Systematic and Effective Course Management

พอ. ผศ. ดุสิต สถาวร

กิจกรรมในห้วงก่อนเปิดรายวิชา

  • จัดทำรายละเอียดรายวิชา (มคอ.๓)

  • จัดทำแผนการสอนรายคาบ

  • จัดทำคู่มือ นพท./ คู่มืออาจารย์

  • จัดทำแผนการใช้ห้องเรียน/ ห้องปฏิบัติการ/ ห้องประชุมกลุ่มย่อย/ สถานที่จัดการสอบ

  • พัฒนาปรับปรุงแบบสำรวจความคิดเห็น

  • ประชุม คกก. รายวิชา เพื่อเห็นชอบแผนฯ

- ตารางสอน Table of specification ของข้อสอบ

- กำหนดวันประชุมพิจารณาข้อสอบ

- แผนการจัดสอบ

- วิธีฟังเสียงของผู้เรียน

- วันประชุมตัดสินผลและสรุปผลการดำเนินการของรายวิชา

  • จัดทำคู่มือปฏิบัติการ

  • ผลิตสื่อการสอน เอกสารคำสอน เอกสารประกอบการสอน จัดหาหนังสือ หรือตำรา

  • จัดประชุมพัฒนา “กรณีศึกษา” สำหรับการเรียนรู้แบบ PBL, CBL, TBL (หัวข้อการเรียนรู้ แนวทางจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล)

  • เตรียมเปิดกลุ่มไลน์สำหรับการติดต่อกับผู้เรียน

  • ติดต่อประสานงานกับอาจารย์พิเศษ

  • จัดทำแผนการเบิกจ่ายค่าจ้างสอนสำหรับอาจารย์พิเศษ

  • พัฒนาแบบประเมิน (สำหรับกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ)

กิจกรรมในห้วงที่รายวิชาเปิดการเรียนการสอน

· แนะนำรายวิชา

· แจกเอกสารประกอบการสอนให้ผู้เรียนก่อนชั่วโมงสอน

· จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผน

· ประชุมพิจารณาข้อสอบ

· ประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียน (Formative)

· สำรวจความคิดเห็นผู้เรียน อาจารย์/ ประชุม focus group

· เตรียมเอกสารเบิกจ่ายค่าจ้างสอน

· จัดทำข้อสอบ

· ประกาศผลคะแนนของการสอบย่อย

· จัดสอบตามแผน (Summative)

· พัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่ต้องการความช่วยเหลือ

กิจกรรมในห้วงหลังการเรียนสิ้นสุด

· รวบรวมคะแนนทั้งหมดของรายวิชา/ กรอกข้อมูลเข้าระบบ/ ตัดเกรด

· ส่งวิเคราะห์ข้อสอบ/ แจกจ่ายผลการวิเคราะห์ข้อสอบให้อาจารย์ที่เกี่ยวข้อง

· ประชุมตัดสินผล/ ประกาศผล

· รวบรวมความคิดเห็นของผู้เรียน

· ประชุม คกก. รายวิชา เพื่อสรุปผลการดำเนินการของรายวิชา

- พิจารณาผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียน

- ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนตามมาตรฐานผลการเรียนรู้-ระดับรายวิชา

- สรุปข้อคิดเห็นของอาจารย์และผู้เรียน ข้อควรปรับปรุง

· จัดทำรายงานผลการดำเนินการรายวิชา (มคอ.๕)

· ส่งเอกสารเบิกจ่ายค่าจ้างสอน

· เตรียมรับการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนตามมาตรฐานผลการเรียนรู้-ระดับหลักสูตร

บัญชีตัวชี้วัดเชิงกระบวนการ (In-process measures) และตัวชี้วัดเชิงผลลัพธ์ (Outcome measures)

ของการบริหารหลักสูตรระดับรายวิชา (Course Management)

1. ร้อยละของชั่วโมงการสอนจริง เทียบกับแผนการสอน

2. ร้อยละของอาจารย์ที่มีคะแนนคุณภาพการสอนสูงกว่า ๔.๒๕ จากคะแนนเต็ม ๕.๐

3. ร้อยละของผู้เรียนที่มีผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดใน มคอ. ๓

4. ร้อยละของคำถามสอบที่มีคุณภาพในระดับดีขึ้นไป

5. ร้อยละของผู้เรียนที่มีระดับความพึงพอใจต่อภาพรวมของคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของรายวิชาในระดับดี-ดีมาก

บัญชีตัวชี้วัดเชิงคุณภาพของการบริหารหลักสูตรระดับรายวิชา (Course Management)

  • มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่อิงปัญหาของผู้ป่วยเป็นฐาน

  • มีกิจกรรมที่มอบหมายให้ผู้เรียนศึกษาด้วยตนเองเป็นกลุ่มและนำผลมาเสนอในห้องเรียน

  • มีกิจกรรมสะท้อนคิด (reflection)

  • มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้-ระดับรายวิชา ตามที่กำหนดใน มคอ.๓ (กิจกรรมเรียนรู้ การวัดและประเมินผล สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร)

  • มีการนำผลการประเมินความก้าวหน้า (formative evaluation) มาพัฒนาผู้เรียน (กลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือ)

  • มีการประเมินความก้าวหน้าของการพัฒนาทักษะทางคลินิก (Entrustable Professional Activities) (รายวิชาระดับคลินิก)

  • มีกิจกรรมที่ฝึกให้ผู้เรียนใช้ภาษาอังกฤษ (พูด-ฟัง-อ่าน-เขียน)

  • มีการปรับปรุงเนื้อหาการเรียนให้สอดคล้องกับพัฒนาการใหม่ ๆ ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคลินิก รวมทั้งความต้องการของสังคมและระบบบริบาลสุขภาพ

  • มีการพัฒนาชุดการเรียนรู้แบบ E-learning อย่างต่อเนื่อง

  • มีรายละเอียดของรายวิชา (มคอ.๓/๔) ก่อนเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษา

  • มีรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา (มคอ.๕/๖) ภายใน ๓๐ วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอน

  • ระดับความพึงพอใจของผู้เรียนต่อคุณภาพการสอนของอาจารย์เฉลี่ยไม่น้อยกว่า ๓.๕๑ จากคะแนนเต็ม ๕.๐

  • ระดับความพึงพอใจของผู้เรียนต่อทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอน เฉลี่ยไม่น้อยกว่า ๓.๕๑ จากคะแนนเต็ม ๕.๐