วัดโบสถ์

วัดเสนาสน์

ที่ตั้ง

วัดเสนาสน์ ตั้งอยู่ที่ 128 หมู่ที่ 1 บ้านสวนป่าน ตำบลท่างาม อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก สังกัดสงฆ์มหานิกาย มีพื้นที่ตั้งวัดเนื้อที่ 10 ไร่ 2 งาน 60 ตารางวา ทิศเหนือยาว 7 เส้น 3 วา ทิศใต้ยาว 7 เส้น 5 วา ทิศตะวันตกยาว 3 เส้น 7 วา อาณาเขตทั้งสามด้านนี้ติดกับแม่น้ำสายดั้งเดิมที่กลายสภาพเป็นคลองบึงโอบล้อมบริเวณวัดทั้งสามทิศ ทิศตะวันออกยาว 3 เส้น 2 วา ติดกับแม่น้ำซึ่งเปลี่ยนทางเดิมจากแม่น้ำสายแรก และขณะนี้แปรสภาพเป็นบึงไปแล้วเช่นกัน

วัดเสนาสน์เป็นวัดโบราณเก่าแก่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยใดไม่มีใครท ราบแน่ชัดสันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างขึ้นก่อน พ.ศ.1232 และได้มีการย้ายสถานที่ตั้งเสนาสนะหลายครั้งหลายหน นับถึงปัจจุบันได้ 5 ครั้ง นับเป็นวัดชนิดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้วในราว พ.ศ. 1820 (กองพุทธศาสนาสถานกรมการศาสนากระทรวงศึกษาธิการ ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 7 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา 2531)

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อกับบ้านประชาชนหมู่ที่ 1

ทิศใต้ ติดต่อกับแหล่งน้ำธรรมชาติ

ทิศตะวันออก ติดต่อกับแม่น้ำแควน้อย

ทิศตะวันตก ติดต่อกับหมู่บ้าน

การคมนาคม

ในอดีตนิยมเดินทางไปวัดเสนาสน์ทางเรือ แต่ในปัจจุบันประชาชนนิยมเดินทางบกจะมีรถโดยสารประจำทางผ่านวัด หลายสาย หรือสามารถไปโดยรถยนต์ส่วนตัวได้สะดวกที่สุด

ประวัติความเป็นมา

ชาวบ้านเล่าว่าเดิมวัดเสนาสน์เริ่มสร้างพร้อมกับวัดโบสถ์ ตำบลวัดโบสถ์ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก วัดทั้งสองมีการแข่งขันกันสร้างวัด ถ้าวัดใดสร้างเสร็จก่อนให้ตีกลองแสดงว่าสร้างเสร็จ วัดนั้นจะได้พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าและพระศาสดาสาวกขอ งพระพุทธเจ้าไปประดิษฐานเป็นมิ่งมงคลของวัด วัดเสนาสน์จึงได้ทำอุบาย ใช้ผ้าขาวมุงหลังคาเสร็จได้ลั่นกลองดังสนั่นแสดงว่าสร้างวัดเสร ็จก่อน วัดเสนาสน์ จึงได้พระบรมสารีริกธาตุไปเก็บรักษาไว้

ตำนานพื้นบ้านและเอกสาร

หลักฐานเอกสารเขียนโดยพระเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) ได้เรียบเรียงไว้ในหนังสือเรื่องพระปฐมเจดีย์กล่าวว่า “พระมหาเถรไหล่ลายได้นำพระบรมธาตุมาจากลังกา 650 พระองค์ นำไปบรรจุตามสถานที่ต่าง ๆ หลายแห่งและได้บรรจุไว้ในวัดเสนาสน์ 36 พระองค์ เมื่อมหาไหล่ลายบรรจุพระบรมสารีริกธาตุนั้น พระพุทธศักราชได้ 1,432 พรรษา” จากเอกสารนี้ แสดงว่า วัดเสนาสน์มีอายุถึง 1,121 ปีแล้ว (นับถึงปี พ.ศ. 2553)

