ยินดีต้อนรับ คณะกรรมการการประเมิน

ข้อมูลผู้ประเมิน

ส่วนที่ 1  ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ตารางการจัดการเรียนการสอน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565

ตารางการจัดการเรียนการสอน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566

1.  ภาระงาน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ก.ค.ศ. กำหนด 

1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 22 ชั่วโมง/สัปดาห์ ดังนี้

     1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 ชั่วโมง/สัปดาห์

     1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

     1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

                                รวมจำนวนชั่วโมง  33  ชั่วโมง/สัปดาห์


2.  ภาระงาน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ก.ค.ศ. กำหนด 

1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 21 ชั่วโมง/สัปดาห์ ดังนี้

     1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 ชั่วโมง/สัปดาห์

     1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

     1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

                                 รวมจำนวนชั่วโมง  33  ชั่วโมง/สัปดาห์

งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู

ส่วนที่ 2  ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์ การเรียนรู้ของผู้เรียน 

             ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งครู ระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คือ การปรับประยุกต์ การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการการจัดการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังในวิทยฐานะที่สูงกว่าได้) 


ประเด็นท้าทายรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้ Benius Board 

เรื่อง ส่วนประกอบของประโยคและแบบฝึกหัด เก่งเรื่องประโยค สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 

 

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

      สืบเนื่องการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาไทยในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 นี้ ครูผู้สอนได้จัดการเรียนการสอนในเรื่อง การอ่านและเขียนประโยค จากคำศัพท์พื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ส่งผลให้นักเรียนส่วนใหญ่ไม่สามารถแยกส่วนประกอบของประโยคได้ตามหลักภาษาดังนั้นครูผู้สอนจึงหาวิธีการแก้ไขปัญหาเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้การอ่านและเขียนประโยค จากคำศัพท์พื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตลอดจนสามารถแยกส่วนประกอบของประโยคได้ตามหลักภาษา

                สภาพปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้านภาษาไทย ยังพบปัญหาอย่างมากในการคิด วิเคราะห์ และการแก้ปัญหาโดยใช้การอ่านและการเขียนการแยกส่วนประกอบของประโยคได้ตามหลักภาษาเนื่องจากนักเรียนไม่เข้าใจถึงการแยกส่วนประกอบของประโยคซึ่งแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบเดิมยังไม่ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เท่าที่ควร เนื่องมาจากบริบทของสิ่งแวดล้อม การเข้าถึงสื่อ/เทคโนโลยีของผู้เรียนค่อนข้างไม่ครอบคลุม จึงส่งผลให้การจัดการเรียนรู้ต่อผู้เรียนยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ดังนั้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนที่ดีขึ้น ครูผู้สอนจึงใช้วิธีการประยุกต์จากเทคโนโลยีในการออกแบบ Benius Board เรื่อง ส่วนประกอบของประโยคและแบบฝึกหัด เก่งเรื่องประโยค เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบ Active Learning  โดยศึกษาหลักการออกแบบของ ADDIE Model โดยนำหลักการออกแบบของ ADDIE Model มาปรับประยุกต์ใช้ในการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการอ่านการเขียน Benius Board เรื่อง ส่วนประกอบของประโยค โดยมีลักษณะที่เร้าความสนใจของนักเรียน ท้าทายความสามารถ เข้าใจง่าย และสามารถฝึกแต่งประโยคและนำมาแยกส่วนประกอบของประโยคได้ด้วยตนเองอันจะส่งผลให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ทั้งนี้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นระดับชั้นที่ต้องให้ความสำคัญในรายวิชาภาษาไทย การสอนด้านภาษาไม่ว่าภาษาใดจะต้องเน้นการสอนทักษะเบื้องต้น คือ การฟัง พูด อ่าน และเขียน เพราะถือว่าทักษะทางภาษาดังกล่าวเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการดำรงชีวิต การจัดการเรียนการสอนจึงมุ่งฝึกฝนให้นักเรียนเกิดความคล่องแคล่วทั้ง 4 ด้าน เพื่อช่วยให้พัฒนาการทางภาษาของนักเรียนได้เพิ่มพูนขึ้นตามวัย และวุฒิภาวะโดยเฉพาะการอ่านภาษาไทยเป็นสิ่งสำคัญในการวางรากฐานการเรียนโดยทั่วไปการที่จะให้นักเรียนเกิดทักษะการอ่านและสามารถอ่านได้ถูกต้องคล่องแคล่วนั้นจำเป็นต้องอาศัยการฝึกฝนการอ่านสะกดคำและแจกลูกตั้งแต่พยัญชนะ สระ คำ และประโยค เพื่อที่นักเรียนสามารถอ่านหนังสือต่าง ๆ ได้ ตลอดจนนักเรียนสามารถทบทวนได้ด้วยตนเอง

