ข้อมูลเบื้องต้น

ประวัติของ "ตำบลท่าโพธิ์" ได้รับการบอกเล่ามาจากอดีตกำนันตำบลท่าโพธิ์ ชื่อ นายเกรียง นุชท่าโพ ซึ่งเป็นคนที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก กำนันเกรียงเล่าให้ฟังว่า สมัยก่อน...การคมนาคมทางบกยังไม่มี ต้องอาศัยการคมนาคมทางน้ำ ใช้เรือแล่นไปตามลำแม่น้ำ แม่น้ำน่านเป็นแม่น้ำสายหลักของการคมนาคม จึงมีท่าเรือต่างๆ เรียงรายตามลำน้ำ ชื่อ "บ้านท่าโพธิ์" จึงมาจากชื่อท่าเรือ "ท่าโพธิ์" ซึ่งเป็นท่าเรือที่มีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่เป็นสัญลักษณ์ และคนที่ท่าเรือตลอดจนคนสัญจรไปมาแถบนั้น เรียกว่า "ท่าโพธิ์" และเรียกบ้านแถบนั้นว่า "บ้านท่าโพธิ์" ตลอดมาจนถึงทุกวันนี้

เนื้อที่ของตำบลนี้ ประมาณ 31,300 ไร่ หรือประมาณ 50.1 ตารางกิโลเมตร

พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำน่านไหลผ่าน เป็นดินตะกอน พิ้นที่จะลาดเอียงจากทางทิศเหนือและทิศตะวันออกของตำบล ซึ่งมีความสูงประมาณ 40 เมตรจากระดับน้ำทะเล ลาดเอียงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้และทางทิศใต้ของตำบล ซึ่งมีความสูงประมาณ 33 เมตรจากระดับน้ำทะเล อันเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำของตำบลซึ่งติดต่อกับเขตอำเภอบางระกำ ( โล่งอกไปที...เพราะดูจากแผนที่แล้ว บ้านท่าโพธิ์ จะค่อนมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตำบล แต่เสียดาย...น่าจะสูงกว่านี้อีกนิด เพราะ อาจารย์ ดร.อาจอง ชุมสายฯ เคยบอกว่า สเปคที่เหมาะของพื้นที่ ที่ปลอดภัยจากน้ำท่วม คือควรสูงจากระดับน้ำทะเลไม่น้อยกว่า 45 เมตร)


พื้นที่เป็นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำน่านไหลผ่าน แบ่งพื้นที่ตำบลท่าโพธิ์ ออกเป็น 2 ส่วน ที่ราบสองฝั่งเกิดจากการตกตะกอนหรือการทับถมประกอบขึ้นเป็นคันดินธรรมชาติบริเวณสองฟากลำน้ำน่านถัดจากคันดินธรรมชาติบริเวณชายฝั่งแม่น้ำออกไปจะเป็นที่ราบน้ำท่วมโดยมีหนอง บึง หรือที่ลุ่มน้ำขังกระจายอยู่ทั่วไปลักษณะดินตะกอนที่ทับถมมีทั้งดินร่วน ดินร่วนปนทรายแป้ง ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง จนถึงดินเหนียว ระดับความสูงของพื้นที่ตำบลท่าโพธิ์ จะลาดเอียงจากทางทิศเหนือและทิศตะวันออกของตำบล ซึ่งมีความสูงประมาณ 40 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางลาดเอียดไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้และทางทิศใต้ของตำบล ซึ่งมีระดับสูงประมาณ 33 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง อันเป็นบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำของตำบลท่าโพธิ์ ติดต่อกับเขตอำเภอบางระกำ ซึ่งอาจพิจารณาแบ่งรายละเอียดได้ 3 เขต คือ

1. เขตคันดินธรรมชาติ ได้แก่สองฝั่งแม่น้ำน่าน ซึ่งเกิดจากการทับถมของตะกอนดินและอินทรียวัตถุต่าง ๆ ที่แม่น้ำพัดพามา

