องค์ประกอบที่ 1

การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐาน

ด้านที่ 1 การจัดการเรียนรู้

ภาคเรียนที่ 2/2565

   ข้าพเจ้าได้พัฒนาหลักสูตร โดยการวิเคราะห์หลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และผลการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อนำไปจัดทำหลักสูตรรายวิชาในภาคเรียนที่ 2/2565 จำนวน 2 รายวิชา คือ รายวิชา ท33102 ภาษาไทย 6 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ ท33202 ประมวลภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/8 โดยได้จัดทำโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาสมรรถนะ ศักยภาพ พร้อมทั้งเผยแพร่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC 

หลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ปีการศึกษา 2565001.pdf

หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาษาไทย

คำอธิบายรายวิชาภาษาไทย 6 ท33102.docx

รายวิชา ท33102 ภาษาไทย 6

คำอธิบายรายวิชาประมวลภาษาไทย ท33202 .docx

รายวิชา ท33202 ประมวลภาษาไทย

ภาคเรียนที่ 1/2566

   ข้าพเจ้าได้พัฒนาหลักสูตร โดยการวิเคราะห์หลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และผลการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อนำไปจัดทำหลักสูตรรายวิชาในภาคเรียนที่ 1/2566 จำนวน 2 รายวิชา คือ รายวิชา ท33101 ภาษาไทย 5 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ ท31283 คติชนวิทยา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/8 โดยได้จัดทำโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาสมรรถนะ ศักยภาพ พร้อมทั้งเผยแพร่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้  โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC 

2.ส่วนเนื้อหาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย.pdf

หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาษาไทย

รหัสวิชา ท33101 วิชาภาษาไทย 5 .docx

รายวิชา ท33101 ภาษาไทย 5

คติชนวิทยา 1.docx

รายวิชา ท31283 คติชนวิทยา 

คำสั่ง คณะกรรมการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (ฉบับ พ.ศ.2566)

377-2565 แต่งตั้งคณะกรรมการการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (ฉบับ พ.ศ. 2566).pdf

ภาพกิจกรรม การพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

        ข้าพเจ้าริเริ่มและพัฒนาการออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยการวิเคราะห์ผู้เรียน  เพื่อนำข้อมูลมาออกแบบการจัดการเรียนรูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชา ท33102 ภาษาไทย 6  ระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2/2565 และรายวิชา ท33101 ภาษาไทย 5 ภาคเรียนที่ี 1/2566 ที่เน้นกิจกรรมการเรียนรู้แบบ  Active Learning  มีการทำกิจกรรมด้วยการลงมือปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะกระบวนการทางภาษาไทยและทักษะในศตวรรษที่  21  พร้อมทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีให้ครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่ม PLC  และเผยแพร่ในกลุ่มสาระการเรียนรู

แผนการจัดการเรียนรู้ ท33101.pdf

ออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learining

รายวิชาภาษาไทย 5 ท33101

แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยที่ 1.pdf

ออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learining

รายวิชาภาษาไทย 6 ท3310

หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์

แผนวัดและประเมินผล รายวิชาภาษาไทย 6 ท33102 ภาคเรียนที่ 2-2565
แผนวัดและประเมินผล รายวิชาประมวลภาษาไทย ท33202 ภาคเรียนที่ 2-2565
แผนการวัดและประเมินผลภาษาไทย 5 ท33101 ครูรุ่งโรจน์ กันทาเขียว PA.pdf
แผนการวัดและประเมินผล คติชนวิทยา 1 ท31283 ครูรุ่งโรจน์ กันทาเขียว PA.pdf

      ข้าพเจ้าได้ริเริ่มและพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยเน้นกระบวนการ Active Learning มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ ทำให้ผู้เรียนมีทักษะทางภาษาที่สูงขึ้นและสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และครูต่างกลุ่มสาระฯ ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ : PLC

จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประเพณีและวัฒนธรรมล้านนา

ในมุมมองของเยาวชนคนแม่สาย 

จัดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชา คติชนวิทยา ท31283

ที่เน้นการศึกษาค้นคว้าและการนำเสนอ 

     ข้าพเจ้าริเริ่มพัฒนา สื่อนวัตกรรม เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้ โดยพัฒนาสื่อ นวัตกรรม แบบฝึกทักษะที่เน้นกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ร่วมกัน และค้นพบความรู้ด้วยตนเอง ฝึกการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้มาแก้ปัญหาได้ สามารถใช้สื่อเทคโนโลยีและโปรแกรมอื่นๆ ร่วมกับการสอนออนไลน์ต่าง ๆ ด้วย G-Suite ในการทบทวนความรู้ เผยแพร่ในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

รายงายผลการใช้สื่อ นวัตกรรมฯ 2565.pdf

รายงานการใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้ 

ชื่อสื่อ : ชุดฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้เทคนิคบันได 8 ขั้น ร่วมกับแบบฝึกทักษะการอ่านขั้นสูงตามแนวทางการประเมินผล PISA ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

