บทที่ 2 การนำ

บทที่ 2 การนำ

เป้าหมาย

ทักษะการคิดอาจถือได้ว่าเป็นทักษะการสั่งการเพราะเป็นสิ่งที่จะให้ทิศทางแก่องค์กร รวมถึงให้คำจำกัดความของวิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย เพื่อทำให้ตระหนักถึงความต้องการสำหรับการเปลี่ยนแปลงว่าจะนำไปใช้และจัดการกับการเปลี่ยนแปลงนั้นอย่างไรองค์กรที่ดีจะถ่ายทอดวิสัยทัศน์ที่แข็งแกร่ง ซึ่งในฐานะผู้นำจะต้องทำให้เกิดความไว้วางใจในวิสัยทัศน์ต่อคนในองค์กร

สิ่งที่สำคัญในการตั้งเป้าหมาย

ควรมีการปรับปรุงและพัฒนาองค์การไม่ว่าจะเป็นทางด้านบุคลากร โปรแกรมต่างๆ ที่ต้องใช้ในการทำงาน และให้คนในองค์กรมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กรนั้นๆด้วย โดยอาจจะเพิ่มความยากของเป้าหมาย เพื่อเพิ่มความท้าทายและส่งเสริมความพยายามเพื่อให้งานบรรลุตามเป้าหมาย โดยที่เป้าหมายนั้นๆ จะตั้งขึ้นเฉพาะตัวพนักงานที่มีความสามารถในการทำงานได้ดี รวมถึงการให้ผลสะท้อนกลับในการทำงาน ทั้งนี้เพื่อชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมการทำงานของพนักงาน และในส่วนของการพัฒนาเป้าหมายนั้น ควรให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการตั้งเป้าหมายขององค์กร เพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการทำงานอีกทางหนึ่ง แม้ว่าการหาวิสัยทัศน์เป็นความท้าทายในเชิงสร้างสรรค์ แต่การนำวิสัยทัศน์ไปใช้นั้นควรดำเนินการตามขั้นตอน ที่กำหนดไว้ประกอบ 6 ขั้นตอนคือ วิสัยทัศน์, เป้าหมาย, จุดมุ่งหมาย, งาน, เวลาที่กำหนด, การติดตามผล

การบริหารจัดการและภาวะผู้นำ (Management)

เป็นกระบวนการนำเสนอทรัพยากรการบริหารมาใช้ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามขั้นตอนการบริหาร ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับ

1. การวางแผน (Planning) การกำหนดวัตถุประสงค์, การตัดสินใจ, การวางแผน ต้องมีทักษะด้านการจัดการ วางแผน ซึ่งผู้ที่จะกำหนดทิศทางได้ ต้องรู้จักทุกทิศทางเป็นอย่างดี เพื่อสามารถเลือกทางที่ดีที่สุดไปสู่เป้าหมายเป้าหมายที่ดี คือ เป้าหมายที่เป็นไปได้ และผู้นำต้องเห็นเป้าหมายระยะยาวในภาพที่ชัดเจนกว่า ซึ่งจะทำให้ สามารถประเมิน ความเป็นไปได้ / ไม่ได้, ยาก / ไม่ยาก และการใช้เป้าหมายไหนจึงจะเหมาะสมกับองค์การ

2. การจัดองค์การ (Organizing) การรวบรวมทรัพยากร, การจัดหาคนเข้าทำงาน, การจัดโครงสร้างผู้นำต้องสามารถจัดโครงสร้างองค์การ จัดการกระบวนการทำงาน และหน้าที่

Planning & organizing ต้องทำควบคู่กันไปอย่างต่อเนื่อง เพราะว่าสถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

3. การนำ (Leading) การจูงใจ, การมีอิทธิพลและการติดต่อสื่อสารสร้างให้เกิดความ กระตือรือร้น มุ่งมั่น มานะพยายามที่จะทำทำให้เกิดการยอมรับในวิสัยทัศน์ของผู้นำ สร้างความสามัคคี และความเป็นเอกภาพ

4. การควบคุม (Controlling) การตรวจสอบ, การบริการสินค้า, กระบวนการ และการควบคุมคุณภาพ เดิมผู้บริหารไม่ค่อยให้สนใจกับการควบคุม จึงทำให้เกิดปัญหา แต่ปัจจุบันได้หันสนใจมากขึ้น จึงทำให้เกิดผลสะท้องของตัวชี้วัดที่ดี ทั้งนี้การควบคุม Performance ต้องยอมให้วิพากษ์วิจารณ์ และมีการยอมรับฟังอย่างเข้มแข็ง เพื่อนำไปพิจารณาปรับปรุง เพราะทุกคนย่อมมีจุดอ่อน ฉะนั้นต้องถือว่าการประเมินเป็นเรื่องที่ดี เพื่อให้เห็นจุดบกพร่องที่เรามองไม่เห็นแต่คนอื่นสามารถมองเห็น และวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ได้


