หมู่ที่ 4

ข้อมูลทั่วไป

บ้านคลองคู หมู่ที่ 4 ตำบลท่าโพธิ์

วิสัยทัศน์ของหมู่บ้าน หมู่บ้านปลอดยาเสพติด เกษตรอินทรีย์ ดำเนินวิถีชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง” ข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้าน 1) ประวัติความเป็นมา/แผนที่หมู่บ้าน บ้านคลองคู เริ่มตั้งขึ้นเมื่อประมาณ 110 ปีมาแล้ว ชาวบ้านส่วนใหญ่อพยพมาจากภาคกลางตอนล่าง ได้จังหวัดนครปฐม จังหวัดอยุธยา จังหวัดอ่างทอง อพยพมาตั้งถิ่นฐาน ณ บริเวณ ริมคลองคู ซึ่งเป็นคลองน้ำธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่ และมีความกว้างยาวมาก เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ ที่สำคัญมีปลา โดยเฉพาปลาชะโด ชุกชุม “ชื้อบ้านคลองคู”มาจากการที่หมู่บ้านมีร่องน้ำและคูคลองล้อมรอบหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงเรียกว่า “บ้านคลองคู” มาจนถึงปัจจุบัน 2) ที่ตั้ง/พื้นที่ บ้านคลองคู ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกทางทิศตะวันตก ของที่ว่าการอำเภอเมืองพิษณุโลก ประมาณ 12 กิโลเมตร 3) จำนวนพื้นที่ของหมู่บ้าน มีพื้นที่ทั้งหมด จำนวน 1,544 ไร่ เอกสารสิทธิ์เป็นโฉนดทั้งหมู่บ้าน แยกเป็นดังนี้ -พื้นที่ทำการเกษตร (ทำนา/ทำสวน/ทำไร/อื่น ๆ) 1,295 ไร่ -พื้นที่อยู่อาศัย 249 ไร่

4)การคมนาคม หมู่บ้านอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองพิษณุโลก ประมาณ 12 กม. เส้นทางที่ใช้ในการเดินทางมายังหมู่บ้าน คือ เส้นทางสายพิษณุโลก – บางระกำ ซึ่งมีรถประจำทางวิ่งผ่านตลอดวัน และถนนภายในหมู่บ้าน แยกเป็น ถนนลาดยาง 2 สาย ระยะทาง 1,530 เมตร ถนนคอนกรีต 1 สาย ระยะทาง 920 เมตร ถนนลูกรัง 16 สาย ระยะทาง 13.110 กม.

5) อาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อ บ้านโป่งหม้อข้าว ตำบลท่านางงาม อ.บางระกำ ทิศใต้ ติดต่อ บ้านหัวกระทิง ตำบลท่าโพธิ์ อ.เมืองพิษณุโลก ทิศตะวันออก ติดต่อ บ้านในไร่ ตำบลท่าโพธิ์ อ. เมืองพิษณุโลก ทิศตะวันตก ติดต่อ บ้านโป่งหม้อข้าว ต.ท่านางงาม อ.บางระกำ 6) ลักษณะภูมิอากาศ/ภูมิประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมไม่ถึง มีหนอง บึง หรือลุ่มน้ำขังกระจายอยู่ทั่วไป ลักษณะดินเป็นดินร่วน,ดินร่วนปนทราย จนถึงดินเหนียว เป็นพื้นที่เหมาะสำหรับทำการเกษตรมีความอุดมสมบูรณ์และมีคลองชลประทานไหลผ่านหมู่บ้านและพื้นที่การเกษตรใช้น้ำจากชลประทาน โดยทำการเกษตรปีละ 2-3 ครั้ง บ้านคลองคูมีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ประกอบด้วย 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน -เดือนมีนาคม – มิถุนายน ฤดูฝน เดือนกรกฎาคม – ตุลาคม ฤดูหนาว เดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ 7)จำนวนครัวเรือน/จำนวนประชากร บ้านคลองคู มีครัวเรือนที่อาศัยอยู่จริง จำนวนครัวเรือน 118 ครัวเรือน รวมทั้งสิ้น 423 คน แยกเป็นชาย 196 คน เป็นหญิง 227 คน จำนวนประชากรที่อยู่อาศัยอยู่จริง ณ วันสำรวจ แยกตามช่วงอายุจากผลการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (จปฐ. 2) ปี 2557

