ด้านที่ 1ด้านการจัดการเรียนรู้

ผลลัพธ์ (Outcomes)

1.นักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะการฟังภาษาจีนในสถานการณ์ต่างๆในชีวิตประจำวัน
2.นักเรียนได้พัฒนาทักษะการฟังเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการสอบวัดระดับภาษาจีน เพื่อการศึกษาต่อ
3นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นไปตามค่าเป้าหมายของสถานศึกษา
4.นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาจีน การมีส่วนร่วมและการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน

ตัวชี้วัด (Indicators)

1.นักเรียนร้อยละ 70 มีผลคะแนนการทดสอบผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 60ของคะแนนเต็ม
2.นักเรียนร้อยละ 60มีทักษะฟังภาษาจีนได้ดีขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด
3.นักเรียนร้อยละ 70 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ระดับผลการเรียน 2.5 ขึ้นไป
4. นักเรียนมีความพึงพอใจในกิจกรรมการเรียนการสอนของครูอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3 ขึ้นไป)
5.นักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ได้รับการซ่อมเสริม แก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาจนมีผลการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์

ผลลัพธ์จากการพัฒนาตามข้อตกลง PA

ภาคเรียนที่ 2/2564

  • นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 44 คน ได้คะแนนทดสอบผ่านเกณฑ์ที่กำหนด 40 คน คิดเป็นร้อยละ 90.90

  • นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 44 คน ได้คะแนนทดสอบHSK ด้านการฟังผ่านเกณฑ์ที่กำหนด 42 คน คิดเป็นร้อยละ 95.45

  • นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 44 คน มีผลสัมฤทธิ์ทางกรเรียนในระดับผลการเรียน2.5 ขึ้นไป จำนวน 44 คน
    คิดเป็นร้อยละ100

  • ผู้เรียนมีความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ของข้าพเจ้าอยู่ในระดับ "มาก" (ค่าเฉลี่ย 3.75)

ภาคเรียนที่ 1/2565


  • นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 42 คน ได้คะแนนทดสอบผ่านเกณฑ์ที่กำหนด 39 คน คิดเป็นร้อยละ 92.86

  • นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 42 คน ได้คะแนนทดสอบHSK ด้านการฟังผ่านเกณฑ์ที่กำหนด 40 คน คิดเป็นร้อยละ 95.24

  • นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 42 คน มีผลสัมฤทธิ์ทางกรเรียนในระดับผลการเรียน2.5 ขึ้นไป จำนวน 42 คน
    คิดเป็นร้อยละ100

  • ผู้เรียนมีความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ของข้าพเจ้าอยู่ในระดับ "มาก" (ค่าเฉลี่ย 3.80)

ปพ.5-2564-2-จ32202ภาษาจีน4.pdf

การประเมินผลการเรียน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564

รายวิชาภาษาจีน4 จ32202


1.1การสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร


ข้าพเจ้าได้มีการจัดการวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางและหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ พุทธศักราช 2551 ฉบับปรับปรุง 2564ใ นส่วนของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาจีน (วิเคราะห์ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง)และดำเนินการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ของภาคเรียนก่อนหน้าโดยจัดทำ แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาจีน 3 (จ32201) ที่สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา ของภาคเรียนก่อนหน้าเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่จะพัฒนาผู้เรียน

หลักสูตรสถานศึกษา2564.pdf

หลักสูตรสถานศึกษา

พุทธศักราช 2564

โครงสร้างหลักสูตร 64.pdf

โครงสร้างหลักสูตรและคำอธิบายรายวิชา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

ปีการศึกษา 2564-2566

เอกสารการจัดทำหลักสูตร (จีน).pdf

การวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้
และตัวชี้วัดรายวิชาภาษาจีน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย


1.2การออกแบบการจัดการเรียนรู้


ข้าพเจ้าออกแบบการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ Active Learning เน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะและมีกระบวนการในรายวิชา ภาษาจีน (จ32201)
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ผ่านโครงการสอน เป็นการเน้นกระบวนการเรียนรู้ และสามารถลงมือปฏิบัติจริงผ่านสื่อหรือกิจกรรมต่างๆ ซึ่งมีความเหมาะสมต่อการออกแบบการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาภาษาจีน ซึ่งผู้เรียนสามารถที่จะนำบทเรียนนี้สามารถนำไปใช้ได้ในสถานกาณ์ต่างๆได้จริง

การจัดทำหน่วยการเรียนรู้ ข้าพเจ้าได้นำการวิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษา มาจัดทำหน่วยการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
ในวิชาภาษาจีน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยให้ความสำคัญกับคุณภาพของนักเรียนเป็นสำคัญ ทั้งด้านศักยภาพ เวลาที่เหมาะสมทั้งกับโครงสร้างหลักสูตร
และการรับรู้ของนักเรียน ให้นักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ เรียนรู้ด้วยตัวเองและสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพต่อไป

