ด้านที่ 3 ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ 

3.1 พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

      ข้าพเจ้ามีการพัฒนา ตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้มีความรู้ความสามารถ ทักษะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการศึกษา สมรรถนะวิชาชีพครูและความรอบรู้ในเนื้อหาวิชาและวิธีการสอนและเป็นแบบอย่างที่ดี

       ข้าพเจ้าดำเนินการประเมินความรู้ ความสามารถ และทักษะในด้านต่างๆ ของตนเอง เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และจัดทำแผนพัฒนาตนเองที่สอดคล้องกับความรู้ ความสามารถ ทักษะ และคุณลักษณะของตนเอง ตลอดจนประเมินสภาพปัญหาหรือความต้องการที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานในสถานศึกษา ตลอดจนนำความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ตรงที่ได้รับจากการเข้ารับการพัฒนาตนเองในกิจกรรม / โครงการต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานทั้งด้านภาระงานสอน และงานอื่นๆที่ได้รับมอบหมาย หลักสูตรที่เข้ารับการพัฒนา

 

ผลการปฏิบัติงาน

ผู้เรียนร้อยละ 100, 90.00, 100 มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์  การอ่าน การคิดวิเคราะห์ เขียน และสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน  อยู่ระดับ ดี ขึ้นไป สูงกว่าที่คาดหวัง คือ ร้อยละ 70 (ปฏิบัติได้สูงกว่าระดับที่คาดหวัง 4 คะแนน) 


ได้ผ่านการพัฒนาในหลักสูตรออนไลน์เพื่อเพิ่มพูนสมรรถนะวิชาชีพทางการศึกษา เนื่องในวันครู ครั้งที่ 67 พ.ศ.2566 “พลังครู คือ หัวใจของการพลิกโฉมคุณภาพการศึกษา”

Teacher’s Power id the Heart of Transforming the Educational Quality เรื่อง ออกแบบการเรียนรู้อย่างไรให้ตอบโจทย์การพัฒนาวิชาชีพแนวใหม่  จำนวน 12 ชั่วโมง ระหว่างวันที่ 16 มกราคม – 16 เมษายน พ.ศ.2566 จากคุรุสภา 


ได้เข้าร่วมงานวันครู ครั้งที่ 67 พ.ศ.2566

“พลังครู คือ หัวใจของการพลิกโฉมคุณภาพการศึกษา”Teacher’s Power id the Heart of Transforming the Educational Quality ในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2566 (รับชมออนไลน์)  จากคุรุสภา


ได้เข้าร่วมกิจกรรม  Home – Baseed Learning ครั้งที่ 9 ในหัวข้อ “เรียนรู้ เข้าใจ โรคบกพร่องทางการเรียนรู้สู่การพัฒนาให้ถูกวิธีเริ่มต้นที่คนใกล้ตัว”  จากองค์กรกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย 


เข้ารับการนิเทศ ติดตามการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย วันที่ 11 สิงหาคม 2566 และวันที่ 24 สิงหาคม 2566 จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 


ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร การใช้เทคโนโลยี และAI ในห้องเรียน การสร้างสื่อแบบ Active Learning ลารเผยแพร่สื่อบน Google Site จากศูนย์ HCEC โรงเรียนเวียงเจดีย์วิทยา 


การอบรมเชิงปฏิบัติการ การออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาสมรรถนะการรู้เรื่องการอ่าน(Reading Literracy) โดยใช้สมองเป็นฐาน ตามแนวการประเมิน PISA  วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ 2566 


เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ “หลักสูตรการตรวจข้อสอบอัตนัย สำหรับครูผู้สอนวิชาภาษาไทย” ตามโครงการจัดการทดสอบระดับชาติ ทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิชาภาษาไทย ด้วยรูปแบบข้อสอบอัตนัย ประจำปีงบประมาณ  พ.ศ.2566 ณ หอประชุมช้างคลาน จังหวัดชัยงใหม่ วันที่ 9-11 กันยายน พ.ศ.2566


3.2 มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้

    ข้าพเจ้ามีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเพื่อนร่วมวิชาชีพทั้งภายในและนอกสถานศึกษาในการแก้ปัญหาและพัฒนาด้านการเรียน ด้านสุขภาพ และด้านพฤติกรรมนักเรียน ทั้งในรูปแบบเครือข่ายทางวิชาการ หรือชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ เช่น แอพพลิเคชั่นไลน์ (Line) หรือ เฟสบุ๊ค (Facebook) และ Google Meet เป็นต้น เข้าร่วมกลุ่ม/เครือข่ายทางวิชาชีพหรือกลุ่มพัฒนาวิชาชีพ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานทั้งด้านภาระงานสอน ภาระงานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย และเป็นแบบอย่างที่ดี

ผลการปฏิบัติงาน

ผู้เรียนได้รับการแก้ปัญหาและพัฒนาด้านการเรียน ด้านสุขภาพ ด้านพฤติกรรม และผู้เรียนร้อยละ 100 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของครู สูงกว่าระดับที่คาดหวังคือ ร้อยละ 80  (ปฏิบัติได้สูงกว่าระดับที่คาดหวัง 4 คะแนน) 


3.3 นำความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้

  ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมการอบรมเพื่อพัฒนาตนเอง การประชุมในรูปแบบต่างๆ ทั้งแบบ On line และ On site ที่สามารถนำความรู้มาพัฒนาการศึกษาใหเทันการเปลี่ยนแปลงในสถานกาณ์ปัจจุบัน นำทักษะและองค์ความรู้มาบูรณาการสอดแทรกในเนื้อหาสาระวิชาภาษาไทยหรือปรับประยุกต์และพัฒนานวัตกรรมให้สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล พัฒนาการจัดการเรียนรู้ พัฒนาคุณภาพผู้เรียน ตลอดจนการศึกษาค้นคว้า พัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มพูนทักษะความสามารถด้านการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและเป็นแบบอย่างที่ดี

ผลการปฏิบัติงาน

 ผู้เรียนร้อยละ 100 มีความพึงพอใจต่อการจัดการสอนวิชาภาษาไทย ระดับ มาก ขึ้นไป สูงกว่าระดับที่คาดหวัง คือ ร้อยละ 70 

ผู้เรียนร้อยละ 100, 90.00, 100 มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์  การอ่าน การคิดวิเคราะห์ เขียน และสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน  อยู่ในระดับ ดี ขึ้นไป สูงกว่าที่คาดหวัง คือ ร้อยละ 70 (ปฏิบัติได้สูงกว่าระดับที่คาดหวัง 4 คะแนน)