ความแตกต่างระหว่างผู้นำและผู้จัดการ

ความแตกต่างระหว่างผู้นำและผู้จัดการในองค์การของรัฐส่วนใหญ่จะเรียก "ผู้นำหรือผู้บริหาร" ส่วนองค์การธุรกิจนิยมเรียก "ผู้จัดการ" (Management) ได้มีการศึกษาลักษณะของ "ผู้นำ" (Leaders)และ "ผู้จัดการ" (Managers) มานานแล้ว และพบว่าบุคคลทั้งสองกลุ่มนี้มีความแตกต่างกันหลายด้านเช่น แรงจูงใจ ความเป็นมา วิธีคิด และการปฏิบัติงาน ดังที่นักศึกษาวิจัยสรุปไว้ดังต่อไปนี้ เบนนิส และนานัส (Bennis and Nanus, 1985: 21) ได้สรุปว่า

"ผู้จัดการคือ บุคคลที่ทำให้งานสำเร็จ ส่วนผู้นำคือ บุคคลที่ทำสิ่งต่าง ๆ ให้ถูก

Managers are people who do things right

And leaders are people who do the right things"

หมายความว่า ผู้จัดการ คือ บุคคลที่สนใจแต่จะหาวิธีการทำให้งานที่ได้รับมอบให้สำเร็จ โดยไม่ได้ให้ความสนใจสิ่งอื่นใดต่างจากผู้นำที่จะต้องพิจารณาความถูกต้องของงานรวมทั้งผลกระทบต่อบุคลากรและองค์การ ก่อนที่จะดำเนินการให้เกิดผลดีที่สุด

ความแตกต่างของบุคคลสองกลุ่มสรุปได้ดังนี้

1. ผู้จัดการมีแนวโน้มที่จะยอมรับและปฏิบัติตามเป้าหมายขององค์การ โดยไม่เอาความรู้สึกส่วนตัวไปพิจารณา หรือเกี่ยวข้องด้วย ในขณะที่ผู้นำจะเอาความรู้สึกส่วนตัวมาพิจารณาเป้าหมายขององค์การก่อนที่จะปฏิบัติตาม

2. ผู้จัดการจะมองการทำงานว่าเป็นกระบวนการความสามารถ ที่ประกอบไปด้วยคนและความคิดเห็นต่าง ๆ เพื่อสร้างสรรค์วิธีการทำงานและตัดสินใจที่ดีที่สุดในขณะที่ผู้นำ ทำงานในตำแหน่งที่มีความเสี่ยงสูง ต้องพยายามไม่ใช้อารมณ์เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงและอันตราย ที่อาจจะเกิดกับตนเอง โดยเฉพาะผู้นำที่อยู่ในตำแหน่งที่มีโอกาส และสิ่งตอบแทนค่อนข้างสูง

3. ผู้จัดการชอบที่จะทำงานร่วมกับบุคคลอื่นมากกว่าการทำงานใด ๆ ด้วยตนเอง คนเดียว เพราะไม่ต้องการมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับงานนั้น ผู้จัดการจะมีความสัมพันธ์เฉพาะกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกันในกระบวนการทำงานหรือกระบวนการตัดสินใจต่างกับผู้นำที่งานมักจะเกี่ยวข้องกับความคิดมากกว่าคน แต่ถ้ามีความสัมพันธ์กับบุคคลต่าง ๆ ก็จะมีโดยสามัญสำนึก และพยายามจะเข้าใจความรู้สึกและความต้องการของบุคคลเหล่านั้นด้วย

4. ผู้จัดการต้องการคำสั่งหรือคำชี้แนะที่ชัดเจน เมื่อต้องเผชิญกับการตัดสินใจ หรือ เหตุการณ์ที่จะมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นจำนวนมาก ในขณะที่ผู้นำมีแนวโน้มที่จะตัดสินใจ ได้ โดยไม่ห่วงกังวลว่าจะกระทบต่อบุคคลรอบข้างมากนัก

คำว่า ผู้นำ (Leader) ผู้จัดการ (Manger) และผู้บริหาร (Administrator) ได้มีการใช้แทนกันตลอดเวลา แม้นว่าจะยอมรับว่ามีความแตกต่างกัน ผู้จัดการและผู้บริหารค่อนข้างจะมีความหมายใกล้เคียงกันมาก ในอดีตที่ผ่านมา ผู้จัดการดูจะมีอำนาจในการตัดสินใจมากกว่าผู้บริหาร ซึ่งมักปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ที่เป็นงานประจำมากกว่า จึงทำให้เกิดความคิดที่ว่า ผู้นำต้องเป็นผู้กำหนดทิศทางขององค์การว่าจะไปทิศทางใด และจะต้องใช้ความสามารถในการชักจูง ทำให้ผู้ตามประพฤติปฏิบัติไปในทิศทางที่ต้องการจนประสบความสำเร็จ ในขณะที่ผู้จัดการเพียงแต่ให้ความสนใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เช่น การว่าจ้าง การประเมินบุคลากรการจัดสรรทรัพยากรการตั้งกฎเกณฑ์เพื่อให้ทุกคนปฏิบัติงานและอื่น ๆ จนประสบความสำเร็จ สรุปว่ามุ่งสนใจปฏิบัติงานประจำที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุดเท่านั้น ถึงแม้นว่าคำว่า ผู้นำ ผู้จัดการ ผู้บริหารจะมีความแตกต่างกัน แต่ก็นิยมที่จะใช้แทนกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวพันถึงองค์การในการบริหารงานอยู่เสมอ