ข้อมูล

จ.พิษณุโลก

จังหวัดพิษณุโลก ตั้งอยู่ในภาคเหนือของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพพระมหานคร 337 กิโลเมตร สูงจากระดับน้ำทะเล โดยเฉลี่ย 800 เมตร มีเนื้อที่ 10,815.854 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 6,759 ไร่ คิดเป็น เนื้อที่ 2 % ของประเทศ 15.9 % ของภาคเหนือตอนล่าง และ 6.3 % ของภาคเหนือ

อาณาเขต ติดต่อกับจังหวัด/ประเทศเพื่อนบ้าน ใกล้เคียง ดังนี้

> ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอน้ำปาด อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ และ ประเทศ สปปล.

> ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอเมืองพิจิตร อำเภอสามง่าม และอำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร

> ทิศตะวันออก ติดกับ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ และอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

> ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย และอำเภอพานกระต่าย อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร





ตราประจำจังหวัด

พิษณุโลก เป็นจังหวัดใหญ่ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมระหว่างภาคกลางและภาคเหนือ สร้างเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 สมัยขอมมีอำนาจปกครองแถบนี้ พิษณุโลกเดิมชื่อ"เมืองสองแคว" ตั้งอยู่บริเวณ วัดจุฬามณีในปัจจุบัน เหตุที่ชื่อเมืองสองแคว เพราะตั้งอยู่ระหว่างแควน่านกับลำน้ำแควน้อย ในสมัยสุโขทัย

ครั้งสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท ได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองสองแควมาตั้งอยู่ ณ ที่ปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. 1900 และยังเรียกเมืองสองแควเรื่อยมา ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นพิษณุโลกในสมัยอยุธยา รัชกาลของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมื่อครั้งที่เสด็จ ขึ้นมาประทับที่เมืองสองแควตั้งแต่ พ.ศ. 2006 จนสิ้นรัชกาลในปี พ.ศ. 2031


เมืองพิษณุโลกจึงมีฐานะเป็นราชธานีแทนกรุงศรีอยุธยานานถึง 25 ปี ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และเป็นเมืองลูกหลวง ซึ่งกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาส่งมหาอุปราช หรือพระราชโอรสมาครอง เมืองสมเด็จพระนเรศวรมหาราชก็ทรงมีพระราชสมภพ ณ เมืองนี้ และได้ทรงครองเมืองนี้เช่นกัน


ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2437 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดเกล้าให้ยกฐานะเมืองพิษณุโลกขึ้นเป็นมณฑล เรียกว่ามณฑลพิษณุโลก ต่อมายกเลิกการปกครองแบบมณฑลแล้ว พิษณุโลกจึงมีฐานะเป็น

ต้นไม้ประจำจังหวัด

ปีบ หรือ กาซะลอง (อังกฤษ: Indian cork tree; ชื่อวิทยาศาสตร์: Millingtonia hortensis Linn.f) เป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 15 เมตร มีดอกรูปแตรสีขาวหอมอ่อนๆ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

ปีบยังมีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกคือ กาดสะลอง (เหนือ) และ เต็กตองโพ่ (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี)

ปีปเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ 10-20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกระบอก กิ่งก้านมักจะย้อยลง เปลือกสีน้ำตาลแตกเป็นร่องลึกตามยาวลำต้นอย่างไม่เป็นระเบียบ ใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น เรียงเวียน ช่อแขนงด้านข้างมี 3-5 คู่ ปลายคี่ เรียงตรงข้าม ใบย่อยแขนงละ 2-4 คู่ เรียงตรงข้าม ใบรูปไข่หรือรูปไข่แกมใบหอก กว้าง 2-3 ซม. ยาว 4-8 ซม. ปลายแหลม โคนใบมน ขอบใบหยักมนหรือเว้าเป็นคลื่นเล็กน้อย

ดอกมีสีขาวหรือชมพู มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกซ้อนตามปลายกิ่ง ช่อดอกขนาดใหญ่ ยาว 10-35 ซม. มีขน กลีบเลี้ยงมีขนาดเล็ก โคนติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยก 5 แฉก ปลายมนกว้างม้วนลง เป็นหลอดยาวปลาย 4 แฉก มี 1 กลีบที่ปลายเป็น 2 แฉก ดอกบานเต็มที่กว้าง 3.5-4 ซม. ผลแห้งแตก เป็นฝักแบนและตรง สีน้ำตาล หัวท้ายแหลม กว้าง 1.5-2.3 ซม. ยาว 25-30 ซม. เมล็ดแบนมีปีกบาง

ประโยชน์

ดอกตากแห้งนำมาม้วนเป็นบุหรี่สูบ รักษาริดสีดวงจมูก และมีสาร hispidulin มีฤทธิ์ในการขยายหลอดลมรักษาอาการหอบหืด สารสกัดจากใบที่สกัดด้วยเอทานอลสามารถยับยั้งการเจริญของคะน้าได้