การพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทายปีงบประมาณ 2565

ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์และความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง ความเข้มข้นของสารละลาย

ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับเทคนิค KWDL

บันทึกข้อความ PA_หมวด.pdf
ข้อตกลง PA วิรุวรรณ 4.pdf

ข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)

💜 1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน 💜

ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ 3 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สารละลาย จากการสังเกตและการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ 3 ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลายท่าน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในหัวข้อ ความเข้มข้นของสารละลาย มีค่าผลสัมฤทธิ์ที่ต่ำกว่าหัวข้ออื่น ๆ ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ 3 เกิดจากผู้นักเรียนบางส่วนยังไม่เข้าใจในการแทนค่าตัวแปร และการแก้สมการ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่อการเรียนรู้และความเข้าใจในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ดังนั้นข้าพเจ้าจึงเลือกประเด็นท้าทายในหัวข้อ การพัฒนาผลสัมฤทธิ์และความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง ความเข้มข้นของสารละลาย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับเทคนิค KWDL

💜 2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล 💜

2.1 ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รวมทั้งงานวิจัยเกี่ยวกับกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) และเทคนิคการสอน KWDL

2.2 ออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยปรับประยุกต์ตามบริบทของสถานศึกษา

2.3 จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่อง ความเข้มข้นของสารละลาย โดยปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบทของผู้เรียน

2.4 ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีจากเอกสารและตำราที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) และเทคนิคการสอน KWDL

2.5 สร้างเอกสารประกอบการสอน เรื่อง ความเข้มข้นของสารละลาย

2.6 สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง ความเข้มข้นของสารละลาย และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

2.7 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง ความเข้มข้นของสารละลาย และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ครูผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือครูผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ได้ตรวจสอบความถูกต้อง พิจารณาความเหมาะสมด้านเนื้อหา และการนำไปใช้

2.8 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง ความเข้มข้นของสารละลาย และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ได้ปรับปรุงจากชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ไปใช้จัดการเรียนรู้กับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 โดยปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบท

2.9 ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนที่ได้จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับเทคนิคการสอน KWDL

2.10 บันทึกผลการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อใช้เป็นข้อมูลสารสนเทศในการสะท้อนผลการเรียนรู้ให้นักเรียนได้ทราบเป็นระยะ หากมีผู้เรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ก็จะดำเนินการแก้ปัญหา โดยการกำกับ ติดตาม เพื่อให้กลุ่มผู้เรียนดังกล่าวได้มาดำเนินการซ่อมเสริม ปรับปรุง พัฒนาผลการเรียนรู้ของตนเองให้ผ่านเกณฑ์

>> เอกสารเกี่ยวกับหลักสูตร <<

2.1หลักสูตรวิทยาศาสตร์.pdf

เอกสารเกี่ยวกับหลักสูตรฯ

หลักสูตรสถานศึกษา2564.pdf

หลักสูตรโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์

หลักสูตร คำอธิบายรายวิชากลุ่มสาระฯ.pdf

หลักสูตรกลุ่มสาระฯ

Course outline ว22101 วิทยาศาสตร์ 3-วิรุวรรณ.pdf

โครงการสอน (Couse Outline)

คำอธิบาย วิทยาศาสตร์ 3.pdf

คำอธิบายรายวิชา

>> เอกสารเกี่ยวกับแผนการจัดการเรียนรู้ <<

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 16.pdf

แผนการจัดการเรียนรู้ประเด็นท้าทาย

แบบบันทึกผลหลังการสอนหัวหน้า.pdf

บันทึกหลังการสอน

>> เอกสารเกี่ยวกับแบบทดสอบและแบบสอบถามความพึงพอใจ <<

แบบทดสอบ Quizizz

แบบสอบถามจากเว็บไซต์ Insku

แบบสอบถามความพึงพอใจจากเว็บไซต์ Insku

แบบสอบถามความพึงพอใจจากเว็บไซต์ Insku

>> ดำเนินการจัดเก็บข้อมูล <<

นักเรียนนำเสนอผลงานกลุ่มตนเอง

จัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิค KWDL

นักเรียนนำเสนอผลงานกลุ่มตนเอง

ใช้ Quizizz ในการวัดและประเมินผล

คะแนนก่อน-หลัง ความเข้มข้นของสารละลาย.pdf

คะแนนก่อนเรียน-หลังเรียน

เอกสารประกอบการสอน เรื่อง ความเข้มข้นของสารละลาย.pdf

เอกสารประกอบการสอน เรื่อง ความเข้มข้นของสารละลาย

💜 3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 💜

3.1 เชิงปริมาณ

ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ 3 เรื่อง ความเข้มข้นของสารละลาย ของนักเรียนหลังเรียนด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับเทคนิค KWDL สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

3.2 เชิงคุณภาพ

ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน อยู่ในระดับมากขึ้นไป (ค่าเฉลี่ย 3.5 ขึ้นไป)

>> การวิเคราะห์ข้อมูล <<

คะแนนก่อน-หลัง ความเข้มข้นของสารละลาย.pdf

คะแนนก่อนเรียน-หลังเรียน



ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ 3 เรื่อง ความเข้มข้นของสารละลาย ของนักเรียนหลังเรียนด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับเทคนิค KWDL สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60)

โดยมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 66.91

ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนการสอน

ตาราง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้.pdf




ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน อยู่ในระดับมากขึ้นไป (ค่าเฉลี่ย 3.5 ขึ้นไป)

โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 4.33