อาชีพหลักของประชาชนบ้านคลองคู (1) การทำนา 84 ครัวเรือน (2) อาชีพรอง คือ ทำสวน เช่น มะม่วง กล้วย มะพร้าว นอกจากนี้ยังนิยมปลูกผักขาย เช่น มะระ ถั่วฝักยาว ฟัก แตงกวา เป็นต้น (1) อาชีพปลูกผักสวนครัว 25 ครัวเรือน

(2) อาชีพเลี้ยงสัตว์ 62 ครัวเรือน

(3) เพาะสุนัขบางแก้ว 3 ครัวเรือน (4) รับจ้าง 38 ครัวเรือน (5) ค้าขาย 9 ครัวเรือน (6) รับราชการ 3 ครัวเรือน

  • การว่างงาน – ไม่มี (1) กลุ่มอายุ 13-18 ปี จำนวน – คน (2) กลุ่มอายุ 19-24 ปี จำนวน – คน (3) กลุ่มอายุ 25 ปี ขึ้นไป จำนวน – คน

9)สภาพทางสังคมและการปกครอง แบ่งการปกครองออกเป็นคุ้มบ้าน จำนวน 6 คุ้ม ชื่อผู้นำในหมู่บ้าน (1). ผู้ใหญ่บ้าน นายบุญมี คำหมอน โทร. 087-319-1591 (2). ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน นายโหนก แตงบาง นางสาวกาญจนา ทับหุ่น นายวรรดี กันจู (3). สมาชิกสภา อบต. นางสาวชลอม โตพันปี นายคุณาธิป มาดหมาย 10)ศาสนาและประเพณี ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัดเป็นที่รวมจิตใจของชาวคลองคู มีวัฒนธรรมประเพณีที่ไม่ต่างไปจากชุมชนอื่นในจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งยึดถือตามประเพณีไทย เช่น ทำบุญเลี้ยงพระ วันสารท หรือวันสำคัญต่างๆ ประเพณีทำบุญกลางบ้าน

11)ปราชญ์ชาวบ้าน / ภูมิปัญญาท้องถิ่น – นายเชื้อ โตพันปี ภูมิปัญญาการขยายพันธ์พืช – นายสงคราม นาคท่าโพธิ์ ภูมิปัญญาการทำปุ๋ยชีวภาพ -นางบุญส่ง กันจู ภูมิปัญญาการทำบายศรี – นายสุทิน ทับหุ่น ภูมิปัญญาการทำบายศรี – นายเจริญ ทับหุ่น ภูมิปัญญาจักสาน – นายแหยม รัศมี ภูมิปัญญาจักสาน – นายบรรจง บุญคง ภูมิปัญญาเล่นกลองยาว – นายตูม วงค์สวรรค์ ภูมิปัญญาหมอนวดจับเส้น 12) สภาพทางเศรษฐกิจ ผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้แก่ข้าวกล้องหอมมะลิปลอดสาร น้ำยาอเนกประสงค์ต่าง ๆ เช่น น้ำยาล้างจาน น้ำยาปรับผ้านุ่ม ยาสระผม ยาหม่อง ฯลฯ ภายใต้ตราคลองคู

13)สถานที่บริการ สาธารณะ /ร้านค้าต่าง ๆ – อาคารอเนกประสงค์ 2 แห่ง – หอกระจายข่าว 2 แห่ง -ศูนย์เรียนรู้ชุมชน 1 แห่ง -ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน 1 แห่ง -ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี 1 แห่ง – โรงสีข้าวชุมชน 1 แห่ง – ธนาคารขยะ 1 แห่ง – ที่ทำการกลุ่มออมทรัพย์/กทบ. 1 แห่ง – ร้านค้า 5 แห่ง – ร้านตัดผม 2 แห่ง – ร้านเชื่อมกลึงโลหะ 1 แห่ง – ร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ 1 แห่ง