เป็นเรื่องแปลกอย่างหนึ่งที่ “เสนาสน์” เป็นเพียงชื่อวัดอย่างเดียวเท่านั้นไม่มีหมู่บ้านหรือตำบลที่ชื ่อเสนาสน์เลย ชาวบ้านที่มาทำบุญในวัดเสนาสน์เป็นประจำได้แก่ชาวบ้านสวนป่าน ชาวบ้านใหม่เหนือ ชาวบ้านใหม่ใต้ ชาวบ้านหัวคงคา และชาวบ้านหนองปลิง ถ้ากล่าวถึงชาววัดเสนาสน์ คนในละแวกนั้นจะเข้าใจว่าหมายถึงชาวบ้านส่วนป่านเท่านั้น แต่คนในถิ่นอื่นจะเข้าใจว่าชาวเสนาสน์ คือชาวบ้านสวนป่าน ชาวบ้านใหม่ เหนือ ชาวบ้านใหม่ใต้ และชาวบ้านหัวคงคาด้วย

หลักฐานโบราณวัตถุสถานในวัดเสนาสน์

1.ศาลาการเปรียญ จำนวน 1 หลัง ลักษณะทรงไทยทั่วไป ชั้นเดียวยกพื้นสูง เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดกว้าง 24 เมตร ยาว 42 เมตร ใช้ประโยชน์ในการทำพิธีการทางศาสนาและวันสำคัญต่าง ๆ

2.อุโบสถ จำนวน 1 หลัง เป็นพระอุโบสถศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ ภายในอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปซึ่งเป็นพระประทาน ลักษณะทรงไทย เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดกว้าง 6.50 เมตร ยาว 13 เมตร ประโยชน์ใช้ในการทำพิธีอุปสมบท และทำวัตรเช้า - เย็น

3. วิหารคต (วิหารหลวงพ่อโต) จำนวน 1 หลัง ลักษณะทรงไทย เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหลัง ขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 12 เมตร

4. หอระฆัง จำนวน 1 หลัง ลักษณะทรงไทยวิจิตร 3 ชั้น เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหลัง ประดับตกแต่งลายปูนปั้น กระจกแก้วสี ติดลูกกรงแก้ว แนวระเบียง ขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 3 เมตร สูง 15 เมตร

5. หอสวดมนต์ จำนวน 1 หลัง ลักษณะทรงไทย 2 ชั้น เป็นไม้เนื้อแข็งทั้งหลัง ขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 10 เมตร (ปัจจุบันใช้ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ)

6. เรือยาว พญาอินทรีย์ จำนวน 1 ลำ ขุดด้วยไม้ตะเคียงขนาดใหญ่ยาว 13 วา บรรจุฝีพายจำนวน 48 คน ได้ทำชื่อเสียงให้แก่หมู่บ้าน วัดหลายสมัย

7. พระบรมสารีริกธาตุ ปูชนียวัตถุอันล้ำค่า เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนทั่วไปเคารพนับถือ กราบไหว้บูชา

8. สถูปเจดีย์ จำนวน 1 องค์ ลักษณะย่อมุม 12 เหลี่ยม ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังของวิหาร (หลวงพ่อโต)

9. พระมหาเจดีย์ จำนวน 1 องค์ ลักษณะย่อมุม 12 เหลี่ยม ขนาดความสูง 44 เมตร กว้าง 28 เมตร เพื่อเป็นสถานที่สำหรับประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ เริ่มสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2553