ทับถมกัน

2. เขตที่ราบน้ำท่วม ได้แก่บริเวณที่อยู่ถัดจากเขตหมู่บ้าน หรือห่างจากแม่น้ำน่านออกไปทั้งสองฝั่งมีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม

ในฤดูฝนหรือน้ำหลากจะมีน้ำท่วมขังเป็นประจำเป็นพื้นที่ที่เหมาะสำหรับการทำนามากกว่าการเพราะปลูกพืชชนิดอื่น ๆ

3. หนอง บึง หรือที่ลุ่มน้ำขัง ในบริเวณที่ราบน้ำท่วมที่กล่าวถึงมาแล้วนั้น จะมีพื้นที่ลุ่มต่ำเป็นหนองบึงแทรกปนอยู่หลายแห่ง

เช่นทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตำบลท่าโพธิ์มีลึก ทุ่งโศกา ส่วนทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ก็มี หนองอ้อ คลองหนองเหล็ก บึงจาน

หนองหลวง เป็นต้น หนองบึงดังกล่าวจะมีน้ำท่วมขังอยู่เกือบตลอดปี จึงเป็นแหล่งรองรับน้ำธรรมชาติและแหล่งสัตว์น้ำ ที่สำคัญในอดีต

ปัจจุบันนี้ที่เหล่านี้จะเป็นแหล่งตื้นเขิน บางส่วนก็มีหน่วยงานทางราชการน้ำไปใช้ประโยชน์ อาทิเช่น ทุ่งหนองอ้อเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยนเรศวร

ทุ่งโศกาเป็นที่ตั้งค่ายพระยาจักรี เป็นต้น นอกจากการใช้พื้นที่ในลักษณะดังกล่าวแล้ว การขุดคลองระบายน้ำ คลองส่งน้ำ ชลประทานและการก่อสร้างทางหลวงผ่านพื้นที่ทำให้ระบบนิเวศของพื้นที่เปลี่ยนแปลงไปมากมาย


ตำบลนี้มี 11 หมู่บ้าน ได้แก่

สภาพทางสังคม

ชาวบ้านในตำบลท่าโพธิ์มีสภาพความเป็นอย ู่แบบเรียบง่าย มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน โดยชาวบ้านส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธ และมีวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจ และเป็นศูนย์รวมของการทำกิจกรรมทางศาสนา ในวันสำคัญต่างๆ และเนื่องด้วยสภาพภูมิประเทศที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ ซึ่งเอื้อต่อการทำ การเกษตร

ทำให้ประชาชนที่นี่ส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม และในการดำเนินชีวิต ชาวบ้านก็ได้นำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันด้วย

ประชาชนส่วนใหญ่ในเขตตำบลท่าโพธิ์ ประมาณร้อยละ 99 นับถือศาสนาพุทธ และร้อยละ 1 นับถือศาสนาอื่นๆ ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยมีศาสนสถานในเขตตำบลท่าโพธิ์ ดังนี้

วัด จำนวน 4 แห่ง

ศาลเจ้า จำนวน 2 แห่ง

การศึกษา

มหาวิทยาลัย จำนวน 1 แห่ง

วิทยาลัยอาชีวศึกษา จำนวน 1 แห่ง

ศูนย์การเรียนชุมชน จำนวน 1 แห่ง

ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน จำนวน 11 แห่ง

โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 4 แห่ง ได้แก่

  1. โรงเรียนชุมชน 1 วัดสะกัดน้ำมัน
  2. โรงเรียนบ้านคลองหนองเหล็ก
  3. โรงเรียนวัดคุ้งวารี (อำพันอุปถัมภ์)
  4. โรงเรียนวัดยางเอน (ประชานุเคราะห์)


ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 5 แห่ง

  1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองหนองเหล็ก
  2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังวน
  3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านยางเอน
  4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังส้มซ่า
  5. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคุ้งวารี


โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 2 แห่ง

  1. ขยายโอกาสโรงเรียนวัดยางเอน
  2. โรงเรียนวัดสะกัดน้ำมัน