    ข้าพเจ้าริเริ่มพัฒนา การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โดยพัฒนารูปแบบการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น พิจารณากิจกรรมในชั้นเรียน การทำงานกลุ่ม การนำเสนอ การสื่อสารการทำแบบทดสอบ ชิ้นงาน และการแก้ไขปัญหาของนักเรียน และเผยแพร่ เครื่องมือวัดและประเมินผลให้กับเพื่อนครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่ม PLC เป็นต้น

แผนวัดและประเมินผล รายวิชาภาษาไทย 6 ท33102 ภาคเรียนที่ 2-2565
แผนวัดและประเมินผล รายวิชาประมวลภาษาไทย ท33202 ภาคเรียนที่ 2-2565
แผนการวัดและประเมินผลภาษาไทย 5 ท33101 ครูรุ่งโรจน์ กันทาเขียว PA.pdf
แผนการวัดและประเมินผล คติชนวิทยา 1 ท31283 ครูรุ่งโรจน์ กันทาเขียว PA.pdf

ประเมินผลโดยใช้รูปแบบออนไลน์  ด้วยเครื่องมือ G-Suite (Google forms)

     ผู้เรียนได้รับการวัดผลและประเมินผลโดยใช้เครื่องมือและแบบประเมินตามตัวชี้วัดที่หลากหลาย ประเมินผลตามสภาพจริง ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาไทยสูงขึ้น

สรุปผลการเรียน001.pdf
ข้อสอบปลายภาคเรียนที่-2-ปีการศึกษา-65.pdf

     ข้าพเจ้าริเริ่ม พัฒนาการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ โดยการ ศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ สังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และนำความรู้ที่ได้มาวางแผนในการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ก่อนและหลังเรียนโดยใช้เทคนิคบันได 8 ขั้น ร่วมกับแบบฝึกทักษะการอ่านขั้นสูงตามแนวทางการประเมินผล PISA ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2565 ทำให้สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และมีสมรรถนะตามหลักสูตรกำหนด และเผยแพร่ตัวอย่างในกลุ่มชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและกลุ่มสาระอื่น ส่งผลให้ได้รับรางวัลผู้ใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ประจำปีการศึกษา 2565 ระดับ ดีเด่น

งานวิจัย ปีการศึกษา 2565 (ฉบับสมบูรณ์) นายรุ่งโรจน์ กันทาเขียว.pdf

งานวิจัยในชั้นเรียน

เกียรติบัตรงานวิจัย ระดับ ดีเด่น

     ข้าพเจ้าริเริ่ม พัฒนาการจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน โดยการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมให้บรรยากาศ ในชั้นเรียนเหมาะสมกับวัยของนักเรียน เช่น มีการจัดบรรยากาศให้ซักถามปัญหา กระตุ้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมกับกิจกรรม ส่งเสริมนักเรียนทุกคนให้มีโอกาสนำเสนอหน้าชั้นเรียนเป็นประจำ สร้างแรงบันดาลใจในการเรียนและเชื่อมโยงการใช้ภาษาไทยกับชีวิตประจำวัน เพื่อให้นักเรียนเห็นคุณค่าและรู้เท่าทันเทคโนโลยีทั้งในการเรียนรู้ และประโยชน์ในด้านอื่นๆ รวมทั้งใช้สื่อเทคโนโลยีเข้ามาช่วยลดระยะเวลาในการเรียนรู้ของนักเรียน สามารถทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น 

ครูใช้สื่อการสอนหลากหลายในห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom

    ครูกระตุ้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมด้วยการถามตอบ ให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กับครูและเพื่อนในห้องเรียนด้วยการตั้งคำถาม ให้คำชื่นชม คำปรึกษา และให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงและนำเสนอผลงาน

     ข้าพเจ้าริเริ่ม พัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียน ด้วยการส่งเสริมคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียน คือ ความรับผิดชอบในการส่งภาระงาน และมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองในการทำงานในรายวิชาที่สอน และทำแบบทดสอบความรู้ด้วยตนเอง ไม่ลอกงานของผู้อื่น สอดแทรกการอบรมมารยาททางสังคมและบุคลิกภาพที่ดีให้กับนักเรียนในชั่วโมงสอนและเป็นแบบอย่างให้กับคุณครูที่เข้ามานิเทศการจัดการเรียนการสอน การจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน ร่วมกับการเผยแพร่กิจกรรมในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และเพจเฟซบุ๊ก 

   อบรมและพัฒนาพฤติกรรมความรับผิดชอบ การมาเรียนและทำงานส่งให้ตรงเวลา การมีน้ำใจและช่วยเหลือคนอื่นในชั่วโมงคุณธรรมจริยธรรม

ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมที่ดีแก่ผู้เรียน