บทที่ 4 พฤติกรรมของมนุษย์

บทที่ 4 พฤติกรรมของมนุษย์

ในฐานะผู้นำที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มคนหลายประเภท เพื่อทำให้สามารถร่วมงานและก้าวไปสู่ความสำเร็จ จึงต้องเข้าใจในธรรมชาติของมนุษย์ ฉะนั้นสิ่งที่ที่ผู้นำควรศึกษาและทำความเข้าใจเป็นอย่างยิ่งคือ พฤติกรรมของมนุษย์

ลำดับขั้นความต้องการของ Maslow

ความต้องการของมนุษย์เป็นส่วนสำคัญของธรรมชาติของมนุษย์ซึ่งค่านิยมความเชื่อและประเพณีจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเภทแต่ละกลุ่ม แต่มักจะมีความต้องการที่คล้ายกันฉะนั้นในฐานะผู้นำ จึงจำเป็นต้องเข้าใจในความต้องการเหล่านี้ เพราะเป็นสิ่งที่สามารถสร้างแรงจูงใจได้เป็นอย่างมาก

Abraham Maslow รู้สึกว่าความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ถูกจัดเป็นลำดับขั้น และได้ตั้งทฤษฎีบนพื้นฐานของคนที่มีสุขภาพแข็งแรงและมีความคิดสร้างสรรค์ในการใช้ความเฉลียวฉลาด ศักยภาพ และสมรรถนะทั้งหมด ซึ่งความต้องการของมนุษย์มี สองกลุ่มใหญ่ ๆนั่นคือ ความต้องการเบื้องต้นกับความต้องการภายหลัง ได้บันทึกไว้เป็นลำดับขั้น ดังนี้

1. ความต้องการทางกาย (Physiological needs ) ในขั้นนี้เป็นความต้องการเพื่อการมีชีวิตอยู่ เช่นการต้องการ ปัจจัย 4 ต่างๆ เมื่อบรรลุขั้นนี้แล้วก็จะมีความต้องการเข้าสู่ขั้นต่อไป

2.ความต้องการความปลอดภัยและความมั่นคง (Safety and security needs) มนุษย์ต้องการความปลอดภัยและความมั่นคงในชีวิต เมื่อบรรลุขั้นนี้แล้วก็จะมีความต้องการเข้าสู่ขั้นต่อไป

3. ความต้องการความรักและการยอมรับจากสังคม (Belongingness and social needs) ในขั้นนี้มนุษย์ต้องการจะมีเพื่อนและต้องการการยอบรับในฐานะสมาชิกกลุ่มคนหนึ่ง ตลอดจนการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ มนุษย์จะแสวงหาความต้องการนี้เมื่อ บรรลุความต้องการในข้อ 2 แล้ว

4. ความต้องการอยากมีชื่อเสียงและได้รับการยกย่อง (esteem needs) ขั้นนี้เป็นความต้องการในเรื่องความเด่นในสังคม อยากมีเกียรติ ชื่อเสียง ตำแหน่งเป็นที่ยอมรับ มนุษย์จะแสวงหาความต้องการนี้เมื่อ ได้รับการตอบสนองความต้องการในข้อ 3 แล้ว

5. ความต้องการที่จะได้รับความสำเร็จในชีวิต (Self actualization needs) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สูงสุดของมนุษย์ ที่ต้องการใช้ศักยภาพทั้งหลายเพื่อพัฒนาตนเองให้มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี มนุษย์จะแสวงหาความต้องการนี้เมื่อ ได้รับการตอบสนองความต้องการในข้อ 4 แล้ว

ทฤษฎี X และ ทฤษฎี Y

Douglas McGregor เป็นนักบริหารอุตสาหกรรมที่ได้พัฒนา ทฤษฎี X และ ทฤษฎี Y ขึ้น เกี่ยวกับมนุษย์ว่าทฤษฎีทั้งสอง เป็นการเข้าใจที่ตรงกันเกี่ยวกับการมองพฤติกรรมของมนุษย์ในขณะทำงานและชีวิตขององค์กร โดยได้ตั้งสมมติฐานไว้ ดังนี้