Course Outline ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564

Course Outline จีนหลักม.5.docx

Course Outline ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565

Course Outline จีน1.pdf
แผนการสอน-หลังแผน.pdf

แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาภาษาจีน3 จ31202
เรื่อง
祝你生日快乐 สุขสันต์วันเกิด

บันทึกหลังแผน1 แผน -65.pdf

บันทึกหลังการสอน ตามแผนการจัดการเรียนรู้
รายวิชาภาษาจีน3 จ31202 เรื่อง 祝你生日快乐 สุขสันต์วันเกิด

การออกแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาจีน

ในรายวิชาภาษาจีน มีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ Active Learning ซึ่งเป็นการเน้นกระบวนการเรียนรู้ และสามารถลงมือปฏิบัติจริงผ่านสื่อหรือกิจกรรมต่างๆ ซึ่งมีความเหมาะสมต่อการออกแบบการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาภาษาจีน ซึ่งผู้เรียนสามารถที่จะนำบทเรียนนี้สามารถนำไปใช้ได้ในสถานกาณ์ต่างๆได้จริง


1.3 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้


ข้าพเจ้ามีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเทคโนโลยี สื่อ นวัตกรรม สื่อการเรียน มีการออกแบบสื่อการเรียนรู้ เช่น Power Point, Padlet , Youtube , HSK Online มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และเป็นส่วนหนึ่งในเครื่องมือการวัดและประเมินผล จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่เน้นให้ผู้เรียนปฏิบัติ โดยการพัฒนาทักษะการการฟังภาษาจีนผ่านรูปแบบการฟังที่มีความหลากหลาย ทั้งประโยคสั้น บทสนทนาตามสถานการณ์ต่างๆที่กำหนด เรียนรู้ คำศัพท์รูปประโยคภาษาจีนที่ใช้ในการฟังของระดับ HSK3 โดยเน้นกิจกรรมให้นักเรียนได้มีการฝึกฟังและฝึกปฏิบัติจริง การฟังเสียงจากเจ้าของภาษา

1)พัฒนาสื่อการเรียนรู้ที่เป็นสื่อการสอนที่นักเรียนสามารถศึกษาได้ทุกที่ ผ่านสื่อที่ครูสร้างขึ้น

​ 2)แหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องสำหรับแนะแนวทางการศึกษาเพิ่มเติมให้นักเรียนคือ โปรแกรม HSK Online

ภาพบรรยากาศในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาจีน

สื่อออนไลน์ ที่สามารถทำการทดสอบการฟังด้วยตัวเองได้

โปรแกรมสอบวัดระดับHSK online ทางด้านการฟัง HSK3

ตัวอย่างผลงานนักเรียน

ตัวอย่างผลงานนักเรียน

(การนำเสนอวัฒนธรรมผ่านละครจีน)

ตัวอย่าง ผลงานนักเรียน
(
เทศกาลวันไหว้ขนมบะจ่างและการแข่งเรือมังกร)

ตัวอย่าง การนำเสนอคำศัพท์การแต่งประโยค HSK3


1.4 การสร้างและพัฒนาสื่อ นวัตกรรมเทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้


ข้าพเจ้ามีการการสร้างและพัฒนาสื่อ นวัตกรรมเทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้ ในรายวิชาภาษาจีนข้าพเจ้าได้เลือกและคัดเนื้อหา ในการสอนต่างๆให้เหมาะสมกับช่วงวัยของผู้เรียน เนื้อหามีความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ได้มีการจัดทำสื่อการสอนและการนำสื่อต่างๆมาใช้เพื่อช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างหลากหลาย เว็บไซต์บทเรียนออนไลน์ , โปรแกรม HSK Online , live worksheets, มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และเป็นส่วนหนึ่งในเครื่องมือการวัดและประเมินผล เช่นรวมถึงนักเรียนสามารถเข้าถึงสื่อ และใช้สื่อการเรียนรู้ได้อย่างง่ายผู้เรียนสามารถนำนวัตกรรมนั้นไปเผยแพร่ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนวิชาอื่นๆ สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้ออกมาอย่างหลากหลายและสร้างสรรค์

การนำเสนอ หมวดของอักษรข้างของภาษาจีน

第18 课我去超市买东西.pdf

การสร้างสื่อการสอนจาก PPT ในการนำเสนอคำศัพท์ และ
ประโยคสนทนา (เรื่อง ไปซื้อของที่ซุปเปอร์มาเก็ต)

การทำใบงานออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Top worksheets

เกมเปิดแผ่นป้าย


1.5 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้


ข้าพเจ้าได้ใช้เทคนิคที่หลากหลาย ได้แก่ แบบทดสอบ แบบสังเกต แบบวัดเจตคติ แบบประเมินทักษะและกระบวนการเรียนเรียนรู้ทางด้านภาษา แบบประเมินชิ้นงาน การเข้าร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน การแสดงบทบาทสมมุติ การนำเสนอชิ้นงาน และการวัดผลในรูปแบบการประเมินผลผ่านการฟังการพัฒนารูปแบบหรือเกณฑ์ที่จะใช้สำหรับการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง และเก็บผลการเรียนรู้ ก่อนเรียน ระหว่างเรียนและหลังเรียนอย่างต่อเนื่อง นำเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการวัดและประเมินผลโดยใช้ hsk ออนไลน์และการทำแบบทดสอบ ซึ่งสามารถวัดได้ครอบคุลมทางด้านความรู้ ความคิด กระบวนการ พฤติกรรมและเจตคติ เพื่อนำไปใช้พัฒนานักเรียน ทางด้านการพัฒนา การเรียนรู้ความถนัดและความสามารถของนักเรียน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การอ่านประโยคในบทความการสอบวัดระดับ HSK

การนำเสนองาน โดยการเรียนรู้ผ่านวัฒนธรรม

111.pdf

แบบทดสอบการฟังตอนที่ 1
ฟังให้สอดคล้องกับรูปภาพ

222.pdf

แบบทดสอบการฟังตอนที่ 2
การฟังประโยคแบบสั้น

333.pdf

แบบทดสอบการฟังตอนที่ 3
การฟังประโยค
ประโยคสนทนา

แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน และการทบทวนคำศัพท์
ใช้โปรแกรม Quizlet
ผู้สอนสามารถให้นักเรียนทดสอบและทบทวนคำศัพท์ภายในโปรแกรม

การทดสอบวัดระดับHSK 3 โดยนักเรียนสามารถเรียนรู้คำศัพท์ด้วยตัวเองและทดสอบด้วยตัวเองได้

การวัดและประเมินผลนักเรียน
จากการแสดงบทบาทสมมุติรายวิชา

การวัดและประเมินผลนักเรียน
จากการ
ลงมือปฏิบัติ

การวัดและประเมินผลนักเรียน


1.6 การศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนร


ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน วิจัยในชั้นเรียนเรื่อง การพัฒนาทักษะการฟังโดยใช้รูปแบบการสอบวัดระดับภาษาจีน HSK ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และนำความรู้ที่ได้มาวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาผู้เรียนที่มีผลการเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
นำผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์หรือระดับตามที่กำหนดไว้ โดยมีรายละเอียดเป็นข้อมูลสารสนเทศในรายวิชาของนักเรียน
เพื่อวางแผนการจัดการเรียนการสอนและนำความรู้ที่ได้มาวางแผนในการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อเป็นการปรับปรุง และพัฒนา
ทักษะภาษาจีนของนักเรียนกลุ่มดังกล่าว โดยมีการบันทึกรายละเอียดไว้ในหลังแผนการจัดการเรียนรู้

การฝึกทักษะการอ่าน บทสนทนา( การจับคู่)

บทความตัวอย่างที่อยู่ในการสอบวัดระดับภาษาจีน HSK

การจัดการเรียนการสอน เรื่อง 12 นักกษัตรและ
การอ่านวันเดือนปีเกิดแบบจีน

การศึกษา วิเคราะห์สังเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาในการเรียนรายวิชาภาษาจีน คือ นักเรียนบางส่วนไม่สามารถอ่านตัวจีนและจับใจความของประโยคได้ ดังนั้นในการแก้ปัญหานี้คือ การนำสื่อเช่น การนำบทความข้อสอบวัดระดับHSK แบบฝึกหัดต่างๆที่มีพินอินมาให้นักเรียนได้ฝึกอ่านก่อน รวมถึงการฝึกพูดในสถานการณ์ต่างๆ เมื่อนักเรียนได้ลองฝึกสิ่งเหล่านี้แล้ว ทำให้เมื่อถึงเวลาเรียนครูมีการเขียนพินอินที่น้อยลง

นักเรียนสามารถจับใจความสำคัญของคำที่อ่านได้จากการอ่านบทความใน HSK และเมื่อมีคำศัพท์ใหม่ๆ ก็จะเขียนพินอินกำกับ ไว้ ในส่วนที่เป็นคำศัพท์เก่า ลดการเขียนพินอิน ซึ่งนักเรียนจะฝึกอ่านบทความนี้ก่อนเรียนทุกครั้ง และเมื่อคำศัพท์ไหนที่นักเรียนอ่านไม่ได้