ประวัติความเป็นมาของพระบรมสารีริกธาตุที่ประดิษฐานที่วัดเสนาส น์

ได้มีประวัติกล่าวไว้เพียงบางตอนจากหนังสือเรื่อง “พระปฐมเจดีย์” ซึ่งมี “เจ้าพระยาทิพากรณ์ (นายขำ บุนนาค)” เป็นผู้เรียบเรียงไว้ ดังมีข้อความกล่าวไว้ว่า จะกล่าวถึงมหาไหล่ลาย ซึ่งเป็นลูกชายของนายเชนกกษัตริย์ในเชื้อพระวงศ์พระยาศรีสิทธิไ ชย เมื่อครั้งที่พระมหาไหล่ลายยังมิได้บวชนั้นได้เข้ารับราชการเป็ นมหาดเล็กของพระเจ้าแผ่นดินเมืองละโว้ แล้วกระทำชู้กับนางพระสนมของพระยาฯ เมื่อถูกจับได้จึงให้ลงโทษด้วยการสักไหล่เสียข้างหนึ่ง แล้วจึงส่งไปเป็นตะพุ่นหญ้าม้า ตั้งแต่บัดนั้นมาจึงได้ปรากฏนามว่า “มหาไหล่ลาย” ต่อมาอีกไม่นานมหาไหล่ลายพร้อมด้วยนายเชนกกษัตริย์ผู้เป็นบิดาก ็ได้พากันหนีไปอยู่เมืองหลวงต่อแดนเมืองเชียงใหม่ โดยมหาไหล่ลายได้เข้าไปหาท่านเจ้าอธิการเพื่อขอบวชเป็นพระภิกษุ แต่คณะสงฆ์มิได้ทำการบวชให้ มหาไหล่ลายจึงได้ขอบวชเป็นสามเณรแทนจนสำเร็จดังประสงค์ พออยู่ได้ไม่นานนักสามเณรไหล่ลายก็ได้ทราบข่าวว่าจะมีเรือสำเภา เดินทางไปยังเมืองลังกา สามเณรไหล่ลายจึงได้ขออาศัยโดยสารเรือสำเภาลำดังกล่าวเดินทางไป ด้วยจนกระทั่งถึงปากน้ำทางเข้าเมืองลังกา สามเณรไหล่ลายจึงได้นำบาตรและไม้เท้าของตนใส่ลงในกระโล่ แล้วก็ลอยเข้าไปในเมืองลังกาในวัดเดียวกันนั้นเอง โดยเข้าไปขอพักอาศัยอยู่กับพระภิกษุเฒ่า และได้ของร้องให้พระภิกษุเฒ่ารูปหนึ่งได้พาตนเข้าไปหาสมเด็จพระ สังฆราช เมื่อพบกันแล้วสมเด็จพระสังฆราชจึงได้ถามความกับสามเณรไหล่ลายว ่า “เจ้าเณรเข้ามาอยู่ในเมืองลังกาเพื่อประยชน์อันใดหรือ” ซึ่งสามเณรไหล่ลายก็ได้ทูลว่า “กระผมมีความประสงค์ใคร่ขอบวชเป็นพระภิกษุ” สมเด็จพระสังฆราชจึงได้แจ้งความประสงค์ของสามเณรไหล่ลายให้คณะส งฆ์พิจารณา ผลปรากฏว่าคณะสงฆ์ทั้งหลายไม่ยินยอมให้ทำการบวช เนื่องจากสามเณรไหล่ลายนั้นเป็นผู้ต้องทาซึ่งถูกสักไหล่ข้างหนึ ่ง และหนีออกมาไม่สามารถที่จะทำการบวชให้ได้ เมื่อสามเณรไหล่ลายได้ทราบความดังกล่าว ก็มิได้เอ่ยปากขอบวชอีกเลย เพียงแต่ขอร้องให้คณะสงฆ์เหล่านั้นได้นำตนเองเข้าไปนมัสการสักก าระพระบรมสารีริกธาตุในพระมหาเจดีย์เท่านั้น ซึ่งทางคณะสงฆ์ก็ได้ยินยอมพาสามเณรไหล่ลายเข้าไปในพระมหาเจดีย์ จนกระทั่งถึงยังต้นโพธิ์สามเณรไหล่ลายก็ได้ทำการทักษิณาวรรตจนค รบสามรอบแล้ว ก็บังเกิดความมหัศจรรย์ขึ้นโดยกิ่งต้นโพธิ์ด้านทิศทักษิณได้น้อ มกิ่งลงมาให้สามเณรไหล่ลายจับใส่เหนือเศียรพร้อมทั้งยังมีพระบร มสารีริกธาตุเสด็จออกมาแสดงพระปาฏิหาริย์ตั้งลอยอยู่เหนือเศียร สามเณรไหล่ลาย มีรัศมีเปล่งประกายสว่างไสว ให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของเหล่าคณะสงฆ์ทั้งปวงโดยถ้วนทั่วก ัน