ทฤษฎี X มีสมมติฐานว่า

1. คนโดยทั่วไปไม่ชอบทำงาน พยายามหลีกเลี่ยงงาน

2. คนส่วนใหญ่ต้องการให้บังคับ ควบคุมหรือขู่เข็ญลงโทษเพื่อให้ทำงานบรรลุจุดหมาย

3. คนโดยทั่วไปไม่ต้องการมีความรับผิดชอบ ไม่ทะเยอทะยาน แต่ชอบการจูงใจด้านการเงินมาก

4. คนมองหาความมั่นคงเหนือสิ่งอื่นใด

ด้วยข้อสมมติฐานของทฤษฎี X บทบาทของการบริหารก็คือการบังคับและควบคุมพนักงาน

ทฤษฎี Y มีสมมติฐานว่า

1. คนโดยทั่วไปจะใช้ความพยายามทำงานทั้งร่างกายและจิตใจที่เป็นไปโดยธรรมชาติ

2. คนจะเป็นผู้ชี้นำหรือควบคุมตนเองให้บรรลุจุดหมายที่ถูกกำหนดจากการผูกพัน การควบคุมจากภายนอก

3. ความผูกพันกับจุดหมายขึ้นอยู่กับรางวัลที่จะควบคู่ไปกับความสำเร็จของเขาด้วย

4. ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม คนจะเรียนรู้และแสวงหาความรับผิดชอบ

5. คนแต่ละคนสามารถจะแสดงความริเริ่มสร้างสรรค์ในสิ่งใหม่ได้อย่างเต็มที่ เพื่อแก้ปัญหาขององค์การ

6. ศักยภาพด้านสติปัญญาของคนส่วนใหญ่ยังมิได้ถูกนำมาใช้อย่างเต็มที่

ด้วยข้อสมมติฐานของทฤษฎี Y บทบาทของการบริหารก็คือการพัฒนาศักยภาพในตัวพนักงานและช่วยให้ปลดปล่อยศักยภาพสู่เป้าหมาย

ทฤษฎีความคาดหวัง (Expectancy Theory)

ทฤษฎีนี้เสนอโดย Victor H Vroom การจูงใจให้คนทำงานผู้จัดการหรือผู้บริหารต้องเข้าใจในกระบวนการที่ตั้งอยู่บนความคาดหวังที่ว่าการกระทำจะตามมาด้วยความสำเร็จ ประกอบด้วยปัจจัย 3 ประการ คือ

· Valence (รางวัล) คือ คุณค่าของรางวัล เชื่อว่ามูลค่า Value ของผลตอบแทนต้องสอดคล้องกับ

ความต้องการของคน จึงจะเกิดพลังในการจูงใจมากขึ้น

· Expectancy (การปฏิบัติ) คือความคาดหวังว่างานจะสำเร็จ เชื่อว่า การทำงานหนัก มีผลทำให้เขาบรรลุเป้าหมายของงานได้ ดังนั้นความมานะพยายาม

ให้เกิดผลสำเร็จที่ดีของงานก็เกี่ยวพันกันจนเกิดแรงจูงใจในการทำงาน

· Instrumentality หรือ Performances Outcome Expectancy คือ ความคาดหวังในผลตอบแทน

ของงานที่คุ้มค่ากับผลการทำงาน จึงเป็นการจูงใจให้เรามีความพยายามในการทำงานให้สำเร็จ

ทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์

1. รูปแบบของภาวะผู้นำ (Leadership style) เป็นรูปแบบพฤติกรรมของผู้นำที่กำหนดขึ้นเพื่อนำสมาชิกขององค์การให้เป็นไปตามการบังคับบัญชาที่เหมาะสม ในทฤษฎีของ Fiedler มี 2 ประการดังนี้

1.1 การศึกษารูปแบบของผู้นำที่ความสัมพันธ์ เป็นผู้นำที่มุ่งความเกี่ยวข้องกับพนักงาน ผู้นำประเภทนี้จะสร้างความไว้วางใจ ความเคารพนับถือและรับฟังความต้องการของพนักงาน จะมีลักษณะเหมือนกับผู้นำแบบที่คำนึงถึงผู้อื่นเป็นหลัก

