ข้อมูลผู้รับการประเมิน : นายวีรชิตพงศ์ พิศอ่อน

ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


กิจกรรมการพัฒนางานตามข้อตกลง PA

การพัฒนาทักษะการคำนวณทางวิทยาศาสตร์และสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน รายวิชาวิทยาศาสตร์ (ว23103) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง ปริมาณทางไฟฟ้า โดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้นตอน ร่วมกับการจัด การเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycles: 5Es) ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564

1. ด้านการจัดการเรียนรู้

ตัวชี้วัดของงานตามข้อตกลงที่คาดหวังให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน

1. ผู้เรียนร้อยละ 80 ที่ได้รับการพัฒนาทักษะการคำนวณทางวิทยาศาสตร์และสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน โดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้นตอน ร่วมกับการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycles: 5Es) มีคะแนนทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม)

2. ผู้เรียนร้อยละ 80 มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์สูงกว่าที่โรงเรียนกำหนด

3. ผู้เรียนร้อยละ 80 สามารถอ่าน คิด วิเคราะห์ เขียนสื่อความจากเรื่องที่เรียนรู้ได้สูงกว่าที่โรงเรียนกำหนด

4. ผู้เรียนร้อยละ 80 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้นตอน ร่วมกับการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycles: 5Es) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มาก ขึ้นไป

ผลลัพธ์ความสำเร็จตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)

ข้าพเจ้าได้ดำเนินการตามข้อตกลงพัฒนางาน (PA) ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 -3/7 จำนวน 177 คน (ม.3/4 = 44 คน, ม.3/5 = 44 คน, ม.3/6 = 45 คน, และ ม.3/7 = 44 คน) โดยมีประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาทักษะการคำนวณทางวิทยาศาสตร์และสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน รายวิชาวิทยาศาสตร์ (ว23103) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง ปริมาณทางไฟฟ้า โดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้นตอน ร่วมกับการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycles: 5Es) จำนวน 3 ชุด ได้แก่ ชุดที่ 1 เรื่อง คำนวณปริมาณไฟฟ้าจากความสัมพันธ์ระหว่าง V I และ R ชุดที่ 2 เรื่อง คำนวณปริมาณไฟฟ้าเมื่ออุปกรณ์ไฟฟ้าต่อแบบอนุกรม และชุดที่ 3 เรื่อง คำนวณปริมาณไฟฟ้าเมื่ออุปกรณ์ไฟฟ้าต่อแบบขนาน สรุปผลลัพธ์ความสำเร็จตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) ได้ดังนี้

1. ผู้เรียนจำนวน 176 คน คิดเป็นร้อยละ 99.44 ที่ได้รับการพัฒนาทักษะการคำนวณทางวิทยาศาสตร์และสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน โดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้นตอน ร่วมกับการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycles: 5Es) มีคะแนนทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม)

2. ผู้เรียนจำนวน 176 คน คิดเป็นร้อยละ 99.44 มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์สูงกว่าที่โรงเรียนกำหนด (ค่าเป้าหมายของโรงเรียน ระดับดี (2))

3. ผู้เรียนจำนวน 176 คน คิดเป็นร้อยละ 99.44 มีความสามารถอ่าน คิด วิเคราะห์ เขียนสื่อความจากเรื่องที่เรียนรู้ได้สูงกว่าที่โรงเรียนกำหนด (ค่าเป้าหมายของโรงเรียน ระดับดี (2))

4. ผู้เรียนจำนวน 176 คน คิดเป็นร้อยละ 99.44 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้นตอน ร่วมกับการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycles: 5Es) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ ดีมาก ขึ้นไป

2. ด้านการส่งเสริมและสนับสนุน

ตัวชี้วัดของงานตามข้อตกลงที่คาดหวังให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน

1. ผู้เรียนร้อยละ 100 ได้รับการดูแลช่วยเหลือตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน โดยใช้ข้อมูลสารสนเทศรายวิชาวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับผู้เรียนรายบุคคลและรายวิชา เพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาผู้เรียน

2. ผู้เรียนร้อยละ 100 มีแหล่งข้อมูลสารสนเทศของตนเองและรายวิชา เพื่อใช้ในการส่งเสริม สนับสนุน รายงานผลสะท้อนกลับ การเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

3. ผู้เรียนร้อยละ 100 มีช่องทางประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ภาคีเครือข่ายและหรือสถานประกอบการ เพื่อร่วมพัฒนาผู้เรียน

ผลลัพธ์ความสำเร็จตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)

ข้าพเจ้าได้ดำเนินการตามข้อตกลงพัฒนางาน (PA) ในการดูแลช่วยเหลือตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน โดยใช้ข้อมูลสารสนเทศรายวิชาวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับผู้เรียนรายบุคคลและรายวิชา มีแหล่งข้อมูลสารสนเทศของตนเองและรายวิชา เพื่อใช้ในการส่งเสริม สนับสนุน รายงานผลสะท้อนกลับ การเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีช่องทางประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ภาคีเครือข่ายและหรือสถานประกอบการ เพื่อร่วมพัฒนาผู้เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 -3/7 จำนวน 177 คน (ม.3/4 = 44 คน, ม.3/5 = 44 คน, ม.3/6 = 45 คน, และ ม.3/7 = 44 คน) และได้รับมอบหมายครูที่ปรึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/7 จำนวน 44 คน รวมผู้เรียนทั้งสิ้น 221 คน สรุปผลลัพธ์ความสำเร็จตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) ได้ดังนี้

1. ผู้เรียนจำนวน 221 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ได้รับการดูแลช่วยเหลือตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน โดยใช้ข้อมูลสารสนเทศรายวิชาวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับผู้เรียนรายบุคคลและรายวิชา เพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาผู้เรียน

2. ผู้เรียนจำนวน 221 คน คิดเป็นร้อยละ 100 มีแหล่งข้อมูลสารสนเทศของตนเองและรายวิชา เพื่อใช้ในการส่งเสริม สนับสนุน รายงานผลสะท้อนกลับ การเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

3. ผู้เรียนจำนวน 221 คน คิดเป็นร้อยละ 100 มีช่องทางประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ภาคีเครือข่ายและหรือสถานประกอบการ เพื่อร่วมพัฒนาผู้เรียน

3. ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

ตัวชี้วัดของงานตามข้อตกลงที่คาดหวังให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน

1. ผู้เรียนร้อยละ 80 ได้รับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ ทักษะกระบวนการ และนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

2. ผู้เรียนร้อยละ 80 ได้รับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พัฒนาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และการส่งเสริมคุณภาพการจัดการเรียนการสอบทางวิทยาศาสตร์

3. ผู้เรียนร้อยละ 80 ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ๆ ด้วยนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ครูสร้างขึ้น

ผลลัพธ์ความสำเร็จตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)

ข้าพเจ้าได้ดำเนินการตามข้อตกลงพัฒนางาน (PA) ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ ทักษะกระบวนการ และนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พัฒนาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และการส่งเสริมคุณภาพการจัดการเรียนการสอบทางวิทยาศาสตร์ และได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ๆ ด้วยนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ครูสร้างขึ้น ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 -3/7 จำนวน 177 คน (ม.3/4 = 44 คน, ม.3/5 = 44 คน, ม.3/6 = 45 คน, และ ม.3/7 = 44 คน) และได้รับมอบหมายครูที่ปรึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/7 จำนวน 44 คน รวมผู้เรียนทั้งสิ้น 221 คน สรุปผลลัพธ์ความสำเร็จตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) ได้ดังนี้

1. ผู้เรียนจำนวน 221 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ได้รับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ ทักษะกระบวนการ และนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

2. ผู้เรียนจำนวน 221 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ได้รับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พัฒนาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และการส่งเสริมคุณภาพการจัดการเรียนการสอบทางวิทยาศาสตร์

3. ผู้เรียนจำนวน 221 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ๆ ด้วยนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ครูสร้างขึ้น


นายวีรชิตพงศ์ พิศอ่อน ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนบางมูลนากภูมิวิทยาคม อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร

E-Mail : verachitpong.p@gmail.com

ID-Line : vvvpcs

Tel. : 089-5655904