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าว คณะสงฆ์ทั้งได้ประจักษ์ซึ่งบุญญาบารมีของสามเณรไหล่ลายคณะสงฆ์ท ั้งหลายจึงได้ยินยอมพร้อมใจกันทำการบวชให้สามเณรไหล่ลายเป็นพระ ภิกษุโดยสมบูรณ์ทันทีหลังจากนั้นมาพระมหาไหล่ลายก็ได้เดินทางไป นมัสการสักการะพระพุทธบาทและพระมหาเจดีย์แห่งอื่น ๆ จนทั่วแล้วจึงเดินทางกลับมา และสมเด็จพระสังฆราชก็ได้เมตตาประทานพระบรมธาตุ จำนวน 650 พระองค์ พร้อมด้วยผลของต้นศรีมหาโพธิ์ให้แก่พระมหาไหล่ลายได้นำไปบรรจุแ ละปลูกในเมืองแห่งอื่น ๆ จะได้ให้เหล่าสมณชีพราหมณ์ และท้าวพระยา ประชาราษฎร์ทั้งปวงจะได้นมัสการสักการบูชาสืบต่อไป เมื่อหน้ากว่าพระศาสนาได้ 500 พรรษา

จากนั้นพระมหาไหล่ลายก็ได้กราบทูลลาสมเด็จพระสังฆราชและคณะสงฆ์ ทั้งหลายกลับชมพูทวีป และเมื่อไปถึงนครชัยศรี วัดพระเชตุพน พระมหาไหล่ลายจึงได้ทำการแบ่งพระบรมธาตุนำไปบรรจุไว้ในพระมหาเจ ดีย์ พระปางสมาธิ และพระเสมาทั้งสี่ รวมทั้งสิ้นจำนวน 16 พระองค์ แบ่งไปบรรจุไว้ในพระปางค์ไสยาสน์ พระประธานใหญ่รวม 36 พระองค์ แบ่งไปบรรจุไว้ในพระโพธิพารักษ์ จำนวน 36 พระองค์ แบ่งไปบรรจุไว้ในพระป่าเลไลย จำนวน 36 พระองค์ แบ่งบรรจุไว้ในเมืองชัยนาทจำนวน 36 พระองค์ ส่วนผลตนมหาโพธิ์ไปปลูกไว้ริมหนองนอกวัดเขมาปากน้ำ จึงได้ปรากฏชื่อว่า “มหาโพธิ์เมืองลังกา” หลังจากนั้นก็ทำการแบ่งพระบรมธาตุไปบรรจุไว้ที่วัดหน้าพระธาตุเ มืองอโยธยาอีก จำนวน 16 พระองค์ แบ่งไปบรรจุไว้ในพระพุทธบาท จำนวน 36 พระองค์ แบ่งไปบรรจุในเขานครสวรรค์จำนวน 36 พระองค์ แบ่งไปบรรจุในต้นศรีมหาโพธิ์ที่ปลูกไว้ ณ อ่างทอง จำนวน 36 พระองค์ แบ่งไปบรรจุไว้ในเมืองหลวงสวนแก้ว จำนวน 36 พระองค์ และแบ่งไปบรรจุไว้ในวัดเสนาสน์ จำนวน 36 พระองค์ (ขณะนั้น พระพุทธศักราชได้ 1232 พรรษา) แบ่งไปบรรจุไว้ในวัดบูรพาราม จำนวน 30 พระองค์ แบ่งไปบรรจุไว้ในวัดมหาสถาน จำนวน 30 พระองค์ (ซึ่งทั้งสามอารามสุดท้ายนี้ ล้วนอยู่ในแดนเมืองพิษณุโลกทั้งสิ้น) และเมื่อพระมหาไหล่ลายได้แบ่งพระบรมธาตุไปบรรจุในเมืองอื่น ๆ จนหมดสิ้นทั้ง 650 พระองค์แล้ว พระมหาไหล่ลายก็ได้เดินทางกลับไปอยู่ยังเมืองละโว้ดังเดิม

ประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุ

ในสมัยโบราณประชาชนในจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดใกล้เคียงรู้จัก วัดเสนาสน์เพราะงานสรงน้ำพระบรมธาตุ ซึ่งเป็นงานที่ใหญ่โตมาก