นักเรียนจะจดคำศัพท์นั้น แล้วไปหาคำแปล ซึ่งทำให้นักเรียนมีความรู้เรื่องคำศัพท์มากขึ้น และสามารถอ่านตัวจีนได้เพิ่มมากขึ้นด้วย โดยจากการประเมินการอ่าน นักเรียนร้อยละ 75 สามารถอ่านบทความที่ไม่มีพินอินได้ ส่่วน ร้อยละ 25 ยังต้องมีการพัฒนา

การอธิบายคำศัพท์ ในบทเรียน
พร้อมทั้งการยกตัวอย่าง รูปประโยค

วิจัยในชั้นเรียน

เรื่อง การพัฒนาทักษะการฟังภาาจีน HSK ผ่านการเรียนและการทดสอบในรูปแบบออนไลน์
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5


1.7 การจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน



ข้าพเจ้ามีการการจัดบรรยากาศขั้นเรียนให้น่าเรียนและมีวัสดุ อุปกรณ์ในการเรียนที่ครบ มีการจัดการเรียนการสอนให้มีความเพลิดเพลิน ให้นักเรียนมีแรงบันดาลใจเห็นคุณค่าและประโยชน์ในการเรียนภาษาจีน การส่งเสริมทักษะด้านต่างๆให้เหมาะสมกับวัยของนักเรียน เช่นการกระตุ้นการนำสื่อออนไลน์ให้นักเรียนให้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นผ่านโปรแกรมต่างๆ การส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้และฝึกการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ในการเรียน การส่งเสริมความมีเหตุผล เคารพการตัดสินใจซึ่งกันและกัน โดยการนำเสนอผ่านชิ้นงานหรือการนำเสนอบทบาทสมมุติ การสอดแทรกแนวคิด และคำนึงถึงวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ที่มีความแตกต่างระหว่างไทย -จีน โดยผ่านกิจกรรม

การจัดการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาจีน
เรื่องการจองโรงแรมและการเข้าพัก

การส่งชิ้นงานผ่านไลน์ และการกดไลน์ผลงานของเพื่อน

การชมการ์ตูนภาษาจีน
เรื่องเทศกาลวันไหว้พระจันทร์

การจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน ในรายวิชาภาษาจีน มีการเรียนภาษาจีนกับเจ้าของภาษาโดยตรง มีจัดการเรียนวัฒนธรรมจีน ผ่านกิจกรรมการตัดกระดาษจีน การดูละครจีน การ์ตูนภาษาจีน ต่างๆ การทำสื่อการเรียนการสอนที่มีความหลากหลาย ผ่านเกมส์ สื่อออนไลน์ต่างๆ ละครและภาพยนตร์จีน ที่นักเรียนชอบ รวมถึงการเรียนการสอนความแตกต่างทางวัฒนธรรม การใช้ เว็ป Baidu 百度 เพื่อให้นักเรียนได้เสมือนกับตัวเองไปอยู่ในเมืองนั้น ยังสามารถเข้าถึงภาพที่เสมือจริงได้อีกด้วย และสถานที่นั้นจริง ทำให้นักเรียนเกิดความชื่นชอบประเทศจีนมากขึ้น การนำนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมและภาษากับนักเรียนจากโรงเรียนอื่น ผ่านกิจกรรม Dreams Camp 2022 เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนได้มีการเรียนรู้ที่หลากหลาย

การเข้าร่วมกิจกรรม DreamsCamp 2022
(กิจกรรมฐานวัฒนธรรมจีน)


1.8 การอบรมและพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียน



ข้าพเจ้ามีการสอดแทรกคุณลักษณะอันพึงประสงค์ คุณธรรม และจริยธรรม ในระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยคำนึงความแตกต่างของผู้เรียนเป็นรายบุคคล การสอดแทรกแนวคิด หรือความจำเป็นของการเรียนในหน่วยการเรียนรู้ที่จัดขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนทุกคนเข้าใจบทบาท และหน้าที่ของตนเองในการเรียน โดยจะคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน ที่จะนำมาส่งเสริมและพัฒนาคุณลักษณะที่ดีให้เกิดขึ้นในรายวิชาที่สอนนี้เช่นกัน

จิตอาสาในการช่วยยกน้ำขึ้นหอประชุม
ในการจัดงานเทศน์มหาชาติ

ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ให้กับนักเรียน
ในคาบประชุมระดับ

บันทึกโฮมรูม2-64.pdf

บันทึกการโฮมรูม
ภาคเรียนที่ 2/2564

บันทึกโฮมรูม1•65.pdf

บันทึกการโฮมรูม
ภาคเรียนที่
1/2565

รายงานผลการปฏิบัติงาน PA

พัฒนาโดย : นางสาวสิริรัตน์ สืบแก้ว

ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์