รายงานการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานสอน

แบบรายงานผลการปฏิบัติงานที่คาดหวังที่สอดคล้องกับข้อตกลงในการพัฒนางาน PA ปีงบประมาณ 2566.pdf

การบันทึกข้อตกลง PA

วPA แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน กานต์ชนก ไชยวารี.pdf

ส่วนที่ 1   ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

1.  ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ก.ค.ศ. กำหนด

1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน........21........ชั่วโมง/สัปดาห์ดังนี้

- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายวิชาวิทยาศาสตร์   รหัสวิชา ว 14101
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายวิชาวิทยาศาสตร์   รหัสวิชา ว 15101
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายวิชาวิทยาศาสตร์   รหัสวิชา ว 16101
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายวิชาวิทยาศาสตร์และวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายวิชาวิทยาศาสตร์และวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายวิชาวิทยาศาสตร์และวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมแนะแนว  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมชุมนุม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3   จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 
จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน ........5........ ชั่วโมง/สัปดาห์

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน........4.......ชั่วโมง/สัปดาห์

1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน........3........ชั่วโมง/สัปดาห์

      รวมจำนวนชั่วโมง  33  ชั่วโมง/สัปดาห์

2.  งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู

ส่วนที่ 2  ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน 

ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ) ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คือ การปรับประยุกต์ การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังที่สูงกว่าได้)


ประเด็นท้าทายรื่อง การจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รหัสวิชา ว23101 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน (Inquiry-Based Learning) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ ในหน่วยการเรียนรู้เรื่อง พันธุกรรมและความหลากหลายทางพันธุกรรม ของผู้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

 

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่านักเรียนมีมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ เนื่องจากนักเรียนมองว่าวิชาวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ยาก นักเรียนหลายคนขาดทักษะทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะหน่วยการเรียนรู้เรื่อง พันธุกรรมและความหลากหลายทางพันธุกรรม ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเกิดจีโนไทป์และฟีโนไทป์ของลูกและคำนวณอัตราส่วนการเกิดจีโนไทป์และฟีโนไทป์ของรุ่นลูก ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจและไม่สามารถอธิบายได้ รวมทั้งไม่สามารถนําความรู้ที่เรียนไปแล้วไปประยุกต์ใช้ได้ ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด แสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้ยังเป็นปัญหาสำหรับครู จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น การจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง กล้าแสดงออก สามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้จากเนื้อหาบทเรียนและสรุปประเด็นที่สำคัญจนสามารถนําไปใช้ในชีวิตประจำวัน และแก้ปัญหาได้ การจัดการเรียนรู้ในลักษณะนี้จึงต้องเลือกใช้รูปแบบการสอน วิธีสอน เทคนิคการสอนที่เหมาะสม รูปแบบการสอนโดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี


2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

- การวางแผน (Plan)

1. ศึกษา วิเคราะห์หลักสูตรรายชั้น วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด

2. ออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง พันธุกรรมและความหลากหลายทางพันธุกรรม

3. สร้างแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธุกรรมและความหลากหลายทางพันธุกรรม

4. แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อตรวจสอบคุณภาพแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธุกรรมและความหลากหลายทางพันธุกรรม 

5. ปรับปรุง/พัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธุกรรมและความหลากหลายทางพันธุกรรม

- การปฏิบัติ (Do)

นําแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธุกรรมและความหลากหลายทางพันธุกรรม ที่ผ่านการปรับปรุง แล้วไปจัดการเรียนรู้กับกลุ่มเป้าหมาย

- การตรวจสอบ (Check)

1. ศึกษาประสิทธิผลของแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธุกรรมและความหลากหลายทางพันธุกรรม

2. ศึกษาข้อมูลตอบกลับของผู้เรียน ต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธุกรรมและความหลากหลายทางพันธุกรรม

- การปรับปรุงแก้ไข (Act)

ปรับปรุงแก้ไขแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธุกรรมและความหลากหลายทางพันธุกรรม โดยรวบรวมข้อมูลตอบกลับจากผู้เรียนเพื่อแยกประเด็นในการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นําประเด็นดังกล่าวเข้าสู่วง PLC เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวทางการพัฒนาตามประเด็น

3. ผลลัพธ์ที่คาดหวัง

3.1 เชิงปริมาณ

       3.1.1 ร้อยละ 70 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีผลสัมฤทธิ์ เรื่อง พันธุกรรมและความหลากหลายทางพันธุกรรม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

         3.1.2 ร้อยละ 80 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องพันธุกรรมและความหลากหลายทางพันธุกรรม ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ที่ครูสร้างขึ้น ในระดับมากขึ้นไป


  3.2 เชิงคุณภาพ

   3.2.1 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความรู้ความเข้าใจ เรื่อง พันธุกรรมและความหลากหลายทางพันธุกรรม ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน (Inquiry-Based Learning) และมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

3.2.2 ครูได้นวัตกรรมที่ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธุกรรมและความหลากหลายทางพันธุกรรม

การจัดการเรียนการสอนด้วยการใช้สื่อ

ปัญหา คือ นักเรียนไม่สนใจเนื้อหาเกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์ คำนวณในระหว่างที่เรียน และไม่มีสมาธิในการเรียน ซึ่งะหากเรียนด้วยวิธีการแบบเดิมๆ คือ จด และ จำ อาจจะทำให้ไม่มีความน่าสนใจ

การจัดการเรียนการสอนด้วยการใช้สื่อ

แก้ปัญหาโดย  ใช้สื่อการสอนด้วย อุปกรณ์การทำกิจกรรม Application Plicker  และ Application Kahoot ในการสอนรายวิชา วิทยาศาสตร์ เรื่อง โอกาสเกิดจีโนไทป์และฟีโนไทป์รุ่นลูก เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ความสนุก  ตื่นเต้น และมีการแข่งขันระหว่างที่เรียน

เอกสารหลักฐาน และคลิปการจัดการเรียนรู้

วPA แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน กานต์ชนก ไชยวารี.pdf

คลิปการจัดการเรียนรู้ วิชา วิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธุกรรม ชั้น ม.3