1.2 ผู้นำที่มุ่งงาน เป็นผู้นำที่มุ่งความสำเร็จในงาน จะกำหนดทิศทางและมาตรฐานในการทำงานไว้อย่างชัดเจน มีลักษณะคล้ายกับผู้นำแบบที่เริ่มต้นจากตนเองเป็นหลัก

2. ลักษณะสำคัญของทฤษฎีเส้นทางสู่เป้าหมาย คือ ผู้บริหารควรเลือกรูปแบบของภาวะผู้นำซึ่งนำไปสู่การกำหนดลักษณะของพนักงานและความต้องการในงาน ซึ่งทฤษฎีนี้มีลักษณะสำคัญ 2 ประการคือ

2.1 ความเหมาะสมระหว่างรูปแบบของภาวะผู้นำในสถานการณ์ต่าง ๆ

2.2 วิธีการที่ผู้นำมีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน

3. ภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ในการบริหารระดับสูงผู้บริหารระดับสูงสามารถสร้างภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ได้ 5 แนวคิดดังนี้

3.1 แนวคิดเชิงกลยุทธ์

3.2 แนวคิดด้านมนุษย์เป็นสินทรัพย์

3.3 แนวคิดความเชี่ยวชาญ

3.4 แนวคิดการสกัดกั้น

3.5 แนวคิดด้านตัวแทนการเปลี่ยนแปลง

ปัจจัยด้านสติปัญญาเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจและภาวะผู้นำ

หมายถึง กระบวนการด้านสติปัญญาในการรวบรวมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะผู้นำ ความสามารถด้านสติปัญญาเป็นสิ่งสำคัญสำหรับความสำเร็จของภาวะผู้นำ ผู้นำจำเป็นต้องมีระดับสติปัญญาที่เฉลียวฉลาดเพราะจะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และมีความสามารถที่จะแสวงหาข้อมูลที่จำเป็น

ทฤษฎีความสามารถด้านสติปัญญาและทฤษฎีความรู้ความเข้าใจ

เป็นทฤษฎีที่ช่วยสนับสนุนและพัฒนาภาวะผู้นำให้เกิดความสามารถด้านสติปัญญาและความรู้ความเข้าใจในการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิผล

ทฤษฎีความสามารถด้านสติปัญญา

มีสมมติฐานที่เป็นพื้นฐานสำคัญ 2 ประการคือ ผู้นำที่มีระดับสติปัญญาและมีความสามารถสูงกว่า มีแผนงาน มีการตัดสินใจและมีกลยุทธ์ดีกว่าผู้นำที่มีระดับสติปัญญาและความสามารถต่ำกว่า, ผู้นำกลุ่มงาน จะสื่อสารแผนงาน มีการตัดสินใจ และมีกลยุทธ์การปฏิบัติงานเริ่มแรกในรูปของพฤติกรรมแบบบงการ

ทฤษฎีความรู้ความเข้าใจ

จะขึ้นอยู่กับสมมติฐานซึ่งมุ่งที่ความสามารถด้านสติปัญญาดังนี้

1. ถ้าผู้นำเน้นประสบการณ์ จะทำให้ความสามารถและสติปัญญาของเขาหันเหไปจากงานที่มีอยู่ ซึ่งเป็นผลให้การวัดระดับสติปัญญาและความสามารถของผู้นำจะไม่สัมพันธ์กับการทำงานกลุ่ม

2. ความสามารถด้านสติปัญญา ของผู้นำแบบบงการ จะสัมพันธ์อย่างสูงกับผลการปฏิบัติงานของกลุ่มมากกว่าความสามารถด้านสติปัญญามากกว่าผู้นำที่ไม่ใช่แบบบงการ

3. ความสามารถด้านสติปัญญาของผู้นำจะสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานของกลุ่มซึ่งจะต้องใช้ความสามารถด้านสติปัญญาด้วย

