ภาษาไทย ท33101

       เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนนี้ เป็นที่นิยมในหมู่ชาวไทยทุกเพศทุกวัยเป็นเวลาช้านาน ด้วยเหตุผลตามที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงพระนิพนธ์ไว้ในหนังสือสาส์นสมเด็จว่า “...เอาเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนมาอ่านเล่นในเวลาว่าง เห็นว่าเป็นเรื่องดี และแต่งดีอย่างเอกทีเดียว เคยอ่านมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วนก็ยังอ่านสนุกไม่รู้จักเบื่ออยู่นั่นเอง มารู้สึกว่ามีประโยชน์อยู่ในหนังสือเรื่องนี้อีกอย่างหนึ่ง” 

       สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า การเห่เรือ ของไทยน่าจะได้แบบอย่างมาจากประเทศอินเดีย แต่ประเทศอินเดียใช้เป็นมนตร์ในตำราไสยศาสตร์บูชาพระราม และบทเห่ที่ใช้ในกระบวนเรือหลวงก็สันนิษฐานว่า เป็นคำสวดของพราหมณ์ ส่วนของประเทศไทยใช้เห่บอกจังหวะฝีพายพร้อมกัน เพื่อเป็นการผ่อนแรงในการพายและทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน 

 สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นนิยายคำฉันท์ขนาดสั้น ไม่กี่สิบหน้ากระดาษเท่านั้น แต่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี มีความงดงามทางวรรณศิลป์ ทั้งยังได้รับการคัดเลือกเป็นหนังสือประกอบการเรียนการสอนในวิชาภาษาไทยด้วย หนังสือสามัคคีเภทคำฉันท์นี้ นายชิต บุรทัต ได้แต่งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ มีจุดมุ่งหมายชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการรวมกันเป็นหมู่คณะ เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เพื่อป้องกันรักษาบ้านเมืองให้มีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น