การวิเคราะห์ปัจจัยภายในหรือสภาพแวดล้อมภายใน จะทำให้หมู่บ้านทราบถึงความสามารถหรือความเป็นตัวตนของหมู่บ้าน ในการจัดเวทีประชาคมหมู่บ้าน/ ชุมชนได้วิเคราะห์ตนเองด้วยเทคนิค SWOT ดังต่อไปนี้ จุดแข็ง

  • เป็นหมู่บ้านเข้มแข็งมีความสามัคคี
  • มีความร่วมมือ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
  • มีคลองชลประทาน
  • กลุ่มผู้นำมีศักยภาพ
  • มีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
  • มีทุนของชุมชนและไม่มีปัญหาในการบริหารจัดการเงินทุน
  • มีโรงสีข้าวชุมชนและ กองทุนผลิตเมล็ดพันธ์ข้าว
  • มีศูนย์เรียนรู้ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
  • มีเงินทุน/เงินออมมาก
  • มีกลุ่มต่าง ๆ มาก จุดอ่อน
  • ประชาชนยังไม่กล้าแสดงความคิดเห็นเท่าที่ควร
  • ยึดติดการทำการเกษตรแบบดั้งเดิม การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก หรือสภาพแวดล้อมภายนอก ที่จะทำให้หมู่บ้านทราบถึงโอกาสและอุปสรรคการทำงานของหมู่บ้าน โอกาส คือ ได้รับการคัดเลือกเป็นหมู่บ้านต้นแบบ ตามโครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบและพัฒนาการเรียนรู้ ของสถาบันเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน มหาวิทยาลัยนเรศวร

อุุปสรรค คือ

  • การคมนาคมสะดวก ไม่ไกลตัวอำเภอและจังหวัด
  • ใกล้แหล่งจำหน่ายผลผลิต
  • งบสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆมีอย่างจำกัด
  • ต้นทุนการผลิตภาคการเกษตรและค่าครองชีพสูง
  • น้ำท่วม/น้ำแล้ง

ปัญหาสำคัญของชุมชนจากเวทีประชาคม

  • -ประชาชนมีรายได้น้อยและมีค่าครองชีพสูง
  • -ต้นทุนการผลิตภาคการเกษตรสูง
  • -งบประมาณในการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาในหมู่บ้านมีน้อย
  • -คนออกไปทำงานนอกหมู่บ้านไปทำงานรับจ้างทิ้งให้คนแก่ดูแลเด็กอยู่ในหมู่บ้าน ยุทธศาสตร์หรือแนวทางที่จะนำพาหมู่บ้านไปสู่ความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ “หมู่บ้านปลอดยาเสพติด เกษตรอินทรีย์ ดำเนินวิถีชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง” ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันแก้ไข ปัญหายาเสพติด ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนว ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาการผลิตภายใต้เกษตร อินทรีย์ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาแบบมีส่วนร่วม กลยุทธ์ภาย ใต้ยุทธ์ศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันแก้ไขปัญหา ยาเสพติด กลยุทธ์ที่ 1 อบรมอาสาสมัคร ตาสัประรด เฝ้าระวัง กลยุทธ์ที่ 2 ตั้งด่านตรวจและจัดเวรยาม กลยุทธ์ที่ 3อบรมให้ความรู้ กลยุทธ์ที่ 4 จัดแข่งขันกีฬาต้านยาเสพติด

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมกิจกรรมตามแนวปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง กลยุทธ์ที่ 2 อบรมให้ความรู้ กลยุทธ์ที่ 3 ศึกษาดูงาน กลยุทธ์ที่ 4 ส่งเสริมรับจัดฝึกอบรมและรับการ ศึกษาดูงาน/จัดที่พักแบบโฮมสเตย์ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาการผลิตภายใต้เกษตรอินทรีย์ กลยุทธ์ที่ 1ส่งเสริมการใช้สารอินทรีย์ในการผลิต กลยุทธ์ที่ 2 ฝึกอบรมให้ความรู้ กลยุทธ์ที่ 3 คิดค้นนวัตกรรมใหม่ในการป้องกัน แมลงและปุ๋ยชีวภาพ

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาแบบมีส่วนร่วม กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมการเชื่อมโยงผลประโยชน์ ระหว่างกลุ่มและบุคคล กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมการทำงานเน้นการมีส่วน ร่วมทุกขั้นตอน