ส่วนใหญ่ในช่วงก่อนเทศกาลตรุษ 2 – 3 วัน จะมีประเพณีบวชนาคหมู่ มีงานฉลอง ทำบุญตรุษ และงานประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุติดต่อกันไปการสรงน้ำพระบรมธาตุจ ัดขึ้นในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 อันเป็นวันสุดท้ายของงาน ผู้สูงอายุมักเดินทางไปยังวัดเสนาสน์ตั้งแต่ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 4 พักค้างคืนเพื่อปฏิบัติธรรมที่วัด ในตอนเช้าวันรุ่งขึ้นคือวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ก็ร่วมทำบุญตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา และร่วมสรงน้ำพระบรมธาตุแล้วจึงเดินทางกลับ เพื่อไปร่วมงานประเพณีที่วัดโบสถ์ต่อไป สำหรับคนหนุ่มคนสาวที่ยังแข็งแรงจะเดินทางไปวัดเสนาสน์ในวันขึ้ น 1 ค่ำ เดือน 5 ร่วมสรงน้ำพระบรมธาตุและดูการละเล่นแล้วจึงเดินทางกลับ ในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 นี้เองทางวัดโบสถ์ก็จัดงานประเพณีประจำปีของวัดต่อทันที ประชาชนก็จะเดินทางไปร่วมงานบุญที่วัดโบสถ์ต่ออีกงานหนึ่งการที ่วัดโบสถ์จัดงานต่อจากวัดเสนาสน์เนื่องจากเป็นการให้เกียรติที่ วัดเสนาสน์เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ จึงให้วัดเสนาสน์จัดงานประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุก่อน เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่โบราณจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

ในสมัยก่อนงานประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุวัดเสนาสน์ นอกจากจะมีมหรสพต่าง ๆ แล้ว บรรดานักแข่งม้าจะพากันมาแข่งม้าในบริเวณงานวัด นักเลงที่มีเรื่องบาดหมางหรือไม่ถูกชะตากันจะนัดมาชกต่อยตีกันเ พื่อชำระความแค้นเพราะถือว่าที่วัดเสนาสน์มีพระบรมธาตุเป็นสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง และเป็นสักขีพยานชกต่อยตีกันไม่มีการเอาเรื่องขึ้นโรงขึ้นศาล ไม่เลือดตกยางออกถึงอันตรายร้ายแรง

การเดินทางไปร่วมงานสรงน้ำพระบรมธาตุวัดเสนาสน์ในสมัยก่อนไม่มี ยานพาหนะใด นอกจากการเดินเท้า บนเส้นทางมีประชาชนเป็นจำนวนมากหลั่งไหลไปสู่ปูชนียสถานอันสำคั ญ บริเวณริมทางเดินมีผู้ใจบุญสร้างศาลาพักร้อนไว้หลายแห่ง “ศาลายายตั้ว” “ศาลาตาโทน – ยายมี” เป็นชื่อที่จารึกอยู่ในใจของผู้เดินทางบนเส้นทางสายบุญแห่งนี้ใ นศาลาพักร้อนยังมีน้ำใส่โอ่งดินเผาเย็นชื่นใจไว้ให้ดื่ม ศาลาบางแห่งมีข้าวต้มใส่หัวผักกาดเค็มโรยด้วยมะพร้าวขูดอยู่ในก ระทะใบบัวใบใหญ่ บางแห่งมีข้าวต้มมัด กล้วย อ้อย และผลไม้พื้นบ้านไว้ให้รับประทานของผู้ให้ ซึ่งต่างก็กำลังเดินทางไปบนเส้นทางบุญเช่นเดียวกัน