     ดังนั้นครูผู้สอนจึงมองเห็นปัญหาต่าง ๆ ของนักเรียนได้ชัดเจน นักเรียนสามารถฝึกฝนได้เต็มที่นอกเหนือจากที่เรียนในเวลาเรียน ซึ่งทำให้ผู้เรียนเห็นความก้าวหน้าของตนเอง เพื่อให้กิจกรรมมีความหลากหลาย ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนฝึกฝนทักษะได้ทุกเวลาจากเทคโนโลยีซึ่งทำให้กิจกรรมน่าสนใจมากยิ่งขึ้น



2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

ครูผู้สอนได้ดำเนินการศึกษาจากการวิเคราะห์ผู้เรียน ศึกษาสถิติย้อนหลังของผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเขียน ศึกษาแนวทางปัญหาที่มีลักษณะใกล้เคียงกันจากห้องสมุด ข้อมูลฐานการวิจัย หรือข้อมูลฐานการวิจัย จากนั้นนำมาปฏิบัติเป็นแนวทางได้ดังนี้

       1) ศึกษาความต้องการ ความคาดหวัง คุณลักษณะ พฤติกรรมตัวบ่งชี้ และตัวชี้วัด ของหลักสูตรภาษาไทย ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านปวงคำ(ประชาอุทิศ)

       2) การวิเคราะห์ปัญหาการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้มีเป้าหมายสำคัญเพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะตามจุดหมายของ หลักสูตรซึ่งเป็นสภาพที่หลักสูตรคาดหวังให้เกิดขึ้น

       3) ศึกษาหลักการออกแบบของ ADDIE Model ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้ 1. การวิเคราะห์ (A : Analysis)  2. การออกแบบ (D : Design) 3. การพัฒนา (D : Development) 4. การทดลองใช้ (I : Implementation) 5. การประเมินผล (E : Evaluation)

       4) การศึกษาและเลือกนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้หลังจาการวิเคราะห์ปัญหาการเรียนรู้ในขั้นตอนที่ 2 จะทำให้ทราบปัญหาและสาเหตุของปัญหาที่ชัดเจนขึ้นขั้นตอนต่อไปจึงควรศึกษานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ให้หลากหลายจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

        5) การออกแบบนวัตกรรม เมื่อครูผู้สอนได้ศึกษานวัตกรรมและเลือกนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ได้เหมาะสมแล้วครูผู้สอนออกแบบนวัตกรรม ซึ่งเป็นการกำหนดขอบข่ายเนื้อสาระ องค์ประกอบรูปแบบของนวัตกรรมว่าควรมีลักษณะอย่างไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง มีกระบวนการ กิจกรรมใน การจัดการเรียนรู้เพื่อปัญหาการเรียนรู้อย่างไร

       6) การสร้างนวัตกรรม เป็นขั้นตอนที่ครูผู้สอนทำนวัตกรรมตามที่ออกแบบไว้ให้ครบถ้วนตามองค์ประกอบของนวัตกรรมที่กำหนดไว้

      7) การนำนวัตกรรมไปใช้กับนักเรียนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้ Benius Board เรื่อง ส่วนประกอบของประโยคและแบบฝึกหัด เก่งเรื่องประโยค สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1


3. ผลลัพธ์ที่คาดหวัง

3.1 เชิงปริมาณ

   1) ร้อยละ 70 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ที่เรียนด้วย Benius Board      เรื่อง ส่วนประกอบของประโยคและแบบฝึกหัด เก่งเรื่องประโยค กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1     มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

             2) ร้อยละ 80 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ Benius Board เรื่อง ส่วนประกอบของประโยคและแบบฝึกหัด เก่งเรื่องประโยคกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ครูจัดทำขึ้นในระดับมากขึ้นไป 


 3.2 เชิงคุณภาพ

               1) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 มีทักษะการอ่านและเขียนประโยค สามารถแยกส่วนประกอบของประโยคได้ดีขึ้น และสนำทักษะการอ่านและเขียนไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

             2) ครูได้นวัตกรรมที่ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียน Benius Board เรื่อง ส่วนประกอบของประโยคและแบบฝึกหัด เก่งเรื่องประโยค กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 

เอกสารแบบรายงานข้อตกลง PA

คลิปตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ วิชา ภาษาไทย

คลิปการทำแบบฝึกหัด

"ฝึกแต่งประโยคจากคำพื้นฐาน"

คลิปเฉลยการทำแบบฝึกหัด

"ฝึกแต่งประโยคจากคำพื้นฐาน"     

คลิปตัวอย่าง การ PLC การจัดการเรียนรู้ วิชา วิทยาการคำนวณ 

โดยใช้หลักการออกแบบของ ADDIE Model 

รางวัลผลงานที่ภาคภูมิใจ

รางวัลหรือผลการพัฒนาตนเอง