ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์การประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยการทำข้อตกลงการปฏิบัติงาน (PA) 

ประจำปีงบประมาณ 2566 ของ ครูกานต์ชนก  ไชยวารี

ข้อมูลผู้ประเมิน

ส่วนที่ 1  ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

1. ภาระงาน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 

จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

1.  ภาระงาน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน........21........ชั่วโมง/สัปดาห์ดังนี้

- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายวิชาวิทยาศาสตร์   รหัสวิชา ว 14101
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายวิชาวิทยาศาสตร์   รหัสวิชา ว 15101
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายวิชาวิทยาศาสตร์   รหัสวิชา ว 16101
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายวิชาวิทยาศาสตร์และวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายวิชาวิทยาศาสตร์และวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายวิชาวิทยาศาสตร์และวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมแนะแนว  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมชุมนุม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3   จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 
จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน ........5........ ชั่วโมง/สัปดาห์

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน........4.......ชั่วโมง/สัปดาห์

1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน........3........ชั่วโมง/สัปดาห์

      รวมจำนวนชั่วโมง  33  ชั่วโมง/สัปดาห์

1. ภาระงาน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 

จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

1.  ภาระงาน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน........21........ชั่วโมง/สัปดาห์ดังนี้

- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายวิชาวิทยาศาสตร์   รหัสวิชา ว 14101
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายวิชาวิทยาศาสตร์   รหัสวิชา ว 15101
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายวิชาวิทยาศาสตร์   รหัสวิชา ว 16101
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายวิชาวิทยาศาสตร์และวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายวิชาวิทยาศาสตร์และวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายวิชาวิทยาศาสตร์และวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมแนะแนว  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมชุมนุม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3   จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 
จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน ........5........ ชั่วโมง/สัปดาห์

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน........4.......ชั่วโมง/สัปดาห์

1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน........3........ชั่วโมง/สัปดาห์

      รวมจำนวนชั่วโมง  33  ชั่วโมง/สัปดาห์

2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู

ส่วนที่ 2  ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน 

ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ) ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คือ การปรับประยุกต์ การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังที่สูงกว่าได้)


ประเด็นท้าทายรื่อง การจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รหัสวิชา ว23101 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน (Inquiry-Based Learning) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ ในหน่วยการเรียนรู้เรื่อง พันธุกรรมและความหลากหลายทางพันธุกรรม ของผู้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

 

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่านักเรียนมีมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ เนื่องจากนักเรียนมองว่าวิชาวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ยาก นักเรียนหลายคนขาดทักษะทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะหน่วยการเรียนรู้เรื่อง พันธุกรรมและความหลากหลายทางพันธุกรรม ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเกิดจีโนไทป์และฟีโนไทป์ของลูกและคำนวณอัตราส่วนการเกิดจีโนไทป์และฟีโนไทป์ของรุ่นลูก ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจและไม่สามารถอธิบายได้ รวมทั้งไม่สามารถนําความรู้ที่เรียนไปแล้วไปประยุกต์ใช้ได้ ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด แสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้ยังเป็นปัญหาสำหรับครู จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น การจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง กล้าแสดงออก สามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้จากเนื้อหาบทเรียนและสรุปประเด็นที่สำคัญจนสามารถนําไปใช้ในชีวิตประจำวัน และแก้ปัญหาได้ การจัดการเรียนรู้ในลักษณะนี้จึงต้องเลือกใช้รูปแบบการสอน วิธีสอน เทคนิคการสอนที่เหมาะสม รูปแบบการสอนโดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี


2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

- การวางแผน (Plan)

1. ศึกษา วิเคราะห์หลักสูตรรายชั้น วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด

2. ออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง พันธุกรรมและความหลากหลายทางพันธุกรรม

3. สร้างแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธุกรรมและความหลากหลายทางพันธุกรรม

4. แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อตรวจสอบคุณภาพแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธุกรรมและความหลากหลายทางพันธุกรรม 

5. ปรับปรุง/พัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธุกรรมและความหลากหลายทางพันธุกรรม

- การปฏิบัติ (Do)

นําแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธุกรรมและความหลากหลายทางพันธุกรรม ที่ผ่านการปรับปรุง แล้วไปจัดการเรียนรู้กับกลุ่มเป้าหมาย

- การตรวจสอบ (Check)

1. ศึกษาประสิทธิผลของแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธุกรรมและความหลากหลายทางพันธุกรรม

2. ศึกษาข้อมูลตอบกลับของผู้เรียน ต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธุกรรมและความหลากหลายทางพันธุกรรม

- การปรับปรุงแก้ไข (Act)

ปรับปรุงแก้ไขแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธุกรรมและความหลากหลายทางพันธุกรรม โดยรวบรวมข้อมูลตอบกลับจากผู้เรียนเพื่อแยกประเด็นในการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นําประเด็นดังกล่าวเข้าสู่วง PLC เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวทางการพัฒนาตามประเด็น

3. ผลลัพธ์ที่คาดหวัง

3.1 เชิงปริมาณ

       3.1.1 ร้อยละ 70 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีผลสัมฤทธิ์ เรื่อง พันธุกรรมและความหลากหลายทางพันธุกรรม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

         3.1.2 ร้อยละ 80 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องพันธุกรรมและความหลากหลายทางพันธุกรรม ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ที่ครูสร้างขึ้น ในระดับมากขึ้นไป


  3.2 เชิงคุณภาพ

   3.2.1 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความรู้ความเข้าใจ เรื่อง พันธุกรรมและความหลากหลายทางพันธุกรรม ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน (Inquiry-Based Learning) และมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

3.2.2 ครูได้นวัตกรรมที่ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธุกรรมและความหลากหลายทางพันธุกรรม

เอกสารแบบรายงานข้อตกลง PA

วPA แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน กานต์ชนก ไชยวารี.pdf
แบบรายงานผลการปฏิบัติงานที่คาดหวังที่สอดคล้องกับข้อตกลงในการพัฒนางาน PA ปีงบประมาณ 2566.pdf

คลิปการจัดการเรียนรู้ วิชา วิทยาศาสตร์

คลิปการจัดการเรียนรู้ เรื่อง พันธุศาสตร์