หนุ่มสาวที่เดินทางไปร่วมงานประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุวัดเสนาสน์ บางคู่เกิดความเห็นอกเห็นใจ ผูกพันรักใคร่จนได้แต่งงานกันก็มีเป็นจำนวนมาก ผู้อาวุโสและมีประสบการณ์ในเรื่องเล่านี้เล่าว่า เมื่อสมัยที่ท่านยังเป็นหนุ่มสาว ท่านมีความประทับใจในการเดินทางไปสรงน้ำพระบรมธาตุที่วัดเสนาสน ์มาก ตลอดเส้นทางที่เดินไปเต็มไปด้วยกระแสแห่งบุญที่ใจสัมผัสได้ มีความปีติอบอุ่นและเป็นสุข แม้เมื่อเดินทางกลับก็ยังไม่อยากให้ถึงบ้าน อยากให้เส้นทางสายบุญแห่งนี้ยาวไกลออกไปเรื่อย ๆ ท่านทั้งสองเกิดความผูกพันเข้าใจซึ่งกันและกันจนได้แต่งงานกันใ นที่สุด และได้ใช้ชีวิตคู่ร่วมกันมาอย่างผาสุก เป็นเวลากว่า 50 ปีมาแล้ว (อาจารย์บุญทัน และอาจารย์ธีรวรรณ คงจันทร์)

พิธีสรงน้ำพระบรมธาตุ คณะกรรมการจะนำพระบรมธาตุออกมาประดิษฐานไว้บนบุษบกคานหาม แห่ไปเรื่อย ๆ บริเวณงาน บางปีคณะกรรมการวัดจะนำกระบองไม้แปดเหลี่ยมที่มีคู่กับคานหามมา แต่เดิมออกแห่ด้วย แต่มีความเชื่อว่าถ้าปีใดนำกระบองร่วมแห่ในพิธีสรงน้ำพระบรมธาต ุด้วย ปีนั้นจะมีเหตุตีรันทำร้ายกัน จึงมิได้นำกระบองนั้นออกมาร่วมพิธีทุกปี หลังจากแห่พระบรมธาตุแล้วก็ทำพิธีสรงน้ำซึ่งผสมด้วยของหอม และขมิ้น การสรงน้ำ บางคนเทน้ำรดในภาชนะให้น้ำล้นออกมา บางคนใช้มือลงซาว (คน) พระรมธาตุในภาชนะที่รองรับไปมา ต่อมาในภายหลังมีการนำสีย้อมผ้าสีเหลืองมาผสมกับน้ำหอมเป็นน้ำส ำหรับใช้สรง

พระบรมธาตุ ทำให้พระบรมธาตุซึ่งเดิมเป็นสีขาวคล้ายสีงาช้าง ถูกอาบย้อมจนมีสีเหลืองคล้ายสีผ้าย้อมฝาดไปเป็นจำนวนมาก เจ้าอาวาสได้เสนอให้มีการปรับเปลี่ยนวิธีสรงน้ำพระบรมธาตุ แต่ชาวบ้านและคณะกรรมการวัดบางท่านยังยืนยันจะปฏิบัติเช่นเดิม เพราถือว่านั่นคือประเพณีที่ปฏิบัติกันมานาน

หลังจากสรงน้ำพระบรมธาตุและมีการตรวจนับจำนวนเก็บไว้ตามภาชนะเด ิมที่บรรจุแล้ว ประชาชนก็จะเข้าไปสรงน้ำหลวงพ่อโตซึ่งประดิษฐานอยู่ในวิหารต่อไ ป

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ได้มีการนำพระบรมธาตุมาทำพิธีสรงน้ำเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งวัน คือในวันสงกรานต์ของทุกปี เพราะถือว่าในวันสงกรานต์เป็นวันประเพณีรดน้ำดำหัวผู้ที่เคารพน ับถือของไทยมาแต่โบราณ

ในปี พ.ศ. 2542 พิธีสรงน้ำพระบรมธาตุได้มีการปรับเปลี่ยนไปคือ เมื่อคณะกรรมการวัดอัญเชิญพระบรมธาตุมาประดิษฐานไว้บนบุษบกแล้ว ได้จัดตั้งบายศรีเครื่องสักการบูชา และคำบูชาพระบรมสารีริกธาตุไว้เบื้องหน้า ด้านข้างเบื้องซ้ายของบุษบกที่สำหรับขึ้นไปเทน้ำสรงพระบรมธาตุล งในภาชนะรูปอ่างเมื่อเทน้ำสรงพระบรมธาตุลงไปอ่าง น้ำจะไหลไปตามลำรางสู่ท่อฝักบัว และโปรยลงยังพระบรมธาตุในบุษบก จากนั้นจะมีลำรางให้น้ำที่สรงพระบรมธาตุแล้วนี้ไหลออกมา แล้วนำน้ำนี้บรรจุขวดไว้ให้พุทธศาสนิกชนนำไปประพรมบ้านเรือนเพื ่อเป็นสิริมงคลต่อไป