ภาวะผู้นำที่มีความสามารถพิเศษและภาวะผู้นำเชิงปฏิรูป

1. ทฤษฎีภาวะผู้นำที่มีความสามารถพิเศษ สรุปได้ดังนี้

1.1 ผู้ใต้บังคับบัญชาให้ความไว้วางใจในการกระทำที่ถูกต้องของผู้นำ

1.2 ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความเชื่อถือในผู้นำ

1.3 ผู้ใต้บังคับบัญชายอมรับการกระทำของผู้นำ

1.4 ผู้ใต้บังคับบัญชาจะไม่มีการพูดให้ร้ายต่อผู้นำเพราะมีความชอบในตัวผู้นำ

1.5 ผู้ใต้บังคับบัญชาจะอยู่ในโอวาทเชื่อฟัง

1.6 ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดการเอาอย่างผู้นำ

1.7 ผู้ใต้บังคับบัญชาจะมีอารมณ์อยากทำงานร่วมกับกลุ่ม

1.8 ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงานให้เป็นไปตามเป้าหมายในระดับสูง

1.9 ผู้ใต้บังคับบัญชาอุทิศตนเพื่อความสำเร็จในงานหรือกลุ่ม หรือรับรู้ที่จะช่วยเหลือกลุ่มให้บรรลุภารกิจ

2. ชนิดของผู้นำที่มีความสามารถพิเศษ แบ่งออกได้เป็น 5 ชนิดคือ

2.1 ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษด้านสังคม

2.2 ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษซึ่งมุ่งที่ตนเอง

2.3 ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษด้านการควบคุมสำนักงาน

2.4 ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะตัว

2.5 ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษด้านพรสวรรค์

3. ลักษณะของผู้นำที่มีความสามารถพิเศษ

3.1 เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์

3.2 เป็นผู้มีความสามารถด้านทักษะการสื่อสาร

3.3 เป็นผู้ที่มีความสามารถก่อให้เกิดความไว้วางใจ

3.4 เป็นผู้ที่สามารถทำให้สมาชิกของกลุ่มรู้สึกว่าเขามีความสามารถ

3.5 เป็นผู้ที่มีพลังและมุ่งที่การปฏิบัติให้บรรลุผล

3.6 เป็นผู้ที่มีการแสดงอารมณ์ได้อย่างเหมาะสมและมีความเอื้ออาทรหรือให้ความอบอุ่นกับผู้อื่น

3.7 เป็นผู้ที่ชอบที่จะเสี่ยง

3.8 เป็นผู้ที่ใช้กลยุทธ์ใหม่ที่มีลักษณะโดดเด่น (ไม่ทำตามแบบดั้งเดิม)

3.9 เป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพที่ส่งเสริมตนเอง

3.10 เป็นผู้ที่พยายามที่จะมีความขัดแย้งภายในให้น้อยที่สุด

ประสิทธิผลของพฤติกรรมและทัศนคติของผู้นำ

1. ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน เป็นผู้นำที่ใช้หลักการเข้าร่วมปรึกษาหารือในกลุ่มแทนที่จะเป็นผู้ตรวจสอบการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชาแต่ละคน ซึ่งประกอบด้วย

1.1 การตัดสินใจแบบเผด็จการ

1.2 การปรึกษาหารือ

1.3 การตัดสินใจร่วมกัน

1.4 การมอบหมายงาน

2. ภาวะผู้นำที่ดีเลิศ ( Super leadership) เป็นภาวะผู้นำที่กล้าเสี่ยง โดยเปิดโอกาสให้บุคคลนำตนเองได้พนักงานจะสามารถเพิ่มโอกาสในการปฏิบัติงานได้ดีมากขึ้น

วิธีการที่บุคคลควรฝึกฝนการมีภาวะผู้นำในตนเองควรกระทำดังนี้

2.1 ระบุและแก้ไขความเชื่อและข้อสมมติที่ไม่ดี

2.2 การเจรจาในทางสร้างสรรค์และเป็นบวก

2.3 หาวิธีการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผล