเพื่อเป็นศิริมงคลแก่คณะครู นักเรียน จึงมีมติเห็นชอบให้ทางโรงเรียนเสนอเรื่องผ่านสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตน้อมเกล้าฯถวายโรงเรียนริม-ป่าคาประชานุเคราะห์เข้าอยู่ในพระราชูปถัมภ์ พร้อมทั้งขอพระราชทานนามโรงเรียนอาคารเรียนแบบ สปช.2/28 และอาคารหอประชุมแบบ 100/27 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 64 พรรษา 28 กรกฎาคม 2559 กับขอพระราชทานพระราชานุญาตเชิญพระนามาภิไธยย่อ ม.ว.ก. พร้อมชื่อโรงเรียนเป็นตราสัญลักษณ์ของโรงเรียน

        บัดนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาจักรีสยามกุฎราชกุมาร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้ารับโรงเรียนริม-ป่าคาประชานุเคราะห์ไว้เป็นโรงเรียนในพระราชูปถัมภ์ พร้อมทั้งพระราชทานพระราชานุญาตนามที่ขอรับพระมหากรุณาธิคุณและพระราชทานนามต่างๆดังนี้

        ๑.ชื่อโรงเรียน “ราชปิโยรสา ยุพราชานุสรณ์” อ่านว่า ราด-ชะ-ปิ-โย-ระ-สา ยุบ-พะ-รา-ชา-นุ-สอน  ความหมาย โรงเรียน ซึ่งเป็นพระราชอนุสรณ์ พระราชทาน พระราชานุเคราะห์ในสมเด็จพระปิโยรสยุพราชา พระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

        

        ๒.ชื่ออาคารเรียน “วชิระปัญญา” อ่านว่า วะ-ชิ-ระ-ปัน-ยา

           ความหมาย อาคารเรียนที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชทานพรให้ก่อเกิด ผู้มีปัญญาประดุจเพชร

     

        ๓.ชื่ออาคารหอประชุม “วชิราประสิทธิ์” อ่านว่า วะ-ชิ-รา-ประ-สิต

           ความหมาย อาคารหอประชุมที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชทานให้เกิดประโยชน์ แก่มวลมหาชน ได้พัฒนาความรู้ ความชำนาญ จนเกิดความสำเร็จ

      

เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๙ ปรากฏตามหนังสือกองกิจการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ที่ พว ๐๐๐๕.๑/๒๑๒๙ ลงวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๙

        ต่อมา เมื่อวันที่ ๑๒ และ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๙ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต ๒ ได้แจ้งหนังสือให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต ๒ และผู้อำนวยการโรงเรียนริม-ป่าคาประชานุเคราะห์เข้ารับพระราชทานชื่อโรงเรียน ชื่ออาคารเรียน และชื่ออาคารหอประชุมต่อหน้าพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารในวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๙ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ กองกิจการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สำนักงานราชเลขานุการในพระองค์พระที่นั่งอัมพรสถาน กรุงเทพมหานคร

 

ปี 2562 - Jun 21, 2020 4:9:30 AM

ปี 2560 - Nov 24, 2016 7:40:57 AM