อภินิหารและความศักดิ์สิทธิ์ของพระบรมสารีริกธาตุ

จากหลักฐานประวัติศาสตร์การบอกเล่าหรือจากการสัมภาษณ์ผู้สูงอาย ุในเขตพื้นที่ของอำเภอวัดโบสถ์ จำนวน 150 คน พอสรุปได้ว่า องค์พระบรมสารีริกธาตุที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดเสนาสน์จะเสด็จมาท ี่วัดเสนาสน์และกลับเอง โดยเฉพาะเมื่อใกล้จะวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปีนั้น ช่วงระยะกลางดึกจะปรากฏวัตถุเรืองแสงเกาะกันเป็นกลุ่มลอยผ่านหล ังคาบ้านเรือน และเมื่อถึงบริเวณที่ตั้งวัดเสนาสน์วัตถุเรืองแสงดังกล่าวนั้นจ ะลอยต่ำลงและหายไปในที่สุด จวบจนกระทั่งพิธีการสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุเสร็จสิ้นลง ในช่วงกลางดึกประมาณเวลาเดียวกัน จะปรากฏวัตถุเรืองแสงลอยขึ้นจากบริเวณที่ตั้งวัดเสนาสน์และเกาะ กันเป็นกลุ่มลอยย้อนกลับไปในทิศที่เห็นในทิศที่เห็นในครั้งแรกด ังกล่าว และที่แปลกมากยิ่งขึ้นกล่าวคือ หากในปีใดประชาชนชาววัดเสนาสน์มีความสมัครสมานสามัคคี มีความเป็นอยู่ที่ดีมีความสุข ในปีนั้นก็จะมีพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานปรากฏอยู่จนเกือบเต ็มโถแก้ว แต่หากในปีใดประชาชนชาววัดเสนาสน์แตกแยกความสามัคคีซึ่งกันและก ัน ข้าวยากหมากแพง ในปีนั้น พระบรมสารีริกธาตุจะมาประดิษบานปากฎอยู่น้อยมากจนเกือบหมดโถ

และจากคำบอกเล่าของภิกษุสูงอายุรูปหนึ่งซึ่งสังกัดอยู่ ณ วัดเสนาสน์ คือ “หลวงตาไปล่อินทโชโต” อายุ 96 ปี ได้เล่าให้ฟังว่าเมื่อสมัยก่อนนั้นได้เกิดโรคอหิวาตกโรค (โรคห่า) แพร่ระบาดในหมู่บ้าน เป็นเหตุให้มีชาวบ้านล้มตายเป็นจำนวนมาก สร้างความหวาดกลัวให้แก่ชาวบ้านเป็นอย่างมาก และในครั้งนั้นเองก็ได้มีชาวบ้านบางกลุ่มนำน้ำที่ผ่านการสรงองค ์พระบรมสารีริกธาตุแล้ว ไปจุดธูปเทียนกล่าวอธิษฐานและดื่มกิน ซึ่งปรากฏว่าชาวบ้านกลุ่มดังกล่าวสามารถรอดพ้นและปลอดภัยจากโรค ระบาดได้

ดังนั้น เมื่อถึงวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ของทุก ๆ ปี เพียง 1 วันเท่านั้น ที่ทางวัดเสนาสน์จะจัดพิธีสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งมีพุทธศาสนิกชนทั่วไปหลั่งไหลเข้ามาเพื่อนมัสการพระบรมสารี ริกธาตุเป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งมีชาวบ้านอีกหลายคนมารอคอยเพื่อรองรับน้ำสรงที่ล้นออก มาจากภาชนะบรรจุองค์พระบรมสารีริกธาตุ นำไปปะพรมคนในครอบครัว บ้านเรือน ไร่นา และอื่น ๆ ให้เกิดความเป็นสิริมงคล ขจัดปัดเป่าความทุกข์นานาประการให้หมดไปจากครอบครัว ตลอดจนตราบถึงปัจจุบันนี้

ที่มา : http://www.thangarm.go.th/system/showdata.asp?TID=546